1 / 25

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน. โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร ?.

Télécharger la présentation

โรคเบาหวาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคเบาหวาน

  2. โรคเบาหวานเกิดจากอะไร?โรคเบาหวานเกิดจากอะไร? เกิดจากตับอ่อนสร้าง "ฮอร์โมนอินซูลิน" ได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมากๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวานหรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า "โรคเบาหวาน" นั่นเอง

  3. สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเบาหวาน?สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเบาหวาน? โรคเรื้อรังที่ไม่หายขาดและเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ นอกจากนี้ยังมาจากสิ่งแวดล้อมวิธีการดำเนินชีวิตการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดด้วย เช่น อ้วนเกินไป , กินหวานมากๆ ,มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย เป็นต้น

  4. อาการทั่วไปของผู้ป่วยโรคเบาหวานอาการทั่วไปของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีอาการปัสสาวะบ่อยและมากกว่าปกติเนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อยๆ ร่างกายผ่ายผอม ด้วยความที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ เพลียแรง

  5. ประเภทของโรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ • โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน พบได้น้อย แต่รุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี อาจพบในผู้สูงอายุ ตับอ่อนของผู้ป่วยจะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านตับอ่อนของตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า "โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง" ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก

  6. ดังนั้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตนของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน ซึ่งสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วย โรคเบาหวาน หมดสติและทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสารคีโตน"

  7. 2. โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ มีความรุนแรงน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง โดยตับอ่อนของผู้ป่วยสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็น โรคเบาหวาน ได้ บางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมากๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป

  8. อาการแทรกซ้อนของ โรคเบาหวาน มักจะเกิดเมื่อเป็น เบาหวาน อย่างน้อย 5 ปีแล้วไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง 1. ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง ตาหรือจอตาเสื่อม หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา และอาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด 2. เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ช่องคลอดอักเสบ, เป็นฝีพุพองบ่อย, เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป็นต้น

  9. 3. ระบบประสาท อาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย บางคนอาจมีอาการวิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ ท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ) 4. ไตมักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการ บวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วย โรคเบาหวาน ที่พบได้ค่อนข้างบ่อย

  10. 5. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็น โรคความดันโลหิตสูง, อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ อาจทำให้เท้าเย็นเป็นตะคริว หรือปวดขณะเดินมาก ๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยาก หรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)

  11. 6. ภาวะคีโตซิสพบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนานๆ ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วย โรคเบาหวานจะซึมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้

  12. ดูแลตัวเองของเมื่อเป็นโรคเบาหวานดูแลตัวเองของเมื่อเป็นโรคเบาหวาน 1. โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก

  13. 2. ควบคุมอาหารการลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) และการออกกำลังกาย มีความสำคัญมาก ในรายที่เป็น โรคเบาหวาน ไม่มาก ถ้าปฎิบัติในเรื่องเหล่านี้ได้ดี อาจหายจาก โรคเบาหวาน ได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกอาหาร ดังต่อไปนี้... 2.1 บริโภคอาหารให้ครบ 5หมู่ 2.4 ทานอาหารที่มีกากใยมากเพื่อช่วยในการขับถ่าย 2.2 หลีกเลี่ยงการรับประทานจุกจิกและไม่ตรงเวลา 2.5 หากมีอาการเกี่ยวกับโรคไตหรือความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม 2.3 แม้ระดับน้ำตาลในเลือดจะปกติดีแล้วก็ควรจะต้องควบคุมอาหารตลอดไป

  14. อาหารที่ห้ามรับประทานเมื่อเป็นเบาหวานอาหารที่ห้ามรับประทานเมื่อเป็นเบาหวาน • น้ำตาลทุกชนิด น้ำผึ้ง •ผลไม้กวนประเภทต่างๆ •ขนมเชื่อม ขนมหวานต่างๆ •ผลไม้ที่มีรสหวานมากๆ •น้ำหวานประเภทต่างๆ •ขนมทอดกรอบหรือชุบแป้งทอด • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ • ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น

  15. อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทาน • ข้าวกล้องมีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนผ่านการขัดสีน้อย • วุ้นเส้นทำจากถั่ว สามารถทานได้ประจำตามปริมาณที่กำหนดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยววุ้นเส้น , แกงจืด • ไขมันไม่อิ่มตัวเช่น น้ำมันมะกอก ,น้ำมันรำข้าว • ผัก ผลไม้ผักให้หลากหลายทุกวันอย่างน้อย 2 มื้อ/วัน จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นแน่นอน

  16. ผักที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานผักที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน • มะระขี้นกหั่นชิ้นเล็กแล้วตากแดดให้แห้ง นำมาชงกับน้ำเหมือนชงชา • ฟักทอง ใช้เมล็ดฟักทองต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 300 เมล็ด จะช่วยให้อาการเบาหวานดีขึ้น นอกจากนี้ผลฟักทองและน้ำฟักทอง ก็ช่วยลดอาหารเบาหวานได้ • แตงกวา การคั้นน้ำแตงกวาพร้อมเมล็ดจะดีต่อสุขภาพเมื่อดื่มขณะท้องว่าง

  17. ประเภทน้ำนม • ควรเลือกดื่มชนิดจืดไม่เติมน้ำตาลหรือชนิดไม่ ปรับปรุงแต่งรส • นมพร่องมันเนยคือมีไขมันประมาณ 1.9% รับประทานได้ • นมเปรี้ยวควรเลือกชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส • นมข้นหวานไม่ควรใช้นมชนิดนี้ • น้ำเต้าหู้ผู้ป่วยเบาหวานดื่มได้ แต่ต้องไม่เติมน้ำตาล

  18. 3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ 4. หมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ เพราะอาจลุกลามจนกลายเป็นแผลเน่าจนต้องตัดนิ้วหรือขาทิ้ง

  19. 5. หมั่นตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง และตรวจเลือดที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพราะเป็นวิธีที่บอกผลการรักษาได้แน่นอนกว่าการสังเกตจากอาการเพียงอย่างเดียว 6. อย่าซื้อยาชุดกินเอง เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเองต้องแน่ใจว่า ยานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

  20. 7. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่กินยา/ฉีดยารักษาโรคเบาหวานอยู่ อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือมีอาการใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ หรือชักได้ ดังนั้น จึงต้องระวังดูอาการดังกล่าว และควรพกน้ำตาลหรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน จะช่วยให้หาย

  21. 8. ควรมีบัตรประจำตัว (หรือกระดาษแข็งแผ่นเล็ก) ที่เขียนข้อความว่า "ข้าพเจ้าเป็นโรคเบาหวาน" พร้อมกับบอกชื่อยาที่รักษาพกติดกระเป๋าไว้ หากบังเอิญเป็นลมหมดสติ ทางโรงพยาบาลจะได้ทราบประวัติการเจ็บป่วยและให้การรักษาได้ทันท่วงที 9. รู้จักกินลดของหวาน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล

  22. บรรณานุกรม 1. กรรณิการ์ มุรทาธร. (2554). บำบัดโรคเบาหวานด้วยสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : บีเวลล์ สปีเชียล. 2. วันทนีย์ เกรียงสินยศ. (2551).โภชนาการกับเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : สารคดี. 3. สถิติสาธารณสุข ปี 2552. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2552

  23. 4. สถิติสาธารณสุข ปี 2551-52 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. [online ].[cited 201 Oct 1] ; Available from : URL:http://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5 5. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.รายงาน NCD 1 ปีงบประมาณ 2554 (ตามแบบรายงาน NCD 1 งวดที่ 1-2) ในโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน

  24. จัดทำโดย 1. น.ส.ปุณิกา ลิชนะเธียร เลขที่ 3 2. น.ส.กมลลักษณ์ วรรโน เลขที่ 4 3. น.ส.ณัฎฐาณิศ คงน้อย เลขที่ 5 4. น.ส.วีรวัลย์ ตันมงคล เลขที่ 7 5. นายสุทิวัส ปุญญกริยากร เลขที่ 11 6. นายภาวินทร์ เต็งอำนวย เลขที่ 31 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4

More Related