1 / 70

ประกาศเรื่อง การลงทุนและการมีไว้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ประกาศเรื่อง การลงทุนและการมีไว้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ. ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. โครงสร้างของประกาศ. การลงทุนของกองทุน. ภาค 2 อัตราส่วนการลงทุน (ข้อ 50 – ข้อ 103). ภาค 3 บทเฉพาะกาล (ข้อ 104 – 108). ภาค 1 ประเภททรัพย์สิน (ข้อ 4 – ข้อ 49).

Télécharger la présentation

ประกาศเรื่อง การลงทุนและการมีไว้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประกาศเรื่อง การลงทุนและการมีไว้ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุนสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

  2. โครงสร้างของประกาศ การลงทุนของกองทุน ภาค 2 อัตราส่วนการลงทุน (ข้อ 50 – ข้อ 103) ภาค 3 บทเฉพาะกาล (ข้อ 104 – 108) ภาค 1 ประเภททรัพย์สิน (ข้อ 4 – ข้อ 49)

  3. สาระสำคัญของประกาศ ภาคที่ 1หลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภททรัพย์สิน หมวดที่ 1บททั่วไป (ข้อ 4)

  4. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) หมวดที่ 2ข้อกำหนดประเภททรัพย์สินตามลักษณะของกองทุน - กรณี MF PVD PFรายย่อย ประเภททรัพย์สินประกอบด้วย (1) ตราสารแห่งทุน (2) ตราสารแห่งหนี้ (3) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ (5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (6) เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสด

  5. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (7) ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (8) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (9) structured note (10) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ (1) ถึง (9) โดย ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน กรณีของ PVD สามารถลงทุนในกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ได้

  6. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) ในกรณีที่กองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อกองทุนดังกล่าวต้องเป็นการลงทุนในต่างประเทศ (offshore investment) เป็นหลักไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่เป็นการลงทุนในประเทศ (onshore investment) ได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  7. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (1) เป็นการลงทุนในตราสารแห่งหนี้หรือเงินฝากที่มีอายุของ ตราสารหรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี ต่ำกว่าหนึ่งปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน (2) เข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตรา แลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) ตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนด (3) ทรัพย์สินอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ (1) หรือ (2) โดยได้รับความ เห็นชอบ

  8. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) หมวดที่ 3ข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์ การลงทุน ส่วนที่ 1 ตราสารแห่งทุน ประกอบด้วย (1) ตราสารแห่งทุนในประเทศ คือตราสารที่เสนอขายในประเทศ ไทย หรือ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย - หุ้น - หน่วยลงทุนหรือ warrant ที่จะซื้อหน่วยลงทุน

  9. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) - หน่วยลงทุนหรือ warrant ที่จะซื้อหน่วยลงทุน - warrant ที่จะซื้อหุ้น หรือ warrant ในการซื้อ หุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) เพื่อ EPM (ข) fully cover ตลอดเวลา - ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ที่มีหลักทรัพย์เป็นหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น - ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์

  10. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (2) ตราสารแห่งทุนต่างประเทศ ได้แก่หุ้นหรือหน่วยลงทุนที่ เสนอขายในต่างประเทศดังต่อไปนี้ - หุ้นที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสามัญของ IOSCO หรือที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิก WFE + ผู้ลงทุนต้องสามารถดูข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบ internet - หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่เป็นตราสารทุน

  11. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) ส่วนที่ 2 ตราสารแห่งหนี้ แบ่งเป็น 1. ตราสารหนี้ในประเทศ ได้แก่ - ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก - ตราสารแห่งหนี้ทั่วไป 2. ตราสารหนี้ต่างประเทศ 3. structured note ที่มีข้อกำหนดให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระคืน เงินต้นเต็มจำนวน + ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน

  12. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) 1. ตราสารหนี้ในประเทศ ได้แก่ (ก) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ได้แก่ (1) B/E P/N บัตรเงินฝาก หรือหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ธนาคาร ที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือ ผู้ค้ำประกัน (2) B/E หรือ P/N ที่ TSFC เป็นผู้ออก ซึ่งกำหนดวันใช้ เงินตามตั๋วไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันออกตั๋ว และเป็น ตั๋วเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น

  13. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (3) B/E หรือ P/N อายุไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออก ซึ่ง มีอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ - rating ของตราสารหรือของผู้ออกอยู่ในอันดับแรก ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร ต้องเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้มาจาก short-term rating ด้วย หรือ - rating ของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน อยู่ในอันดับ investment grade ทั้งนี้ โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ Standard & Poor หรือ Moody’s หรือ Fitch หรือสถาบันต่างประเทศอื่นที่สำนักงานกำหนดเพิ่มเติม

  14. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (ข) ตราสารหนี้ทั่วไป ได้แก่ (1) ตราสารภาครัฐไทย ได้แก่ (ก) ตั๋วเงินคลัง (ข)พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตร ธปท. (ค) พันธบัตร B/E P/Nหุ้นกู้ หรือ warrant ที่จะซื้อ หุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน

  15. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (2) ตราสารภาครัฐต่างประเทศ ได้แก่ ตราสารที่มีรูปแบบ เหมือนตราสารภาครัฐไทย ที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์กรระหว่าง ประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ำประกัน (3) ตราสารที่เปลี่ยนมือได้หมายถึงB/E P/N หรือหุ้นกู้ที่สำนักงานอนุญาตให้เสนอขาย โดย (2) และ (3) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ขึ้นทะเบียนใน ThaiBMA 2. มีราคาที่เหมาะสมตามที่ ThaiBMA กำหนด หรือ มีbid price แบบ firm quote

  16. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) 3. มี issue/issuer rating ในอันดับ investment grade หรือ เป็นตราสารที่มีบริษัทจัดการไม่ต่ำกว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสาร ดังกล่าวในการเสนอขายครั้งแรก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ภายใต้การจัดการ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ออกเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายต่างประเทศ (multinational corporation) ตราสารที่ออก โดยมี issue rating ในอันดับ investment grade เท่านั้น

  17. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (4) DR ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นพันธบัตร หรือหุ้นกู้ (5) B/E P/N หุ้นกู้ หรือ warrant ที่จะซื้อหุ้นกู้ ที่เสนอขาย ต่างประเทศ โดยมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทย (6) หน่วย หรือ warrant หน่วยของกองทุนตราสารหนี้ (7) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (8) ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์โดยหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเป็น ตราสารหนี้

  18. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) 2. ตราสารหนี้ต่างประเทศ - ตราสารหนี้ภาครัฐต่างประเทศ - ตราสารแห่งหนี้ภาคเอกชน - ตราสารแห่งหนี้อื่น ตราสารแห่งหนี้ภาครัฐต่างประเทศ ประกอบด้วย (ก) พันธบัตรหรือตราสารหนี้ภาครัฐต่างประเทศหรือ องค์กรระหว่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือผู้ค้ำประกัน โดยมี Issue rating หรือ Issuer rating ในอันดับ investment grade

  19. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (ข) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก หรือผู้ค้ำประกัน โดยมี Issue rating ในอันดับ investment grade ตราสารแห่งหนี้เอกชน ประกอบด้วย (1) ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศซึ่ง Issue rating ในอันดับ investment grade และอยู่ใน benchmark bond index ที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องสามารถ เข้าถึงข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วย

  20. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) benchmark bond index ใดที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็น index ที่ ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน 1. เป็นดัชนีที่มีความน่าเชื่อถือ และองค์ประกอบของดัชนี (composition) มีการ diversified อย่างเหมาะสม 2. มีการจัดทำดัชนี โดย index provider ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และมีวิธีการจัดทำที่โปร่งใสชัดเจน และชัดเจน 3. มีการเปิดเผยข้อมูลของ index เป็นภาษาอังกฤษผ่านอินเตอร์เน็ต และต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของดัชนีได้ง่าย

  21. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (2) ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศที่มี อายุคงเหลือไม่เกิน1 ปีนับแต่วันที่ลงทุน ซึ่งมี Issue rating ใน สองอันดับแรก + ผู้ลงทุนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ ผ่าน internet ตราสารแห่งหนี้อื่น อันได้แก่ หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ต่างประเทศที่เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ หรือของกองทุน รวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้

  22. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) ส่วนที่ 3 ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ได้แก่หุ้นกู้แปลงสภาพ แบ่งเป็น 1. กรณีเสนอขายในไทย หรือมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องมีลักษณะคือ (1) ขึ้นทะเบียนใน ThaiBMA (2) มีราคาที่เหมาะสมตามที่ ThaiBMA กำหนด หรือ มีbid price แบบ firm quote (3) มี issue/issuer rating ในอันดับ investment grade หรือเป็น ตราสารที่มีบริษัทจัดการไม่ต่ำกว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสารดังกล่าว ในการเสนอขายครั้งแรก

  23. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) 2. กรณีเสนอขายในต่างประเทศ โดยมีผู้ออกเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้ง ขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ต้องเข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) ของข้อ 1. กรณีของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือ กองทุนส่วนบุคคลที่มีนโยบายการลงทุนลักษณะเดียวกับกองทุนรวม สามารถลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการได้ระบุหลักเกณฑ์ตาม (2) และ (3) ไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม หรือสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี (2) ในขณะที่ลงทุนหรือได้มา ต้องเป็น out of the money

  24. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (3) ในกรณีที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพ ให้บริษัทจัดการขายหุ้นที่ ได้รับจากการแปลงสภาพนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้หุ้นมา

  25. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) ส่วนที่ 4 หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ มีเงื่อนไขดังนี้ 1. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลที่เป็นสมาชิก สามัญของ IOSCO หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่ เป็นสมาชิกของ WFE 2. ต้องเป็นกองทุนที่มีทรัพย์สินที่ลงทุนเป็นประเภทและชนิด เดียวกับทรัพย์สินที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ เว้นแต่เป็น กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในทองคำโดยตรง

  26. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) • ในกรณีที่เป็นการลงทุน retail fund PVD หรือ PFรายย่อย จะลงทุนได้ ต้องกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเช่นกัน • ต้องไม่ใช่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทเฮ็ดจ์ฟันด์ (hedge fund)

  27. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) ส่วนที่ 5 เงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสด (near-cash) จะลงทุนได้ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทยหรือ (2) เป็นเงินฝากระยะสั้นในสถาบันการเงิน หรือตราสารที่ เทียบเท่าเงินสด (near-cash) ที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออก โดยสถาบันการเงินดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่กองทุนได้ลงทุนหรือ มีไว้ซึ่งทรัพย์สินต่างประเทศ โดยต้องมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวย ความสะดวกหรือป้องกันปัญหาในการดำเนินงานในต่างประเทศของ กองทุน เช่น เพื่อรอการลงทุน หรือเพื่อชำระค่าใช้จ่าย เป็นต้น

  28. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) ส่วนที่ 7 ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน มีหลักเกณฑ์คือ 1. ต้องมีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนตามที่กำหนด 2. ต้องเป็นการทำธุรกรรมในหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ 3. ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กำหนดโดย ThaiBMA หรือ โดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือใช้สัญญามาตรฐาน ตามที่สำนักงานยอมรับ 4. ต้องมีวัตถุประสงค์เป็นการลงทุนระยะสั้น และไม่มีลักษณะ เป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับอัตราส่วน การลงทุนของกองทุน

  29. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) - ทำธุรกรรมได้เฉพาะกับสถาบันการเงิน หรือบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ 8) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) บริษัทเงินทุน (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ (3) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทหลักทรัพย์ (5) บริษัทประกันภัย (6) ธนาคารแห่งประเทศไทย (7) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

  30. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) • ทำธุรกรรมได้เฉพาะหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ ดังนี้ (1) ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทย (2) ตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับ investment grade (3) หุ้นจดทะเบียนใน set ที่มีรายชื่ออยู่ในดัชนี SET 50 ทั้งนี้ เฉพาะกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุน

  31. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) • บริษัทจัดการต้องปฏิบัติดังนี้ (1) ดำรงมูลค่าของหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อ ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าราคาซื้อ โดยให้ใช้ราคาตลาดในการคำนวณมูลค่า หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้น (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการนำหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ ที่ได้มาจากการทำธุรกรรมดังกล่าวไปขายหรือโอนต่อ (3) ห้ามมิให้บริษัทจัดการเพิ่มวงเงินตามธุรกรรมที่ได้ทำไว้ กับคู่สัญญา

  32. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) • บริษัทจัดการต้องปฏิบัติดังนี้ (4) คำนวณมูลค่าธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน โดยใช้ ราคาซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ซื้อรวมกับผลประโยชน์ ที่พึงได้รับจนถึงวันที่คำนวณมูลค่าธุรกรรมดังกล่าว

  33. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) ส่วนที่ 8 ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ -ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ (1) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้ลงทุนตามที่กำหนด (2) หลักทรัพย์ที่ให้ยืมต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝาก หลักทรัพย์ของศูนย์รับฝาก หรือหลักทรัพย์ที่ ธปท. ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (3) ใช้สัญญาที่มีลักษณะและสาระสำคัญของสัญญาตามประกาศว่าด้วยลักษณะและสาระสำคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (4) ดำเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

  34. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) ส่วนที่ 8 ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ -การทำธุรกรรมต้องมีคู่สัญญาเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ - ต้องให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันดังต่อไปนี้จากผู้ยืมเพื่อเป็น การประกันการให้ยืมหลักทรัพย์ (1) เงินสด (2) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก (3) ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทย (4) ตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับ investment grade

  35. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (5) หนังสือค้ำประกันที่ ธพ. เป็นผู้ออกให้แก่กองทุนเพื่อเป็นประกันการคืนหลักทรัพย์ให้แก่กองทุน โดย ธพ. นั้นยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น (letter of guarantee) (6) หุ้นจดทะเบียนใน set และมีรายชื่ออยู่ในดัชนี SET 50 ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนไม่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน กองทุนจะรับหลักประกันดังกล่าวไม่ได้

  36. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) การวางหลักประกันจากผู้ยืม บริษัทจัดการต้องปฏิบัติดังนี้ (1) ดำเนินการให้กองทุนมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันหรือดำเนินการโดยวิธีอื่นซึ่งจะมีผลให้บริษัทจัดการสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากหลักประกันดังกล่าวได้โดยพลัน (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการนำหลักประกันไปโอนหรือขายต่อ (3) ต้องดำเนินการให้มีการดำรงมูลค่าหลักประกัน ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม

  37. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) - กรณีที่หลักประกันเป็นเงินสด ให้บริษัทจัดการนำเงินสดดังกล่าวไปลงทุนโดยทันทีในทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นบัตรเงินฝาก หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน (3) ตราสารแห่งหนี้ที่เป็นตราสารภาครัฐไทย (4) ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนตราสารแห่งหนี้ที่เป็น ตราสารภาครัฐไทย

  38. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) หมวด 4 การเปิดเผยข้อมูลการลงทุน กรณีบริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ในประเทศ ตามข้อ 12 ตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศตามข้อ 17 ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนตามข้อ 18 หรือเงินฝากตามข้อ 21(1) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ให้บริษัทจัดทำข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) รายงานสรุปจำนวนเงินลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และสัดส่วนเงินลงทุนดังกล่าวต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยแบ่งข้อมูลตามกลุ่มดังต่อไปนี้

  39. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (ก) กลุ่มตราสารภาครัฐไทยและตราสารภาครัฐต่างประเทศ (ข) กลุ่มตราสารที่ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน (ค) กลุ่มตราสารที่มีอันดับ investment grade (ง) กลุ่มตราสารที่มีอันดับต่ำกว่า investment grade หรือตราสารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

  40. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) (2) รายละเอียดและอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่กองทุนลงทุนหรือมีไว้เป็น รายตัว (3) ในกรณีของ MF และ PVD ให้เปิดเผยสัดส่วนเงินลงทุน ขั้นสูงต่อ NAV ของกองทุนที่บริษัทจัดการตั้งไว้ในแผนการลงทุนสำหรับกลุ่มตราสารตาม (1)(ง) ทั้งนี้ ในกรณีของ PVD สัดส่วน เงินลงทุนขั้นสูงดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์ อักษรจาก FC

  41. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) การเปิดเผยข้อมูล ในกรณี PVD เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานรายเดือนและ รายงานรายปี การเปิดเผยข้อมูลตามหมวด 4 (2) สามารถเปิดเป็นรายกลุ่มได้

  42. ภาคที่ 1(ข้อ 5 – ข้อ 49) (ต่อ) หมวด 5 การดำเนินการเมื่อมีเหตุที่ทำให้ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ กรณีที่ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศ หากต่อมาทรัพย์สินมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป จนเป็นทรัพย์สินที่กองทุนไม่สามารถลงทุนได้ ให้จำหน่ายภายใน 30วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ เว้นแต่ในกรณีที่มี เหตุจำเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน

  43. ภาคที่ 2(ข้อ 50 – ข้อ 103) ภาค 2 อัตราส่วนการลงทุน บังคับใช้กับ retail fund PF รายย่อย และ PVD หมวด 1 อัตราส่วนการลงทุนทั่วไป ไม่จำกัดอัตราส่วน - ตราสารภาครัฐไทย - near cash ในต่างประเทศ - ตราสารภาครัฐต่างประเทศ ที่ได้รับ rating2 อันดับแรก (Issue size limit 20% ของแต่ละ issue สำหรับกองทุนเปิด ยกเว้นกองทุนเปิด auto redemption )

  44. ภาคที่ 2(ข้อ 50 – ข้อ 103) (ต่อ) PVD การลงทุนในหลักทรัพย์ของนายจ้าง กรณีนายจ้างเป็น - ธนาคารพาณิชย์ ไม่เกิน 15% ของ NAV - investment grade ไม่เกิน 15% ของ NAV - junk ไม่เกิน 5% ของ NAV ไม่ใช้กับ pooled fund และมีจำนวนนายจ้างที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันน้อยกว่าสองในสามของจำนวนนายจ้างทั้งหมด

  45. ภาคที่ 2(ข้อ 50 – ข้อ 103) (ต่อ) ส่วนที่ 1 company limit ไม่เกินร้อยละ 35% ของ NAV - ตราสารภาครัฐต่างประเทศที่ได้รับ rating ระดับ investment grade (Issue size limit 20% ของแต่ละ issue สำหรับกองทุนเปิด ยกเว้นกองทุนเปิด autoredemption) ไม่เกินร้อยละ 20% ของ NAV - เงินฝาก ตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิ อนุพันธ์ derivatives และ structured note ของธนาคารที่มีกฎหมาย เฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน

  46. ภาคที่ 2(ข้อ 50 – ข้อ 103) (ต่อ) ไม่เกินร้อยละ 15% ของ NAV - ตราสารแห่งทุน ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ออกหรือคู่สัญญา ยกเว้นหน่วยลงทุน - หุ้นที่อยู่ระหว่าง IPO - ตราสารหนี้ต่างประเทศ - ตราสารหนี้ที่ได้รับ rating ระดับ investment grade - ตราสารแห่งทุนต่างประเทศ

  47. ภาคที่ 2(ข้อ 50 – ข้อ 103) (ต่อ) ไม่เกินร้อยละ 15% ของ NAV (ต่อ) - Derivative ที่คู่สัญญาได้รับ rating ระดับ investment grade - Structured note ที่ได้รับ rating ระดับ investment grade - หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ

  48. ภาคที่ 2(ข้อ 50 – ข้อ 103) (ต่อ) Company Limit ไม่เกิน 5% Total Limit ไม่เกิน 15% Junk

  49. ภาคที่ 2(ข้อ 50 – ข้อ 103) (ต่อ) ส่วนที่ 2 Product limit ไม่เกิน 15% ของ NAV กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์

  50. ภาคที่ 2(ข้อ 50 – ข้อ 103) (ต่อ) ส่วนที่ 2 Product limit เฉพาะ PVD และ PF รายย่อยการลงทุนในหน่วยลงทุน และ warrant ที่จะซื้อหน่วย - ไม่เกิน 65% ของ NAV ยกเว้น กองทุนรวม specific fund ไม่เกิน 10% ของ NAV

More Related