1 / 27

โรคที่สำคัญของยางพารา

โรคที่สำคัญของยางพารา. โรคใบร่วงและฝักเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟท้อปธอร่า. # เชื้อรา Phytophthora palmivora และ P. botryosa # ใบร่วง ก้านใบช้ำสีดำมีน้ำยางเกาะติดอยู่ ฝักยางจะเน่าดำ และไม่แตกร่วงจากต้น. โรคเส้นดำ. # เชื้อรา Phytophthora palmivora และ P. botryosa

brian
Télécharger la présentation

โรคที่สำคัญของยางพารา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคที่สำคัญของยางพาราโรคที่สำคัญของยางพารา

  2. โรคใบร่วงและฝักเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟท้อปธอร่า # เชื้อรา Phytophthorapalmivoraและ P.botryosa # ใบร่วง ก้านใบช้ำสีดำมีน้ำยางเกาะติดอยู่ ฝักยางจะเน่าดำ และไม่แตกร่วงจากต้น

  3. โรคเส้นดำ # เชื้อรา Phytophthorapalmivoraและ P.botryosa # บริเวณเหนือรอยกรีดเป็นรอยช้ำ ต่อมาเป็นรอยบุ๋มขยายตัวตาม แนวขนานกับลำต้น เมื่อเฉือน เปลือกออกให้ลึกถึงเนื้อไม้ จะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้

  4. # เชื้อราRigidoporuslignosus # พุ่มใบมีสีเหลืองบางส่วน/ทั้งต้น เมื่อขุดดูรากจะพบเส้นใยสีขาว ปลาย แบน เกาะ ติดอยู่บนผิวราก เมื่อเส้นใยแก่ จะกลมนูนสีเหลือง ซีด มีดอกเห็ดเกิดบริเวณโคนต้น ลักษณะเป็น แผ่นแข็งครึ่งวงกลม แผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้น ๆ โรครากขาว

  5. โรคราสีชมพู # เชื้อรา Corticiumsalmonicolor # บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นรอยปริมีน้ำยางไหลซึมเป็นทางยาว และมีเส้นใยสีขาว คล้ายใยแมงมุมปกคลุม เมื่อเชื้อราเจริญลุกลามเข้าถึงเนื้อไม้จะเห็นผิวเปลือกเป็นแผ่นสีชมพูและมี กิ่งใหม่แตกออกบริเวณใต้รอยแผล

  6. โรคราแป้ง # เชื้อรา Oidiumheveae # ใบอ่อนร่วง ใบที่ไม่ร่วง แผ่นใบจะมีแผลขนาดไม่แน่นอน มีปุยเชื้อราสีขาวเทาปกคลุมอยู่ ต่อมาแผลจะเป็นรอยด่าง สีเหลืองซีดและกลายเป็นสีน้ำตาล ดอกยางมีปุยเชื้อราปกคลุม ก่อนที่จะดำ แล้วร่วง

  7. โรคราน้ำค้าง สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Peronospora parasitica ใบเลี้ยงของต้นกล้าเกิดเป็นจุดช้ำและต้นกล้าเน่ายุบ บนใบเกิดเป็นปื้นสีเหลืองด้านหน้าใบ ด้านหลังใบมีเส้นใยสีขาวเป็นกระจุก เมื่อมีการระบาดมากขึ้น แผลขยายขนาดออกไป เนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองกรอบ

  8. การควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยชีววิธีการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยชีววิธี # เชื้อรา และ เชื้อแบคทีเรีย - เป็นปรสิตโดยการพันรัดหรือแทงเข้าสู่ภายในเส้นใยเชื้อโรค - แข่งขันการใช้อาหารกับเชื้อโรค - ผลิต สารปฏิชีวนะ สารพิษ น้ำย่อยจำพวกเอนไซม์ เพื่อทำลายเชื้อโรค - ชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคได้

  9. การควบคุมเชื้อสาเหตุโรคโดยชีววิธีการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคโดยชีววิธี

  10. การใช้จุลินทรีย์เพื่อป้องกันโรคการใช้จุลินทรีย์เพื่อป้องกันโรค # ให้เชื้อจุลินทรีย์มีบทบาทในการแข่งขัน ยับยั้งและทำลายเชื้อโรคเพื่อให้ปริมาณลดลง และยังช่วยปกป้องส่วนของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบรากพืชให้ปลอดภัยจากการเข้าทำลายของเชื้อโรค # ดังนั้นการใช้เชื้อจุลินทรีย์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์จริงๆ จึงควรใช้ในขณะที่พืชยังไม่แสดงอาการของโรค

  11. การใช้จุลินทรีย์เพื่อรักษาโรคการใช้จุลินทรีย์เพื่อรักษาโรค # เมื่อเกิดโรครากเน่าไฟท้อฟธอร่าแล้วจะทำให้ต้นพืชแสดงอาการทรุดโทรม เช่น - ใบซีดหรือเหลือง - ไม่แตกใบอ่อน - ผิวใบมีลักษณะด้านไม่เป็นมัน - ถ้าระบบรากถูกทำลายค่อนข้างรุนแรงจะเกิดอาการใบร่วง และทำให้ต้นพืชตายในที่สุด

  12. การใช้จุลินทรีย์เพื่อรักษาโรคการใช้จุลินทรีย์เพื่อรักษาโรค # ในกรณีที่พืชเริ่มแสดงอาการทรุดโทรมไม่รุนแรงนัก - การใช้เชื้อจุลินทรีย์ใส่ลงดินใต้ทรงพุ่ม - เพื่อหยุดยั้งการเข้าทำลายระบบรากของเชื้อโรค - ช่วยปกป้องรากใหม่และช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในดินลง - จะช่วยให้ต้นพืชสามารถฟื้นจากสภาพทรุดโทรมกลับคืนสู่สภาพปกติได้

  13. การใช้จุลินทรีย์เพื่อรักษาโรคการใช้จุลินทรีย์เพื่อรักษาโรค # ในกรณีที่พืชแสดงอาการทรุดโทรมค่อนข้างมาก แสดงว่าระบบรากส่วนใหญ่ถูกเชื้อโรคเข้าทำลายแล้ว # การใช้เชื้อจุลินทรีย์แต่เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถช่วยฟื้นฟูสภาพ ทรุดโทรมของพืชได้ทันการ # ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องใช้วิธีการอื่นร่วมด้วย เช่น - การใช้สารเคมี “เมทาแลคซิล” เพื่อหยุดยั้งการเข้าทำลายของเชื้อไฟท้อฟธอร่า และลดปริมาณของเชื้อลงโดยเฉียบพลัน ร่วมกับการใช้สารเสริมหรืออาหารเสริมฉีดพ่นใบพืชเพื่อบำรุงพืชให้แข็งแรง

  14. การยับยั้งเชื้อราก่อโรคโดยเชื้อจุลินทรีย์การยับยั้งเชื้อราก่อโรคโดยเชื้อจุลินทรีย์ Trichoderma sp. Phytophthora sp.

  15. การยับยั้งเชื้อราก่อโรคโดยเชื้อจุลินทรีย์การยับยั้งเชื้อราก่อโรคโดยเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา

  16. เชื้อราสาเหตุโรคพืช (Fusarium sp.) เชื้อแบคทีเรีย Bacillus sp. เชื้อแบคทีเรีย Bacillus sp. เชื้อรา Trichoderma sp. การทดสอบการยับยั้งและเข้าทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืช

  17. เชื้อราสาเหตุโรคพืช (Rhizoctonia sp.) เชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืช

  18. การยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชโดยเชื้อแบคทีเรียการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชโดยเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรีย Bacillussubtilis Fusarium sp. Rhizoctonia sp. เชื้อราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า

  19. สถานที่ทำการทดลอง • สวนยางพารา อ.พรเจริญ จ.หนองคาย • สวนยางพารา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช • สวนยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

  20. การทดสอบผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อราไฟท้อปธอร่าก่อโรคในสวนยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วิธีการทดสอบ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1. ตรวจหาปริมาณเชื้อราทั้งหมด และเชื้อราไฟท้อปธอร่าในดินสวนยางพารา 2. ตรวจหาเชื้อราไฟท้อฟธอร่าในตัวอย่างใบ เปลือกไม้ของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 3. ทดสอบการยับยั้งและการเข้าทำลายเชื้อราไฟท้อฟธอร่า

  21. 1. ตรวจหาปริมาณเชื้อราทั้งหมด และเชื้อราไฟท้อปธอร่าในดินสวนยางพารา การทดสอบผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ NANO ในดินสวนยางพารา พบว่า ปริมาณเชื้อราทั้งหมดในดินลดลงภายหลังการใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ NANO ครั้งที่ 1 และลดลงภายหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 2 และ 3 ตามลำดับ การลดลงของปริมาณเชื้อราทั้งหมดในดินพบได้ทั้งในดินบริเวณสวน ยางพาราพันธุ์ BPM 24 และพันธุ์ RRIM 600 ในดินบริเวณสวนยางพาราพันธุ์ BPM 24 ไม่พบเชื้อราไฟท้อปธอร่า แต่ตรวจพบเชื้อราไฟท้อปธอร่าในดินบริเวณสวนยางพาราพันธุ์ RRIM 600

  22. ผลหลังจากที่ใช้เชื้อจุลินทรีย์ NANO ในดินสวนยางพันธุ์ BPM 24

  23. ผลหลังจากที่ใช้เชื้อจุลินทรีย์ NANO ในดินสวนยางพันธุ์ RRIM 600

  24. 2. ตรวจหาเชื้อราไฟท้อฟธอร่าในตัวอย่างใบ เปลือกไม้ของยางพาราพันธุ์ RRIM 600 จากการนำตัวอย่างใบ เปลือกไม้ บริเวณลำต้นยางพาราที่คาดว่าน่าจะมี เชื้อราไฟท้อฟธอร่า มาเพาะเลี้ยงและคัดแยกในอาหารจำเพาะและส่องดู ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ไม่พบเชื้อราไฟท้อฟธอร่า

  25. 3. ทดสอบการยับยั้งและการเข้าทำลายเชื้อราไฟท้อฟธอร่า จากการทดสอบพบว่า เชื้อราในผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ NANO (Trichoderma sp). สามารถยับยั้งเชื้อไฟท้อฟธอร่าที่แยกได้จากดินบริเวณสวนยางพาราพันธุ์ RRIM 600 ได้ โดยเชื้อรา Trichoderma sp. เจริญได้เร็วกว่า และเข้าครอบครองพื้นที่ได้เร็ว ทำให้เชื้อราไฟท้อฟธอร่าถูกเบียดบังไม่สามารถที่จะเจริญออกไปได้ และเส้นใยของเชื้อรา Trichoderma sp. ยังเจริญเข้าทำลายเส้นใยของเชื้อราไฟท้อฟธอร่าอีกด้วย

More Related