1 / 34

แรงและความดัน

โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ. Anuban Chaiyaphum School. แรงและความดัน. โดย นายธัชวุฒิ กงประโคน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. Home I แรง I แรงลัพธ์ I แรงเสียดทาน I แรงพยุง I ความดันอากาศ I ความดันของเหลว. แรง.

cade-newman
Télécharger la présentation

แรงและความดัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิโรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ Anuban Chaiyaphum School แรงและความดัน โดย นายธัชวุฒิ กงประโคน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

  2. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว แรง... หมายถึง สิ่งที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพจากหยุดนิ่งให้เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนจากเคลื่อนที่อยู่แล้วเป็นหยุดนิ่งเร็วขึ้น ช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทาง นอกจากนี้ยังทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปทรงและขนาดได้

  3. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ในการดำรงชีวิตแต่ละวัน เราต้องใช้แรงเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย และลักษณะของแรงที่ใช้มีลักษณะที่แตกต่างกันไปด้วย ตัวอย่างเช่น การออกแรงลากวัตถุ การออกแรงผลักวัตถุ การออกแรงหิ้ววัตถุ การออกแรงยกวัตถุ

  4. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ในทางวิทยาศาสตร์มักจะใช้เส้นและลูกศรแทนขนาดและทิศทางของแรง แรง ก แรง ข แรง ค จากรูปเส้นและลูกศรแทนแรง แสดงว่า แรง ข มีมากกว่าแรง ก เพราะเส้นลูกศรแทนแรง ข มีความยาวมากกว่าเส้นลูกศร แทนแรง ก โดยทั้งแรง ก และแรง ข มีทิศทางไปเดียวกัน คือ ทางขาวมือ แตกต่างจากแรง ค ที่มีทิศทางไปทางซ้ายมือ

  5. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว แรงสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1.แรงที่ได้จากธรรมชาติซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ 1.1แรงที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิตเช่น แรงลม แรงน้ำ แรงแม่เหล็ก แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น 1.2แรงที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเช่น แรงที่คนใช้ปั่นจักรยาน แรงที่ใช้หิ้วของ แรงที่ใช้ยกสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้น 2.แรงที่ได้จากเครื่องจักร หรือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แรงที่เกิดจากการทำงานของมอเตอร์พัดลม แรงที่เกิดจากการทำงานของ เครื่องยนต์ในรถประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

  6. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว แรงลัพธ์... แรงลัพธ์ การออกแรงหลายแรงมากระทำต่อวัตถุในทิศทางเดียวกัน จะมีค่าเท่ากับการรวมแรงเป็นแรงเดียว แรงที่เป็นผลรวมของแรงหลายแรงนี้ เรียกว่า แรงลัพธ์

  7. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ลักษณะของแรงลัพธ์ แรงมีหน่วยเป็นนิวตัน(N) สามารถเขียนแทนด้วยลูกศร ความยาวของลูกศรแทนขนาดของแรงและหัวลูกศรแทนทิศทางของแรงนั้น การหาขนาดของแรงลัพธ์จึงต้องพิจารณาจากขนาดและทิศทางของแรง ตัวอย่างเช่น ข้อที่ 1

  8. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ข้อที่ 2 ข้อที่ 3

  9. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ประโยชน์ของแรงลัพธ์ ในชีวิตประจำวันของเรามีการนำแรงลัพธ์มาใช้ประโยชน์มากมาย ตัวอย่างเช่น การสร้างสะพานแขวนการปั่นจักรยานพ่วง การใช้สุนัขหลาย ๆ ตัวหลากเลื่อน สะพานแขวน การปั่นจักรยานพ่วง สุนัขลากเลื่อน

  10. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว แรงเสียดทาน... แรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้นที่สัมผัสกัน ซึ่งแรงนี้เป็นแรงที่ผิววัตถุผิวหนึ่งต้านทาน การเคลื่อนที่ของผิววัตถุอีกผิวหนึ่ง ส่งผลทำให้วัตถุเคลื่อนที่ช้าลงเรื่อย ๆจนกระทั่งหยุดนิ่งในที่สุด

  11. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ลักษณะของแรงเสียดทาน มีทิศทางของแรงตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น การเตะฟุตบอล - ถ้าผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชนิด เรียบ จะเกิดแรงเสียดทานน้อย วัตถุเคลื่อนที่ได้มาก - ถ้าผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชนิด ไม่เรียบ จะเกิดแรงเสียดทานมาก วัตถุเคลื่อนที่ได้น้อย ถ้าวาง A อยู่บนวัตถุ B ออกแรง  ลากวัตถุ วัตถุ A จะเคลื่อนที่หรือไม่ก็ตาม จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่างผิวของ A และ B แรงเสียดทานมีทิศทางตรงกันข้ามกับแรง   ที่พยายามต่อต้านการเคลื่อนที่ของ A

  12. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว

  13. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน 1.น้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้น ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุมาก จะเกิดแรงเสียดทานมาก ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุน้อยจะเกิดแรงเสียดทานน้อย

  14. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว 2.ลักษณะของพื้นผิวสัมผัส ถ้าพื้นผิวเรียบ เช่น กระเบื้อง กระจก พลาสติก เป็นต้น จะเกิดแรงเสียดทานน้อย เนื่องจากพื้นผิวเรียบ มีการเสียดสีระหว่างกันน้อย

  15. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว การนำแรงเสียดทานไปใช้ประโยชน์ เราสามารถใช้ประโยชน์จากแรงเสียดทาน ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้มากมาย เช่น 1.ทำให้วัตถุหยุดนิ่งไม่เคลื่อนที่ เช่น ช่วยหยุดรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ ยางรถที่มีดอกยางช่วยให้รถเกาะถนนได้ดี เป็นต้น 2.การสร้างพื้นถนนต้องทำให้พื้นถนนเกิดแรงเสียดทานพอสมควร รถจึงจะเคลื่อนที่บนถนนโดยที่ล้อรถไม่หมุนอยู่กับที่ได้ 3.ช่วยในการหยิบจับสิ่งของโดยไม่ลื่นไหลไปมา 4.ช่วยในการเดินไม่ให้ลื่นไหล

  16. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว แรงพยุงหรือแรงลอยตัว... แรงพยุงหรือแรงลอยตัว แรงลอยตัวคือแรงพยุงของของเหลวและแก๊สที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในของเหลวและแก๊สนั้น ทำให้วัตถุลอยอยู่ได้ ในชีวิตประจำวันเราจะพบว่าวัตถุบางชนิดลอยอยู่ในน้ำได้ เพราะแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าเพียงพอที่จะต้านน้ำหนักของวัตถุ ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ แต่สำหรับวัตถุบางชนิดที่จมลงในน้ำ แสดงว่าแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุ

  17. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ลักษณะของแรงพยุงตัวของของเหลว น้ำหนักชองวัตถุชนิดต่างๆเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งมีทิศทางลงสู่พื้นโลก แต่ถ้าวัตถุนั้นตกลงไปในน้ำ น้ำหนักของวัตถุจะลดลง เพราะมีแรงของน้ำพยุงวัตถุในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก แรงนี้ เรียกว่า แรงพยุงของของเหลว ซึ่งเป็นแรงของของเหลวที่พยุงวัตถุในทิศทางตรงกันข้ามกับน้ำหนักของวัตถุ แรงลอยตัวช่วยพยุงไม่ให้วัตถุจม

  18. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว เพิ่มเติม 1.อาร์คิมีดิส นักคิดชาวกรีกเป็นผู้ค้นพบแรงลอยตัว และได้ให้หลักการเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุเรียกหลักการนี้ว่า "หลักของอาร์คิมีดิส" กล่าวคือ แรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมในของเหลวนั้น

  19. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว 2.ค่าของแรงที่อ่านได้เมื่อชั่งวัตถุในของเหลว จะมีค่าน้อยกว่าเมื่อชั่งวัตถุในอากาศ เพราะว่าของเหลวมีแรงลอยตัวช่วยพยุงวัตถุไว้ 10 นิวตัน 6 นิวตัน

  20. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ปัจจัยที่มีผลต่อการลอยและการจมของวัตถุ 1.ความหนาแน่นของวัตถุวัตถุแต่ละชนิดจะมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน 1.1ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลววัตถุจะลอยในของเหลว 1.2ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นเท่ากันกับของเหลววัตถุจะลอยปริ่มในของเหลว 1.3ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าของเหลววัตถุจะจมในของเหลว

  21. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว 2.ความหนาแน่นของของเหลว ของเหลวที่มีความหนาแน่นมากจะมีแรงลอยตัวมาก ทำให้พยุงวัตถุให้ลอยขึ้นได้มากกว่าของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อย เช่น น้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำเปล่า เมื่อนำไข่ไก่ไปใส่ในน้ำเกลือเปรียบเทียบกับน้ำเปล่า ไข่ไก่ลอยในน้ำเกลือ แต่จมลงในน้ำเปล่า น้ำเกลือ + ไข่ น้ำเปล่า + ไข่

  22. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ประโยชน์ของแรงพยุงของของเหลว นักวิทยาศาสตร์นำความรู้เรื่องแรงพยุงหรือแรงลอยตัวไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การประดิษฐ์เสื้อชูชีพ เรือ แพยาง เป็นต้น

  23. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ความดันอากาศ... - ความดัน คือ ขนาดของแรงที่กระทำต่อ 1 หน่วยพื้นที่ของวัตถุ - อากาศเป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดันอนุภาคของอากาศเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ และตลอดเวลาในทุกทิศทาง โดยจะเคลื่อนที่ชนกันเองและชนกับวัตถุต่าง ๆ ที่ล้อมรอบ ทำให้เกิดแรงดันรอบทิศทาง

  24. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว - แรงดันอากาศหมายถึง แรงที่อากาศกดลงบนผิวของวัตถุในทุกทิศทาง เช่น ถ้าเป่าลูกโป่ง อากาศที่เข้าไปด้านในจะดันลูกโป่งให้พองออกและมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันอากาศที่อยู่ภายนอกก็ออกแรงดันลูกโป่งทุกทิศทางด้วยเช่นกัน เป็นต้น ความดันอากาศหรือความกดอากาศ คือ ความดันอากาศที่กระทำทุกแห่งของโลก

  25. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว เครื่องวัดความดันอากาศ เรียกว่า บารอมิเตอร์ ความดัน 1 บรรยากาศจะดันให้ปรอทสูง 760 มิลลิเมตรของปรอท ในระดับน้ำทะเลในแนวตั้งฉากกับผิวโลก

  26. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ถ้าสูงจากระดับน้ำทะเลความดันอากาศจะลดลงเรื่อยๆ

  27. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ประโยชน์ของความดันอากาศ 1.การดูดน้ำออกจากขวดโดยใช้หลอดดูด 2.การดูดของเหลวเข้าหลอดหยดหรือเข็มฉีดยา 3.การเจาะกระป๋องนมต้องเจาะ 2 รู เพื่อให้อากาศในกระป๋องนมมีความดันอากาศเท่ากับความดันภายนอกกระป๋องนมทำให้สามารถเทนมออกจากกระป๋องนมได้ 4.การถ่ายของเหลวโดยสายยางจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งที่อยู่ต่างระดับกัน เรียกว่า “กาลักน้ำ” 5.การใช้แป้นยางดูดติดกับกระจกเพื่อยึดสิ่งของให้ติดกับกระจก เนื่องจากความดันอากาศภายนอกมากกว่าความดันอากาศภายในแป้นยาง จึงกดหัวแป้นยางให้ดูดติดกับกระจก

  28. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ความดันของเหลว... ความดันของเหลว ความดันของของเหลวมีลักษณะคล้ายกับความดันอากาศ คือ เกิดจากน้ำหนักของของเหลวที่มีอยู่เหนือตำแหน่งนั้น ๆกดทับลงมา ยิ่งในระดับที่ลึกมากขึ้น ของเหลวที่อยู่เหนือตำแหน่งนั้นก็จะมีมากขึ้น ทำให้น้ำหนักของของเหลวมีมากขึ้น

  29. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลว 1.  ความลึกของของเหลว -  ของเหลวไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะรูปร่างใดก็ตาม ถ้าที่ระดับความลึกเดียวกัน ความดันของของเหลวจะเท่ากันที่ระดับความลึกเดียวกัน น้ำจะมีความดันเท่ากัน -แต่ถ้าระดับความลึกต่างกัน ของเหลวที่อยู่ระดับลึกกว่า จะมีความดันมากกว่า ที่ระดับความลึกต่างกัน น้ำที่ระดับความลึก มากกว่าจะมีความดันมากกว่า

  30. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว • 2.  ความหนาแน่นของของเหลว • ของเหลวต่างชนิดกันจะมีความดันต่างกัน โดยของเหลวที่มีความหนาแน่นมาก จะมีความดันสูงกว่าของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อย น้ำเปล่า น้ำเชื่อม 10เซนติเมตร 20เซนติเมตร

  31. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว ประโยชน์ของความดันของเหลว เรานำความรู้เกี่ยวกับความดันของของเหลวไปใช้ประโยชน์ เช่น ... • 1. การสร้างเขื่อน ต้องสร้างให้ฐานเขื่อนมีความกว้างมากกว่าสันเขื่อน เพราะแรงดันของน้ำบริเวณฐานเขื่อนมากกว่าแรงดันของน้ำบริเวณสันเขื่อน สันเขื่อน แรงดันน้อย แรงดันมาก ฐานเขื่อน *** เขื่อนต้องสร้างให้ฐานเขื่อนกว้างกว่าสันเขื่อน***

  32. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว 2. การออกแบบเรือดำน้ำ จะต้องมีความแข็งแรงและทนทานต่อสภาพความดันสูงในน้ำลึกได้ เพราะยิ่งลึกความดันน้ำจะยิ่งมากขึ้น

  33. HomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลวHomeIแรงIแรงลัพธ์IแรงเสียดทานIแรงพยุงIความดันอากาศIความดันของเหลว อย่าลืม.... ทบทวนเพิ่มเติมเตรียมตัวสอบ นะครับ

  34. เอกสารอ้างอิงขอขอบคุณเนื้อหาและรูปภาพจาก.......เอกสารอ้างอิงขอขอบคุณเนื้อหาและรูปภาพจาก....... • จำนง ภาษาประเทศ และคณะ.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้น ป. 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด,2555 • นคร มีแก้ว.คู่มือ-เตรียมสอบ วิทยาศาสตร์ ป. 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : บริษัท ภูมิบัณฑิตการพิมพ์ จำกัด,2554 • ดร.บัญชา แสนทวี, ลัดดา อินทร์พิมพ์ และดารุณี ชวดศรี.คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด,2551 • “แรง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigoodview.com/node/45977 • “แรงและความดัน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID =70361 • ศิริรัตน์ วงศ์ศิริและรักซ้อน รัตน์วิจิตต์เวช.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้น ป. 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด,2554

More Related