80 likes | 257 Vues
โครงการการศึกษาความต้องการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในส่วนภาคกลางและตะวันตก.
E N D
โครงการการศึกษาความต้องการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในส่วนภาคกลางและตะวันตก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) มีภารกิจหลักคือ การจัดทำนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) โดยจะให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีชีวิต เศรษฐกิจและการค้า ภูมิรัฐศาสตร์ การกระจายอำนาจการปกครอง สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสาธารณสุข ความมั่นคงทางพลังงาน การเกษตรและอาหาร และการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในภาคกลางและตะวันตก ได้ร่วมกับ สวทน. เพื่อดำเนินโครงการฯ นี้
ขั้นตอนการดำเนินโครงการขั้นตอนการดำเนินโครงการ • ศึกษาข้อมูลสถานการณ์และทิศทางในการเปลี่ยนแปลงของโลกและเอเซียในทศวรรษหน้า (สวทน.) • ศึกษาด้านสถานการณ์ด้าน วทน. ของโลก • ศึกษาสถานการณ์ด้าน วทน. ของประเทศไทย โดยแบ่งเป็น 8พื้นที่* • ร่างเป้าประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางยุทธศาสตร์ วทน. เพื่อการพัฒนา 10ปี
การดำเนินโครงการโดย ม.เกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน) • รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของ 16จังหวัด ภาคกลางและภาคตะวันตก (นครปฐม, สุพรรณบุรี, ราชบุรี, กาญจนบุรี, อ่างทอง, ชัยนาท, ลพบุรี, สิงห์บุรี, อยุธยา, สระบุรี, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) • จัดประชุมเพื่อให้ตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ของ 16จังหวัด ร่วมเสนอประเด็นที่สำคัญเพื่อร่างนโยบาย วทน. 10ปี • - ประชุมครั้งที่ 1วันจันทร์ที่ 21มิถุนายน 2553 • - ประชุมกลุ่มย่อยอีก 4ครั้ง เพื่อสรุปประเด็นในการร่างนโยบาย วทน. • 3. จัดทำรายงานโครงการการศึกษาความต้องการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในส่วนภาคกลางและตะวันตก
ประโยชน์จากการร่วมโครงการฯประโยชน์จากการร่วมโครงการฯ ระดับจังหวัด ทราบความต้องการ วทน. ที่จำเป็นของแต่ละจังหวัด เพื่อ นำไปกำหนดแผนงบประมาณด้าน วทน. ของจังหวัด ระดับภาค ทราบความต้องการ วทน. ที่จำเป็นตามอัตลักษณ์ของภาค สามารถประสานงาน และถ่ายทอด วทน. ภายในภาคได้ ระดับประเทศ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ การจัดสรร งบประมาณให้สอดคล้องกับการพัฒนา วทน. 10ปี รวมทั้งสร้างฐานข้อมูล วทน. เพื่อให้แต่ละภาค/จังหวัด สามารถสืบค้น นำไปใช้ และพัฒนา วทน. ของแต่ละ ภาค/จังหวัด ได้
สรุปประเด็นที่สำคัญในการจัดทำนโยบายและแผน วทน. • การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีชีวิต • เศรษฐกิจและการค้า • ภูมิรัฐศาสตร์ • การกระจายอำนาจการปกครอง • ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • โรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ • ความมั่นคงทางพลังงาน • ความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร • การเปลี่ยนแปลง วทน.
หน่วยงานที่จะเข้าร่วมโครงการฯ และการประชุม • ตัวแทนจากหน่วยงาน ดังนี้ • ผู้ว่าราชการจังหวัด • องค์การบริหารส่วนจังหวัด • สำนักงานที่ดิน • สำนักงานพัฒนาชุมชน • สำนักงานพัฒนาสังคมและ • ความมั่นคงของมนุษย์ • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา • สำนักงานสาธารณสุข • สำนักงานอุตสาหกรรม • สำนักงานพาณิชย์ • หอการค้าจังหวัด • ตำรวจภูธร • สำนักงานเกษตร • สำนักงานปศุสัตว์ • สำนักงานสิ่งแวดล้อม • สำนักงานพลังงาน • สำนักงานทรัพยากร
ขั้นตอนการดำเนินงานในส่วนของ มก.กพส. ส่งข้อเสนอโครงการ และเซ็นสัญญาระหว่าง สวทน. และ มก. • รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของ 16จังหวัด ในภาคกลางและภาคตะวันตก • Literature review - Field survey ส่งรายงานการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น (15มิย.53) จัดประชุมเสวนาประเด็น วทน. ของภาคกลางและตะวันตก ครั้งที่ 1 (21 มิย.53) ส่งรายงานสรุปผลการประชุมครั้งที่ 1 (30มิย.53) จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อร่างนโยบาย วทน. อีก 4ครั้ง ส่งรายงานการประชุมย่อย (6กย.53) และส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ (ตค.53)
กำหนดการประชุม วิทยาศาสตร์สร้างคน เทคโนโลยีสร้างชาติ นวัตกรรมสร้างความเจริญ (ภาคกลางและตะวันตก)(STI 2 Uสู่สังคมอยู่ดีมีสุข) วันจันทร์ ที่ 21 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุมอาคารศูนย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 8.30 - 9.15 น. ลงทะเบียน 9.15 - 9.25 น. กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการฯ โดย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 9.25 - 10.00 น รายงานสถานการณ์ วทน ของประเทศ ปาฐกถาพิเศษ โดย เลขาธิการ สวทน 10.00 - 10.15 น. เปิดงาน โดย รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10.15 - 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.30 -12.00 น. แบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิดช่วงที่ 1 กลุ่มที่ 1 “อยู่ดีมีสุข”การสร้างสังคมวิถีชีวิตอยู่ดีมีสุข ผันเปลี่ยนจากสังคมไสยศาสตร์สู่สังคมฐานคิด วิทยาศาสตร์ ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมจากฐานความรู้ในชุมชน ส่งเสริมการป้องกันดูแลและรักษาสุขภาพของคนในสังคม และการกระจาย ความมั่งคั่งดัวย วทน. ฯลฯ กลุ่มที่ 2 “ทำมาค้าขาย”การเพิ่มประสิทธิภาพ ผลิตภาพ และคุณภาพ ด้วย วทน. การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานและสภาพแวดล้อมสิ่งเสริมการผลิต การค้า การลงทุน และการสร้างนวัตกรรม (เช่น กฎระเบียน IPโลจิสติกส์) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย ธุรกิจเพื่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ กลุ่มที่ 3 “ข้าวนาปลากระป๋อง”นวัตกรรมด้านการเกษตรและอาหารกับสุขภาพคนไทย การพัฒนาคลัสเตอร์ เกษตรกรรมและการผลิตอาหาร เศรษฐกิจการเกษตรในสังคมไทย ฯลฯ กลุ่มที่ 4 “ดินน้ำลมไฟ”การสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ประเทศไทย การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ฯลฯ 12.00 -13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิด ช่วงที่ 2 16.00 น. ปิดงาน