1 / 62

สุขภาพส่วนบุคคล

สุขภาพส่วนบุคคล. สุขภาพส่วนบุคคลและชุมชน ความหมายและความสำคัญของสุขภาพ สุขภาพ หมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยดี ไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ปราศจากโรคหรือทุพลภาพเท่านั้น. ความสำคัญของสุขภาพ 1. ความสำคัญของสุขภาพในส่วนบุคคล สุขภาพสามารถนำไปสู่

Télécharger la présentation

สุขภาพส่วนบุคคล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สุขภาพส่วนบุคคล สุขภาพส่วนบุคคลและชุมชน ความหมายและความสำคัญของสุขภาพ สุขภาพ หมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยดี ไม่ได้หมายความเฉพาะแต่ปราศจากโรคหรือทุพลภาพเท่านั้น

  2. ความสำคัญของสุขภาพ 1. ความสำคัญของสุขภาพในส่วนบุคคล สุขภาพสามารถนำไปสู่ ความสุขและความสำเร็จต่างๆ ในชีวิตได้ 2. ความสำคัญของสุขภาพต่อเศรษฐกิจและสังคม ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีต้องมีสุขภาพแข็งแรง 3. ความสำคัญของสุขภาพต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจาก ประชาชนเป็นขุมพลังของชาติ เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ4 ประการ คือ 1. พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติของ บุคคลที่มีผลต่อสุขภาพ 2. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ หมายถึง สิ่งไม่มีชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัว เรา เช่น อาคาร บ้านเรือน อากาศ น้ำ เสียง เราสามารถควบคุมและพัฒนาได้ 3. พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษโดยการสืบสาย โลหิต ไม่สามารถควบคุมได้ 4. บริการสุขภาพ เป็นการจัดทำโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน

  4. การส่งเสริมสุขภาพทางกายการส่งเสริมสุขภาพทางกาย การดูแลสุขภาพส่วนบุคคล สุขปฏิบัติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร 1. ก่อนรับประทานอาหาร ควรปฏิบัติดังนี้ เช่น  อาบน้ำ ล้างมือ ล้างอุปกรณ์รับประทานอาหารให้สะอาด  รับประทานอาหารที่ทำเสร็จใหม่ๆ 2. ขณะรับประทานอาหาร ควรปฏิบัติดังนี้  รับประทานอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด  ไม่พูดคุยหรือหัวเราะ 3. หลังรับประทานอาหาร ควรปฏิบัติดังนี้  เก็บอาหารที่เหลือให้เรียบร้อย  ดื่มน้ำอย่างน้อย 1 แก้ว

  5. สุขปฏิบัติเกี่ยวกับการพักผ่อนสุขปฏิบัติเกี่ยวกับการพักผ่อน 1. ลักษณะการพักผ่อน มี 2 ลักษณะ คือ การพักผ่อนโดยการนอน หลับ และการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพักผ่อน 2. ประโยชน์ของการนอนหลับ เช่น - เป็นการสะสมพลังงานของร่างกาย เพื่อทดแทนพลังงาน ที่สูญเสีย 3. การดูแลตัวเองเพื่อการนอนหลับ เช่น - มีการวางแผนการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีเวลาสำหรับการ นอนที่เพียงพอ เช่น บุคคลช่วงอายุ 13 – 19 ปี ควรนอนหลับวันละ 8 – 10 ชั่วโมง

  6. สุขปฏิบัติเกี่ยวกับการนันทนาการสุขปฏิบัติเกี่ยวกับการนันทนาการ ควรมีการหาเวลาว่างเท่าที่มีอยู่เลือกทำกิจกรรมที่เราพอใจก็จะทำ ให้เกิดการเพลิดเพลิน ผ่อนคลายทางร่างกายและจิตใจก็ได้รับการพักผ่อน พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับภาระหน้าที่ต่อไป

  7. อาหาร 1. ความหมายของอาหารและสารอาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 อาหาร หมายถึง ของกินหรือ เครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วย วิธีใดๆ หรือในรูปลักษณะใดๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย ตามความหมายทั่วไป อาหาร (Food) หมายถึง วัตถุที่มนุษย์รับเข้าร่างกาย โดยวิธีใดๆ ก็ตาม แล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการสร้างเสริมความ เจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพ ทั้งยังช่วยในการค้ำจุนร่างกาย ตลอดจนการดำรงรักษา ส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และมีสุขภาพดี

  8. อาหารทำให้มีผลต่อสุขภาพในด้านต่างๆ ดังนี้  สุขภาพกาย เช่น - ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต  สุขภาพจิต ส่งผลให้มีความมั่นคงทางอารมณ์ กระตือรือร้น สดชื่น แจ่มใส มีสมาธิ พัฒนาการทางสมอง จะขึ้นอยู่กับการได้รับอาหารถูกหลักโภชนาการ โดยเฉพาะในช่วง วัยที่สมองกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ขณะอยู่ในครรภ์

  9. 2. หน้าที่และประโยชน์ของอาหาร และสารอาหารต่อสุขภาพ ให้ความเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ให้พลังงานและความอบอุ่น ให้อำนาจคุ้มกันและรักษาโรค ให้ความเจริญทางสมอง ให้สมรรถภาพในการปฏิบัติงาน

  10. 3. อาหารหลัก 5 หมู่ อาหารหมู่ที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ ถั่วชนิดต่างๆ ไข่ น้ำนม อาหารหมู่นี้สำคัญมาก โดยเฉพาะเด็กกำลังเจริญเติบโต เพาะเป็นอาหารที่ให้โปรตีน ประโยชน์เสริมสร้างบำรุงร่างกายให้เติบโต ซ่อมแซมอวัยวะส่วนที่สึกหรอให้เป็นปกติ

  11. อาหารหมู่ที่ 2ได้แก่ ข้าว และอาหารจำพวกแป้งต่างๆ ประโยชน์ ทำร่างกายมีกำลังที่จะทำงาน หนัก และทำให้ร่างกาย อบอุ่น อาหารหมู่ที่ 3ได้แก่ อาหารจำพวกผักใบเขียว และพืชผักชนิดอื่นๆ ประโยชน์ บำรุงผิวหนัง ตา เหงือก ฟัน บำรุงเลือด ช่วยป้องกันท้องผูก

  12. อาหารหมู่ที่ 4 ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่างๆ ประโยชน์ บำรุงผิวหนัง ตา เหงือก ฟัน ทำให้ร่างกายสดชื่น อาหารหมู่ที่ 5ได้แก่ ไขมัน ประโยชน์ ทำให้ร่างกายอบอุ่น มีกำลังทำงาน ช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามิน (A, D, E และ K)

  13. 4. ความรู้เกี่ยวกับสารอาหาร คาร์โบไฮเดรตเป็นสารประกอบอินทรีย์สาร ประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ 1. น้ำตาลชั้นเดียว เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด เมื่อรับประทานสามารถดูดซึมได้ทันที 2. น้ำตาลสองชั้น เมื่อกินเข้าไปจะถูกย่อยโดยเอนไซม์ในทางเดินอาหารเพื่อให้ได้น้ำตาลชั้นเดียวก่อนจึงจะดูดซึม 3. น้ำตาลหลายชั้น โมเลกุลใหญ่และซับซ้อน ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียวมารวมกันเป็นจำนวนมาก ไม่มีรสหวาน ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต 1. ให้พลังงานและความร้อน 2. ช่วยสงวนโปรตีนให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด 3. เป็นกลูโคสไปเลี้ยงร่างกาย ที่เหลือจะอยู่ในรูปไกลโคเจน ส่วนที่เกินจะเก็บในรูปเนื้อเยื่อไขมัน เป็นอาหารสำรอง 4. น้ำตาลกลูโคส เป็นอาหารเลี้ยงสมอง 5. เซลลูโลสช่วยระบายท้อง

  14. โปรตีนประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน ในร่างกายมีโปรตีนเป็นอันดับสองรองจากน้ำ โปรตีนเป็นสารที่ได้จากการรวมกัน ของโมเลกุลกรดอะมิโน ซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดของโปรตีน มีมากกว่า 20 ชนิด เมื่อโปรตีนทำปฏิกิริยากับน้ำย่อย โมเลกุลของมันจะสลายออกเป็นโมเลกุลเล็กๆ คือ กรดอะมิโน ซึมเข้าสู่ผิวกระเพาะและเส้นเลือดได้ เพื่อเลี้ยงร่างกาย กรดอะมิโน แบ่งเป็น 2 พวก 1. กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ กรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ ไม่ได้ หรือสังเคราะห์ได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2. กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ กรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ ขึ้นได้เอง ไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร

  15. การแบ่งประเภทโปรตีนตามคุณค่าทางโภชนาการ การแบ่งประเภทโปรตีนตามคุณค่าทางโภชนาการ 1.โปรตีนสมบูรณ์ คือ โปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ทุกประเภท และร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น นม ไข่ 2. โปรตีนไม่สมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นไม่ครบ ทุกชนิด เช่น โปรตีนที่ได้จากพืชทั่วๆ ไป ยกเว้นถั่วเหลือง ประโยชน์ของโปรตีน 1. ช่วยเสริมสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ 2. สร้างสารควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกาย 3. สร้างสารต้านทานเชื้อโรค 4. ให้พลังงาน ในกรณีที่ได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมันไม่เพียงพอ 5. เป็นส่วนประกอบสำคัญของ DNA

  16. ไขมันเป็นสารอาหารที่ได้จากธรรมชาติ จากสัตว์และพืช มี คุณสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายไขมัน ไขมันแบ่งได้ 2 ชนิด คือ 1. กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ได้แก่ กรดไขมันไม่อิ่มตัวพบในน้ำมันจากพืช มีความสำคัญต่อร่างกายมาก 2. กรดไขมันที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายเป็นกรดไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ เป็นกรดไขมันอิ่มตัวมีอยู่ในไขมันสัตว์และน้ำมันมะพร้าว การดูดซึม ไขมันหนึ่งในสามจะดูดซึมเข้าทางเส้นเลือด อีกสองในสามส่วนถูกย่อยและ แตกตัวในลำไส้ ออกเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล

  17. ประโยชน์ของไขมัน 1. ให้พลังงานความร้อนแก่ร่างกายสูงสุด 2. เป็นแหล่งเกิดของวิตามินที่ละลายในไขมัน และช่วยในการดูดซึมวิตามิน 3. ให้กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และบำรุงสุขภาพผิวหนัง 4. ไขมันที่อยู่รอบๆ อวัยวะช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนแก่อวัยวะนั้นๆ 5. ช่วยให้อาหารมีรส กลิ่น และเนื้อสัมผัสดีขึ้น 6. ทำให้อิ่มนานกว่าอาหารประเภทอื่น 7. ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกาย ผลของการรับประทานไขมันน้อยเกินไป 1. ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน 2. เกิดโรคขาดวิตามิน 3. ได้รับกรดไขมันที่จำเป็นไม่เพียงพอ ผลของการรับประทานไขมันมากเกินไป ทำให้อ้วน ไม่ว่องไว หัวใจ และอวัยวะอื่นทำงานไม่สะดวก

  18. เกลือแร่เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้เกลือแร่เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ หน้าที่โดยทั่วไปของเกลือแร่ เช่น 1. เสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ 2. รักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย เกลือแร่ที่สำคัญต่อร่างกาย มีดังนี้ 1. แคลเซียม เป็นเกลือแร่ที่มีมากที่สุดในร่างกายอยู่ในกระดูกและฟัน ร่างกายต้องการแคลเซียมตลอด ชีวิต และต้องการมากในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ ถ้าขาดร่างกายจะหยุดการเจริญเติบโต ถ้าขาดมากจะ เป็นโรคกระดูกอ่อน ประโยชน์ของแคลเซียม 1. สร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน 2. เป็นปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด 3. ควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ 4. กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ 5. ควบคุมการทำงานของผนังเซลล์

  19. การดูดซึมและการขับถ่ายการดูดซึมและการขับถ่าย ส่วนใหญ่เกิดในลำไส้เล็กตอนต้น ในสภาพปกติร่างกายจะดูดซึมไว้เพียง ร้อยละ 20-30 ที่เหลือจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกายทางปัสสาวะ อุจจาระ และเหงื่อ ผลของการับประทานแคลเซียมน้อยเกินไป ในเด็กจะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรง ทำให้ขาโก่ง ในผู้ใหญ่จะทำให้ กระดูกผุและหักง่าย ผลของการรับประทานแคลเซียมมากเกินไป แคลเซียมจะถูกดูดซึมไม่หมด แต่ถ้าได้รับวิตามินดีควบคู่ไปด้วย จะทำให้ การดูดซึมดีขึ้น อาจทำให้เป็นนิ่วในไต และเกิดอาการเป็นพิษต่างๆ ได้

  20. 2. ฟอสฟอรัส เป็นเกลือแร่ที่อยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย ฟอสฟอรัสจะรวมกับ แคลเซียมเป็นกระดูกและฟัน ฟอสฟอรัสในเลือดทำหน้าที่รักษาสมดุล ระหว่างกรดกับด่าง รวมทั้งเป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ ทำหน้าที่ ลำเลียงกรดไขมัน เป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ เผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต และไขมัน พบในอาหารที่มีโปรตีน และแคลเซียมสูง การดูดซึมและการขับถ่าย ดูดซึมบริเวณลำไส้เล็ก ฟอสฟอรัสที่ไม่ถูกดูดซึมจะถูกขับออกทาง อุจจาระและปัสสาวะ

  21. 3. โปตัสเซียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์และกล้ามเนื้อ ร้อยละ 97 อยู่ในเซลล์ทั่ว ร่างกาย ที่เหลืออยู่ในของเหลวภายนอกเซลล์ พบมากในอาหารคือ กล้วย ผลไม้แห้ง เนื้อสัตว์ นม แป้งถั่วเหลือง ประโยชน์ของโปแตสเซียม 1. ควบคุมความเป็นกรดด่างภายในร่างกาย และรักษาสมดุลแรงดันออสโม ซิส 2. ทำงานร่วมกับโซเดียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ในการทำงานของระบบ ประสาทและกล้ามเนื้อ 3. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ การดูดซึมและการขับถ่าย ดูดซึมในบริเวณลำไส้เล็ก ร่างกายดูดซึมได้เกือบหมด ที่เหลือถูกขับออกทาง ปัสสาวะ และอุจจาระ

  22. 4. โซเดียม ปกติจะอยู่รวมกับธาตุอื่น จะไม่อยู่เป็นอิสระ ที่พบมากคือ โซเดียมคลอไรด์ ในร่างกายร้อยละ 50 อยู่ในของเหลวนอกเซลล์ ร้อยละ 40 อยู่ในกระดูก ที่เหลืออยู่ในของเหลวใน เซลล์ อาหารที่พบมาก คือ อาหารที่ใส่เกลือทุกชนิด เนยแข็ง ประโยชน์ของโซเดียม 1. ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย 2. ควบคุมการส่งกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อ และการเต้นของ หัวใจ 3. ช่วยรักษาความเป็นกรดร่าง 4. ช่วยในการดูดซึมกลูโคส และกรดอะมิโน การดูดซึมและการขับถ่าย ดูดซึมได้เกือบทั้งหมด ระดับของโซเดียมถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ชื่อ อัลโดสเตอโรน โซเดียมที่เหลือใช้จะถูกขับออกมาโดยไต ทางปัสสาวะ อุจจาระ และทางเหงื่อ

  23. 5. เหล็ก เป็นองค์ประกอบของสารสีแดงในเม็ดเลือดซึ่งทำหน้าที่ขนส่ง ออกซิเจน สะสมอยู่ในตับ ไขกระดูก ม้าม และไต พบมาก ได้แก่ ตับสัตว์ เต้าหู้เหลือง ไข่แดง ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเมล็ด ต่างๆ ประโยชน์ของเหล็ก 1. เป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง 2. เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิด การดูดซึมและการขับถ่าย เกิดขึ้นในลำไส้เล็ก ปกติจะดูดซึมเพียงเล็กน้อย

  24. 6. ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ช่วยกระตุ้นการทำงาน ของเซลล์ต่างๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และกระตุ้นการทำงานของ ฮอร์โมนหลายชนิด ตลอดจนควบคุมการเผาผลาญอาหาร มีมากในอาหาร ทะเล การดูดซึมและการขับถ่าย เกิดขึ้นในลำไส้เล็ก โดยทั่วไปดูดซึมได้เกือบหมดโดยจับอยู่กับ โปรตีน ไอโอดีนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะและเหงื่อ ถ้าขาด ไอโอดีนจะเป็นโรคคอพอก

  25. 7. วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในอาหาร ทั้งจากพืชและสัตว์ เป็น สารที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ขาดไม่ได้ ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เอง มี หน้าที่โดยทั่วไป คือ 1. ช่วยในการเจริญเติบโต 2. จำเป็นในกระบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย 3. ช่วยในการป้องกันและต้านทานโรค 4. ช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานเป็นปกติ ประเภทของวิตามิน 1. วิตามินที่ละลายน้ำได้ ได้แก่ วิตามิน C และวิตามิน B complex คุณสมบัติ คือ ไม่สามารถเก็บสะสมไว้ในร่างกายเมื่อรับมากเกินไป จะถูกขับออกทางปัสสาวะ 2. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน A, D, E และ K มีความจำเป็นต่อ ร่างกาย ถ้าได้รับมากจะเก็บสะสมไว้ในเนื้อเยื่อไขมัน คงทนไม่ค่อยเสียง่าย

  26. 8. น้ำ น้ำเป็นสารอาหารสำคัญของมนุษย์ ไม่จัดเข้าในจำพวกอาหาร โดยตรง มีหน้าที่คือ 1. นำอาหารภายในร่างกายสู่อวัยวะต่างๆ และนำของเสีย ออกนอกร่างกาย 2. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย 3. ร่วมกับไขมันช่วยป้องกันร่างกายจากบาดแผลต่างๆ 4. ช่วยทำให้อวัยวะที่เคลื่อนไหวดำเนินอย่างราบรื่น 5. เป็นสารจำเป็นในการสร้างเซลล์และซ่อมแซมเซลล์

  27. 5. การบริโภคอาหารเพื่อการรักษาสุขภาพ รับประทานอาหารให้เพียงพอต่อร่างกาย  กินอาหารให้ครบ 5 หมู่  เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วย  ให้ความสำคัญต่ออาหารทุกมื้อ  ฝึกให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่ดี เช่น ไม่กินจุบจิบ  เลือกรับประทานอาหารหลายๆ ชนิด ไม่ซ้ำซาก  พยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารตามบาทวิถีโดยไม่ จำเป็น เพราะมีโอกาสเสียงต่อโรค

  28. ยาและสิ่งเสพติด 1. ความหมาย ยา หมายถึง สารหรือวัตถุที่มีผลต่อสุขภาพร่างกายของคน หรือสัตว์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ บำบัด บรรเทา ป้องกัน และรักษาความเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ จากพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 พ.ศ. 2522 และฉบับที่ 5 มาตรา 4 พ.ศ. 2530 ยา

  29. ยาแผนปัจจุบัน หมายถึง ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวช กรรม การประกอบโรคศิลป์แผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์ ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลป์ แผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน ตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ ยาอันตราย หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็น ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณที่รัฐมนตรี ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ ยาใช้ภายนอก หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ภายนอก ทั้งนี้ไม่รวมถึงยาใช้เฉพาะที่

  30. ยาใช้เฉพาะที่ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณที่มุ่งหมาย สำหรับใช้เฉพาะที่กับ ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ ยาสามัญประจำบ้าน หมายถึง ยาแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณที่ รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน ยาบรรจุเสร็จ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันที่ได้ผลิตขึ้นเสร็จในรูปต่างๆ ทางเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดหรือผนึกไว้ และมีฉลาก ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ ผสมปรุง หรือแปรสภาพ

  31. แหล่งกำเนิดของยามาจากแหล่งสำคัญ 2 แหล่ง จากธรรมชาติ ได้แก่ สมุนไพร มาจาก 1. จากพืช ได้แก่ ยาที่ได้จากส่วนต่างๆ ของพืชโดยตรง 2. จากสัตว์ ได้จากอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ 3. จากแร่ธาตุ ได้แก่ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ได้แก่ ดินขาว จากการสังเคราะห์ทางเคมีอาจได้จากการสกัดพวกสมุนไพรมา สังเคราะห์ต่อด้วยวิธีทางเคมี เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ

  32. ประเภทของยา 1. ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่มีอันตรายน้อยที่สุดเหมาะสำหรับ เลือกใช้เป็นตัวแรก 2. ยาอันตราย เป็นยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการรักษาโรคแผนปัจจุบัน อาจก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายหากใช้ไม่ถูกต้อง 3. ยาควบคุมพิเศษ มีอันตรายสูง แพทย์จะจ่ายเมื่อจำเป็นเท่านั้น 4. ยาบรรจุเสร็จ เป็นยาแผนปัจจุบันที่ผลิตแล้ว 5. ยาเสพติดให้โทษ ผู้ใช้อาจเกิดการเสพติดได้ 6. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท มีผลต่อระบบประสาท และอาจ ก่อให้เกิดการเสพติด

  33. หลักการใช้ยา 1. ใช้ยาให้ถูกบุคคล 2. ใช้ยาให้ถูกขนาด 3. ใช้ยาให้ถูกขนาน คือใช้ให้ตรงกับโรค 4. ใช้ยาให้ถูกเวลา เช่น ก่อนอาหาร หลังอาหาร 5. ใช้ยาให้ถูกวิธีหรือถูกทาง ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยา 1. ควรเลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือได้ 2. เลือกใช้ยาที่อันตรายน้อยที่สุด 3. ไม่ควรนำตัวอย่างยาที่มีอยู่ไปซื้อ 4. ไม่ควรซื้อยาตามคำโฆษณา 5. เมื่อซื้อยาควรสอบถามรายละเอียดจากผู้ขายให้ชัดเจน 6. ไม่ซื้อยาชุดมาใช้ 7. หากซื้อยามาทานเองอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน ควรหยุดยาแล้วพบแพทย์ 8. ควรรับประทานยาจนครบตามจำนวนที่แพทย์แนะนำ

  34. สาเหตุของอันตรายจากการใช้ยาสาเหตุของอันตรายจากการใช้ยา 1. ใช้ยาเกินขนาด 2. จากอาการข้างเคียงของยา 3. จากการแพ้ยา 4. การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน 5. จาการใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน 6. จากการดื้อยา ยาที่ใช้บ่อย - ยาแก้ปวดลดไข้ - ยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ - ยาสามัญประจำบ้าน

  35. ยาเสพติด ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจได้จากธรรมชาติหรือ การสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยการกิน ดม สูบ ฉีด จะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1. ต้องเพิ่มขนาดของการเสพขึ้นเรื่อยๆ 2. มีอาการอยากยาเมื่อขาดยา 3. มีความต้องการเสพ ทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง 4. สุขภาพทั่วไปจะทรุดโทรมลง

  36. ยาเสพติดตามพระราชบัญญัติเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดรุนแรง เช่น เฮโรอีน ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอผสมโคเคอีน ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น ยาเซติคแอนไฮไดร์ ประเภทที่ 5 สิ่งเสพติดที่ไม่ได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา

  37. ยาเสพติดแบ่งตามคุณสมบัติการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ดังนี้ 1. ประเภทกดระบบประสาทส่วนกลาง 2. ประเภทกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง 3. ประเภทหลอนประสาท 4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน

  38. สาเหตุที่ทำให้เยาวชนติดสิ่งเสพติด ดังต่อไปนี้ 1. เกี่ยวกับครอบครัวหรือผู้ปกครอง เช่น ครอบครัว แตกแยก 2. เกี่ยวกับโรงเรียนและการศึกษา เช่น ขาดการควบคุม กวดขันทางระเบียบวินัย 3. เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ที่พักไม่ดี 4. เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและสังคม เช่น รับเอาวัฒนธรรมจากต่างชาติ

  39. โทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด โทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด 1. โทษทางร่างกาย เช่น สมรรถภาพทางจิตใจเสื่อม ลง บุคลิกภาพเสีย ร่างกายซูบ 2. โทษทางครอบครัว เช่น ทำงานไม่ได้ 3. โทษต่อสังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง เช่น เป็นคนไร้เกียรติในสังคม สูญเสียแรงงาน 4. โทษต่อประเทศชาติ เช่น ทำลายความมั่นคงของ ชาติ

  40. วิธีการป้องกันสิ่งเสพติดในทางปฏิบัติวิธีการป้องกันสิ่งเสพติดในทางปฏิบัติ 1. การให้ข่าวสารควรจัดให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 2. การพัฒนาทางจิตใจ 3. เพื่อนช่วยเพื่อน 4. การให้แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินชีวิต 5. การสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว 6. การให้ทางเลือก เช่น ออกกำลังกาย

  41. สมุนไพร 1. ความหมายและความสำคัญของสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสม ปรุงหรือแปรสภาพ ความสำคัญของการปลูกพืชสมุนไพร 1. เป็นแหล่งศึกษาพืชสมุนไพร 2. เป็นแหล่งวัตถุดิบทางยา 3. เป็นแหล่งกระจายพันธุ์พืชสมุนไพรให้กับประชาชน 4. เป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์สมุนไพรท้องถิ่น

  42. ส่วนประกอบทางเคมีในพืชสมุนไพรส่วนประกอบทางเคมีในพืชสมุนไพร 1. คาร์โบไฮเดรต 2. ไขมัน 3. น้ำมันหอมระเหย 4. เรซิน และบาลซัม 5. แอลคาลอยด์ 6. กลัยโคไซด์ 7. แทนนิน

  43. 2. ยาสมุนไพร วิธีการเก็บสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยา - ประเภทใบดอก ใช้วิธีเด็ดแบบธรรมดา - ประเภทราก หัว หรือเก็บทั้งต้น ใช้วิธีขุด การแปรสภาพและการเก็บรักษาพืชสมุนไพร  การแปรสภาพพืชสมุนไพร  การเก็บรักษาพืชสมุนไพร  รูปแบบการนำสมุนไพรมาใช้ทำยา

  44. 3. การนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาในงานสาธารณสุขมูลฐาน เกณฑ์พิจารณาการนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาในงานสาธารณสุขมูลฐาน 1. ด้านปรัชญาและแนวคิด พิจารณาจากแนวคิดตะวันตก และแนวคิดตะวันออกนำมาพิจารณา ผสมผสาน เพื่อการคัดเลือกสมุนไพรอย่างเหมาะสม 2. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น - แก้ปัญหาสุขภาพจิต - มีประสิทธิภาพ 3. ด้านสังคมวัฒนธรรม เช่น - สอดคล้องกับองค์ความรู้ และทรัพยากรชุมชน

  45. กลุ่มโรค/ อาการเบื้องต้นที่แนะนำให้ใช้ยาสมุนไพร มี 18 อาการ 1. อาการท้องผูก 10. โรคกลาก 2. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด11. โรคเกลื้อน 3. อาการท้องเสีย (ไม่รุนแรง) 12. อาการนอนไม่หลับ 4. พยาธิลำไส้ 13. ฝี แผลพุพอง 5. บิด 14. อาการเคล็ดขัดยอก (ภายนอก) 6. อาการคลื่นไส้ อาเจียน (ธาตุไม่ปกติ) 15. เหา 7. อาการไอ ขับเสมหะ 16. แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก 8. อาการไอ 17. อาการแพ้ อักเสบ แมลงกัดต่อย (ภายนอก) 9. อาการขัดเบา 18. ชันนะตุ

  46. หากเป็นโรคเหล่านี้ การใช้สมุนไพรให้ถูกต้อง ดังนี้ 1. ใช้ให้ถูกต้น 2. ใช้ให้ถูกส่วน 3. ใช้ให้ถูกขนาด 4. ใช้ให้ถูกวิธี 5. ใช้ให้ถูกกับโรค 6. ความสะอาด ข้อดีของยาสมุนไพร 1. มีอยู่ตามธรรมชาติ 2. ปลอดภัย มีฤทธิ์อ่อน 3. ประหยัด ราคาถูก 4. กรณีอยู่ห่างไกลการแพทย์ ควรส่งเสริมให้ใช้สมุนไพรเบื้องต้น 5. ไม่มีผลกระทบการขาดแคลนยา 6. สามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ 7. ช่วยลดดุลการค้า

  47. กลุ่มอาการโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพรกลุ่มอาการโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพร 1. ไข้สูง ตาแดง ปวดเมื่อยมาก ซึม 2. ไข้สูง อ่อนเพลียมาก 3. ปวดแถวสะดือ 4. ปวดท้องรุนแรงมาก 5. อาเจียนเป็นเลือดไอเป็นเลือด 6. ท้องเดินอย่างแรง 7. ถ่ายอุจจาระเป็นมูก และเลือด ถ่ายบ่อย เพลีย 8. ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไข้สูง ไอ หายใจเสียงผิดปกติ 9. อาการตกเลือด

  48. รายการสมุนไพรที่ใช้เป็นยาในงานสาธารณสุขมูลฐานรายการสมุนไพรที่ใช้เป็นยาในงานสาธารณสุขมูลฐาน 1. สมุนไพรเพื่อรักษากลุ่มโรค/ อาการเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหาร เช่น - โรคกระเพาะอาหาร เช่น ขมิ้นชัน 2.สมุนไพรเพื่อรักษากลุ่มโรค/ อาการเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจ - อาการไอระคายคอ เช่น ขิง ดีปลี 3.สมุนไพรเพื่อรักษากลุ่มโรค/ อาการเจ็บป่วยในระบบทางเดินปัสสาวะ - อาการขัดเบา เช่น กระเจี๊ยบแดง 4. สมุนไพรเพื่อรักษาโรคผิวหนัง เช่น - อาการกลากเกลื้อน เช่น กระเทียม 5. สมุนไพรเพื่อรักษาโรค/ อาการเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น - อาการเคล็ดขัดยอก คือ ไพล

  49. สุขภาพจิต สุขภาพจิต หมายถึง การปราศจากโรคประสาทและโรคจิต การปรับตัวเข้า กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ลักษณะทั่วไปของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี 1. มีความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจสภาพความเป็นจริงอย่างถูกต้อง 2. มีการแสดงอารมณ์ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสมกับสถานการณ์ 3. รู้จักเข้าใจตัวเองรวมถึงบุคคลอื่นเป็นอย่างดี 4. มีความสามารถในการทำงานที่อำนวยคุณประโยชน์ได้ 5. มีความรักและความต้องการทางเพศ

  50. การส่งเสริมสุขภาพจิตภายในครอบครัวการส่งเสริมสุขภาพจิตภายในครอบครัว ลักษณะบ้านและครอบครัวที่ดี 1. มีบรรยากาศแห่งความรักและความเข้าใจ 2. มีบรรยากาศแห่งความเป็นประชาธิปไตย 3. มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว 4. พ่อ แม่ เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก 5. พ่อ แม่ มีความสนใจในตัวลูก 6. มีการให้ความรู้เรื่องเพศและปลูกฝังความรู้สึกที่ดี 7. เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่

More Related