1 / 20

อิทธิพลและผลกระทบ ของวรรณกรรม

อิทธิพลและผลกระทบ ของวรรณกรรม. อิทธิพลและผลกระทบของวรรณกรรมต่อสังคม. บทบาท ของวรรณกรรมที่ชัดเจนมากที่สุดก็คือ ผลกระทบทางด้าน สังคม ซึ่งนักคิดนักเขียนส่วนใหญ่ก็ได้เน้นผลกระทบ ทาง ด้าน นี้มาก เพราะถือว่าวรรณกรรมที่ดีจะต้องส่งผลต่อ สังคม ไม่ มากก็น้อย ดังเช่น.

benny
Télécharger la présentation

อิทธิพลและผลกระทบ ของวรรณกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อิทธิพลและผลกระทบของวรรณกรรมอิทธิพลและผลกระทบของวรรณกรรม

  2. อิทธิพลและผลกระทบของวรรณกรรมต่อสังคมอิทธิพลและผลกระทบของวรรณกรรมต่อสังคม บทบาทของวรรณกรรมที่ชัดเจนมากที่สุดก็คือผลกระทบทางด้านสังคม ซึ่งนักคิดนักเขียนส่วนใหญ่ก็ได้เน้นผลกระทบทาง ด้านนี้มาก เพราะถือว่าวรรณกรรมที่ดีจะต้องส่งผลต่อสังคม ไม่มากก็น้อย ดังเช่น

  3. เจตนา นาควัชระ ( 2521 : 13 - 17 ) ได้เสนอว่า วรรณกรรมเป็นสิ่งผูกพันกับสังคม และเป็นสมบัติร่วมของทุกยุคทุกสมัย การศึกษาวรรณกรรมจึงต้องควบคู่กับสังคม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของวรรณกรรม ผู้ประพันธ์ได้แสดงความคิด ปรัชญา ตลอดจนความจริงในสังคมด้วยความสนใจและความรับผิดชอบ วรรณกรรมจึงมีอิทธิพลต่อสังคมมาก

  4. เสนีย์ เสาวพงศ์( อ้างถึงใน รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน ม.ป.ป. : 15 - 16 ) ได้เสนอข้อคิดว่า เบื้องหลังปากกาที่สร้างวรรณกรรม คือผู้เขียนหรือนักประพันธ์ เบื้องหลังนักประพันธ์ก็คือสังคม นั่นคือวรรณกรรมไม่ว่าจะเป็นแบบใดมักมีทัศนะของผู้เขียนแทรกอยู่ในงาน พร้อมกับการถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตในงานเขียนแต่ละชิ้น ภาพของสังคมจึงมักจะปรากฏอยู่ในวรรณกรรม ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของนักเขียนอีกหลายท่านเช่น

  5. พระมหากุเทพ ใสกระจ่าง ( 2521 : 1 , 13 ) ที่กล่าวว่า วรรณกรรมเป็นผลผลิตทางปัญญา เน้นคุณค่าของชีวิตที่ดีงาม วรรณกรรมของคนกลุ่มใดย่อมสะท้อนชีวิตและแนวความคิดของคนกลุ่มนั้น ดังคำกล่าวที่ว่า เบื้องหลังวรรณกรรมทุกเล่มคือมนุษย์ เบื้องหลังมนุษย์คือเผ่าพันธุ์ และเบื้องหลังเผ่าพันธุ์คือสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติและสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณกรรม การศึกษาวรรณกรรมจึงมิใช่แต่เพียงการอ่านตำรา หากแต่เป็นการศึกษาภาวการณ์ทางสังคมด้วย

  6. พลศักดิ์ จิรไกรศิริ ( 2521 : 105) ที่ว่าวรรณกรรมเป็นผลงานการสร้างสรรค์ทางความคิดของมนุษย์ในยุคหนึ่งยุคใด โดยความคิดของมนุษย์ก็จะถูกกำหนดโดยระบบสังคมของมนุษย์นั่นเอง

  7. ทีปกร( 2521 : 35 ) กล่าวสนับสนุนว่า งานวรรณกรรมนั้น มาจากความจัดเจนในการต่อสู้ของมนุษย์ทั้งในทางตรงและทางอ้อม วรรณกรรมจึงไม่เพียงแต่เป็นผลิตผลที่มนุษย์สร้างขึ้น หากยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ของกลุ่มความคิดที่ตนอยู่ด้วย

  8. สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ กล่าวว่า วรรณกรรมเป็นที่รวบรวมความคิด และลักษณะสภาพต่างๆของมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไว้ด้วยกัน วรรณกรรมจึงสามารถสะท้อนสภาพสังคมได้ สังคมของผู้แต่งหนังสือเป็นอย่างไรวรรณกรรมก็เป็นเช่นนั้น สังคมนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์อย่างไร วรรณกรรมก็กล่าวถึงเหตุการณ์อย่างนั้น ผู้แต่งที่ช่างสังเกตก็จะหาเหตุการณ์เรื่องราวจากความเป็นไปในสังคมมาผูกเป็นเรื่องขึ้น โดยตั้งจุดประสงค์ไว้ต่างกัน บางคนผูกเรื่องขึ้นเพื่อรายงานเหตุการณ์ บางคนก็ชี้ให้เห็นลักษณะที่ขัดแย้งเพื่อเตือนสติคนในสังคม

  9. ดังนั้นอิทธิพลของ วรรณกรรมต่อสังคม อาจเป็นอิทธิพลภายนอก เช่น การ แต่งกาย หรือการกระทำตามอย่างวรรณกรรม เช่น หญิงไทยสมัยหนึ่งนิยมถักหางเปีย นุ่งกางเกงขาสั้นเหมือน " พจมาน " ในเรื่องบ้านทรายทอง หรือย้อมผมสีแดงเหมือน " จอย " ในเรื่องสลักจิต เป็นต้น

  10. อิทธิพลทางความคิด การสร้างค่านิยม รวมทั้งความรู้สึกนึกคิด ดังเช่น หนังสือเรื่อง “ The Social Contract " ของ จัง จาคส์รุสโซ ( Jean Jacques Rousseau ) เป็นหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียกร้องอิสรภาพ ของสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1776 และการปฏิวัติในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 - 1792

  11. หนังสืออีกเล่มหนึ่งที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมในหลายประเทศทั่วโลก นั่นก็คือ หนังสือเรื่อง Das Kapital ( Capital ) เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ์ ( Karl Marx ) ซึ่งเป็นนักการเมืองและนักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นผู้วางรากฐานความคิดของระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ แนวคิดของเขามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคอมมิวนิสต์สมัยใหม่ และได้เขียนหนังสือเล่มนี้ เพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า อุดมการณ์มาร์กซิสต์

  12. โรเบิร์ต บี ดาวน์ส ( Downs 1978 ) ได้กล่าวถึงหนังสือที่มีอิทธิพลต่อสังคมและเปลี่ยนแปลงโลกไว้ในหนังสือ Books that Changed the world ซึ่งจะขอยกตัวอย่างบางเล่มที่เด่นๆดังต่อไปนี้คือ

  13. 1. Mein Kamptเขียนโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ( Adolf Hitler ) นับเป็นคัมภีร์ทางการเมืองของชาวเยอรมัน มีบทบาทในการสร้างทัศนคติของชาวเยอรมันเป็นอย่างมาก เช่น การกำจัดชาวยิว และสงครามโลกครั้งที่ 2

  14. 2. The Communist Manifesto เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ์ และ เฟรดริค เองเกลส์ ( Karl Marx and Friedrich Engles ) เป็นหนังสือที่สำคัญและมีอิทธิพลเช่นเดียวกับหนังสือเรื่อง Das Kapital • 3. An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nationsเขียนโดย อดัมสมิธ ( Adam Smith ) เป็นตำราที่ช่วยเผยแพร่ลัทธิทุนนิยมไปทั่วโลกเช่นกัน

  15. 4. The Prince • เขียนโดย นิโคโล แมคเคียเวลลี่ ( Niccolo Machiavelli ) เป็นหนังสือทางด้านการเมืองที่สำคัญ ชี้ให้เห็นถึงนักการเมือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเจ้าเล่ห์ หลอกลวง ไร้ศีลธรรม และสุดท้ายแสดงให้เห็นว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว ทำเพื่อตนเองทั้งสิ้น

  16.  5. Uncle Tom's Cabin เขียนโดย แฮเรียตบีชอร์สโตร์ ( Harriet Beecher Stowe ) เป็นหนังสือที่มีอิทธิพลมากในยุคก่อนสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา โดยผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นภาพชีวิตทาสนิโกรซึ่งต้องทนทุกข์ทรมาน ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สลดใจ และมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้มีการเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา

  17. หรือแม้แต่ปัจจุบันในสังคมสารสนเทศ ใคร ๆ ก็รู้จักคำว่าไซเบอร์ (Cyber) อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์กหรือระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่า ไซเบอร์สเปช เป็นคำที่นำมาใช้ ซึ่งมาจากนวนิยายวิทยาศาสตร์ เรื่อง นิวโรแมนเซอร์ (Nevromancer) ของวิลเลี่ยมกิบสัน (WillianGibbson) (วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ. 2543 : 18 - 19)

  18. จาก ตัวอย่างที่กล่าวมา ได้แสดงให้เห็นว่าวรรณกรรมมีอิทธิพลและผลกระทบต่อสังคมเช่นไร วรรณกรรมมีส่วนอย่างมากที่จะให้แนวความคิด สร้างพลัง ให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความคิด และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมทั้งในระดับสังคมของผู้อ่าน ประเทศ และโลก วรรณกรรมจึงผูกพันกับสังคมอย่างแนบแน่น และมีบทบาทที่สำคัญในการชี้นำแนวทางให้กับคนในสังคมตลอดมา

  19. แหล่งอ้างอิง • http://blog.eduzones.com/winny/3612 • http://preawpantipa.blogspot.com/2012/01/blog-post.html

More Related