1 / 17

ผลของแรงลัพธ์

ผลของแรงลัพธ์. โดย ครูเพ็ญประภา หร่ายเจริญ.

avian
Télécharger la présentation

ผลของแรงลัพธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลของแรงลัพธ์ โดย ครูเพ็ญประภา หร่ายเจริญ

  2. แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทาง ดังนั้น การหาแรงลัพธ์ที่เกิดจากการรวมกันระหว่าง 2 แรงขึ้นไป สามารถคำนวณแบบเวกเตอร์ได้ ซึ่งจะต้องรวมเวกเตอร์จำนวนที่มีอยู่ให้เป็นปริมาณเดียวกัน เนื่องจากปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง ในการรวมเวกเตอร์จึงต้องวิเคราะห์ทิศทางของเวกเตอร์ที่นำมารวมกันและเรียกเวกเตอร์ที่รวมกันว่า เวกเตอร์ลัพธ์

  3. การหาขนาดและทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์การหาขนาดและทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์ เมื่อความสะดวกในการศึกษาเวกเตอร์ลัพธ์จึงได้จำแนกการรวมเวกเตอร์เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การวมเวกเตอร์ที่อยู่ในแนวขนานกัน ซึ่งอาจมีทิศทางไปทางเดียวกันหรือมีทิศทางตรงข้ากัน โดยปริมาณเวกเตอร์ลัพธ์จะมีค่าเท่ากับผลบวกทางพีชคณิตของเวกเตอร์และใช้เครื่องหมายบวก (+) กับเครื่องหมายลบ (-) แทนทิศทางของเวกเตอร์ได้

  4. ตัวอย่าง จงหาเวกเตอร์ลัพธ์จากการเดินทางของจิมมี่ที่เดินทางไปทางขวา 10 เมตร แล้วย้อนกลับไปทางซ้าย 5 เมตร แล้วเดินต่อไปทางซ้ายอีก 3 เมตร วิธีคิด กำหนดให้ เวกเตอร์ที่ไปทางทางขวาเป็น + เวกเตอร์ที่ไปทางทางขวาเป็น - A = 10 เมตร B 5 เมตร C 3 เมตร ⃑ ⃑ ⃑

  5. A เดินทางไปทางขวา + 10 เมตร B เดินทางไปทางซ้าย - 5 เมตร C เดินทางต่อไปทางซ้ายอีก - 3 เมตร ผลบวกของเวกเตอร์ A + B + C = (+10) + (-5) +(-3) เวกเตอร์ลัพธ์ = + 2 เมตร จิมอยู่ในตำแหน่งห่างจากจุดเริ่มต้นไปทางขวา 2 เมตร ⃑ ⃑ ⃑ ⃑ ⃑

  6. 2. การรวมเวกเตอร์ในแนวทางที่ไม่ขนานกัน หาเวกเตอร์ลัพธ์โดยการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ใช้แทนเวกเตอร์ลัพธ์ ดังนี้ จากการนำเชือกผูกที่เอวตุ๊กตาจำนวน 3 เส้น แล้วให้เด็ก 3 คนดึงปลายเชือกทั้ง 3 เส้นในแนวที่ไม่ขนานกันจนตุ๊กตาหยุดนิ่ง

  7. การหาแรงลัพธ์จากการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานการหาแรงลัพธ์จากการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 1. ลากเส้นแทนแนวแรงทั้ง 3 แรง พบว่าตัดกันที่จุด A 2. กำหนดขนาดและทิศทางของเวกเตอร์ของแรงทั้ง 3 แรง 3. สร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD โดยให้ด้านของปริมาณแรงที่น้อยกว่าคือ F2กับ F3เป็นด้านประกอบของสี่เหลี่ยมด้านขนาน 2 ด้าน แล้วลากเส้นต่อกันทุกเส้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

  8. 4. ลากเส้นทแยงมุมออกจากจุดที่แรงทั้ง 3 พบกัน ออกไปยังจุดตรงข้ามคือเส้น AC พบว่าเส้นทแยงมุม AC มีขนาดเท่ากับความยาวของเวกเตอร์ F1 5. แรงลัพธ์ของแรง F2และ F3มีปริมาณเท่ากับ แรง F1หักล้างกัน ผลรวมของแรงลัพธ์เป็นศูนย์ ตุ๊กตาจึงไม่เคลื่อนที่ ผลของแรงลัพธ์รวมที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์ วัตถุจะหยุดนิ่ง

  9. วิธีทำ โดยวิธีการวาดรูป กำหนดให้ FRคือเวกเตอร์ลัพธ์และเวกเตอร์แต่ละตัวยาว 1 เซนติเมตรต่อขนาดของแรง 1 นิวตัน ⃑ ⃑ ⃑ ⃑ ⃑ ตัวอย่างที่ 1 จงหาขนาดของแรงลัพธ์ที่กระทำต่อมวล m เมื่อแรง F1และ F2มีขนาด 3 และ 4 นิวตันตามลำดับโดยแรง แรง F1และ F2 มีทิศทางที่ตั้งฉากซึ่งกันและกัน

  10. จากรูปเมื่อวัดความยาวของ FRจะได้ประมาณ 5 เซนติเมตรหรือได้เวกเตอร์ลัพธ์ประมาณ 5 นิวตัน โดยวิธีการคำนวณ เนื่องจาก F1และ F2ทำมุมต่อกันเท่ากับ 90 องศา ดังนั้นเราใช้ทฤษฎีบทพีธากอรัสได้เลย ⃑ ⃑ ⃑ ⃑ ตอบ เวกเตอร์ลัพธ์มีขนาด 5 นิวตัน

  11. ผลของแรงต่อสภาพการเคลื่อนที่ผลของแรงต่อสภาพการเคลื่อนที่ แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อกระทำต่อวัตถุหรือมวลใด ๆ แล้วสามารถทำให้วัตถุหรือมวลนั้นเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้ พิจารณาเหตุการณ์ต่อไปนี้

  12. 1. รถยนต์คันหนึ่งเดิมหยุดนิ่ง ต่อมาเมื่อเครื่องยนต์ทำงานทำให้รถยนต์เกิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็วเท่ากับ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง 40 km/hr ผลของแรงต่อสภาพการเคลื่อนที่ แรงฉุด F ทำให้รถมีความเร็วจากเดิมศูนย์จนมีความเร็วเป็น 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง

  13. 2. รถยนต์คันหนึ่งเดิมมีความเร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ต่อมาเบรคจนทำให้มีความเร็วเป็นศูนย์ หรือหยุดนิ่ง 60 km/hr ผลของแรงต่อสภาพการเคลื่อนที่ แรงต้าน F ทำให้รถเปลี่ยนแปลงความเร็วจากเดิม 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นหยุดนิ่งหรือศูนย์

  14. 3. รถยนต์คันหนึ่งเดิมมีความเร็ว v1ต่อมามีแรงฉุด F ทำให้รถมีความเร็วเปลี่ยนเป็น v2 ผลของแรงต่อสภาพการเคลื่อนที่ รถยนต์ถูกแรงฉุด F ทำให้มีความเร็วเปลี่ยนจาก v1 เป็น v2 โดย v2 มากกว่า v1

  15. 4. รถยนต์คันหนึ่งเดิมมีความเร็ว v1ต่อมามีแรงต้าน F ทำให้รถมีความเร็วเปลี่ยนเป็น v2 ผลของแรงต่อสภาพการเคลื่อนที่ รถยนต์ถูกแรง F ต้านไว้ทำให้มีความเร็วเปลี่ยนไป คือ จากความเร็ว v1 เป็นความเร็ว v2 โดย v2 น้อยกว่า v1

  16. 5. รถยนต์คันหนึ่งเดิมมีความเร็วคงที่ v แนวเส้นตรง ถูกแรง F กระทำด้านข้าง

  17. ผลของแรงต่อสภาพการเคลื่อนที่ รถยนต์ถูกแรง F กระทำด้านข้างทำให้ความเร็วของรถเปลี่ยนจากมีความเร็วในเส้นตรงเป็นมีความเร็วแนวโค้ง จากตัวอย่างทั้ง 4 กรณีสรุปได้ว่าแรงเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อกระทำต่อวัตถุหรือมวลใด ๆ แล้วจะทำให้วัตถุนั้นหรือมวลนั้นเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้

More Related