1 / 89

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์. ความหมาย. พิชิต ฤทธิ์จรูญ ( 2545:98 ) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะ และความสามารถทางวิชาการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้ว ว่าบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงใด.

Télécharger la présentation

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

  2. ความหมาย

  3. พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2545:98) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะ และความสามารถทางวิชาการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้ว ว่าบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงใด

  4. สมบูรณ์ ตันยะ (2545:143) ได้ให้ความหมายว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับวัดพฤติกรรมทางสมองของผู้เรียนว่ามีความรู้ ความสามารถในเรื่องที่เรียนรู้มาแล้ว หรือได้รับการฝึกฝนอบรมมาแล้วมากน้อยเพียงใด

  5. วิสตัน (Whiston, 2000 : 18) ได้ให้ความหมายว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้ (Knowledge) หรือ ความคล่องแคล่ว (Proficiency) โดยที่ผลสัมฤทธิ์นั้นเป็นความรอบรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง หลังจากที่ได้รับการเรียนรู้ หรือ ได้รับการฝึกฝนแล้ว

  6. สรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดทางด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะต่างๆ ของนักเรียน ที่ได้เรียนรู้ หรือได้รับการสอนและการฝึกฝนมาแล้ว ว่าผู้เรียนมีความรอบรู้มากน้อยเพียงใด

  7. ประเภทของแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์

  8. 1 แบบทดสอบมาตรฐาน

  9. เป็นแบบทดสอบที่สร้างโดยผู้เชี่ยวชาญเป็นแบบทดสอบที่สร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ในเนื้อหาและมีทักษะการสร้าง แบบทดสอบมีการวิเคราะห์หาคุณภาพของ แบบทดสอบ

  10. มีคำชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการสอบ การให้คะแนนและการแปลผล มีความเป็นปรนัย มีความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่น

  11. 2 แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น

  12. เป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเองเป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง เพื่อใช้ในการทดสอบนักเรียนในชั้นเรียน

  13. ลักษณะของแบบทดสอบ

  14. 1 แบบทดสอบปรนัย (Objective tests) ได้แก่ • แบบถูกผิด (true – false) • แบบจับคู่(Matching) • แบบเติมคำให้สมบูรณ์ (Completion) • แบบเลือกตอบ (Multiple choice)

  15. ข้อสอบแบบถูกผิด เป็นข้อสอบที่ให้นักเรียนตัดสินใจเลือกว่าข้อสอบนั้นถูกหรือผิด โดยมีข้อคำถามซึ่งอาจเป็นคำถามเดี่ยว หรือคำถามหลายข้อ จากเนื้อหาที่กำหนดให้ ตัวอย่าง ถ ผ 1) ถั่วเป็นพืชที่มีสารอาหารประเภทโปรตีน

  16. ข้อดีของข้อสอบแบบถูกผิดข้อดีของข้อสอบแบบถูกผิด • 1. ใช้เวลาในการสอบแต่ละข้อน้อย คือประมาณ 2 ข้อ ต่อนาที • 2. สามารถออกข้อสอบให้ครอบคลุมเนื้อหาได้มากกว่าข้อสอบแบบอื่นๆ • สร้างได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา • เหมาะสำหรับใช้วัดด้านความรู้ความเข้าใจ หรือพฤติกรรมทางสมองได้ดี • 5. สามารถนำมาวิเคราะห์หาคุณภาพได้ง่าย

  17. ข้อจำกัดของข้อสอบแบบถูกผิดข้อจำกัดของข้อสอบแบบถูกผิด • ส่งเสริมการเดา เพราะให้ผู้ตอบตอบว่าถูกหรือผิดเท่านั้น • วัดพฤติกรรมขั้นสูงได้ยาก วัดได้แต่ความรู้ความจำ • ไม่ส่งเสริมทักษะการเขียน • ข้อสอบแบบถูกผิด อาจไม่สามารถสร้างได้ทุกเนื้อหาวิชา • เพราะเนื้อหาบางเรื่องยากต่อการตัดสินว่าถูกหรือผิด • ไม่สามารถวินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้สอบได้อย่างแท้จริง • เพราะมีส่วนการเดาของผู้สอบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

  18. ข้อสอบแบบจับคู่ • ข้อสอบประเภทนี้ เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง • โดยมีข้อความ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นคำถาม และส่วนที่เป็นคำตอบ • ตัวอย่าง • คาร์โบไฮเดรต ก. ถั่วลันเตา • โปรตีน ข. ฟักทอง • วิตามินเอ ค. มะละกอ • วิตามินบี 1 ง. แตงกวา • วิตามินซี จ. ข้าวซ้อมมือ • ฉ. เผือก • ช. คะน้า • ญ. มะนาว

  19. ข้อดีของข้อสอบแบบจับคู่ข้อดีของข้อสอบแบบจับคู่ • สร้างได้ง่ายกว่าข้อสอบแบบเลือกตอบ และประหยัดเวลาในการออกสอบ • เหมาะสำหรับวัดความรู้ความจำ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่ง 2 สิ่ง • มีความเป็นปรนัยสูง ตรวจให้คะแนนได้ง่าย • เดาได้ยากกว่าข้อสอบแบบเลือกตอบ เพราะมีตัวเลือกมากกว่า

  20. ข้อจำกัดของข้อสอบแบบจับคู่ข้อจำกัดของข้อสอบแบบจับคู่ • เป็นการยากที่จะสร้างข้อสอบให้มีเนื้อหาเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด • ไม่เหมาะสำหรับการวัดพฤติกรรมขั้นสูง • ความยากของข้อสอบแต่ละข้อไม่เท่ากัน • ไม่ส่งเสริมทักษะการเขียน การแสดงความคิด

  21. ข้อสอบแบบเติมคำ เป็นข้อสอบที่ต้องการให้ผู้ตอบเติมคำ หรือข้อความสั้นๆ ในส่วนที่เว้นว่างไว้ ให้เป็นประโยคที่ถูกต้องสมบูรณ์ ตัวอย่าง นายกรัฐมนตรีของไทยคนปัจจุบัน คือ ................... สีที่แทนสถาบันชาติ คือ .........................

  22. ข้อดีของข้อสอบแบบเติมคำข้อดีของข้อสอบแบบเติมคำ • สร้างได้ง่ายกว่าข้อสอบแบบเลือกตอบ เพราะไม่ต้องสร้างตัวเลือก • เหมาะสำหรับการวัดความรู้ความจำ • ตรวจให้คะแนนได้ง่ายกว่า ข้อสอบแบบเขียนตอบแบบอื่นๆ • เดาได้ยากกว่าข้อสอบแบบมีคำตอบให้เลือก • ความเชื่อมั่นของคนตรวจให้คะแนนจะสูง เพราะคะแนนจาก • การตรวจของคนตรวจจะใกล้เคียงกัน

  23. ข้อจำกัดของข้อสอบแบบเติมคำข้อจำกัดของข้อสอบแบบเติมคำ • เป็นการยากที่จะสร้างข้อสอบวัดพฤติกรรมขั้นสูง • ตรวจให้คะแนนยากกว่าข้อสอบแบบมีคำตอบให้เลือก • ถ้าเขียนข้อสอบไม่ดี อาจคิดได้หลายแง่มุม ทำให้ตอบไม่เหมือนกัน • 4. คำตอบแต่ละข้ออาจมีหลายคำตอบ ทำให้ตรวจให้คะแนนได้ยาก

  24. ข้อสอบแบบเลือกตอบ เป็นแบบทดสอบที่นิยมใช้กันมาก สำหรับแบบทดสอบแบบปรนัย เพราะสามารถวัดความรู้ได้ทุกระดับพฤติกรรมของพุทธิพิสัย ตัวอย่าง จังหวัดใดที่อยู่ภาคเหนือ ก. ธนบุรี ข. อยุธยา ค. สุโขทัย ง. กรุงเทพฯ

  25. ข้อดีของข้อสอบแบบเลือกตอบข้อดีของข้อสอบแบบเลือกตอบ • วัดได้ครอบคลุมทุกพฤติกรรมตั้งแต่ความรู้ความจำถึงการประเมินค่า • ใช้เวลาในการทดสอบไม่มากนัก • ตรวจให้คะแนนได้ง่าย มีความเป็นปรนัยสูง • เดาได้ยากกว่าข้อสอบแบบถูกผิด เพราะมีตัวเลือกหลายตัว • นำไปวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบได้ง่าย

  26. ข้อจำกัดของข้อสอบแบบเลือกตอบข้อจำกัดของข้อสอบแบบเลือกตอบ • ไม่ส่งเสริมการเขียน การแสดงความคิดเห็น • ใช้เวลามากในการเขียนข้อสอบ • การเขียนตัวเลือกที่ถูก และตัวลวงให้ดีนั้น ทำได้ยาก

  27. 2 แบบอัตนัยหรือแบบเขียนตอบ (Essay tests) แบบจำกัดคำตอบ แบบไม่จำกัดคำตอบหรือแบบขยายความ หรือตอบอย่างเสรี

  28. ข้อสอบแบบเขียนตอบ เป็นข้อสอบที่ให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น จึงเหมาะสำหรับวัดความรู้ขั้นสูงกว่าความจำ และความเข้าใจ ข้อสอบแบบเขียนตอบ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบจำกัดคำตอบ และแบบขยายความ ตัวอย่าง สาเหตุที่ทำให้เมล็ดพืชไม่งอกเพราะเหตุใด และมีวิธี แก้ปัญหานั้นอย่างไร

  29. ข้อดีของข้อสอบแบบเขียนตอบข้อดีของข้อสอบแบบเขียนตอบ • สามารถวัดพฤติกรรมขั้นสูงได้ดี • สร้างได้ง่าย • ส่งเสริมการเขียน และการแสดงความคิดเห็น • ขจัดการเดา

  30. ข้อจำกัดของข้อสอบแบบเขียนตอบข้อจำกัดของข้อสอบแบบเขียนตอบ • ตรวจให้คะแนนได้ยาก ไม่เป็นปรนัย • ขาดความเชื่อมั่นของคะแนนที่ได้ • วัดเนื้อหาได้ไม่ครอบคลุม • ผู้ตอบอาจใช้การตอบแบบตบตา โดยการตอบแบบยาวๆ • เพราะรู้ว่าจะทำให้ได้คะแนนสูงกว่าการตอบแบบสั้นๆ

  31. สรุปได้ว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่งได้ 2 ประเภท คือ แบบทดสอบมาตรฐาน ซึ่งสร้างจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหา และด้านวัดผลการศึกษา มีการหาคุณภาพเป็นอย่างดี ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการ ทดสอบในชั้นเรียน

  32. แบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์แบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์

  33. แบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์แบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์

  34. แบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์แบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์

  35. แบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์แบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์

  36. 1. ความเที่ยงตรง 2. ความเชื่อมั่น 10.มีประสิทธิภาพ 3. ความเป็นปรนัย ลักษณะข้อสอบที่ดี 9. มีลักษณะยั่วยุ 8. มีความจำเพาะ เจาะจง 4. ค่าอำนาจจำแนก เหมาะสม 7. ถามลึก 5. ความยากง่าย พอเหมาะ 6. มีความยุติธรรม

  37. การสร้างและหาคุณภาพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

  38. 1 วิเคราะห์จุดประสงค์ เนื้อหาวิชา

  39. ขั้นแรกจะต้องทำการวิเคราะห์ดูว่ามีหัวข้อเนื้อหาใดบ้างขั้นแรกจะต้องทำการวิเคราะห์ดูว่ามีหัวข้อเนื้อหาใดบ้าง ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และที่ต้องวัดแต่ละหัวข้อ เหล่านั้นต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรม หรือสมรรถภาพอะไร กำหนดออกมาให้ชัดเจน

  40. 2 กำหนดพฤติกรรมย่อย ที่จะออกข้อสอบ

  41. จากขั้นแรก พิจารณาต่อไปว่าจะวัดพฤติกรรมอะไรบ้าง อย่างละกี่ข้อ พฤติกรรมย่อยดังกล่าวคือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั่นเอง เมื่อกำหนดจำนวนข้อที่ต้องการจริงเสร็จแล้ว ต่อมาพิจารณาว่า จะต้องออกข้อสอบเกินไว้กี่ข้อ ควรออกเกินไว้ไม่ต่ำกว่า 25 % ทั้งนี้ เนื่องจากหลังจากที่นำไปทดลองใช้ และวิเคราะห์หาคุณภาพ ของข้อสอบรายข้อ จะตัดข้อที่คุณภาพไม่เข้าเกณฑ์ออก ข้อสอบที่เหลือจะได้ไม่น้อยกว่า จำนวนที่ต้องการจริง

  42. 3 กำหนดรูปแบบของข้อคำถาม และศึกษาวิธีเขียนข้อสอบ

  43. ขั้นตอนนี้ จะเป็นการตัดสินใจว่าจะใช้คำถามรูปแบบใด และศึกษาวิธีการเขียนข้อสอบ เช่น ศึกษาหลักในการเขียน ข้อคำถามแบบนั้น ๆ ศึกษาวิธีเขียนข้อสอบเพื่อวัดจุดประสงค์ ประเภทต่าง ๆ ศึกษาเทคโนโลยีในการเขียน ข้อสอบ เพื่อจะได้นำมาใช้ในการเขียนข้อสอบของตน

  44. 4 เขียนข้อสอบ

  45. ลงมือเขียนข้อสอบตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมลงมือเขียนข้อสอบตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ตามตารางที่ได้กำหนดจำนวนข้อสอบของแต่ละจุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมไว้และใช้รูปแบบเทคนิคการเขียนข้อสอบ ตามที่ได้ศึกษาในขั้นตอนที่ 3

  46. 5 ตรวจทานข้อสอบ

  47. นำข้อสอบที่ได้เขียนไว้แล้วในขั้นตอนที่ 4 มาพิจารณา ทบทวนอีกครั้ง โดยพิจารณาความถูกต้องตามหลักวิชา แต่ละข้อ วัดพฤติกรรมย่อยหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการหรือไม่ ภาษาที่ใช้เขียนมีความชัดเจนเข้าใจง่ายหรือไม่ ตัวถูกตัวลวง เหมาะสมเข้าเกณฑ์หรือไม่ ทำการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

  48. 6 ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

  49. นำจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและข้อสอบที่วัดนำจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและข้อสอบที่วัด แต่ละจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล และด้านเนื้อหาจำนวนไม่ต่ำกว่า 3 คน พิจารณาว่าข้อสอบ แต่ละข้อวัดตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้นั้นหรือไม่โดยใช้วิธีของ โรวิเนลลี (Rovinelli) และ แฮมเบิลตัน ( R. K. Hambleton ) ดังตัวอย่าง แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบ กับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

  50. คำชี้แจง โปรดพิจารณาว่าข้อสอบแต่ละข้อต่อไปนี้ วัดตรงตาม จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้หรือไม่ แล้วเขียนผลการ พิจารณาของท่านโดยกา  ลงในช่อง “คะแนนการพิจารณา” ตามความคิดเห็นของท่านดังนี้ กา  ในช่อง + 1 ถ้าแน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง กา  ในช่อง ๐ ถ้าไม่แน่ว่าข้อสอบนั้นจุดประสงค์เชิงพฤติกรมที่ระบุไว้ กา ในช่อง - 1 ถ้าไม่แน่ว่าข้อสอบข้อนั้นไม่ได้วัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้

More Related