1 / 21

รายงาน

สมาชิกในกลุ่ม 1. นางสาวชไมพร พรมภักดี เลขที่ 14 2. นางสาว วราภรณ์ บัวพรมมา เลขที่ 22 3. นางสาวนิภาพร โอดพิมพ์ เลขที่ 14 4. นางสาววิภาวดี ชู พงษ์ เลขที่ 34 5.นางสาวกังสดาล แสนสงค์ เลขที่ 13 ชั้น ม . 5 / 3 เสนอ อาจารย์ บุษ กล ไชยทิพย์. รายงาน. เรื่อง ระบบกล้ามเนื้อ.

azuka
Télécharger la présentation

รายงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมาชิกในกลุ่ม1.นางสาวชไมพร พรมภักดี เลขที่ 14 2.นางสาววราภรณ์ บัวพรมมา เลขที่ 223.นางสาวนิภาพร โอดพิมพ์ เลขที่ 144.นางสาววิภาวดี ชูพงษ์ เลขที่ 345.นางสาวกังสดาล แสนสงค์ เลขที่ 13ชั้น ม. 5/3เสนออาจารย์บุษกล ไชยทิพย์ รายงาน เรื่อง ระบบกล้ามเนื้อ

  2. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) • ความสำคัญพิเศษของกล้ามเนื้ออยู่ที่การหดตัวทำให้เกิดการเคลื่อนไหว จากการกระพือปีกของแมลง ๑,๐๐๐ ครั้งใน ๑ วินาที จนถึงการหดตัวนาน ๕ นาทีของอะนีโมนทะเล (seaanemone) ทำให้เห็นความแตกต่างในอัตราความเร็วอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพภายในของกล้ามเนื้อ และความแตกต่างกันระหว่างกล้ามเนื้อต่างๆ ภายในร่างกาย

  3. ชนิดของกล้ามเนื้อ • กล้ามเนื้อภายในร่างกายแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ • ๑. กล้ามเนื้อลายหรือ กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ • ๒. กล้ามเนื้อเรียบหรือกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ • ๓.กล้ามเนื้อหัวใจ

  4. 1. กล้ามเนื้อลาย (Striated Muscles) • กล้ามเนื้อลาย หรือ กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อทั่วๆไป หรือกล้ามเนื้อแดงของร่างกาย กล้ามเนื้อนี้มีประมาณ ๔๐% ของร่างกาย และอยู่ในอำนาจจิตใจภายใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ลักษณะของกล้ามเนื้อพวกนี้ประกอบด้วยเซลล์ยาว ซึ่งอาจเรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ ขนาดตั้งแต่ ๐.๑ ถึง ๐.๐๑ มิลลิเมตรและยาวตั้งแต่ ๓ มิลลิเมตร ถึง ๓๐ มิลลิเมตร มีนิวเคลียสจำนวนมากอยู่ที่ขอบของเซลล์ มีลายตามขวาง สีเข้มและสีจางสลับกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมด้วยสี คนที่ออกกำลังเสมอเส้นใยกล้ามเนื้อจะโตขึ้น และหนาขึ้น แต่จำนวนไม่เพิ่มขึ้น

  5. 2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscles) • เป็นกล้ามเนื้อที่บุอยู่ที่อวัยวะต่างๆภายในของร่างกายมีหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหารและอวัยวะภายใน ต่างๆ เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์มดลูก เส้นเลือดดำ ฯลฯ ซึ่งอยู่นอกอำนาจของจิตใจ แต่อยู่ภายใต้ การควบคุมของระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System)มีลักษณะเป็นเซลล์รูปกระสวย มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง

  6. . กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscles) • กล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจ มีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจาง เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีแขนงไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียง เซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ

  7. คุณสมบัติของระบบกล้ามเนื้อคุณสมบัติของระบบกล้ามเนื้อ • กล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื้อพิเศษในร่างกาย มีนิวเคลียสมีองค์ประกอบภายในเซลล์ที่เฉพาะเป็นส่วนซึ่งทำหน้าที่ในการหดตัว (Contractile elements) เป็นสารโปรตีนชนิดพิเศษ ซึ่งจะเคลื่อนที่เข้าหากันเสมอ ทำให้เกิดการหดสั้นที่สังเกตได้ • คุณลักษณะเฉพาะของกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ไม่พบในเนื้อเยื่ออื่น ๆ นั่นคือ ความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานทางไฟฟ้า (สัญญาณประสาท) ให้เป็นพลังงานกล (การหดตัว)

  8. คุณสมบัติอื่นที่อาจพบได้บ้างในเนื้อเยื่ออื่น ๆ เช่น •  1.  การตอบสนองต่อการเร้า (Irritability) กล้ามเนื้อจะมีการรับการกระตุ้นและตอบสนองในตัวเอง เช่น การเคาะ การตบ การยืดที่กล้ามเนื้อลูกหนู (Biceps Brachil) จะเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อให้เห็นได้ • 2.  ความสามารถในการหดตัว (Contractility) ทำให้เกิดแรง และการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญมากของสิ่งมีชีวิต • 3.  สามารถถูกยืดได้ (Extensibility) เป็นการปรับตัวต่อแรงภายนอกที่มากระทำต่อกล้ามเนื้อ และเป็นกลไกหนึ่งที่กล้ามเนื้อจะมีโอกาสฉีกขาดน้อยเมื่อถูกกระทบกระแทก • 4.  สามารถคืนตัวกลับ (Elasticity) เมื่อถูกยืดออก กล้ามเนื้อในคนที่ยืดเต็มที่แล้วจะมีความยาวคงที่ เมื่อกล้ามเนื้อถูกยืดจะหดตัวกลับ ทำให้กล้ามเนื้อสามารถคงความยาวในระยะพัก (Resting Length) ที่เหมาะสมกับการทำงานได้

  9. ประเภทของกล้ามเนื้อ • กล้ามเนื้อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ • กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary) สามารถควบคุมได้ ยึดติดกับกระดูก (bone) โดยเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) ทำหน้าที่เคลื่อนไหวโครงกระดูกเพื่อการเคลื่อนที่ของร่างกายและเพื่อรักษาท่าทาง (posture) ของร่างกาย การควบคุมการคงท่าทางของร่างกายอาศัยรีเฟล็กซ์ (reflex) ที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ เมื่อขยายเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลายดูจะพบว่า มีลักษณะเป็นลาย โดยทั่วไปร่างกายผู้ชายประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่าง 40-50% ส่วนผู้หญิงจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่าง 30-40% • กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary) ไม่สามารถควบคุมได้ พบดาดอยู่ที่ผนังของอวัยวะภายใน (Viseral Organ) เช่น หลอดอาหาร (esophagus) ,กระเพาะอาหาร (stomach) ,ลำไส้ (intestine),หลอดลม (bronchi) ,มดลูก (uterus) ,ท่อปัสสาวะ (urethra) ,กระเพาะปัสสาวะ (bladder) , และหลอดเลือด (blood vessel) • กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจเช่นกัน แต่เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษที่พบเฉพาะในหัวใจ เป็นกล้ามเนื้อที่บีบตัวให้หัวใจเต้น

  10. กล้ามเนื้อโครงร่างแบ่งออกได้เป็นประเภทย่อยๆ หลายประเภท • Type I, slow oxidative,slow twitch, หรือ "red" muscle มีหลอดเลือดฝอย (capillary) จำนวนมาก ภายในเซลล์ประกอบด้วยไมโทคอนเดรีย (mitochondria) และไมโอโกลบิน(myoglobin) ทำให้กล้ามเนื้อมีสีแดง กล้ามเนื้อนี้สามารถขนส่งออกซิเจนได้มากและมีเมตาบอลิซึมแบบใช้ออกซิเจน (aerobic metabolism) • Type II หรือ fast twitchmuscle แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามความเร็วในการหดตัว:[3] • Type IIaคล้ายกับกล้ามเนื้อ slow twitch คือมีการหายใจแบบใช้ออกซิเจน มีไมโทคอนเดรียจำนวนมากและหลอดเลือดฝอย ทำให้มีสีแดง • Type IIx (หรือเรียกอีกอย่างว่า type IId) มีไมโทคอนเดรียและไมโอโกลบินอยู่หนาแน่นน้อยกว่า เป็นกล้ามเนื้อที่หดตัวเร็วที่สุด (the fastest muscle) ในร่างกายมนุษย์ สามารถหดตัวได้รวดเร็วกว่าและแรงมากกว่ากล้ามเนื้อที่หายใจแบบใช้ออกซิเจน (oxidative muscle) แต่หดตัวได้ไม่นาน มีการหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจนอย่างรวดเร็ว (anaerobic burst) ก่อนที่กล้ามเนื้อจะหดตัว ซึ่งทำให้เกิดความเมื่อยล้าจากการเกิดกรดแลกติก (lactic acid) ในตำราบางเล่มอาจเรียกกล้ามเนื้อชนิดนี้ในมนุษย์ว่า type IIB[4] • Type IIbเป็นกล้ามเนื้อที่หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic) ใช้พลังงานจากกระบวนการไกลโคไลซิส (glycolysis) เรียกอีกอย่างว่า "white" muscle มีไมโทคอนเดรียและไมโอโกลบินเบาบางกว่า กล้ามเนื้อประเภทนี้พบเป็นกล้ามเนื้อ fasttwitch ในสัตว์ขนาดเล็กเช่นสัตว์ฟันแทะ (rodent) ทำให้กล้ามเนื้อของสัตว์เหล่านั้นมีสีค่อนข้างซีดจาง

  11. การทำงานของกล้ามเนื้อ • 3.   การเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสนอกจากประจุแคลเซียมอิสระในซาร์โคพลาสซึมจะช่วยให้เกิดครอสบริจ์ แล้ว ยังไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา ไฮโดรไลซีสของ ATP โดยเอนไซม์ myosin ATP-aseที่บริเวณส่วนหัวของโมเลกุลไมโอซินซึ่งจะไฮโดรไลซ์ATP ได้เป็นอะดีโนซีนไดฟอสเฟต (adenosine diphosphate, ADP) อินออร์แกนนิกฟอสเฟต(inorganic phosphate, Pi) และได้พลังงานที่ใช้ในการจับกันระหว่างแอกทินกับไมโอซิน ซึ่งจะทำให้เกิดแรงยึดหดตัวของกล้ามเนื้อในที่สุด ดังสมการกลไกการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อเริ่มจาก ATP จับกับส่วนหัวของไมโอซิน จากนั้นเอนไซม์ myosin ATP-aseจะไฮโดรไลซ์ATP ไปเป็น ADP, Pi และพลังงานต่อมาส่วนหัวของไมโอซินจะจับกับแอกทินจึงดึงให้ Z-line เลื่อนเข้ามาใกล้ เป็นผลให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อขึ้น (ดังภาพที่ 4.7)

  12. การคลายตัว • การคลายตัวของกล้ามเนื้อ (relaxation) หมายถึง การกลับสู่สภาวะเดิมก่อนจะเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งสามารถวัดได้จากความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ลดลง การคลายตัวจะทำให้สภาวะต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นเปลี่ยนกลับไปสู่สภาพเดิมอีกครั้งหนึ่ง สภาวะเหล่านี้ได้แก่ สภาวะที่มีปริมาณ ATP ค่อนข้างสูง และระดับประจุแคลเซียมอิสระที่มีในซาร์โคพลาสซึมกลับคืนสู่ระดับปกติ การคลายตัวของกล้ามเนื้อมี 2 ขั้นตอนที่สำคัญ คือการกลับสู่สภาพเดิมของประจุ และประจุแคลเซียมอิสระในซาร์โคพลาสซึมลดลง 1. การกลับสู่สภาพเดิมของประจุ 2. ประจุแคลเซียมอิสระในซาร์โคพลาซึมลดลง

  13. พลังงานในการยึดหดตัวของกล้ามเนื้อ • การสร้างพลังงานเพื่อใช้ในการยึดหดตัวของกล้ามสัตว์เนื้อนั้น เริ่มจากอาหาร ที่สัตว์กินเข้าไปจะถูกดูดซึม เข้าสู่ร่างกายถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส ซึ่งจะถูกนำเข้าสู่กล้ามเนื้อโดยจะถูกเปลี่ยนไป เป็นพลังงานทันที หรือถูกเก็บสะสมในรูปไกลโคเจนไว้ที่ตับซึ่งจะถูกไฮโดรไลซ์เป็นน้ำตาลกลูโคสและนำเข้าสู่ กล้ามเนื้อเพื่อเปลี่ยน เป็นพลังงานต่อไปไกลโคเจนในกล้ามเนื้อจะถูกเปลี่ยนเป็นไพรูเวตโดยกระบวนการไกลโคไลซิสซึ่งจะถูกเปลี่ยน โดยผ่านวัฏจักรไตรคาร์บอกซิลิก(tricarboxylic acid cycle, TCA cycle) และโซ่ไซโทโครม (cytochrome chain) ต่อไป ในกรณีที่สัตว์ทำงานหนักมากเกินไปหรือมีอาการเครียดหรือตื่นเต้นตกใจ การยึดหดตัวของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นเร็วมาก ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อและตับจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ใช้ในการดิ้นรนต่อสู้จนปริมาณไกลโคเจน ลดลงหรือถูก ใช้ หมดไป ไพรูเวตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการไกลโคไลซิสถูกเปลี่ยนไปเป็นกรดแลกติกซึ่งจะถูกสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ จึงทำให้ค่าพีเอชของกล้ามลดต่ำลงและจะทำให้ร่างกายเกิด อาการเมื่อยล้าแต่หากสัตว์ ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ แล้วกรดแลกติกที่เกิดขึ้นจะถูกนำออกไปจากกล้ามเนื้อและส่งไปสังเคราะห์เป็นไกลโคเจนเพื่อไปเก็บสะสมไว้ที่ตับต่อไป ATP เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับการยึดหดตัวและพักตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งกล้ามเนื้อมี ขบวนการ สังเคราะห์ ATP จากสภาวะที่ใช้และไม่ใช้อากาศ รวมทั้งพลังงานที่สร้างขึ้นมาใหม่ ดังนี้ 1.  การสร้างพลังงานจากกระบวนการสร้างและสลายแบบใช้อากาศ  2.  การสร้างพลังงานขึ้นมาใหม่ 3.  การสร้างพลังงานจากกระบวนการสร้างและสลายแบบไม่ใช้อากาศ

  14. กำลังของกล้ามเนื้อ • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ • คือการบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยใช้เครื่องมือบริหารกล้ามเนื้อช่วยเรียกการออกกำลังที่ต้องออกแรงต้าน resistance training โดยใช้น้ำหนัก 3-4 กก. บริหารกล้ามเนื้อ 8-10 แบบ เช่นกล้ามเนื้อแขน ไหล่ หน้าอก ขา เป็นต้น อวัยวะแต่ละส่วนให้ออกกำลัง 10-15 ครั้ง ทำ 2 วันต่อสัปดาห์ โรคที่ได้ประโยชน์สำหรับการออกกำลังโดยการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อคือ • ข้ออักเสบ • โรคเบาหวาน • โรคกระดูกพรุน • โรคอ้วน • ปวดหลัง • ซึมเศร้า

  15. ประโยชน์ของการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อประโยชน์ของการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อ • ลดอาการปวดของโรคข้ออักเสบ จากการทดลองให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม บริหารโดยการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อเป็นเวลา 16 สัปดาห์พบว่า จะลดอาการเจ็บปวดได้ร้อยละ 43 กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สุขภาพโดยรวมดีขึ้น นอกจากนั้นยังให้ผลดีกับโรคข้อหลายๆโรคเช่น rheumatoid • ลดการหักของกระดูก คนสูงอายุเมื่อหกล้มจะเกิดการหักของกระดูกได้ง่าย การบริหารโดยการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อจะลดการหักของกระดูก เนื่องจากกล้ามเนื้อมีแรงเพิ่มขึ้น การยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อดีขึ้น การทรงตัวดีขึ้นซึ่งทำให้หกล้มลดลง จากการทดลองที่ประเทศนิวซีแลนด์พบว่าลดการหักของกระดูกลงได้ร้อยละ 40 • เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก หญิงวัยทองจะมีโรคกระดูกพรุนซึ่งหักไ้ง่าย การบริหารร่างกายเพิ่มเพิ่มกำลังจะลดอัตราการหักของกระดูก • ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก กล้ามเนื้อเป็นแหล่งที่ใช้พลังงานมาก การบริหารจะทำให้กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นซึ่งจะเพิ่มอัตราการใช้พลังงาน ซึ่งทำให้คุมน้ำหนักได้ดีขึ้น • ช่วยในการควบคุมน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่ออกกำลังกายโดยการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อจะทำให้ควบคุมน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเทียบการใช้ยา • การออกกำลังกายชนิดนี้จะช่วยลดอาการเครียดเนื่องจากสุขภาพทางกายที่ดีขึ้น และการออกกำลังกายเชื่อว่าจะมีการสารสารเคมีบางชนิดมนสมองซึ่งจะลดความเครียด • นอนหลับได้ดีขึ้น • ทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น

  16. ความเมื่อยล้าของระบบกล้ามเนื้อความเมื่อยล้าของระบบกล้ามเนื้อ • อาการเมื่อยล้าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติหลังจากการทำงานทุกชนิด โดยเฉพาะงานที่ต้องออกแรงมาก เช่น การแบกหาม ยกของหนัก หรือการนั่งทำงานเป็นเวลานาน การทำงานต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อจึงจะเกิดแรงตามที่ต้องการได้ โครงร่างของมนุษย์ประกอบด้วย กระดูก ข้อต่อ ที่มีกล้ามเนื้อเกาะอยู่ เมื่อกล้ามเนื้อหดตัว ข้อต่อจะเคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อต่อนั้น ทำให้เกิดการงอ การเหยียด การหมุนรอบข้อต่อ ทำให้มนุษย์หายใจได้ กินอาหารได้ เดินได้ นั่งได้ ยืนได้ รวมทั้งทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและการทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ

  17. การทำงานของกล้ามเนื้อการทำงานของกล้ามเนื้อ • ทุกครั้งที่กล้ามเนื้อหดตัวจะเผาผลาญอาหารที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดพลังงานในการหดตัว สารเคมีที่เป็นผลพวงจากการเผาพลาญอาหารจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในภาวะที่กล้ามเนื้อคลายตัวจะมีการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อได้เพื่อนำออกซิเจนและอาหารมาให้กล้ามเนื้อ และชำระเอาคาร์บอนไดออกไซด์และสารเคมีที่ตกค้างอยู่ออกไปจากกล้ามเนื้อ แต่ถ้าตราบใดที่กล้ามเนื้อหดตัวอยู่เป็นเวลานานและไม่คลายตัว สารตกค้างซึ่งเป็นกรดจะคั่งค้างอยู่ในกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้

  18. กล้ามเนื้อกับการทำงานกล้ามเนื้อกับการทำงาน • การทำงานมี2 ลักษณะด้วยกันคือ การทำงานที่ข้อต่อขยับอยู่ตลอดเวลา กล้ามเนื้อจะหดตัวและคลายตัวสลับกันไป เช่น การทำนาที่ต้องก้มตัวอยู่ตลอดเวลา การยกกระสอบ การขนย้ายสิ่งของที่หนักถึงแม้ว่าการทำงานทุกชนิดทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้ แต่งานในลักษณะแรกมักจะไม่ค่อยเกิดอาการเมื่อยล้า เพราะการไหลเวียนของเลือดค่อนข้างสะดวก แต่งานลักษณะหลังจะเกิดความเมื่อยมาก เพราะการออกแรงทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา จึงไม่คลายตัวออก การไหลเวียนของเลือดจึงไม่ดี

  19. กล้ามเนื้อกับการเล่นกีฬากล้ามเนื้อกับการเล่นกีฬา • การเล่นกีฬาต่างๆอาจแบ่งได้2 ลักษณะเช่นเดียวกับการทำงาน คือ กีฬาที่ข้อต่อเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น การเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำ การตีปิงปอง หรือกีฬาที่ข้อต่อไม่ค่อยเคลื่อนไหว เช่น ยกน้ำหนัก ชกมวย มวยปล้ำกล่าวกันว่าข้อแตกต่างระหว่างการทำงานและการเล่นกีฬาคือ การทำงานชนิดใดชนิดหนึ่งมักจะใช้กล้ามเนื้ออยู่กลุ่มเดียวกัน ขณะที่การเล่นกีฬาจะใช้กล้ามเนื้อหลายๆกลุ่ม ความเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากการเล่นกีฬาจึงถูกขจัดไปได้เร็วกว่าการทำงานหลังจากการทำงานถ้าได้นอนพัก หรือพักการใช้กล้ามเนื้อที่เมื่อยล้าชั่วคราว โดยเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ใช้กล้ามเนื้ออื่น หรือให้กล้ามเนื้อที่เป็นมัดนั้นมีการหดตัวหรือคลายตัวตลอดเวลา ความเมื่อยล้านั้นย่อมจะหายไปได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น หลังการแบกหามสิ่งของหนัก นอกจากการนอนพักแล้ว อาจเดินไปมาแกว่งแขนขึ้นลงสักพักหนึ่ง อาการเมื่อยล้าจะค่อยๆหายไป

  20. สมดุลของกล้ามเนื้อ • การทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการทำงานและพักผ่อน ระหว่างการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อย่อมเป็นวิธีที่แก้ความเมื่อยล้าได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องกินยาแก้ปวด ยาแก้เมื่อย ซึ่งล้วนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของกระเพาะและลำไส้ได้ในกรณีที่เกิดอาการปวดเมื่อยมากหลังจากการทำงาน หรือพักผ่อนแล้วยังไม่หายปวดเมื่อย หรือเกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัวคล้ายมีไข้ อาจมีสาเหตุจากการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อบางส่วนเนื่องจากออกแรงมากเกินไป หรืออดทนทำงานไม่ยอมพักผ่อน ในกรณีนี้ควรพักกล้ามเนื้อนั้นชั่วคราวโดยใช้ผ้าพันยึดรัดกล้ามเนื้อบริเวณนั้นไว้ เพื่อป้องกันการฉีกขาดอีก หรืออาจใช้ความเย็นประคบบริเวณกล้ามเนื้อ หลังจากนั้น24 ชั่วโมงอาจจะบีบนวดกล้ามเนื้อเบาๆและประคบโดยการใช้ความร้อนการป้องกันอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ คือ การทำให้เกิดความสมดุลในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ในการทำงานควรปรับเปลี่ยนท่านั่งหรือท่ายืนให้เหมาะกับการทำงานชนิดนั้น โดยไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อยกแขนอยู่ตลอดเวลา ทุกๆครึ่งชั่วโมงควรมีการลุกขึ้นยืนเพื่อยืดเส้นยืดสายหรือเดินไปมาสัก 5-10 นาที ไม่ควรหยุดพักเพียงเพื่อต้องการสูบบุหรี่ เพราะในระยะยาวบุหรี่เป็นตัวการทำให้หลอดเลือดตีบตัน ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก เป็นบ่อเกิดของความเมื่อยล้าในภายหลัง และแทนที่จะหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าไปเพื่อช่วยขจัดความเมื่อยล้า กลับดูดเอาควันบุหรี่ซึ่งเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ทำให้ยิ่งทวีความเมื่อยล้าให้มากขึ้นหลังการทำงานควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไป เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก เตะตะกร้อ ตีปิงปอง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ไม่ควรไปฝึกชกมวย ยกน้ำหนักอีกหลังจากทำงาน แต่อาจทำได้ในวันหยุดทำงานการทำงานในลักษณะให้เกิดความสมดุลของการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตประจำวัน ทำนองเดียวกัน การอยู่นิ่งๆโดยไม่ต้องทำงานใดๆทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ย่อมเกิดความเมื่อยล้าได้ จนกว่าจะลุกขึ้นทำงานเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นความเมื่อยล้าจึงมิใช่เกิดจากการทำงานเท่านั้น แต่ย่อมเกิดจากการไม่ทำงานเช่นเดียวกัน

  21. การเจริญของกล้ามเนื้อและซ่อมแซมการเจริญของกล้ามเนื้อและซ่อมแซม • บรานชด์-เชน-อะมิโน-แอซิด / Branched Chain Amino Acids (BCAAs) : สารอาหารที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างมัดกล้ามเนื้อ • BCAAs เป็นกรดอะมิโนชนิดจำเป็น ( Essential Amino Acid) ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไปเท่านั้น ประกอบด้วย แอล - วาลีน (L-Valine), แอล - ลิวซีน (L-Leucine) และแอลไอโซลิวซีน (L-Isoleucine) BCAAs ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ โดยการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ( Growth Hormone) จากต่อมใต้สมอง ( Pituitary Grand) ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสังเคราะห์โปรตีนเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างกล้ามเนื้อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวเร็วขึ้นด้วย

More Related