1 / 20

การนิยามศัพท์

การนิยามศัพท์. การทำวิจัยจะต้องมีการนิยามศัพท์ เพราะคำศัพท์มีหลายความหมาย ผู้วิจัยจำเป็นต้องนิยามคำศัพท์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเข้าใจความหมายที่ใช้ในงานวิจัยเรื่องนี้ ถ้าหากไม่มีการนิยามคำศัพท์อาจจะทำให้การสื่อความหมายคลาดเคลื่อนทั้งในส่วนของผู้อ่านและตัวนักวิจัยเอง. การเลือกคำศัพท์.

bo-sears
Télécharger la présentation

การนิยามศัพท์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การนิยามศัพท์ • การทำวิจัยจะต้องมีการนิยามศัพท์ เพราะคำศัพท์มีหลายความหมาย ผู้วิจัยจำเป็นต้องนิยามคำศัพท์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเข้าใจความหมายที่ใช้ในงานวิจัยเรื่องนี้ ถ้าหากไม่มีการนิยามคำศัพท์อาจจะทำให้การสื่อความหมายคลาดเคลื่อนทั้งในส่วนของผู้อ่านและตัวนักวิจัยเอง

  2. การเลือกคำศัพท์ • เลือกคำศัพท์ที่มีหลายความหมาย • เลือกคำศัพท์ที่คาดว่าผู้อ่านที่อยู่ในสาขาอื่นๆ ไม่เข้าใจ หรือไม่คุ้นเคย โดยทั่วไปมักจะเป็นศัพท์เฉพาะ • คำศัพท์ใหม่ๆ ที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ

  3. ที่มาของคำศัพท์ • คำศัพท์ที่จะนำมารวบรวมและให้คำนิยามไว้ในส่วนนิยามคำศัพท์ ได้มาจากทุกส่วนของรายงานตั้งแต่ชื่อเรื่อง ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย สมมุติฐานและปัญหาการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม และวิธีวิจัยแต่ละขั้นตอน

  4. หลักการเขียนคำนิยามศัพท์หลักการเขียนคำนิยามศัพท์ • นิยามคำศัพท์เป็นการนิยามโดยทั่วๆ (Abstract definition) เหมือนคำศัพท์ปกติ และการนิยามคำศัพท์เฉพาะที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น (Operational definition)ซึ่งบางคำศัพท์จะต้องนิยามเฉพาะและอธิบายรายละเอียดมากกว่าแบบแรกและสอดคล้องกับขอบเขตของเรื่องที่วิจัย

  5. การอ้างอิงหรือให้แหล่งที่มีของคำนิยามมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนิยามทั่วไป เพื่อให้การนิยามมีความเชื่อถือมากขึ้น ทั้งจากพจนานุกรม สารานุกรม และแหล่งอื่นๆ • การนิยามคำศัพท์ควรมีการแยกเป็นส่วนเฉพาะหรือหัวข้อหนึ่งต่างหาก เขียนแยกเป็นย่อหน้าหรือให้หมายเลขกำกับในแต่ละคำ แต่การให้คำนิยามไม่ควรมากเกิน 2 หน้า

  6. Impact of Information Technology on the Provision and Promotion of University Library Services in Developing Countries: A Comparative Study of University Libraries in Kenya and Karnataka India

  7. ภาพลักษณ์ของครูบรรณารักษ์ตามทัศนะของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2540

  8. คำนิยามศัพท์เฉพาะ 1. ภาพลักษณ์ (Image) หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นตามความรู้สึกนึกคิดของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม โดยเป็นภาพลักษณ์ของครูบรรณารักษ์ด้านความรู้และบุคลิกภาพ ที่เกิดจากการรู้จัก การที่มีประสบการณ์ด้วยการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านหรืออื่นๆ ทั้งนี้ต้องมีระยะเวลาช่วงหนึ่งที่จะสร้างเป็นภาพลักษณ์ทั้งในเชิงบวกหรือเชิงลบก็ได้

  9. 2. ครูบรรณารักษ์ หมายถึง ครู อาจารย์ ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสถานศึกษาให้รับผิดชอบในการบริหารและดำเนินงานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2540 โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่มคือ 2.1 ครูที่มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ คือ ครูบรรณารักษ์ที่มีวุฒิการศึกษาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศ หรือสาขาวิชาเกี่ยวกับบรรณารักษ์ห้องสมุด

  10. 2.2 ครูที่ไม่มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ คือ ครูบรรณารักษ์ที่ไม่มีวุฒิการศึกษาเกี่ยวกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศ หรือไม่มีวุฒิสาขาวิชาเกี่ยวกับบรรณารักษ์ห้องสมุด

  11. A Study of teaching of library use and information literacy courses in the universities in Thailand

  12. ขอบเขตและข้อจำกัดการวิจัยขอบเขตและข้อจำกัดการวิจัย • การกำหนดขอบเขตและข้อจำกัดของการวิจัยจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจการวิจัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้การวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

  13. ขอบเขตและข้อจำกัดการวิจัย จะเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ใช้ในการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา ขอบเขตเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ตลอดจนพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา

More Related