220 likes | 512 Vues
วิธีการศึกษา ประวัติศาสตร์. ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.กำหนดหัวเรื่อง 2.รวบรวมข้อมูล 3.ประเมินคุณค่าของหลักฐาน 4.การตีความหลักฐาน 5.วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล. ขั้นตอนที่ 1 กำหนดหัวเรื่อง เรื่อง วังเก่าวังใหม่. ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมข้อมูล.
E N D
วิธีการศึกษา ประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้1.กำหนดหัวเรื่อง2.รวบรวมข้อมูล3.ประเมินคุณค่าของหลักฐาน4.การตีความหลักฐาน5.วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1กำหนดหัวเรื่องเรื่อง วังเก่าวังใหม่
ขั้นตอนที่ 2รวบรวมข้อมูล
1.หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร - หนังสือพัทลุงศึกษา (หน้า 379-382) โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พัทลุง2.หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร - พระครูกิตติญาณโกวิท อายุ 87 ปี เจ้าอาวาสวัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอ เมือง จังหวัดพัทลุง
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินคุณค่าของหลักฐาน
จากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร วังเก่า-วังใหม่ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง วังเก่า ผู้สร้างและเป็นเจ้าของวัง คือ พระยาวรวุฒิไวยฯ (น้อย จันทโรจวงศ์) วังใหม่ ผู้สร้างและเป็นเจ้าของวัง คือ พระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร จันทโรจวงศ์)
จากหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร จากคำบอกเล่าของ พระครูกิตติญาณโกวิท เจ้าอาวาสวัดวัง ว่า “วังเก่า-วังใหม่ เป็นวังเจ้าเมืองเดิม ที่สร้างขึ้นเพื่อว่าราชการเมืองและเป็นที่พำนักของเจ้าเมือง ซึ่งสร้างอยู่ติดกับคลองลำปำ ซึ่งวัดวังก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับวังเก่า-วังใหม่แห่งนี้ด้วยคือ เป็นสถานที่เก็บบรรจุอัฐิของเจ้าเมืองและบรรดาพระญาติ ”
พระยาวรวุฒิไวยฯ (น้อย จันทโรจวงศ์)พระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร จันทโรจวงศ์)
ขั้นตอนที่ 4ตีความหลักฐาน
วังเก่าพระยาอภัยบริรักษ์ (น้อย จันทโรจวงศ์) หรือ พระยาวรวุฒิไวยฯ (น้อย จันทโรจวงศ์)เจ้าเมืองพัทลุงระหว่างปี พ.ศ. 2412-2431 ได้สร้างวังเก่าเพื่อใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการเมือง
วังใหม่ วังใหม่เป็นจวนของพระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร จันทโรจวงศ์) เป็นผู้สร้างวังใหม่ขึ้นด้านหลังวังเก่า ทางทิศใต้ติดกับคลองลำปำ ในปี พ.ศ. 2432
ขั้นตอนที่ 5วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
วังเก่า ผู้สร้างและเป็นเจ้าของวัง คือ พระยาอภัย-บริรักษ์ (น้อย จันทโรจวงศ์) เจ้าเมืองพัทลุงระหว่างปี พ.ศ. 2412-2431 สร้างไว้เป็นที่ว่าราชการเมือง หลังจากท่านดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองพัทลุงอยู่ 19 ปี จึงกราบบังคมทูลลาออกจากราชการ ด้วยชราภาพและทุพพลภาพจักษุมืดมัวแลไม่เห็นทั้งสองข้าง
ร.5 จึงพระราชทานราชทินนามให้เป็น พระยาวรวุฒิไวย วัฒลุงควิสัย อิศรศักดิ์พิทักษ์ราชกิจ นริศราชภักดี อภัยพิริยพาหะ และโปรดเกล้าฯให้หลวงจักรานุชิต (เนตร จันทโรจวงศ์) บุตรชายคนโตซึ่งเป็นผู้ช่วยราชการเมืองพัทลุงอยู่นั้นเป็นพระยาอภัยบริรักษ์ฯ เจ้าเมืองพัทลุงคนต่อมา
วังใหม่พระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร จันทโรจวงศ์) เป็นผู้สร้างวังใหม่ขึ้นใน พ.ศ.2432 ด้านหลังวังเก่าทางทิศใต้ติดกับคลองลำปำ จึงมีชาวบ้านเรียกว่า“วังใหม่ชายคลอง”หรือ“วังชายคลอง” แต่นิยมเรียก“ วังใหม่”
วังใหม่ หรือจวนใหม่ เป็นจวนของพระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร จันทโรจวงศ์) ผู้ว่าราชการเมืองพัทลุงคนสุดท้าย ก่อนการปฎิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
สมาชิกในกลุ่ม1.นางสาวธัตติมา สงด้วง เลขที่ 122.นางสาวนุชรี ด้วงคง เลขที่ 133.นางสาวปาริฉัตร สีไข่ เลขที่ 264.นางสาวพรพิมล เหลือจันทร์ เลขที่ 275.นางสาววิทยาภรณ์ รัตนพงค์ เลขที่ 286.นางสาวสุพัตรา แป้นด้วง เลขที่ 30 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6