1 / 33

การรักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ

การรักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ. ปรีชา นิศารัตน์. จริยธรรม. ในการประกอบวิชาชีพ. ในการทำงาน. ในทางศาสนา. ปทัสถาน. ศีลธรรม. จรรยาบรรณ. วินัย. ประกาศิต. พึง. ต้อง. ควร. คุณธรรม. จรรยา. วินัย. พฤติกรรม. จุดมุ่งหมาย. เพื่อคน + งาน. เพื่องาน. เพื่อคน. ประสิทธิผล.

borna
Télécharger la présentation

การรักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การรักษาจรรยาและวินัยข้าราชการการรักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ ปรีชา นิศารัตน์

  2. จริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพ ในการทำงาน ในทางศาสนา ปทัสถาน ศีลธรรม จรรยาบรรณ วินัย ประกาศิต พึง ต้อง ควร คุณธรรม จรรยา วินัย พฤติกรรม จุดมุ่งหมาย เพื่อคน + งาน เพื่องาน เพื่อคน ประสิทธิผล ศักดิ์ศรี + ประสิทธิผล ผล ดี

  3. จรรยาบรรณ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบ อาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อ รักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และ ฐานะของสมาชิก

  4. จรรยาบรรณ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1. ทำให้คนมีประสิทธิภาพ (เก่ง) 2. ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการ ประกอบอาชีพ (ดี) 3. มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นที่ยอมรับ

  5. วิชาชีพ • มีความรู้ • มีจรรยาบรรณ • มีการคัดสรรบุคคลเข้ามาฝึกอบรม ให้ทำงาน • มีสมาคมวิชาชีพคอยกำกับดูแล

  6. จรรยาบรรณตาม พ.ร.บ. 2535 จรรยาบรรณต่อตนเอง • มีศีลธรรม ประพฤติตนเหมาะสม • ใช้วิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์ ไม่แสวงหาประโยชน์ • มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง

  7. จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน • สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ • ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังความสามารถ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้อง สมเหตุผล • ตรงต่อเวลา ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อ ทางราชการ • ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการ อย่างประหยัดคุ้มค่า

  8. จรรยาบรรณต่อคนข้างเคียงในราชการจรรยาบรรณต่อคนข้างเคียงในราชการ • ร่วมมือ ช่วยเหลือ แนะนำ • เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง • สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่ • สุภาพ มีน้ำใจ มนุษยสัมพันธ์ • ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นเป็น ของตน

  9. จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคมจรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม • เป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ สุภาพ อ่อนโยน • ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคล ทั่วไป • ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติจากผู้ติดต่อราชการ

  10. จรรยาบรรณจะเป็นที่ยอมรับ จรรยาบรรณจะเป็นที่ยอมรับ • สอนให้จำ • ทำให้ดู • อยู่ให้เห็น

  11. การควบคุมจรรยาบรรณ จะเป็นผลเมื่อ • สังคมวิชาชีพนั้นรับรู้ • ชาวบ้านรับรู้

  12. การรักษาจรรยาข้าราชการตาม พ.ร.บ. 2551 มาตรา 78 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยา ข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนด โดยมุ่งประสงค์ - ให้เป็นข้าราชการที่ดี - มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ

  13. โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง 2. ความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรับผิดชอบ 3. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและ สามารถตรวจสอบได้ 4. การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม 5. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

  14. มาตรา 78 (ต่อ) ให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของงานในส่วนราชการนั้น ตามหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ การกำหนดข้อบังคับ ว่าด้วยจรรยาข้าราชการให้รับฟังความคิดเห็นของข้าราชการและประกาศให้ประชาชนทราบ

  15. มาตรา 79 ข้าราชการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็นความผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชา - ตักเตือน - นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน - สั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา

  16. วินัยข้าราชการพลเรือนวินัยข้าราชการพลเรือน ปรีชา นิศารัตน์

  17. ข้าราชการต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ รักษาความลับ ปฏิบัติตามคำสั่ง รักษาชื่อเสียง ฯลฯ วินัย คือ แบบแผนความประพฤติ หรือ ข้อปฏิบัติ

  18. วินัยคือลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นการวินัยคือลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นการ • ควบคุมตนเอง • ปฏิบัติตามการนำ • อยู่ในระเบียบแบบแผน • มีความเป็นระเบียบ

  19. จุดมุ่งหมายและขอบเขตของวินัยข้าราชการจุดมุ่งหมายและขอบเขตของวินัยข้าราชการ 1. เพื่อให้ราชการดำเนินไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อความเจริญ ความสงบ เรียบร้อย ของประเทศชาติ 3. เพื่อความผาสุกของประชาชน 4. เพื่อสร้างภาพพจน์ชื่อเสียงที่ดี ของทางราชการ

  20. มาตรา 80 ข้าราชการต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือ ไม่กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการในต่างประเทศนอกจากต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.ด้วย

  21. มาตรา 81 ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

  22. มาตรา 82 ข้าราชการต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติต่อไปนี้ 1. ซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม 2. ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ 3. ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ

  23. 4. ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่ง สั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ (เสนอให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนได้) 5. อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ 6. รักษาความลับของทางราชการ 7. สุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ

  24. 8. ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน 9. วางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการ 10. รักษาชื่อเสียงของตน รักษาเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย 11. กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.

  25. มาตรา 83 ข้าราชการต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ 1. ไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา 2. ไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการ ข้ามผู้บังคับบัญชา 3. ไม่อาศัย หรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น

  26. 4. ไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ 5. ไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการ หาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน 6. ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกับในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

  27. 7. ไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ 8. ไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. 9. ไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ 10. ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.

  28. มาตรา 84 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 1. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดย มิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต 2. ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง 3. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ของทางราชการ

  29. 4. กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรง 5. ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือ ทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง 6. กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักจากจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

  30. 7. ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืน ข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้าย 8. ละเว้นการกระทำใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสอง มาตรา 82 (11) หรือ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.พ.กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  31. ความผิดทางวินัย • ไม่มีอายุความ • การลงโทษต้องดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย • ผู้สั่งลงโทษต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจลงโทษได้ • สภาพการเป็นข้าราชการ • - ขณะกระทำผิด • - ขณะลงโทษ

  32. ปรีชา นิศารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรมสำนักงาน ก.พ. โทร . (02) 547 - 1672 (081) 829 - 0695

More Related