590 likes | 979 Vues
Your Investment Partner. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอ็มเอฟซี มาสเตอร์ ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เฉพาะส่วน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน). หัวข้อในการนำเสนอ. เพื่อทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน
E N D
Your Investment Partner กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอ็มเอฟซี มาสเตอร์ ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เฉพาะส่วน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
หัวข้อในการนำเสนอ • เพื่อทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน • แผนการลงทุนของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ใน MFC Master Fund • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอ็มเอฟซี มาสเตอร์ ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว • สรุปภาวะเศรษฐกิจ ภาวะตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน และกลยุทธ์การลงทุน • การคงเงิน และขอรับเงินเป็นงวด
1. เพื่อทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี เดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2555 – ธ.ค. 2555 เฉลี่ย 4 ธนาคาร ได้แก่ KBANK, BBL, SCB, KTB) 2.3125 2.125 ในช่วงเดือนมกราคม – เดือน พฤษภาคม 2556 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ปรับลดลงจาก 2.3125% มาอยู่ที่ 2.125%
ดัชนีผลตอบแทนรวมพันธบัตร อายุ 2ปีเดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ในช่วงเดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 2 ปี ปรับเพิ่มขึ้นจาก 144.50 เป็น 146.87 หรือคิดเป็น 1.64%
ดัชนีผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ในช่วงเดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้น จาก 1,3913.93 จุด ไปอยู่ที่ 1,562.07 หรือคิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลง 12.22%
นโยบายการลงทุนในตราสารหนี้Master Pool Fund
สัดส่วนการลงทุน ณ 31 พฤษภาคม 2556 (นโยบายตราสารหนี้) นโยบายการลงทุน ไม่จำกัด ไม่จำกัด 40% 40% - กลุ่ม 1: ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือตราสารหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง กลุ่ม 2: เงินฝาก หรือบัตรเงินฝากธนาคาร หรือสถายบันการเงินที่ค้ำประกันโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF) กลุ่ม 3: ตราสารหนี้สถาบันการเงิน กลุ่ม 4: ตราสารหนี้ออกโดยบริษัทเอกชน องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ (กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน) กลุ่ม 5: อื่น ๆ อาทิ หน่วยลงทุน ตราสารอนุพันธ์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ตราสารต่างประเทศ เป็นต้น
อัตราผลตอบแทน ณ 31 พฤษภาคม 2556 (นโยบายตราสารหนี้)
ผลตอบแทนสะสม นโยบายตราสารหนี้ (1 ม.ค.56 – 31พ.ค.56) หมายเหตุ อัตราผลตอบแทนอ้างอิง: 50%ZRR2Y + 50%Avg.FD1Y(BBL, KBANK, SCB, KTB) โดยคำนวณผลตอบแทนอ้างอิงเป็นรายเดือน และนำมาคำนวณหาอัตราผลตอบแทนรวมสะสม ด้วยการเชื่อมต่อแบบเรขาคณิต (Geometric Linked) ตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (สจก.กช.12549) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
นโยบายการลงทุนในตราสารผสมMaster Pool Fund
สัดส่วนการลงทุน ณ 31 พฤษาคม 2556 (นโยบายผสม) นโยบายการลงทุน ไม่จำกัด ไม่จำกัด 40% 40% ไม่จำกัด - กลุ่ม 1: ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือตราสารหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง กลุ่ม 2: เงินฝาก หรือบัตรเงินฝากธนาคาร หรือสถายบันการเงินที่ค้ำประกันโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF) กลุ่ม 3: ตราสารหนี้สถาบันการเงิน กลุ่ม 4: ตราสารหนี้ออกโดยบริษัทเอกชน องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ (กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน) กลุ่ม 5: ตราสารทุน กลุ่ม 6: อื่น ๆ อาทิ หน่วยลงทุน ตราสารอนุพันธ์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ตราสารต่างประเทศ เป็นต้น
สัดส่วนการลงทุน ณ 31 พฤษภาคม 2556(นโยบายผสม)
อัตราผลตอบแทน ณ 31 พฤษภาคม 2556 (นโยบายผสม)
ผลตอบแทนสะสม นโยบายผสม (1 ม.ค.56 – 31พ.ค.56) หมายเหตุ อัตราผลตอบแทนอ้างอิง:85%SETIndex + 15%Avg.SV1Y(BBL, KBANK, SCB, KTB) โดยคำนวณผลตอบแทนอ้างอิงเป็นรายเดือน และนำมาคำนวณหาอัตราผลตอบแทนรวมสะสม ด้วยการเชื่อมต่อแบบเรขาคณิต (Geometric Linked) ตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (สจก.กช.12549) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
อัตราผลตอบแทนสะสมตั้งแต่จัดตั้งกองทุน นโยบายตราสารหนี้ และนโยบายผสม ณ 31 พฤษภาคม 2556 หมายเหตุ: MFC Master Fund จัดตั้งในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552
2. แผนการลงทุนของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีใน MFC Master Fund
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะมีแผนการลงทุนทั้งหมด 5แผน ดังนี้ ( มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2556)
อัตราผลตอบแทนสะสม ม.ค. – พ.ค. 2556 ณ 31 พฤษภาคม 2556
3. กองทุน เอ็มเอฟซี มาสเตอร์ ฟันด์
รางวัลที่เอ็มเอฟซีได้รับจากการบริหารกองทุนรางวัลที่เอ็มเอฟซีได้รับจากการบริหารกองทุน MFC Master Fund ชนะเลิศกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น ประเภทกองทุนร่วม (Pool Fund)โครงการประกวดกองทุนดีเด่น ครั้งที่ 1 ปี 2555 โดยสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (AOP) รับรางวัลโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
MFC Employee’s Choice Master Fund Sub Fund SUB FUND 1 นโยบายพันธบัตร (เงินฝาก และพันธบัตร) SUB FUND 4 นโยบายตราสารหนี้ระยะสั้น (หน่วยลงทุนในกองทุน MMM) SUB FUND 2 นโยบายตราสารหนี้ (เงินฝาก พันธบัตร และตราสารหนี้ภาคเอกชน) SUB FUND 3 นโยบายผสมที่เน้นลงทุนในตราสารทุน (Mixed Fund) SUB FUND9 นโยบายหุ้นปันผล-ป้องกันความเสี่ยง) SUB FUND 5 นโยบายกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ SUB FUND 8 นโยบายอิสลามิก (หน่วยลงทุนในกองทุน MIF) SUB FUND 7 นโยบายทองคำ(หน่วยลงทุนในกองทุน SPDR Gold) SUB FUND 6 นโยบายกองทุนหุ้นต่างประเทศ 22 นำเสนอ บริษัท หงษ์หยวน คอนสตรัคชัน แมททิเรียล จำกัด
4. ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะตลาดฯ และกลยุทธ์การลงทุน
ภาวะตลาดตราสารหนี้และ กลยุทธ์การลงทุน
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวกลับสู่ระดับปกติระหว่าง 4.5 – 5.0% (yoy) จากปัจจัยขับเคลื่อนอุปสงค์ในประเทศ ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่ภาคการส่งออกมีแนวโน้มค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น ปัจจัยเสี่ยงหลักที่คาดว่าจะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว อาจกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความล่าช้าของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงคาดว่าจะอยู่ในระดับทีจัดการได้ ทั้งปี 2556 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 2.7 – 3.2 (yoy)
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ปัจจัยบวก • การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2556 ยังคงอยู่ในระดับต่ำ • การใช้มาตรการ QE ของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ทำให้สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกอยู่ในระดับสูง • การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำของประเทศกลุ่ม DM • ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกผลตอบแทนของตราสารหนี้ในตลาด DM และ EM ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งดึงดูดให้เงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าลงทุนในตราสารหนี้ในตลาด EM • คณะกรรมการนโยบายการเงินมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหากเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยง • เศรษฐกิจในกลุ่ม จี 3 สามารถขยายตัวได้เร็วกว่าที่คาด • ปริมาณอุปทานพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวค่อนข้างมาก • การประกาศอุปทานของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมเพื่อใช้สำหรับแผนการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้ กลยุทธ์ด้านพันธบัตรและเงินฝากสถาบันการเงิน • รักษาอายุเฉลี่ยของกองทุนที่ระดับ 1.4-2 ปี • กระจายการลงทุนโดยเน้นพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีสภาพคล่องสูง • เงินฝากและตราสารระยะสั้นของธนาคาร : หาโอกาสเพิ่มผลตอบแทนแก่กองทุน โดยลงทุนในตราสารกลุ่มนี้ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลอายุใกล้เคียงกัน กลยุทธ์ด้านหุ้นกู้เอกชน • มองหาโอกาสการลงทุนหุ้นกู้เอกชนในตลาดแรก • รักษาน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนไว้ที่ระดับไม่เกิน 40% ของ NAV ตามนโยบายกองทุนฯ
แนวโน้มตลาดตราสารทุนในไตรมาส 2/2556 ภาพรวมตลาดหุ้นไทยคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,490-1,580จุด ปัจจัยบวกคือ • การลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) • เศรษฐกิจไทยปี 2556 เติบโตสูงถึงร้อยละ 4.5 – 5.0 และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนเติบโต ร้อยละ 12-15% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดีและสูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค • ความคืบหน้าของแนวทางปัญหา Fiscal Cliff ของสหรัฐอเมริกา และการแก้ไขปัญหาหนี้ในยุโรปมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ช่วยให้บรรยาการการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงดูดีขึ้น • กระแสเงินลงทุนต่างชาติจากสภาพคล่องที่ล้นระบบ ซึ่งเกิดมาจาก: : มาตรการการอัดฉีดสภาพคล่องจากทั้งจากสหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา, จีน และญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิด Carry trade : การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากพันธบัตรรัฐบาลมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่ต้องติดตามคือ • เครื่องชี้สภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ จีน, สหรัฐฯ, ยุโรป และญี่ปุ่น • ความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรป และผลกระทบของ Sequester ของสหรัฐอเมริกา • ปัจจัยการเมืองภายในประเทศ
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในระยะเวลา 6 เดือน – 12 เดือนข้างหน้า MFC คาดว่าเป้าหมายดัชนีหลักทรัพย์ ปี 2556 ที่ประมาณ 1,687 จุด ทั้งนี้จากสถานะการณ์การแก้ไขปัญหาและปัญหาของโครงสร้างหนี้สินในกลุ่มประเทศยุโรปมีทิศทางที่ดีขึ้นบางส่วน สภาพคล่องที่มีอยู่สูงทั่วโลก อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเกือบทั่วโลก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ร้อยละ 4.5-5.0 ในปี 2556 ทาง MFC มองว่าทิศทางของ SET index ในกรณีต่างๆ น่าจะเป็นไปตามตารางด้านล่าง อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงและผันผวนสูงจาก • เศรษฐกิจโลกที่ค่อนข้างเปราะบาง • ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา • ปัจจัยการเมืองภายในประเทศอาจเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ
กลยุทธ์ตราสารทุนในไตรมาส 2/2556 กลยุทธ์ด้านน้ำหนักการลงทุนในตราสารทุน • รักษาสัดส่วนการลงทุนอยู่ในระดับ 90% (+ 5%) • ทยอยขายทำกำไรและกลับเข้าลงทุนใหม่ (Trading Strategy) เพื่อลดระดับความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน กลยุทธ์ด้านน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม • Overweight : Property Development, Construction Material, Finance & Securities, Healthcare, Commerce, Transportation, Telecommunication and Media • Trading : Energy and Petrochemical
กลยุทธ์การลงทุนของตลาดหุ้นไทยในระยะเวลา 6 เดือน – 12 เดือนข้างหน้า • ในระยะยาวรักษาสัดส่วนการลงทุนให้อยู่ในระดับ 85-95% ของสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ได้รับการอนุมัติ เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจและผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทยที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราการเติบโตที่ดี • Core Portfolio: เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) และจากกำลังซื้อภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศ ดังนั้นกลุ่มที่น่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง,กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์, กลุ่มการแพทย์, กลุ่มพาณิชย์, กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์, กลุ่มเทคโนโลยีสาร และกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ • Trading Portfolio: Trading กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีเพื่อหาโอกาสทำกำไรจากสภาวะตลาดที่มีความผันผวนสูง
5. การคงเงิน และรับเงินเป็นงวด
การยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ • มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ ดังนี้ • กฎกระทรวงฉบับที่ 277 (พ.ศ.2533) • ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188) • ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 202)
กฎกระทรวงฉบับที่ 277 (พ.ศ.2533) สมาชิกที่ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใน 2 กรณีดังต่อไปนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษี (ก) กรณีได้รับเงินเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ข) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุอื่นๆ ที่ไม่เข้าข้อ (ก) แต่เมื่อออกจากงานแล้วได้คงเงินไว้ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกำหนด เวลาเกษียณอายุตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188) แก้ไขโดยประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 202 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2554 กรณี ตาย ต้องมีหลักฐานใบมรณะบัตรที่แสดงถึงการตาย กรณี ทุพพลภาพ ต้องมีหลักฐานจากแพทย์ กรณี ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ เกษียณอายุตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในเวลาที่ออกจากงาน มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ เป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน กรณีที่เคยเป็นสมาชิกของ กบข. ต้องเป็นสมาชิกกองทุน กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี กรณี ออกจากงานและได้คงเงินไว้กับกองทุนทั้งจำนวน ต่อมาได้รับเงิน หรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกำหนดเวลาเกษียณอายุตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับการเกษียณอายุข้างต้น การยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การคงเงิน และขอรับเงินเป็นงวด พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ฉบับแก้ไขปี 2550 มาตรา 23/3 ลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ โดยออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด มีสิทธิคงเงินทั้งหมดในกองทุนได้ ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับกองทุน มาตรา 23/2 ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะการเกษียณอายุตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แสดงเจตนาขอรับเงินเป็นงวดได้ ระยะเวลาคงเงินหรือรับเงินงวด ข้อบังคับกองทุนสามารถกำหนดระยะเวลาให้สมาชิกคงเงินได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน
ระยะเวลาการคงเงิน และการขอรับเงินกองทุนเป็นงวดในข้อบังคับกองทุน การคงเงินไว้ในกองทุน • สมาชิกสามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้ ไม่เกิน 10 ปี การข้อรับเงินเป็นงวด • ระยะเวลารับเงินงวดไม่เกิน 10 ปี • รับเป็นงวดได้ไม่เกิน 12 ครั้ง
การคงเงิน และขอรับเงินเป็นงวด สถานะของผู้ขอคงเงิน/รับเงินงวด ยังเป็นสมาชิกกองทุนได้ตามระยะเวลาที่ข้อบังคับกองทุนกำหนด สมาชิกมีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากเงินที่ลงทุนในกองทุน ไม่ต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน และนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเช่นกัน กรณีสมาชิกเสียชีวิตระหว่าง การขอคงเงิน/รับเงินงวด ไม่อยู่ภายใต้มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยให้นำบทบัญญัติตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดกมาใช้บังคับ สิทธิอื่นๆ คณะกรรมการกองทุนอาจกำหนดแตกต่างจากสมาชิกทั่วไปได้ เช่น อาจกำหนดให้ไม่ได้รับเงินอุทิศ หรือไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมหากข้อบังคับกองทุนไม่เขียนจำกัดสิทธิไว้ จะหมายความว่าสมาชิกกลุ่มนี้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับสมาชิกปกติทุกประการ
เกณฑ์การคงเงินและรับเงินงวดของ MFC การขอคงเงิน ต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ปีละ 500 บาท การขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด ต้องชำระค่าธรรมเนียมปีแรก 500 บาท ค่าธรรมเนียมการรับเงินงวดๆ ละ 100 บาท จำนวนเงินที่ขอรับเป็นงวดขั้นต่ำ 10,000 บาท หากการจ่ายคืนงวดใด มีเงินคงเหลือหลังการจ่ายต่ำกว่าเงินที่จะต้องจ่าย 1 งวด กองทุนจะทำการจ่ายเงินคงเหลือดังกล่าวพร้อมกับการจ่ายงวดและถือการจ่ายนั้น เป็นการจ่ายคืนงวดสุดท้าย ระบุจำนวนปีที่ต้องการคงเงินให้ชัดเจนโดยจำนวนปีที่ระบุนี้ จะไม่เกินกว่าที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ชื่อบัญชีต้องตรงกับชื่อผู้ยื่นคำขอ ผู้ยื่นคำขอสามารถขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงเจตนารับเงินจากกองทุนเป็นงวดได้ โดยต้องแจ้งล่วงหน้า 90 วัน ในการขอแก้ไขนั้น ผู้ยื่นคำขอต้องใช้แบบฟอร์มขอแก้ไขการแสดงเจตนารับเงินจากกองทุนเป็นงวด พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งมาที่เอ็มเอฟซี
เอกสารประกอบแนบท้ายแบบฟอร์ม ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาสมุดเงินฝากหน้าที่มีชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีเงินฝาก พร้อม ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง กรณีมีค่าใช้จ่ายอื่นที่เกิดจากการโอนเงิน หรือค่าธรรมเนียมใดๆ ผู้ยื่นคำขอต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายนั้น เอ็มเอฟซี จะคิดค่าธรรมเนียมรายปีโดยยึดหลักการนับแบบวันที่ชนวันที่ การคำนวณจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละงวด จะใช้วันที่คำนวณจำนวนหน่วยทุกวันสิ้นเดือนและผู้ยื่นคำขอจะได้รับเงินภายในวันทำการที่ 5 ของเดือนถัดไป สิทธิและหน้าที่ของ เอ็มเอฟซี ในการดูแลรักษาการคงเงินหรือขอรับเงินเป็นงวดจะสิ้นสุดในกรณีที่กองทุนมีการเปลี่ยนแปลงบริษัทจัดการกองทุนเป็นบริษัทจัดการอื่น ผู้ยื่นคำขอมีหน้าที่ต้องติดต่อกับคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการกองทุนรายใหม่เพื่อดำเนินการต่อไป เกณฑ์การคงเงินและรับเงินงวดของ MFC
การคงเงินของสมาชิกที่ออกจากงานการคงเงินของสมาชิกที่ออกจากงาน ณ 31 สิงหาคม 2556 (ลาออก และแสดงความจำนงขอคงเงิน มีเงิน 4 ก้อน) 4 1 2 3 เงินสะสม 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสะสม 300,000 เงินสมทบ 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสมทบ 300,000 ณ 1 กันยายน 2556 (เงินที่คงไว้จะรวมเป็น 2 ก้อน) ผลประโยชน์เงินสะสม 1,600,000 เงินสะสม 1,000,000 ณ 1 ธันวาคม 2557 (วันที่ขอถอนเงิน จะได้เงิน 2 ก้อน) เงินสะสม 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสะสม x,xxx,xxx
การคงเงินของสมาชิกที่เกษียณอายุการคงเงินของสมาชิกที่เกษียณอายุ ณ 30 กันยายน 2556 4 1 2 3 เงินสะสม 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสะสม 300,000 เงินสมทบ 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสมทบ 300,000 ณ 1 ตุลาคม 2556 (ขอคงเงิน เงินจะรวมเป็น 1 ก้อน) เงินกองทุนที่คงไว้ 2,600,000 ณ สิ้นวันจะมีผลประโยชน์จากการลงทุนเกิดขึ้น เงินกองทุนที่คงไว้ 2,600,000 ผลประโยชน์เงินกองทุนที่คงไว้ xxxx
ตัวอย่างการได้รับ/ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตัวอย่างการได้รับ/ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตัวอย่างการได้รับ/ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตัวอย่างที่ 5 ธนาคารไทยสยาม มีโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (EARLY RETIREMENT) โดยกำหนดว่าพนักงานที่มีอายุระหว่าง 50 – 59 ปี และมีอายุงานไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ จากโครงการดังกล่าว นางพิศมัยซึ่งมีอายุ 53 ปี มีอายุการทำงาน 10 ปี และมีอายุสมาชิก 9 ปี 7 เดือนได้ขอเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป หากนางพิศมัยต้องการที่จะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน นางพิศมัยต้องแจ้งขอคงเงินไว้ในกองทุนจนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือมิฉะนั้น หากขอรับเงินทันทีขณะที่มีอายุ 53 ปี จะต้องเสียภาษีจากเงินกองทุนฯ 3 ส่วน คือ เงินสมทบ, ผลประโยชน์เงินสมทบ และผลประโยชน์เงินสะสม ตัวอย่างการได้รับ/ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อดีและข้อพึงระวังของการคงเงิน และการรับเงินเป็นงวด
ข้อดีและข้อพึงระวังของการคงเงิน และการรับเงินเป็นงวด (ต่อ)
ข้อดีและข้อพึงระวังของการคงเงิน และการรับเงินเป็นงวด (ต่อ)