1 / 80

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการทางวินัยและความรับผิดทางละเมิด

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการทางวินัยและความรับผิดทางละเมิด สำหรับนิติกรหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่นิติกร  วันที่ 19-23 กรกฎาคม 2553 เวลา 08.30 น – 16.30 น. ณ ห้องสร้อยสุวรรณ โรงแรมสตาร์

Télécharger la présentation

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการทางวินัยและความรับผิดทางละเมิด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การอบรมเชิงปฏิบัติการการอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการทางวินัยและความรับผิดทางละเมิด สำหรับนิติกรหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่นิติกร  วันที่ 19-23 กรกฎาคม 2553 เวลา 08.30 น – 16.30 น. ณ ห้องสร้อยสุวรรณ โรงแรมสตาร์ อ. เมือง จ. ระยอง

  2. กระบวนการบริหารงานบุคคลกระบวนการบริหารงานบุคคล ผลสำเร็จ ของงาน สรรหา ปฏิบัติ งาน ศึกษา, อบรม ความดี ความชอบ พ้น หน้าที่ ทำผิด วินัย โทษ เตือน คัดออก  กระบวนการบริหารงานบุคคล  กระบวนการยุติธรรม

  3. กระบวนการดำเนินการทางวินัยกระบวนการดำเนินการทางวินัย การตั้งเรื่องกล่าวหา การสืบสวน/สอบสวน ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวน สอบสวนและรับฟังเป็นที่ยุติแล้ว การเสนอโทษ การรายงาน การสืบสวนสอบสวน การปรับบทมาตรา และฐานความผิด การบรรยาย วันนี้ จบหน้าที่ของคณะกรรมการฯ

  4. วินัยข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551  ความหมายของวินัย…. คือแบบแผนความประพฤติ ที่กำหนดให้ ข้าราชการ 1. พึงควบคุมตนเอง และ 2.ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ประพฤติหรือปฏิบัติตามที่ กฎหมาย,ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ กำหนดไว้.

  5. ความหมาย “วินัย” พฤติกรรม งานราชการ เรื่องส่วนตัว

  6. เหตุที่นำความประพฤติส่วนตัวมาอยู่ในกรอบของวินัยเหตุที่นำความประพฤติส่วนตัวมาอยู่ในกรอบของวินัย ฝ่ายการเมือง/รัฐบาล เป็นแบบอย่างที่ดี นโยบาย ความประพฤติส่วนตัว ข้าราชการ

  7. ขอบเขตของวินัยข้าราชการขอบเขตของวินัยข้าราชการ ขอบเขตของวินัย ควรจำกัดอยู่ในกรอบ ของจุดมุ่งหมายเท่านั้น จุดมุ่งหมายคือ... เพื่อประชาชน  เพื่อราชการ การกระทำที่ไม่กระทบต่อกรอบของจุดมุ่ง หมาย ก็ไม่ควรอยู่ในข่ายของวินัยข้าราชการ .............................

  8. เช่น...กรอบของมาตรา 82(7) คือ... ข้าราชการ ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีกัน และไม่กลั่นแกล้งกัน....  การกระทำที่กระทบต่อกรอบของ จุดมุ่งหมายนี้....มีความผิดทางวินัย. การกระทำที่ไม่กระทบต่อกรอบของ จุดมุ่งหมายนี้....ไม่มีความผิดทางวินัย.

  9. o มาตรา 82(7) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีกัน แม้การกระทำนั้นจะเป็น เรื่องเดียวกัน กรอบของจุดมุ่งหมาย ตัวอย่าง... A A การกระทำที่ไม่กระทบต่อกรอบ.....ไม่ผิดวินัย การกระทำที่กระทบต่อกรอบ....... ผิดวินัย

  10. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2516 • เรื่องการไว้ผมและแต่งกายเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน •  ข้าราชการ,ลูกจ้าง ชาย ไม่ให้ไว้ผมยาวปิดตีนผม •  ข้าราชการ,ลูกจ้าง หญิง ไม่ให้สวมกระโปรงสั้นเหนือเข่า •  ข้าราชการ,ลูกจ้าง ชายและหญิง ไม่ให้คาดเข็มขัดใต้สะดือ • “ให้ถือว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา” ตัวอย่าง : กรอบของจุดมุ่งหมายเรื่องการแต่งกาย

  11. นายแพทย์ ช.+แพทย์หญิง ญ. แต่งงานกันตามประเพณี และอยู่กินกันฉันสามีภรรยา โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แพทย์หญิง ลาศึกษาต่อ 3 ปี ระหว่างแพทย์หญิง ลาศึกษาต่อ พยาบาลกับนายแพทย์ ช. ได้จดทะเบียนสมรสกัน ทำให้ครอบครัวแพทย์หญิง แตกแยก พยาบาลก็รู้ว่านายแพทย์ ช.และแพทย์หญิง อยู่กินกัน ฉันสามีภรรยา(เพราะอยู่ ร.พ. เดียวกัน) การกระทำของพยาบาล และนายแพทย์ ช. กระทบต่อกรอบ? ผิดกฎหมายแพ่ง? ผิดจริยธรรม? ผิดวินัย?

  12. 1. ดื่มสุรานอกเวลาราชการ แต่มาเมาในเวลา • 2. มีเมียน้อย แต่เมียหลวงไม่ว่าอะไร • 3. ยืมเงินแล้ว ไม่ยอมใช้คืน • 4. การช่วยให้ผู้ป่วยพ้นทุกข์โดย...Mercy Killing • .............................. การกระทำต่อไปนี้กระทบต่อกรอบของจุดมุ่งหมาย?

  13. โทษทางวินัยมี 5 สถาน  ไม่ร้ายแรง 1.ภาคทัณฑ์ 2.ตัดเงินเดือน 3.ลดเงินเดือน  ร้ายแรง 1. ปลดออก 2. ไล่ออก การกระทำ...กระทบต่อกรอบรุนแรงแค่ไหน

  14. มติ ค.ร.ม.ที่ นร 0205/ว 234 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2536 การลงโทษผู้กระทำผิดวินัย 2 กรณี ดังนี้ 1. กรณีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ 2. กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกัน เป็นเวลา เกินกว่า 15 วัน และมิได้กลับมาปฏิบัติ หน้าที่ราชการอีกเลย ให้ลงโทษไล่ออกจากราชการ โดยไม่อาจลดหย่อนโทษได้ ..................................

  15. โทษทางวินัย : กับข้าราชการบางตำแหน่ง  ข้าราชการทั่วไป เช่น บุคลากร ทางการแพทย์  ข้าราชการที่ตำแหน่งต้อง มีคุณธรรม จริยธรรมสูง และต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครู, อาจารย์ ผู้พิพากษา, อัยการ ตำรวจ, นักกฎหมาย การพนัน,อนาจาร,ชู้สาว

  16. โครงสร้างวินัยข้าราชการโครงสร้างวินัยข้าราชการ ข้าราชการต้องมีวินัย ต่อ 1. ประเทศชาติม.81 2. ประชาชน ม.82(8),ม. 83(9),ม. 85(5) 3. ตำแหน่งหน้าที่ราชการ ม.82(1)(2)(3)(5) (6)(9),ม. 83(3)(4)(5),ม. 85(1)(2)(3) 4. ผู้บังคับบัญชา ม.82(4),ม. 83(1)(2) 5. ผู้ร่วมงาน ม.82(7),ม. 83(7) 6. ตนเอง ม.82(10),ม. 83(6)(8),ม. 85(4)(6).

  17. หมวดที่ 6 วินัยและการรักษาวินัย ลักษณะการบัญญัติกฎหมาย ให้กระทำการอัน เป็นข้อปฏิบัติ (ม.82) ต้องไม่กระทำ อันเป็นข้อห้าม (ม.83) การกระทำ ที่เป็นวินัย ร้ายแรง (ม.85) ถ้าเกิดผลเสียต่อทางราชอย่างร้ายแรง ก็เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ม.85(7)

  18. ข้อกำหนดวินัยข้าราชการพลเรือนข้อกำหนดวินัยข้าราชการพลเรือน มาตรา 80 วรรค 1ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการ หรือ ไม่กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ โดยเคร่ง ครัดอยู่เสมอ วรรค 2 ข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการ ในต่าง ประเทศ นอกจากต้องรักษาวินัย ตามที่บัญญัติไว้ ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการ หรือ ไม่กระทำการตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. ด้วย

  19. มาตรา 81ข้าราชการต้องสนับสนุน การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วย ความบริสุทธิ์ใจ  การสนับสนุน คือส่งเสริม, ช่วยเหลือ การไม่สนับสนุน คือการเป็นปฏิปักษ์ การไม่เลื่อมใส จะรับราชการไม่ได้..ม.36 ก (3) การไม่สนับสนุน รับราชการได้แต่ผิดวินัย

  20. มาตรา 82 (1) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย ความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม  ซื่อสัตย์.. ตรงไปตรงมา,ไม่คดโกง,ไม่หลอกลวง  สุจริต..ปฏิบัติในทางที่ดีที่ชอบตามคลองธรรม  เที่ยงตรง..ปฏิบัติโดยไม่ลำเอียง มาตรา 82 ข้าราชการต้องกระทำการอัน เป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

  21. คำว่า “หน้าที่ราชการ” 1. หมายถึง หน้าที่ราชการโดยตรงเท่านั้น 2. การปฏิบัติราชการ แม้นอกสถานที่ราชการ หรือ ปฏิบัติราชการในวันหยุด ถือว่ามีหน้าที่ด้วย 3. การพิจารณาว่าข้าราชมีหน้าที่ราชการหรือไม่ พิจารณาได้จาก... 3.1 กฎหมายหรือระเบียบราชการ 3.2 มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 3.3 คำสั่งหรือการมอบหมายจาก ผู้บังคับบัญชา 3.4 พฤตินัย คือสมัครใจเข้าผูกพันตนรับเป็นหน้าที่?

  22.  มาตรา 82(2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบ แผนของทางราชการ  การกล่าวหา หรือการลงโทษ ให้แยกเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ.... กรณีที่ 2ต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน....

  23. กฎหมาย, กฎ กฎหมาย หรือ กฎ ใดก็ได้ ระเบียบของทางราชการ ต้องเป็นระเบียบเฉพาะ เช่น ระเบียบการเงิน, ระเบียบพัสดุ, ระเบียบการใช้รถยนต์ราชการ ระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นระเบียบแบบแผนทั่วไปที่เจ้าหน้าที่ทุกคน ต้องปฏิบัติ

  24. ระเบียบแบบแผนของทางราชการ ตาม ม. 82(2) “แบบแผน”คือขนบธรรมเนียมที่กำหนดไว้ หรือเคย ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา  แบบแผนต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย 1. เป็นระเบียบแบบแผนของทางราชการทั่วไป 2. กำหนดหน้าที่ทั่วไปที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม 3. ไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ระเบียบลงชื่อมาปฏิบัติราชการ ระเบียบการแต่งกาย  ระเบียบการลาหยุดราชการ  แบบแผนในการเสนองานต่อผู้บังคับบัญชา

  25.  มาตรา 82(3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการ ด้วยความตั้งใจ อุตสาหะเอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทาง ราชการ  มาตรานี้ ถือเอาผลงาน คือ งานเกิดผลดี หรืองานก้าวหน้า  สำหรับความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และการ รักษาประโยชน์ เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติงาน

  26.  มาตรา 82(4) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่ง ในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของ ทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่า การปฏิบัติตามคำสั่งนั้น จะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือ จะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะ ต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับ บัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม

  27.  คำว่า “ผู้บังคับบัญชา” ตามกฎหมายนี้ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายเท่านั้น  การกระทำผิดต่อผู้บังคับบัญชาที่ “ ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย” จะผิดวินัยฐาน ไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน ของทางราชการ ตามมาตรา 82(2)

  28. คำสั่งของผู้บังคับบัญชา 1. คือ อำนาจของรัฐ 2. ต้องเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบราชการ 3. ไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดทางวินัย 4. สั่งด้วยวาจาก็ได้ 5. ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติคำสั่งที่ชอบนั้น จะทำให้  เสียหายแก่ราชการ,เป็นการไม่รักษาประโยชน์ฯ ต้องให้ทบทวน ถ้าผบ. ทบทวนแล้ว และยืนยัน ต้อง ปฏิบัติตาม.

  29. ผู้บังคับบัญชา (1) มีกฎหมายกำหนดไว้ (2) ได้รับมอบอำนาจ 1.ผู้บังคับบัญชา มี 2 ประเภท 1.1 ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย 1.2ผู้บังคับบัญชาตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 2. อำนาจของผู้บังคับบัญชา 2.1 อำนาจผูกพัน 2.2 อำนาจดุลพินิจ

  30. อำนาจบังคับบัญชา แบ่งได้ 2 กรณี (1) อำนาจผูกพันคืออำนาจที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นการล่วงหน้าว่า เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งการตามที่กฎหมายกำหนดไม่อาจเลือกสั่งการเป็นอย่างอื่นได้. (2) อำนาจดุลพินิจคืออำนาจที่ผู้บังคับบัญชา มีอิสระ ในการที่จะเลือกตัดสินใจ เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ว่าตนจะใช้อำนาจหรือไม่ ถ้าจะใช้อำนาจก็ยังมีดุลพินิจ อีกว่าจะเลือกสั่งอย่างไรและเลือกสั่งอย่างไรก็ถูกต้องทั้งหมด.

  31. การลาคลอดบุตร ลาได้ 90 วัน ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้ลาต่อเนื่องจากการคลอดไม่เกิน 150 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือนระหว่างลา ผู้บังคับบัญชาสั่งว่า.... 1. ไม่อนุญาต? 2. อนุญาต 15 วัน? 3. อนุญาต? ............................ อำนาจดุลพินิจ อำนาจผูกพัน

  32. อำนาจต่อไปนี้ เป็นอำนาจใด สิทธิเบิกค่าที่พักไปราชการ ชั่วคราวในราชอาณาจักร  ให้เบิกเหมาจ่าย ในอัตราดังนี้ -ระดับ 8 ลงมาไม่เกิน 1,000 บาท/วัน/คน - ระดับ 9 ไม่เกิน 1,600 บาท/วัน/คน ระดับ 10-11 ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2500 บาท เบิกเพิ่มได้อีกไม่เกินร้อยละ 25 กรณี - ท้องที่ ที่มีค่าครองชีพสูงหรือ - ท้องที่ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ..................................

  33. อำนาจต่อไปนี้ เป็นอำนาจใด  การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร, การเบิกค่ารักษาพยาบาล  การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง  การเบิกค่าเช่าบ้าน, การเลื่อนขั้นเงินเดือน  การย้าย, การโอน ,การเลื่อนระดับ  การลากิจด้วยเหตุธรรมดา เหตุจำเป็น(เร่งด่วน) เหตุพิเศษ  การลาป่วย, การลาพักผ่อน ...................................

  34. (4) การใช้อำนาจดุลพินิจ ข้อที่ควรพิจาณาเกี่ยวกับอำนาจดุลพินิจ (1) อำนาจดุลพินิจ มิใช่อำนาจตามอำเภอใจ (2) อำนาจดุลพินิจ ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายของเรื่องนั้นๆ (3) อำนาจดุลพินิจ จะถูกตรวจสอบโดยศาล. ..................................

  35. การใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ( Abuse of power )  คือ การใช้อำนาจโดยฝ่าฝืน เจตนารมณ์หรือความ มุ่งหมายของกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เช่น 1. การใช้ดุลพินิจเกินกว่ากฎหมายกำหนด 2. การใช้ดุลพินิจขัดกับวัตถุประสงค์ของกฎหมาย 3. การไม่ใช้ดุลพินิจ 4. การใช้ดุลพินิจขัดกับสิทธิและเสรีภาพ ........................................

  36. ตัวอย่าง การใช้ดุลพินิจของ ผบ. โดยมิชอบ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 1. ข้าราชการขอลาออกจากราชการ สั่งว่า ไม่อนุญาต เนื่องจาก... ให้หาคนมาแทนก่อน  ถูกสอบสวนทางวินัย  ต้องหาคดีอาญา 2. ขอลาป่วย เป็นเวลา 5 วัน โดยไม่แนบใบรับรองแพทย์ ทั้งๆที่ผู้ขอลาป่วย ป่วยจริง สั่งว่า ไม่อนุญาต เนื่องจาก...ไม่มีใบรับรองแพทย์ 3. ออกระเบียบ (คำสั่ง) ของโรงพยาบาลว่า ให้พยาบาลเวร ตามแพทย์เวรดึกได้ เฉพาะกรณีคนไข้อาการหนักเท่านั้น การวินิจฉัยอาการผู้ป่วย.......... ---------------------

  37. มาตรา 82(5) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้ง หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้  อุทิศ...สละให้ เวลาของตน...เวลาก่อน-หลัง เวลาทำงาน ละทิ้ง...ไม่อยู่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ ทอดทิ้ง... ตัวอยู่ในบริเวณที่ทำงานแต่ไม่ทำงาน

  38.  มาตรา 82(6) ต้องรักษาความลับของทางราชการ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับ ของทางราชการ พ.ศ. 2544 ....................  ความลับของทางราชการ ? คือ ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ที่ไม่อาจเปิดเผย ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องทราบได้  ชั้นความลับของข้อมูลข่าวสาร มี 3 ชั้น 1. ลับที่สุด 2. ลับมาก 3. ลับ

  39. ความผิดอาญาฐานเปิดเผยความลับ ม.323 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน... 1. ประกอบอาชีพเป็น แพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือ ผู้สอบบัญชี 2. หรือเป็นผู้ช่วยบุคคลผู้ประกอบอาชีพ ตามข้อ1. 3. ได้ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น 4. เปิดเผยความลับนั้น โดยน่าจะเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด. โทษ..จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ

  40. พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 24 หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตน โดยปราศจาก ความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูล ที่ให้ไว้ล่วงหน้า หรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีเปิดเผยดังต่อไปนี้ (1) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในหน่วยงานของตน เพื่อนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ (2)....... (3)...... (4) ศึกษาวิจัย คำว่า“เปิดเผย”คือ...แจ้งให้ทราบ, มอบเอกสาร หรือสำเนาให้

  41. (5) ต่อหอจดหมายเหตุ (6) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนตาม กฎหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี (7) เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกัน หรือระงับอันตราย ต่อชีวิต หรือสุขภาพของบุคคล (8) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคล ที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว (9) กรณีอื่น ๆ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ....................................

  42. พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550  มาตรา 7 ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับ ของส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้ บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้น เป็นไปตาม ความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะ บัญญัติให้เปิดเผย/ แต่ไม่ว่าในกรณีใดๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจ หรือ สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือกฎหมายอื่น เพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพ ของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้ (จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 49..ยอมความได้ ) ศาล, พนักงานสอบสวน ... ขอตาม ป. วิอาญา

  43.  มาตรา 82(7) ต้องสุภาพเรียบร้อยรักษาความสามัคคี และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่าง ข้าราชการด้วยกัน และผู้ร่วมปฏิบัติราชการ พฤติกรรมที่ไม่สุภาพเรียบร้อย 1. แสดงออกด้วย กิริยา ท่าทาง 2. แสดงออกด้วย คำพูด 3. แสดงออกด้วย ลายลักษณ์อักษร ผู้ร่วมปฏิบัติราชการ...ใครก็ได้

  44. มติคณะรัฐมนตรี ปี 2505  ที่ น.ว. 11/2505 ลว. 15 กุมภาพันธ์ 2505 ให้ผู้บังคับบัญชา กำชับข้าราชการในสังกัด ร่วมมือ ร่วมใจทำงานด้วยความสามัคคีต่อกัน เพื่อประโยชน์ต่อ ส่วนรวมและประเทศชาติ ผู้ใดฝ่าฝืนให้พิจารณาลงโทษ ทางวินัยและถ้ายังไม่เข็ดหลาบก็ไม่ควรให้รับราชการต่อไป ..................................

  45.  มาตรา 82(8) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการ เกี่ยวกับหน้าที่ของตน  ต้องต้อนรับ,ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม...บริการอย่างเสมอหน้ากัน ให้การสงเคราะห์...ช่วยเหลือเท่าที่พึงกระทำได้ เฉพาะผู้ มาติดต่อ ราชการ พ.ร.บ. ปี 2535 มีคำว่า “โดยไม่ชักช้าและด้วยความ สุภาพเรียบร้อย”

  46.  มาตรา 82(9) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง ในการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง กับประชาชนกับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย

  47. การวางตนเป็นกลางมาตรา 82(9) 1. วางตนเป็นกลาง 1.1 ทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และ 1. 2 ในการปฏิบัติการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง กับประชาชน 2.จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วย มารยาททางการเมืองของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2499 เช่น.... 2.1 ไม่ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง 2.2 ไม่ใช้สถานที่ราชการในกิจการทางการเมือง 2.3 ไม่แต่งเครื่องแบบราชการไปร่วมประชุมพรรคการเมือง

  48.  มาตรา 82(10) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มิให้เสื่อมเสีย มาตรา 82(10) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.  ก.พ. ยังไม่ได้กำหนด

  49. การกระทำที่เรียกว่า “ประพฤติเสื่อมเสีย” หรือ “ประพฤติชั่ว” มีองค์ประกอบในการพิจารณา 3 ประการ 1. เกียรติของข้าราชการ 2. ความรู้สึกของสังคมไทย 3. เจตนาที่กระทำ  คำว่า “เกียรติ” คือ ความยกย่องนับถือ, การมีชื่อเสียง, การมีหน้ามีตา.

  50. ตัวอย่างในเรื่องการประพฤติเสื่อมเสียตัวอย่างในเรื่องการประพฤติเสื่อมเสีย 1. เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ 2. เล่นการพนัน(ประเภท ก,ข) 3. มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว 4. การปลอมลายมือชื่อกัน 5. รับรองเอกสารราชการเป็นเท็จ .......................................  เป็นกรณี ความผิด ไม่ร้ายแรง

More Related