260 likes | 537 Vues
พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 30 มิถุนายน 2546. กฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า. ผลและขอบเขตของกฎหมาย ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์. ผลของการมีกฎหมาย. กฎหมายนี้ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ * เพื่อรองรับการเกิดตลาด
E N D
พระราชบัญญัติ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์30 มิถุนายน 2546
กฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า • ผลและขอบเขตของกฎหมาย • ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์
ผลของการมีกฎหมาย • กฎหมายนี้ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ *เพื่อรองรับการเกิดตลาด * เพื่อคุ้มครองประชาชน โดยให้อำนาจทางการ ควบคุมการให้บริการและกำกับดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
กฎหมายรองรับการเกิดตลาดอย่างไรกฎหมายรองรับการเกิดตลาดอย่างไร • ศูนย์ซื้อขายไม่ได้เกิดโดยอัตโนมัติ • กฎหมายเพียงรองรับโดยการให้ใบอนุญาต เช่นเดียวกับที่รองรับผู้ประกอบธุรกิจ • ทางการอาจกระตุ้นการเกิดตลาดได้ แต่เอกชนต้องยินยอมพร้อมใจด้วย
การให้ความคุ้มครองประชาชน • ให้อำนาจทางการกลั่นกรองสินค้าที่จะนำมาซื้อขาย • กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจทั้งในด้านฐานะและ การประกอบธุรกิจ • ครอบคลุมผู้ประกอบธุรกิจที่ชักชวนประชาชน ในการทำธุรกรรมไม่ว่าในหรือนอกประเทศ • ป้องปรามไม่ให้เกิดตลาด/ ผู้ประกอบการเถื่อน
ขอบเขตของกฎหมาย • สินค้าที่กำหนดในกฎหมายเป็นสินค้าที่สะท้อนความต้องการมีตลาดในประเทศ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย หลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ทองคำ น้ำมันดิบ • สินค้าที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดเพิ่มเติมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรียกเว้นเงินตราสกุลใดๆ
ขอบเขตของกฎหมาย • สัญญาที่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้รวมถึง futures, optionและ combinationของfutures และ/หรือ optionทั้ง exchange-tradedและ OTCderivatives • ขึ้นอยู่กับสินค้า/ตัวแปรด้วย (บางอย่างอาจตัดออกจากกฎหมายแล้ว) • ไม่รวมrepoและ forward
ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าเป็นequity, ทองคำ, น้ำมันดิบ, อื่นๆ • อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ทั้ง exchange-traded และOTC derivatives
ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าเป็น currency - กรณีส่งมอบเป็นเงินตราจริง ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ - กรณี cash settlementจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เฉพาะ exchange-traded(โดยต้องหารือ ธปท. ก่อนนำ contract มาซื้อขายใน exchange)
ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าเป็น interest rate(พันธบัตร, หุ้นกู้, อัตราดอกเบี้ย) • ถ้าอ้างอิงกับหลักทรัพย์ (พันธบัตร/หุ้นกู้) ไม่ว่าจะ settleโดยการส่งมอบหรือคำนวณจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ทั้ง exchange-tradedและ OTC derivatives • ดังนั้น credit derivativeเช่น credit default swapจึงอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เช่นเดียวกัน • ถ้าอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย (ไม่ใช่ราคาหลักทรัพย์) จะอยู่ภายใต้กฎหมายนี้เฉพาะ exchange-traded ส่วน OTC derivativeเช่น interest rate swapไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้
ผลของการตัดสัญญาที่อ้างอิงกับ FX/ interest rate ที่ทำนอกศูนย์ซื้อขาย - ไม่สามารถใช้กฎหมายนี้กำกับหรือปราบปรามธุรกิจเถื่อนในสินค้า/ตัวแปรเหล่านี้ - แต่จะขึ้นอยู่กับ ธปท. ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลธุรกรรมสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนและ อัตราดอกเบี้ยที่ทำนอกศูนย์ซื้อขาย
ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์ความแตกต่างจากกฎหมายหลักทรัพย์ ความแตกต่างด้านรูปแบบ(form) • การให้อนุญาตประกอบธุรกิจเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ก.ล.ต. แทนการออกกฎกระทรวง • ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีโครงสร้างเป็นบริษัทมหาชนจำกัด • ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มาขอรับอนุญาตอาจเป็นบุคคลธรรมดาได้
แนวคิดที่เพิ่มเติมจากกฎหมายหลักทรัพย์แนวคิดที่เพิ่มเติมจากกฎหมายหลักทรัพย์ • การแบ่งระดับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ ตามประเภทผู้ลงทุน • การนำมาตรการทางปกครอง(Administrative Proceeding)มาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลในส่วนที่เห็นว่าจะเป็นผลดีกว่าการกำหนดโทษทางอาญา • การกำหนดบทบาทขององค์กรกำกับดูแลสมาชิกตนเอง • มาตรการคุ้มครองระบบและทรัพย์สินลูกค้า
การแบ่งระดับการกำกับดูแลตามประเภทผู้ลงทุนการแบ่งระดับการกำกับดูแลตามประเภทผู้ลงทุน • กรณีทั่วไป ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. • กรณีที่ผู้ให้บริการเป็นสถาบันการเงิน และให้บริการเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันสามารถมาจดทะเบียนกับสำนักงาน
มาตรการทางปกครอง (Administrative Proceeding) • มาตรการทางปกครอง (Administrative Proceeding) ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตำหนิ ปรับ จำกัดการประกอบการ สั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต • เหมาะที่จะนำมาใช้กับผู้ประกอบธุรกิจและสถาบันที่อยู่ ภายใต้การกำกับดูแลที่มีพฤติกรรมกรรมที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่ต้องพิสูจน์ความผิดจนปราศจากข้อสงสัย ตามกระบวนการทางอาญา แต่เป็นการตัดสินความผิด โดยผู้กำกับดูแลและคนในวงการซึ่งมีความเข้าใจในธุรกิจ
มาตรการทางปกครอง (Administrative Proceeding) • ผู้ใช้อำนาจลงโทษทางปกครองมี 3 ระดับคือ สำนักงาน คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครอง และคณะกรรมการ ก.ล.ต. • สำนักงานจะลงโทษได้ในระดับเบา คณะกรรมการพิจารณาโทษทางปกครองจะลงโทษได้แรงขึ้น และ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ลงโทษได้ถึงขั้นสั่งพักและ เพิกถอนใบอนุญาต • มาตรการให้ความเป็นธรรม (ทราบข้อกล่าวหา - สิทธิอุทธรณ์)
บทบาทขององค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) • องค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลสมาชิกของตน โดยการออกกฎระเบียบบังคับใช้กับสมาชิก โดยสมาชิก ในองค์กรมีส่วนร่วมในการบริหารงานด้วย • องค์กรที่เป็น SROในกฎหมายนี้ ได้แก่ ศูนย์ซื้อขาย และสมาคมกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ
บทบาทขององค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) • กฎหมายกำหนดบทบาทของ SRO ในการลงโทษ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นสมาชิกของตนว่า หากSROลงโทษเพียงพอแล้ว ทางการจะไม่ลงโทษซ้ำก็ได้ • เหตุที่ให้ความสำคัญกับ SROเพราะSROใกล้ชิดกับธุรกิจ มีความคล่องตัว และตอบสนองต่อสภาพตลาดได้เร็ว หาก SROมีความพร้อมและสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพจะช่วยทางการในการกำกับดูแลตลาดทุน
การคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคาการคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคา • การซื้อขายในศูนย์ซื้อขายต้องมีระบบชำระราคาที่มั่นคง ปลอดภัยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้ลงทุน โดยมีสำนักหักบัญชีเป็นผู้รับประกันการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อทุกฝ่าย • สำนักหักบัญชีจึงต้องมีมาตรการควบคุมความเสี่ยง โดยกำหนดให้ผู้ซื้อผู้ขายต้องวางหลักประกัน
การคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคาการคุ้มครองระบบซื้อขายและชำระราคา • เพื่อให้ความมั่นใจว่าระบบมีความมั่นคงเพียงพอที่จะ รองรับความเสี่ยง จึงกำหนดมาตรการไว้ดังนี้ - ดูความพร้อมของสำนักหักบัญชีในการบริหารความเสี่ยง • - เมื่อตัวแทน/ลูกค้ารายใดมีปัญหาต้องสามารถนำเงิน ประกันของตัวแทน/ลูกค้ามาใช้ได้ทันที • - กรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น กลต.สามารถสั่งให้ ผู้ประกอบธุรกิจ ศูนย์ซื้อขาย สำนักหักบัญชีดำเนินการใดๆ เพื่อป้องกัน แก้ไข หรือจำกัดผลกระทบได้
การคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าการคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้า • ตัวแทนต้องแยกเงินประกันของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของตัวเอง และเมื่อเอาเงินประกันไปวางที่สำนักหักบัญชีต้องแยกเป็นคนละกอง • ห้ามตัวแทนเอาทรัพย์สินลูกค้ารายหนึ่งไปใช้เพื่อบุคคลอื่น • ถ้าตัวแทนล้มละลาย ทางการจะเข้ามาดูแลให้มีการจัดการคืนทรัพย์สินที่อยู่กับตัวแทนดังกล่าวให้กับลูกค้าโดยเร็ว หรือโอนไปยังตัวแทนรายอื่นที่ลูกค้าเลือก
การแก้ไข พรบ.หลักทรัพย์ฯ • บลจ. จำเป็นต้องมีเครื่องมือบริหารสภาพคล่องและความเสี่ยงจากการลงทุนของกองทุนรวม • แก้ไขมาตรา 126(5) เพื่อให้กองทุนรวมเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือกู้ยืมเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องในกรณีที่จำเป็นได้ โดยทางการควบคุมขอบเขตการก่อภาระผูกพันเพื่อป้องกันการก่อภาระเกินตัวซึ่งกระทบต่อผู้ถือหน่วยได้