1 / 16

จัดทำโดย เด็กหญิง ชนกนันท์ ขันแข็ง เลขที่ 16 เด็กหญิง ธนัช พร ลือไชย เลขที่ 21

จัดทำโดย เด็กหญิง ชนกนันท์ ขันแข็ง เลขที่ 16 เด็กหญิง ธนัช พร ลือไชย เลขที่ 21 เด็กหญิง อุบลมณี อินทร์วงศ์ เลขที่ 29 เด็กหญิง ทิพย รัตน์ เพ็ชร กุล เลขที่ 20 เด็กหญิง นฤ มล ธิ ขาว เลขที่ 12 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8. เรื่อง เสียง ( Sound ) และออดิโอ (Audio) .

beyla
Télécharger la présentation

จัดทำโดย เด็กหญิง ชนกนันท์ ขันแข็ง เลขที่ 16 เด็กหญิง ธนัช พร ลือไชย เลขที่ 21

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จัดทำโดย เด็กหญิง ชนกนันท์ ขันแข็ง เลขที่ 16 เด็กหญิง ธนัชพร ลือไชย เลขที่ 21 เด็กหญิง อุบลมณี อินทร์วงศ์ เลขที่ 29 เด็กหญิง ทิพยรัตน์ เพ็ชรกุล เลขที่ 20 เด็กหญิง นฤมล ธิขาว เลขที่ 12 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8

  2. เรื่อง เสียง ( Sound )และออดิโอ (Audio)

  3. เสียง (Sound) เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถถ่ายทอดอารมณ์ไปยังผู้ชมได้ เช่น การใช้เสียงระทึกใจเพื่อทำให้เกิดความตื่นเต้น หรือเสียงนกร้องเพื่อสร้างบรรยากาศตามธรรมชาติ ดังนั้น การเลือกใช้เสียงกับมัลติมีเดียอย่างเหมาะสมย่อมสร้างความรู้สึกที่ดีและน่าประทับใจให้กับผู้ชมงานนำเสนอได้ โดยเนื้อหาบทนี้

  4. ทำความรู้จักกับเสียง ( Sound ) เสียง (Sound) อยู่ในรูปแบบของพลังงาน (Energy) เหมือนกับพลังงานความร้อน (Heat) และพลังงานแสง (Light) ที่สามารถถ่ายทอดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งผ่านตัวกลางที่เกิดจากการสั่น (Vibrating) ของวัตถุ และแปลงพลังงานที่อยู่ในรูปแบบคลื่นที่ประกอบด้วยแอมพลิจูด(Amplitude) และความถี่ (Frequency) ของคลื่นเสียง

  5. การวัดระดับของคลื่นเสียงจะมีหน่วยวัดที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ 2 หน่วย คือ เดซิเบล (Decibel) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความดังของเสียงและเฮิรตซ์ (Hertz: Hz) หรือจำนวนรอบของการแกว่งคลื่นเสียงในหนึ่งวินาที ซึ่งเป็นหน่วยวัดความถี่ของเสียง โดยสามารถแสดงระดับความดังและชนิดของเสียงได้ ดังนี้

  6. ความดังของเสียง(เดซิเบล) ชนิดของเสียง 0เสียงที่แผ่วเบาที่สุดที่หูมนุษย์ได้ยิน 30เสียงกระซิบ หรือเสียงในห้องสมุดที่เงียบสงัด 60เสียงพูดคุยตามปกติ เสียงจักรเย็บผ้า หรือเสียงพิมพ์ดีด 80เสียงตะโกนข้ามเขาพื้นที่โล่งกว้างเพื่อให้ได้ยินเสียงสะท้อน 90เสียงเครื่องตัดหญ้า เสียงเครื่องจักรในโรงงาน 100เลื่อยไฟฟ้าหรือเครื่องเจาะที่ใช้ลม 115เสียงระเบิดหินเสียงในร็อคคอนเสิร์ตหรือเสียงแตรยนต์ 140เสียงยิงปืนเสียงเครื่องบินเจ็ตซึ่งเป็นเสียงที่ทำให้ปวดหู ทำให้หู เสื่อมได้ แม้ได้ยินเพียงครั้งเดียวก็ตามผู้ที่จำเป็นต้องอยู่กับเสียงใน ระดับนี้ จะต้องอุปกรณ์ป้องกันหูเสมอ

  7. องค์ประกอบของระบบเสียงองค์ประกอบของระบบเสียง การนำเสียงจากธรรมชาติมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ต้องผ่านกระบวนการบันทึก (Record) จัด (Manipulate) และเล่นเสียง (Playback) แต่ก่อนที่จะผ่านกระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องรับและแปลงเสียงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องมือสำหรับประมวลผลและแปลงเสียงต้นฉบับให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ได้แก่ ไมโครโฟน (Microphone) เครื่องขยายเสียง (Amplifier) ลำโพง (Speaker)และอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง (Audio Mixer)

  8. ไมโครโฟน (Microphone) ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียง (Sound wave) จากแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงพูด เสียงเพลง หรือเสียงดนตรี เป็นต้น ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยความถี่เสียงจะเคลื่อนที่ไปตามสายไม่โครโฟนสู่เครื่องขยายเสียง และสามารถบันทึกเสียงได้ด้วยการแปลงพลังลังงานเสียงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

  9. เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เป็นอุปกรณ์สำหรับการขยายสัญญาณอินพุตให้มีความดังหรือแอมพลิจูตเพิ่มขึ้นโดยเครื่องขยายเสียงจะประมวลผลสัญญาณโดยใช้ชุดของทรานซิสเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่บนแผงวงจรและใช้พลังงานจากพาวเวอร์ซับพลาย โดยสัญญาณอินพุตจะถูกขยายให้มีแอมพลิจูตเพิ่มขึ้นแต่มีรูปแบบคลื่อนเหมือนเดิม

  10. ลำโพง Speaker ลำโพง Speaker เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานทางไฟฟ้ากลับเป็นพลังงานเสียง ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานตรงข้ามกับไมโครโฟนหรือเครื่องขยายเสียง โดยจะทำหน้าที่ได้รับมาจากเครื่องขยายเสียง สามารถแบ่งลำโพงออกเป็น2 ชนิดได้แก่ ลำโพงแบบไดนามิก(Dynamic Speaker) และลำโพงชนิดเสียงทุ้ม (Woofer) กับลำโพลงชนิดเสียงแหลม (Tweeter)

  11. อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) เป็นเครื่องมือสำหรับบันทึก และแก้ไขเสียงในแต่ละแทร็กได้ อย่างอิสระ เช่น สามารถควบคุมระดับของเสียง (Volumn) จังหวะ (Tempo) และระงับเสียง (Mute) ซึ่งการแก้ไขและจัดการแทร็กเสียงต่างๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อแทร็กอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์เสียงแบบพิเศษได้

  12. ประเภทของเสียง ประเภทของเสียง ประเภทของเสียงสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ เสียงแบบมิดี้ และเสียงแบบดิจิตอล

  13. มิดี้(MIDI: Musical Instrument Digital Interface) • มิดี้(MIDI) คือเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ซึ่งได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 สำหรับใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เช่น สร้างเสียงตามเครื่องเล่นเปียโน เป็นต้น โดยในมุมของนักดนตรี มิดี้ หมายถึง โน้ตเพลงที่มีรูปแบบเป็นสัญลักษณ์หรือตัวเลขที่บอกให้รู้ว่าต้องเล่นตัวโน๊ตใดด้วยระยะเวลาเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดเป็นเสียงดนตรี ดนตรีแบบมิดี้จะไม่เหมือนเสียงจากเครื่องดนตรีจริงๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างและปรับเสียงมิดี้ให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น

  14. ดนตรีแบบดิจิตอล (Digital Audio) • ดนตรีแบบดิจิตอล (Digital Audio) คือสัญญาณเสียงที่ส่งมาจากไมโครโฟนหรือเล่นเทป หรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ และที่สร้างขึ้นเอง และนำข้อมูลที่ได้มาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ข้อมูลจะถูกสุ่มให้อยู่ในรูปแบบของบิตข้อมูล โดยเรียกอัตราการสุ่มข้อมูลที่ได้มาว่า “Sampling Rate” และจำนวนของข้อมูลที่ได้เรียกว่า “Sampling Size” ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของเสียงดิจิตอล เสียงแบบดิจิตอลจะมีขนาดข้อมูลใหญ่ ทำให้ต้องใช้หน่วยความจำและทรัพยากรในการประมวลผลมากกว่ามิดี้ แต่จะแสดงได้หลากหลายและเป็นธรรมชาติมากกว่า

  15. อุปกรณ์สำหรับความคุมและบันทึกเสียงอุปกรณ์สำหรับความคุมและบันทึกเสียง อุปกรณ์ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการควบคุมและบันทึกไฟล์เสียง ได้แก่ การ์ดเสียง (Sound Card) อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณเสียง (Audio Transmission) และอุปกรณ์บันทึกเสียง (Audio Recording Device) การ์ดเสียง (Sound Card)เป็นอุปกรณ์ควบคุมเสียงที่สามารถเพิ่มลงในสล็อตPCIหรือ PCI Express บนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเชื่อมต่อละทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ บนคอมพิวเตอร์

  16. การประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Sound) การประมวลผลไฟล์เสียง (processing Sound) คือ กระบวนการต่างๆตั้งแต่นำไฟล์เสียงเข้าสู่โปรแกรมสำหรับสร้างหรือแก้ไขเสียงโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม MidiNotateเป็นต้น จากนั้นจะปรับแต่ง แก้ไข หรือเพิ่มเติมตัวโน้ตต่างๆเข้าไปตามความต้องการ แล้วทำการทดสอบเสียงที่ได้ และนำไฟล์เสียงไปใช้งานต่อไป ปัจจุบันโปรแกรมเกี่ยวกับการบันทึกเสียง

More Related