1 / 47

ขนาดไอออน

“ ไอออนของอโลหะในหมู่เดียวกัน จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ” และ “ ไอออนของอโลหะในคาบเดียวกันจะมีขนาดเล็กลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ”. ขนาดไอออน. “ ไอออนของโลหะในหมู่เดียวกันจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ” และ “ ไอออนของโลหะในคาบเดียวกันจะมีขนาดเล็กลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ”.

Télécharger la présentation

ขนาดไอออน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “ไอออนของอโลหะในหมู่เดียวกัน จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”และ “ไอออนของอโลหะในคาบเดียวกันจะมีขนาดเล็กลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” ขนาดไอออน “ไอออนของโลหะในหมู่เดียวกันจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”และ“ไอออนของโลหะในคาบเดียวกันจะมีขนาดเล็กลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” ธาตุที่กลายเป็นไอออนบวกจะมีขนาดเล็กลง ธาตุที่กลายเป็นไอออนลบจะมีขนาดใหญ่ขึ้น

  2. Ionization Energy (IE) พลังงานที่ใช้ในการดึง e-หลุดออกจากอะตอมในสภาวะก๊าซ กลายเป็นไอออนบวกในสภาวะก๊าซ อะตอมใดมีขนาดเล็ก จะทำให้ดึง e- ออกยาก IE สูง อะตอมใดมีขนาดใหญ่ จะทำให้ดึง e- ออกง่าย IE ต่ำ

  3. Ionization Energy (IE) -We can remove any number of electrons in sequence, forming ions with greater charge -Each successively removed electron has successively greater ionization energy: First ionization energy IE1: A(g) A+(g) + e-(g) Second ionization energy IE2: A+(g) A2+(g) + e-(g) Third ionization energy IE3: A2+ A3+(g) + e-(g)

  4. Successive Ionization Energies (kJ/mol)

  5. First Ionization Energy เพิ่มขึ้น First Ionization Energy เพิ่มขึ้น ตามคาบจำนวนประจุบวกเพิ่มมากขึ้น e- ถูกดึงดูดมาอยู่ใกล้ Nu ได้มากe- หลุดยาก IE สูง ตามหมู่ระดับพลังงานมากขึ้น e- อยู่ไกล Nu มาก e- หลุดง่าย IE ต่ำ

  6. X (g) + e- X-(g) O (g) + e- O-(g) F (g) + e- F-(g) Electron Affinity(EA) คือพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากการรับอิเล็กตรอนของอะตอมธาตุแล้วเกิดเป็นแอนไอออน ณ สถานะแก๊ส Electron Affinity ธาตุที่มี EA สูง จะคายพลังงานออกมามากเมื่อรับอิเล็กตรอนเข้าไป ทำให้เกิดไอออนลบที่มีความเสถียรมาก ดังนั้นค่า EA จึงใช้ทำนายความสามารถในการเป็นไอออนลบ กล่าวคือ ธาตุที่มี EA สูง จะสามารถเกิดเป็นไอออนลบได้ง่ายกว่าธาตุที่มี EA ต่ำ H = -328 kJ/mol EA = +328 kJ/mol H = -141 kJ/mol EA = +141 kJ/mol

  7. ธาตุในหมู่เดียวกัน ค่า EA เพิ่มขึ้นจากล่างขึ้นบน เพราะธาตุข้างบนมีขนาดเล็กกว่าธาตุข้างล่าง จึงมีแรงดึงดูดระหว่างประจุบวกที่นิวเคลียสกับอิเล็กตรอนที่เพิ่มเข้าในอะตอมได้มากกว่า ระยะทางจากนิวเคลียสถึงขอบเขตของอะตอมสั้นกว่าอะตอมที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่ข้างล่างของหมู่ ธาตุข้างบนรับอิเล็กตรอนได้ดีกว่าธาตุข้างล่าง EA จึงมากกว่า Electron Affinity ธาตุในคาบเดียวกัน ค่า EA เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาของตารางธาตุ เพราะธาตุทางขวามีขนาดเล็กกว่าธาตุทางซ้าย จึงรับ e- ได้ดีกว่า e- ที่เข้ามาใหม่จะถูกดึงดูดด้วย Nucleus ได้มากกว่า EA จึงมากกว่า

  8. Electronegativity อิเล็กโตรเนกาติวิตี้ ( Electronegativity ) เป็นค่าสมบัติที่แสดงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจาก Nucleus e- คู่ร่วมพันธะของอะตอมที่มีขนาดเล็ก จะได้รับแรงดึงดูดจาก Nucleus มาก  EN สูง e- คู่ร่วมพันธะของอะตอมที่มีขนาดใหญ่ จะได้รับแรงดึงดูดจาก Nucleus น้อย  EN ต่ำ

  9. Electronegativity ธาตุในคาบเดียวกัน ค่า EN จะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาเพราะขนาดอะตอมเล็กลงทำให้ได้รับแรงดึงดูดจากนิวเคลียสมากกว่าอะตอมที่มีขนาดใหญ่ EN จึงสูงขึ้น ธาตุหมู่เดียวกัน ค่า EN จะลดลงจากบนลงล่าง เพราะขนาดอะตอมใหญ่ขึ้นทำให้นิวเคลียสมีโอกาสดึงดูดอิเล็กตรอนได้น้อยกว่าอะตอมที่มีขนาดเล็ก EN จึงต่ำลง

  10. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจุดหลอมเหลวและจุดเดือด ก. โลหะในหมู่เดียวกันคือ หมู่ IA , IIA, และ IIIA “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มลดลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”เนื่องจากความแข็งแรงของพันธะโลหะลดลง เพราะมีขนาดอะตอมใหญ่ขึ้น ข. โลหะในคาบเดียวกันคือ โลหะในหมู่ IA , IIA, และ IIIA ในคาบต่างๆ “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”เนื่องจากมีพันธะโลหะที่แข็งแรงมากขึ้น ทั้งนี้เพราะอะตอมมีขนาดเล็กลงและมีจำนวนเวเลนต์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น หมายเหตุสำหรับธาตุหมู่ IVA และ VA จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน เนื่องจากมีโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่แตกต่างกัน สูง หมู่ IA หมู่IVA (โลหะ) ต่ำ

  11. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจุดหลอมเหลวและจุดเดือด ก.อโลหะในหมู่เดียวกันคือ หมู่ VIA , VIIA, และ VIIIA “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลคือแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น เพราะมวลโมเลกุลและขนาดโมเลกุลเพิ่มขึ้น ข. อโลหะในคาบเดียวกันคือ อโลหะ หมู่ VA, VIA , VIIA, และ VIIIA “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มลดต่ำลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลคือ แรงวันเดอร์วาลส์มีค่าลดลง เพราะขนาดของโมเลกุลเล็กลง โดยเฉพาะก๊าซเฉื่อยเป็นก๊าซประเภทโมเลกุลเดี่ยว และมีขนาดเล็ก มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำมาก หมู่ VA หมู่VIIIA ต่ำ (อโลหะ) สูง

  12. Oxidation Number เลขออกซิเดชัน เป็นตัวเลขเพื่อแสดงค่าประจุไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าสมมติของไอออนหรืออะตอมของธาตุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเลขจำนวนเต็มรวมทั้งศูนย์และอาจมีเครื่องหมายเป็นบวกหรือลบก็ได้ การกำหนดค่าเลขออกซิเดชัน มีกฎดังนี้ คือ 1. อะตอมของธาตุต่าง ๆ ในสภาวะอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปที่เป็นอะตอมเดียว หรือโมเลกุล จะมีเลขออกซิเดชันเท่ากับศูนย์ เช่น Na, Be, He, O2, S8 2. ไอออนที่มีอะตอมเดี่ยวเลขออกซิเดชันจะมีค่าเท่ากับประจุของไอออนนั้น เช่น Na+ มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +1 Be2+ มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +2 O2- มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ -2 3. เลขออกซิเดชันของโลหะอัลคาไล (หมู่ IA) และโลหะอัลคาไลน์เอิร์ท (หมู่ IIA) ในสารประกอบต่าง ๆ มีค่าเท่ากับ +1 และ +2 ตามลำดับ

  13. Oxidation Number • 4. เลขออกซิเดชันของออกซิเจนในสารประกอบส่วนมากมีค่าเท่ากับ -2 ยกเว้น • สารประกอบเปอร์ออกไซด์ เช่น H2O2 และ Na2O2 ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน -1 • สารประกอบซุปเปอร์ออกไซด์ เช่น KO2  ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน -1/2 • สารประกอบ OF2  ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน +2 • 5. เลขออกซิเดชันของไฮโดรเจนในสารประกอบส่วนมากมีค่าเท่ากับ +1 ยกเว้นในสารประกอบพวกไฮไดรด์ไอออนิก ซึ่งไฮโดรเจนมีค่าเลขออกซิเดชันเท่ากับ -1 เช่น LiAlH4 และ NaBH4 • 6. ผลรวมทางพีชคณิตของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดในสูตรเคมีใด ๆ จะมีค่าเท่ากับประจุสำหรับกลุ่มของอะตอมที่เขียนแสดงในสูตรนั้น ๆ เช่น ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ KMnO4 เท่ากับ 0 ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ NO3- เท่ากับ -1

  14. Oxidation Number ตัวอย่างที่1 จงหาเลขออกซิเดชันของ S ใน H2SO4 สมมติเลขออกซิเดชันของ S = x, เลขออกซิเดชันของ H = +1 2 อะตอมของ H มีเลขออกซิเดชันรวม = (+1  2) = +2 เลขออกซิเดชันของ O = -2 4 อะตอมของ O มีเลขออกซิเดชันรวม = (-2 4) = -8 ผลรวมของเลขออกซิเดชันธาตุทั้งหมดในสารประกอบเท่ากับ 0 ดังนั้น +2 + x + (-8) = 0 x = +6 เลขออกซิเดชันของ S ใน H2SO4 = +6

  15. Oxidation Number ตัวอย่างที่2 จงหาเลขออกซิเดชันของ Co ใน [Co(CN)6]4- สมมติเลขออกซิเดชันของ Co = x, เลขออกซิเดชันของ CN = -1 ผลรวมเลขออกซิเดชันของ CN = (-1  6) = -6 ผลรวมเลขออกซิเดชันธาตุทั้งหมดในไอออนเท่ากับประจุของไอออนเท่ากับ -4 ดังนั้น x + (-6) = -4 x = +2 เลขออกซิเดชันของ Co ใน [Co(CN)6]4- = +2

  16. Oxidation Number

  17. โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ

  18. โลหะ • โลหะส่วนใหญ่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี ตีแผ่ให้เป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ ออกไซด์ของโลหะเป็นเบส มักมีเลขออกซิเดชันเป็นบวกเมื่อเกิดเป็นสารประกอบ • ธาตุหมู่เดียวกัน ความเป็นโลหะจะเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง • ธาตุคาบเดียวกัน ความเป็นโลหะจะลดลงจากซ้ายลงไปขวา • โลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ • โลหะส่วนใหญ่มักจะถูกออกซิไดส์มากกว่าถูกรีดิวซ์

  19. โลหะ • เมื่อโลหะถูกออกซิไดส์ โลหะจะกลายเป็นไอออนบวก • โลหะหมู่ 1A จะเกิดไอออน M+ • โลหะหมู่ 2A จะเกิดไอออน M2+ • ขณะที่โลหะทรานสิชันสามารถมีประจุได้หลายค่า • ออกไซด์ของโลหะเป็นออกไซด์เบส: • Metal oxide + water  metal hydroxide • Na2O(s) + H2O(l)  2NaOH(aq)

  20. อโลหะ • เมื่ออโลหะทำปฎิกิริยาหรือเกิดเป็นสารประกอบกับโลหะ • อโลหะจะมีแนวโน้มเป็นตัวรับอิเล็กตรอน: • metal + nonmetal  salt • 2Al(s) + 3Br2(l)  2AlBr3(s) • ออกไซด์ของอโลหะเป็นออกไซด์กรด: • nonmetal oxide + water  acid • P4O10(s) + H2O(l)  4H3PO4(aq)

  21. กึ่งโลหะ • กึ่งโลหะเป็นธาตุที่มีสมบัติอยู่ระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น ซิลิกอน เป็นธาตุที่มีความมันวาว แต่เปราะ • ธาตุกึ่งโลหะมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ

  22. หมู่ I A (Alkaline Metals) • หมู่ I A มี Valence e- = 1 ได้แก่ Li, Na, K, Rb, Cs, Fr • เป็นโลหะที่ว่องไวที่สุด ต้องเก็บไว้ในน้ำมันแร่ เช่น น้ำมันก๊าด เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยากับอากาศ ความชื้น

  23. โลหะหมู่ IA (โลหะอัลคาไล) • โลหะอัลคาไล มีลักษณะอ่อนซึ่งตัดได้ง่าย • โลหะหมู่นี้มีแนวโน้มที่จะสูญเสีย s อิเล็กตรอน • M  M+ + e- • ความว่องไวจะเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง • เมื่อทำปฎิกิริยากับน้ำจะเกิดเป็นสารประกอบไฮดรอกไซด์กับแก๊สไฮโดรเจน: • 2M(s) + 2H2O(l)  2MOH(aq) + H2(g)

  24. โลหะหมู่ IA • โลหะอัลคาไลเมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนสามารถเกิดเป็นออกไซด์ชนิดต่างๆเช่น: • 4Li(s) + O2(g)  2Li2O(s) (ออกไซด์) • 2Na(s) + O2(g)  Na2O2(s) (เปอร์ออกไซด์) • K(s) + O2(g)  KO2(s) (ซุปเปอร์ออกไซด์) • เมื่อนำโลหะอัลคาไลไปวางในเปลวไฟ จะให้แสงที่มีสีออกมาเนื่องจาก s อิเล็กตรอนในสถานะกระตุ้นคายพลังงานกลับคืนสถานะพื้น

  25. Li line: 2p  2s transition Na line (589 nm): 3p  3s transition K line: 4p  4s transition โลหะหมู่ IA

  26. สมบัติบางประการของโลหะหมู่ IA

  27. หมู่ II A (Alkaline earth) • หมู่ II A มี Valence e- = 2 ได้แก่ Be, Mg, Ca, Sr, Ba, Ra • เป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกมีความว่องไวน้อยกว่าหมู่ I A

  28. โลหะหมู่ IIA (โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท) • โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท มีความแข็งและความหนาแน่นมากกว่าโลหะอัลคาไล • โลหะหมู่นี้มีแนวโน้มที่จะสูญเสีย s อิเล็กตรอน 2 ตัว: • M  M2+ + 2e-. • Mg(s) + Cl2(g)  MgCl2(s) • 2Mg(s) + O2(g)  2MgO(s)

  29. สมบัติบางประการของโลหะหมู่ IIA

  30. ธาตุหมู่ VIA • ความเป็นโลหะจะเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง (O2เป็นแก๊ส Te เป็นกึ่งโลหะ Po เป็นโลหะ) • ออกซิเจนนอกจากจะเกิดในรูปของ O2ซึ่งเสถียรดีแล้ว ยังเกิดในรูปของโอโซน O3 ได้อีกด้วย • โอโซนสามารถเตรียมโดยผ่านประกายไฟฟ้าเข้าไปในออกซิเจน O2 • 3O2(g)  2O3(g) H = +284.6 kJ • โอโซนมีสีน้ำเงิน กลิ่นฉุนและเป็นพิษ

  31. ธาตุหมู่ VIA • ออกซิเจน(O2) เป็นตัวออกซิไดส์ที่ดี และไอออน O2-มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเหมือนแก๊สมีตระกูล • ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน 2- (เช่น H2O) 1- (เช่น H2O2) • กำมะถันเป็นธาตุอีกตัวที่มีความสำคัญในหมู่นี้ โครงสร้างที่เสถียรประกอบด้วยกำมะถัน 8 อะตอม • เมื่อเกิดเป็นสารประกอบ กำมะถันจะเกิดเป็นไอออนลบ S2- (ซัลไฟด์)

  32. สมบัติบางประการของธาตุหมู่ VIA

  33. หมู่ VII A (Halogen) • หมู่ VII A มี Valence e- = 7 ได้แก่ F, Cl, Br, I, At ในรูปอิสระจะเป็นพิษ อาจทำให้ตายได้ หากอยู่ในรูปไอออนจะมีประโยชน์ • Halogen = ทำให้เกิดเกลือ (มีโลหะไปแทนที่จะได้เกลือ)

  34. ธาตุหมู่ VIIA (ฮาโลเจน) • เฮโลเจนจะรับอิเล็กตรอน กลายเป็นไอออนลบ: • X2 + 2e- 2X- • ฟลูออรีนเป็นธาตุที่ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา: • 2F2(g) + 2H2O(l)  4HF(aq) + O2(g) • H = -758.7 kJ • เฮโลเจนทุกตัวจะเป็นโมเลกุลคู่X2

  35. สมบัติบางประการของธาตุหมู่ VIIA

  36. หมู่ VIII A (Inert Gas หรือ Noble Gas) • หมู่ VIII A มี Valence e- = 8 ได้แก่ He, Ne, Ar, Kr, Xe, Rn • He ใช้บรรจุในบอลลูน บรรจุในถังแก๊สของนักประดาน้ำโดยผสมกับ O • Ne ใช้ในหลอดไฟ • Ar ผลิตรังสี เลเซอร์ ใช้รักษาโรคมะเร็ง

  37. Group 8A Elements (ns2 np6, n ไม่ต่ำกว่า 2)

  38. แก๊สมีตระกูล(แก๊สเฉื่อย)แก๊สมีตระกูล(แก๊สเฉื่อย) • ทุกตัวเป็นอโลหะและเป็นอะตอมเดี่ยว • ทุกตัวมีอิเล็กตรอนใน s และ p ออร์บิทัลที่เต็ม • ในปี 1962 ได้มีการเตรียมสารประกอบของแก๊สมีตระกูลของซีนอนเป็นตัวแรก: XeF2 XeF4และ XeF6 • ปัจจุบันได้มีการเตรียมสารประกอบของแก๊สมีตระกูลมากขึ้นเช่น KrF2และ HArF

  39. สมบัติบางประการของแก๊สมีตระกูลสมบัติบางประการของแก๊สมีตระกูล

  40. สรุป

  41. แบบฝึกหัด ขนาดอะตอมของธาตุในคาบเดียวกันเป็นอย่างไรจากซ้ายไปขวาของตารางธาตุ 1) ขนาดอะตอมจะเล็กลงเนื่องจากจำนวนอิเล็กตรอนมากขึ้น 2) ขนาดอะตอมจะเล็กลงเนื่องจากจำนวนชั้นของอิเล็กตรอนมากขึ้น 3) ขนาดอะตอมจะใหญ่ขึ้นเนื่องจากจำนวนอิเล็กตรอนมากขึ้น 4) ขนาดอะตอมจะใหญ่ขึ้นเนื่องจากจำนวนชั้นของอิเล็กตรอนมากขึ้น 5) ขนาดอะตอมจะเท่ากันสำหรับธาตุในคาบเดียวกัน

  42. แบบฝึกหัด ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของโลหะ 1) นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี 2) ออกไซด์ของโลหะเป็นเบส 3) โลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ 4) โลหะส่วนใหญ่มักจะให้อิเล็กตรอนมากกว่ารับอิเล็กตรอน 5) เมื่อโลหะถูกออกซิไดส์โลหะจะกลายเป็นไอออนลบ ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของธาตุหมู่ 1 1) อิเล็กตรอนวงนอกเท่ากับ 1 2) มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาสูง 3) มีความเป็นโลหะ 4) ทำปฏิกิริยาน้ำได้เบส 5) ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยากับกรด

  43. แบบฝึกหัด • จงเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนของ 20Ca และ 35Br • 2,8,10 และ 2,8,18,7 2) 2,8,8,2 และ 2,8,7,18 • 3) 2,8,8,2 และ 2,8,18,7 4) 2,8,10 และ 2,8,8,8,8,1 • 5) 2,8,8,2 และ 2,8,8,2,7 • จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของ A,B,C,X,Y • ก. A < B < C • ข. X > Y • ค. X < A • จงพิจารณาว่าข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง • 1) ก. และ ข. และ ค. 2) ก. และ ข. 3) ก. 4) ข. 5) ค.

  44. แบบฝึกหัด • ธาตุใดต่อไปนี้อยู่ในหมู่เดียวกัน • Na, Cl, Br, C 2) C, O, N, F 3) N, P, K, Mo • 4) O, S, Se, Te 5) He, Ne, Br, Ar

More Related