1 / 29

หน่วยที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หน่วยที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. การพัฒนาเศรษฐกิจ.

bruis
Télécharger la présentation

หน่วยที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  2. การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะทำให้ประชากรของประเทศมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรอบที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ทราบว่าตลอดระยะทางข้างหน้าของแผนแต่ละฉบับมีทิศทางการพัฒนาอย่างไร และจะพัฒนาในเรื่องที่สำคัญๆ เรื่องใดบ้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์และสามารถนำแนวทางนั้น มาวางแผนชีวิตของตนเอง ชุมชน และองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

  3. ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม เพื่อทำให้รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลให้ประชากรของประเทศมี “มาตรฐานการครองชีพ” สูงขึ้น

  4. ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทุกประเทศนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิด ในการพัฒนาและยกระดับประเทศของตนเองให้พ้นจากคำว่า “ประเทศด้อยพัฒนา หรือ กำลังพัฒนา” และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพลเมืองของประเทศ

  5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีความสำคัญ ดังนี้

  6. หน่วยงานวางแผนชาติ • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สภาพัฒน์ หรือ สภาพัฒนาฯ

  7. หน้าที่ของสภาพัฒน์ (สศช.)

  8. แผนฯ 1 (พ.ศ.2504-2509) ยุคทองของการวางแผน • วางแผนแบบส่วนกลางจาก “บนลงล่าง” เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2. มุ่งยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน (รายได้) 3. ปรับปรุงการบริหารในทุกๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ

  9. ผลการใช้แผนฯ 1 • เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับภาคเกษตร ข้าว ยางพารา ไม้สัก ดีบุก • เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 8 ต่อปี (เป้าหมายร้อยละ 5 ต่อปี) • อัตราการเพิ่มของประชากรสูง ประมาณร้อยละ 3 ต่อปี

  10. แผนฯ 2 (พ.ศ.2510 - 2514) ยุคทองของการพัฒนา • แนวคิดการวางแผนพัฒนารายสาขา และขยายขอบเขตควบคุมการพัฒนารัฐวิสาหกิจและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น • ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อจากแผนฯ 1 • พัฒนาชนบทเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง และกระจายการพัฒนา • ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

  11. ผลการใช้แผนฯ 2 • ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ มีช่องว่างทางรายได้สูง • เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อปี • ประชาชนได้รับประโยชน์จากการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่ส่วนมายังคงอยู่ในวงจำกัด • การเพิ่มจำนวนประชากรอยู่ในอัตราสูง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรวม

  12. แผนฯ 3 (พ.ศ.2515-2519) การพัฒนาสังคมควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ • กำเนิดของการวางแผนพัฒนาสังคมและวัตถุประสงค์การพัฒนาที่หลากหลาย • กระจายการพัฒนาสู่ภูมิภาค เร่งรัดพัฒนาภาคและชนบท • เน้นการเพิ่มผลผลิตการเกษตร เพิ่มรายได้ประชาชนในชนบท ลดความแตกต่างด้านรายได้ • สร้างความเท่าเทียมกันทางการบริการของรัฐ โดยเน้นการศึกษาและการสาธารณสุข

  13. ผลการใช้แผนฯ 3 • ปัญหาการกระจายรายได้ และความไม่เท่าเทียมกันอย่างรุนแรง • เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 6.5 ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น เกิดวิกฤตทางด้านน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อสูงร้อยละ 15.5 • การเมืองเกิดความผันผวน เศรษฐกิจโลกตกต่ำ • ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ • การว่างงานสูง

  14. แผนฯ 4 (พ.ศ.2520-2524) เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม • พัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ 3 โดยยึดถือความมั่งคง ปลอดภัยของชาติเป็นพื้นฐานของการพัฒนา • เร่งฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง เช่น การผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า ปรับปรุงนโยบายการควบคุมราคาสินค้าและเร่งรัดการส่งออก • เน้นเสริมสร้างสวัสดิภาพทางสังคมแก่คนในชาติ

  15. ผลการใช้แผนฯ 4 • ยุคการเมืองรุนแรง พรรคคอมมิวนิสต์ขยายตัว • การพัฒนาด้านประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรต่ำ • เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 7.4 เงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 11.7 และขาดดุลการค้า • ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม • การให้บริการทางสังคมไม่เพียงพอและทั่วถึง • ยกระดับเป็นประเทศกำลังพัฒนา

  16. แผนฯ 5 (พ.ศ.2525-2529)การแก้ไขปัญหาและปรับสู่การพัฒนายุคใหม่ • วางแผนโดยยึดหลักภูมิภาคและพื้นที่ กำหนดเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาความยากจน เป้าหมายเพื่อความมั่นคงและรองรับการอุตสาหกรรม • เน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ • พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนความสมดุล • พัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาคปฏิบัติ • เพิ่มบทบาทและระดมความร่วมมือภาคเอกชน

  17. ผลการใช้แผนฯ 5 • แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความยากจนในชนบท • มีการพัฒนาเชิงรุก เช่น การพัฒนาพื้นที่ ริเริ่ม กรอ. • แผนพัฒนาเพื่อความมั่งคง เช่น หมู่บ้านอาสาป้องกันตนเอง • เศรษฐกิจขยายตัวต่ำเพียงร้อยละ 5.4 • รัฐบาลสามารถขยายการบริการทางสังคมได้ เช่น โรงพยาบาลประจำอำเภอ

  18. แผนฯ 6 (พ.ศ.2530-2534) การจัดทำแผนสู่ระดับกระทรวง • กำหนดขอบเขตและวิธีการใช้แผนฯ ที่ชัดเจน มีทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว และแผนปฏิบัติระดับกระทรวง • เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาประเทศทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์พัฒนาวิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการ • ปรับปรุงระบบการผลิตและการตลาด • ยกระดับคุณภาพปัจจัยพื้นฐานเพื่อลดต้นทุน

  19. ผลการใช้แผนฯ 6 • หนี้ต่างประเทศลดลง ทุนสำรองเพิ่มขึ้น • เศรษฐกิจฟื้นตัว และขยายตัวร้อยละ 10.9 ต่อปี (สูงสุดในรอบ 25 ปี) • การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม / บริการเพิ่มขึ้น • ปัญหาความเหลื่อมล้ำรายได้ระหว่างกลุ่มครัวเรือน และชนบทกับเมืองมีมากขึ้น

  20. แผนฯ 7 (พ.ศ. 2535-2539) การพัฒนาที่ยั่งยืน 1. เริ่มแนวคิด การพัฒนาที่ยั่งยืน 2. มุ่งสู่เศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ รักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กระจายการพัฒนาสู่ภูมิภาคและชนบท และพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ 3. พัฒนาเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจด่านหน้าในภูมิภาค และยกระดับสู่นานาชาติ

  21. ผลการใช้แผนฯ 7 1. รายได้ต่อหัวเพิ่มถึง 28 เท่า จากแผนฯ 1 เป็น 77,000 บาท 2. เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อปี เงินเฟ้อเฉลี่ย 4.8 % 3. ทุนสำรองสูงถึง USD 38,700 ล้าน

  22. แผนฯ 8 (พ.ศ.2540-2544) “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา 1. เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา และใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือ 2. ปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดทำแผนใหม่ เป็นแบบ “จากล่างขึ้นบน” บูรณาการแบบองค์รวม ไม่พัฒนาแยกส่วน 3. ภาคประชาชนมีส่วนร่วมการพัฒนา 4. แปลงแผนสู่ปฏิบัติ โดยยึดหลักการพื้นที่ ภาระและการมีส่วนร่วม

  23. สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนฯ 8 1. วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 2. ปัญหาสถาบันการเงิน 3. หนี้ต่างประเทศและหนี้สาธารณะเพิ่ม 4. มีเครือข่ายการพัฒนาร่วมกับภาครัฐ

  24. แผนฯ 9 (พ.ศ.2545 – 2549)อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ 8 2. มุ่งการพัฒนาที่สมดุล คน สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 3. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4. บริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ

  25. สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนฯ 9 สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนฯ 9 1. นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ 2. คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทั้งด้านสุขภาพ ยาเสพย์ติด และการกระจายรายได้ เหตุการณ์สำคัญ เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

  26. แผนฯ 10 (พ.ศ.2550 – 2554)การปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างสมดุล • และมีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน 1. ยึดกระบวนทรรศน์การพัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ 8และแผนฯ 9 2. ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนา - พัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ - สร้างความเข้มแข็งของสังคมและชุมชน - ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน - พัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและสร้าง ความมั่นคงบนฐานทรัพยากร - เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหาร จัดการประเทศ

  27. สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนฯ 10 • การเตรียมพื้นที่ใหม่ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม • การเมือง เศรษฐกิจผันผวน สังคมแตกความสามัคคี • สภาพเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก • นำทุนทางเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรธรรมชาติ • มาพิจารณา

More Related