1 / 55

วิชา สศ 4 02 โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค

วิชา สศ 4 02 โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค. บทที่ 7 หลักการในการศึกษาด้านโภชนศาสตร์ สัตว์เคี้ยวเอื้อง.

cadee
Télécharger la présentation

วิชา สศ 4 02 โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา สศ 402โภชนศาสตร์และการให้อาหารโค

  2. บทที่ 7หลักการในการศึกษาด้านโภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหลักการในการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารหรือส่วนประกอบทางเคมีในอาหารสัตว์ ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ในกลุ่มใดเป็นอาหารได้บ้าง เนื่องจากอาหารหลักของสัตว์เคี้ยวเอื้อง คือกลุ่มอาหารหยาบ ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์บางอย่างที่แตกต่างไป นอกจากนี้นักศึกษาจะมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการและหลักการสมัยใหม่ในการศึกษาด้านโภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง

  3. ทำไมต้องเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเคมีในอาหารสัตว์ทำไมต้องเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเคมีในอาหารสัตว์ • เพราะส่วนประกอบทางเคมีเป็นสิ่งที่สามารถใช้บอกคุณค่าทางโภชนะในอาหารสัตว์ได้ • ผลการวิเคราะห์นำมาใช้แบ่งประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ • ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อพิจารณาการแปรรูปอาหารสัตว์หรือการเก็บรักษาอาหารสัตว์

  4. การวิเคราะห์ทางเคมีเบื้องต้นเป็นอย่างไรการวิเคราะห์ทางเคมีเบื้องต้นเป็นอย่างไร • การวิเคราะห์คุณค่าทางเคมีของอาหารสัตว์ ส่วนใหญ่จะใช้ วิธีการวิเคราะห์แบบประมาณ (proximate analysis) โดยหลักการวิธีนี้จะแบ่งกลุ่มของโภชนะออกเป็น 6 กลุ่ม คือ ความชื้นหรือน้ำ (moisture) เถ้า (ash) โปรตีนรวม (crude protein) ไขมัน (ether extract) เยื่อใยรวม (crude fiber) และคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย (nitrogen free extract)

  5. สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์คืออะไรสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์คืออะไร • สารอินทรีย์ (organic matter) คือ โปรตีน ไขมัน,เยื่อใย และ NFE • สารอนินทรีย์ (inorganic matter) คือโภชนะส่วนแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบในอาหาร สารอินทรีย์ และ สารอนินทรีย์รวมกันอยู่ในส่วนประกอบ ของวัตถุแห้ง

  6. การวิเคราะห์หาค่าความชื้นการวิเคราะห์หาค่าความชื้น • ชั่งน้ำหนักตัวอย่าง • อบในตู้อบ ที่ 102 – 104๐ซ ตามเวลาที่กำหนด • ชั่งน้ำหนักตัวอย่างหลังอบ • น้ำหนักตัวอย่างที่หายไปคือค่าความชื้นในอาหาร • % วัตถุแห้ง = 100 - % ความชื้น ตาม AOAC (1998) ใช้ 135๐ซ

  7. การวิเคราะห์เถ้า • ชั่งตัวอย่างใส่ในถ้วยกระเบื้อง • เผาในเตาเผา 550 ๐ซ นาน 3 ชม. • ชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่เหลือ • น้ำหนักที่เหลือ คือ สารอนินทรีย์ หรือเถ้า • ประกอบด้วยแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ % สารอินทรีย์ = % วัตถุแห้ง - % เถ้า เตาเผา

  8. วิเคราะห์โปรตีนใช้วิธี kjeldahl method • 1.ชั่งตัวอย่างใส่หลอดแก้วย่อยด้วย H2SO4 • 2.กลั่นด้วย NaOH แล้วใช้ boric acid จับ N • 3. ไตเตรทด้วยกรด(ทราบความเข้มข้น) จะได้ค่า N ปริมาณโปรตีน (%) คือ N x 6.25 • วิธีนี้ ค่าที่คำนวณได้คือ ค่าของโปรตีนแท้ (true protein) รวมค่า NPN เครื่องย่อย เครื่องกลั่น

  9. การวิเคราะห์ค่าไขมัน • 1.ชั่งตัวอย่างนำมาสกัดด้วยสารละลายอินทรีย์ Dichloromethane หรือ Petrolium ether • 2.แยกสารละลายอินทรีย์ออก • 3.ส่วนที่เหลือในขวด คือไขมัน สารที่ละลายได้ในสารละลายอินทรีย์ เช่น ไวตามินที่ละลายได้ในไขมัน และ Carotenoid และ ไลปิดประเภทอื่น ๆ

  10. การวิเคราะห์คาร์โบไฮเดรตในอาหารสัตว์การวิเคราะห์คาร์โบไฮเดรตในอาหารสัตว์ การวิเคราะห์แบบประมาณแบ่งคาร์โบไฮเดรตออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มเยื่อใย หรือ กลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยาก(ส่วนประกอบของผนังเซลล์ เช่นเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน) 2. กลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย ที่ไม่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น แป้งและน้ำตาล • การแบ่งประเภทนี้ใช้หลักการว่าเอนไซม์ในสัตว์ไม่สามารถย่อยเยื่อใยได้

  11. การวิเคราะห์หาเยื่อใยการวิเคราะห์หาเยื่อใย • : ชั่งตัวอย่างต้มใน H2SO4 (10%) แล้วกรอง • :นำส่วนที่กรองได้ต้มใน NaOH (10%) แล้วกรอง • : นำส่วนที่กรองได้ใส่ crucible ที่รู้น้ำหนักแน่นอน เผาในเตาเผาที่อุณหภูมิ 550 ๐ซ • ตามเวลากำหนด • : ทำให้เย็นชั่งน้ำหนัก crucible • น้ำหนักส่วนที่หาย คือ ส่วนของเยื่อใย • น้ำหนักส่วนที่เหลืออยู่ในถ้วย คือ เถ้า เครื่องมือวิเคราะห์หาเยื่อใย

  12. การหาค่าไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรค NFE ค่า NFE หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายที่ไม่มี N เป็นองค์ประกอบ • NFE เป็นค่าที่ไม่ได้จากการวิเคราะห์ แต่ได้จากการนำค่าต่าง ๆ ที่วิเคราะห์ได้ทั้งหมดหักออกจากค่าวัตถุแห้ง คือ % ไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรค = % วัตถุแห้ง - % เถ้า - % โปรตีน - % ไขมัน - % เยื่อใย

  13. Detergent method คืออะไร • เป็นวิธีการที่ค้นคิดขึ้นเพื่อวิเคราะห์เยื่อใยในอาหารหยาบที่เป็นอาหารหลักของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ผลวิเคราะห์ถูกต้องกว่าการวิเคราะห์เยื่อใยแบบประมาณ : เพราะคาร์โบไฮเดรตที่เป็นโครงสร้างบางส่วนที่ผนังเซลล์ถูกย่อยได้โดยเอนไซม์ cellulase และ hemicellulase • แต่การวิเคราะห์เยื่อใยแบบประมาณ แยกผนังเซลล์ว่าเป็นส่วนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เลย(โดยการย่อยใช้เอนไซม์จากตัวสัตว์)

  14. การวิเคราะห์แบบ Detergent method - ชั่งตัวอย่าง ต้มใน neutral detergent solution ตามเวลาที่กำหนด แล้วกรองสารละลาย - ส่วนที่อยู่ในสารละลาย คือ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่เป็นโครงสร้าง (non structural carbohydrate) เช่นแป้งและน้ำตาล - ส่วนกาก คือ คาร์โบไฮเดรตที่เป็นโครงสร้าง (cell wall content )เช่นเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและลิกนิน

  15. การวิเคราะห์แบบ Detergent method(ต่อ) - นำส่วนกากมาต้มในสารละลายที่เป็นกรด (acid detergent solution) ตามเวลาที่กำหนด - กรองสารละลาย • ส่วนที่ละลายได้ในสารละลายที่เป็นกรด คือ เฮมิเซลลูโลส • ส่วนกาก คือ acid detergent fiber (ADF) หรือ ส่วนของผนังเซลล์ที่เป็นส่วนของเซลลูโลส และ ลิกนิน

  16. การวิเคราะห์แบบ Detergent method (ต่อ) - นำส่วนกากต้มในสารละลายด่างทับทิม (potassium permanganate) ลิกนินจะสลายตัว เหลือเซลลูโลสและเถ้า - เมื่อนำไปเผาจะได้ค่าเซลลูโลส หรือ- นำไปต้มในสารละลายกรดกำมะถัน 72% (72% H2SO4) เซลลูโลสจะละลายออกมา เหลือส่วนของลิกนินและเถ้า - เมื่อนำไปเผา ส่วนของลิกนินจะสลายตัวไป • สามารถคำนวณหาค่าลิกนิน (acid detergent lignin, ADL) ได้

  17. ทำไมต้องศึกษาการย่อยได้ของโภชนะทำไมต้องศึกษาการย่อยได้ของโภชนะ • เนื่องจากผลการวิเคราะห์ทางเคมี ไม่สามารถบอกว่า เมื่อสัตว์กินอาหารแล้ว โภชนะในอาหารจะถูกย่อยและดูดซึมไปใช้ ในขบวนการเมตาโบลิซึมต่าง ๆ ในร่างกายได้เท่าใด เพราะมีบางส่วนของโภชนะที่ไม่ถูกย่อยจะถูกขับออกจากร่างกายทางมูล (feces) • ค่าการย่อยได้เป็นสิ่งสำคัญในการประเมินคุณค่าทางอาหารของวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิด • ค่าที่ได้แตกต่างกันตามการทดลอง เช่นการใช้สัตว์ ชนิด เพศ อายุ สภาพร่างกาย

  18. การย่อยได้ • หมายถึงโภชนะในอาหารที่ระบบทางเดินอาหารดูดซึมไปใช้ได้ • โดยส่วนที่ไม่ดูดซึม คือส่วนที่ย่อยไม่ได้จะถูกขับออกทางมูล • เมื่อวิเคราะห์โภชนะในอาหารและวิเคราะห์โภชนะในมูล สามารถคำนวณค่าการย่อยได้จากสูตร

  19. การคำนวณค่าการย่อยได้การคำนวณค่าการย่อยได้ • % การย่อยได้ของอาหาร = (ปริมาณอาหารที่กิน – ปริมาณอาหารที่มีอยู่ในมูล) x 100 ปริมาณอาหารที่กิน หรือ % การย่อยได้ของโภชนะ = (ปริมาณโภชนะในอาหาร – ปริมาณโภชนะในมูล) x 100 ปริมาณโภชนะในอาหาร

  20. การศึกษาการย่อยได้มี2 วิธี 1.การย่อยได้ของโภชนะในตัวสัตว์ (in vivo digestibility) 2.การย่อยได้ในหลอดทดลอง (in vitro digestibility) • การทดลองในตัวสัตว์ค่าที่ได้เป็นค่าการย่อยได้ปรากฏ (apparent digestibility) • เนื่องจากค่าโภชนะที่อยู่ในมูลมีค่าโภชนะที่ได้จากอาหารที่ไม่ถูกย่อยและส่วนของเนื้อเยื่อที่หลุดลอกออกมารวมอยู่ด้วย

  21. การศึกษาในตัวสัตว์ 1.วิธีการชั่งน้ำหนักทั้งหมด (Total collection method) 2.วิธีการใช้สารชี้บ่ง (Indicator method) • วิธีที่ 1 นิยมใช้กับสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก • วีที่ 2 นิยมใช้กับสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่ เป็นวิธีการแก้ปัญหาในวิธีที่ 1

  22. การศึกษาในตัวสัตว์ต้องเตรียมอะไรบ้างการศึกษาในตัวสัตว์ต้องเตรียมอะไรบ้าง • คัดเลือกสัตว์ทดลองที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ควรเป็นสัตว์ที่โตแล้ว • มีกรงทดลอง(Metabolic cage) ที่แยกเก็บมูลและปัสสาวะได้อิสระ • มีจำนวนสัตว์ที่ใช้ทดลองอย่างน้อย 4 ตัว • แผนการทดลองที่ใช้ เช่น แผนการทดลองแบบ Latin square , Completely randomized design • อาหารที่ใช้ทดลอง ต้องเตรียมไว้อย่างเพียงพอกับระยะทดลอง • ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

  23. ระยะทดลอง • แบ่งเป็น 2 ระยะ • 1.ระยะก่อนการทดลอง (Preliminary period) เป็นระยะปรับตัว • 2.ระยะทดลองจริง (Experimental period) เป็นระยะเก็บข้อมูล เช่นปริมาณอาหารที่กิน ปริมาณมูลและปัสสาวะที่สัตว์ขับถ่าย และสุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปวิเคราะห์คุณค่าทางเคมีด้วย • ก่อนระยะการทดลองต้องมีระยะการปรับตัวก่อน 7 วัน • ในสัตว์เคี้ยวเอื้องจะใช้ระยะก่อนการทดลองประมาณ 10 – 14 วัน

  24. ขบวนการ isomerization • ถ้าใช้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนะเหมาะสมและเพียงพอต่อความ ต้องการของสัตว์ หรืออาหารที่มีคุณภาพใช้เลี้ยงอย่างเดียวโดยไม่ ต้องเสริมอาหาร ไม่ต้องทำBasal diets • ถ้าอาหารที่ใช้มีคุณค่าทางอาหารไม่สมดุล ( Unbalance composition of nutrient)เช่น ฟางข้าว อาหารข้น การศึกษาต้องใช้Basal diets ร่วมกับTest feed เรียกว่าวิธี By-difference

  25. Calculation of dry matter digestibility by difference Digestibility%digested DM,g Basal diet 60 DM Experimental diet 100g 55 100x55/100=55 Consisting of 40% test feed (40g) x 40 x X/100=0.4x 60% basal diet(60g) 60 60x60/100=36 0.4x +36=55 x =(55-36)/0.4 digestibility by difference of the target feed (x) = 47.5

  26. Total collection มีวิธีการคำนวณอย่างไร เมื่อได้ข้อมูลปริมาณการกินอาหาร มูลที่ขับถ่ายและผลวิเคราะห์ทางเคมีในอาหารและมูลสามารถคำนวณค่าการย่อยได้จากสูตร ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง= 100 - 100 xน้ำหนักของมูลในรูปวัตถุแห้ง น้ำหนักอาหารที่กินในรูปวัตถุแห้ง ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะ = 100 – 100 x น้ำหนักของโภชนะในรูปวัตถุแห้ง น้ำหนักโภชนะในอาหารในรูปวัตถุแห้ง

  27. การย่อยได้ของโภชนะแบบ Total collection • เป็นค่าการค่าการย่อยได้ของโภชนะในทุกส่วนของทางเดินอาหารรวมกัน ซึ่งในความเป็นจริงแต่ละส่วนย่อยได้ต่างกัน และโภชนะที่ถูกย่อยได้ก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่างกันด้วย • เช่น การย่อยได้ในลำไส้ใหญ่ต่างจากลำไส้เล็ก และการใช้ประโยชน์ของโภชนะก็ต่างกัน • การศึกษาการย่อยได้ในแต่ละส่วนของระบบทางเดินอาหารจึงทำให้การให้อาหารต่อสัตว์ตรงตามความต้องการจริง

  28. วิธีการใช้สารชี้บ่งมีกี่วิธีวิธีการใช้สารชี้บ่งมีกี่วิธี 1.ใช้สารชี้บ่งภายใน (Internal indicator) เช่น ลิกนิน และ เถ้าที่ไม่ละลายในกรด 2.วิธีการใช้สารชี้บ่งภายนอก (External indicator) เช่น Cr2O3 , TiO การใช้สารชี้บ่งเพื่อศึกษาการย่อยได้ควรให้ความสำคัญในการเก็บตัวอย่างอาหารและมูลด้วย

  29. คำนวณได้จากสูตร • สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง(%) =100 -100 x% สารชี้บ่งในมูล - % สารชี้บ่งในอาหาร % สารชี้บ่งในมูล • การย่อยได้ของโภชนะ (%) = 100 – 100 x% สารชี้บ่งในอาหารx % โภชนะในอาหาร %สารชี้บ่งในมูล % โภชนะในมูล • สารชี้บ่งภายนอกควรวิเคราะห์ได้ง่าย ราคาไม่แพง และไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร

  30. เหตุใดจึงมีการศึกษาการย่อยได้ในหลอดทดลองเหตุใดจึงมีการศึกษาการย่อยได้ในหลอดทดลอง : ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และแรงงาน • การศึกษาในสัตว์เคี้ยวเอื้อง จำเป็นต้องใช้ : สัตว์ที่เจาะกระเพาะแล้ว เพื่อใช้ตัวอย่างของเหลวในกระเพาะรูเมนเป็นส่วนประกอบในการวิเคราะห์ • วิธีการที่นิยมใช้ มี 3 วิธี คือTwo stages in vitro method, Pepsin cellulase method และ Gasproduction method

  31. วิธีการ : Two stages in vitro method โดยชั่งตัวอย่าง 0.25 – 0.5 กรัม ใส่หลอดทดลอง • เติม rumen fluid และ buffer เพื่อปรับ pH • บ่มที่ 39 ๐ซ นาน 48 ชั่วโมง ภายใต้สภาพไร้ออกซิเจน • นำหลอดทดลองออกมาเติมเอนไซม์เปปซิน บ่มอีก 48 ชม. • กรองสารละลาย ใส่กากใน crucible • อบที่ 105๐ซ นาน 1 คืน เผาในเตาเผา 550๐ซ • ชั่งน้ำหนักหลังจากเผา คำนวณการย่อยได้ วิธีการนี้อาจเรียกว่าวิธีของ Tilley and Terry

  32. Pepsin cellulase method • ชั่งตัวอย่าง เติมเอนไซม์เปปซิน บ่มที่ 40๐ซ นาน 24 ชม. • เติมสารละลาย (cellulase – acetate – buffer) เพื่อย่อยผนังเซลล์ • บ่มหลอดทดลองที่ 40๐ซ นาน 24 ชม. • กรองสารละลาย นำส่วนที่เหลือไปอบเพื่อหาค่าวัตถุแห้ง • เผาในเตาเผาเพื่อหาค่าอินทรียวัตถุ และคำนวณค่าการย่อยได้

  33. อุปกรณ์ที่ใช้ในวิธี pepsin cellulase

  34. วิธี Gas production methodคืออะไร • เป็นวิธีการวิเคราะห์ค่าการย่อยได้ของโภชนะในกระเพาะรูเมน โดยวัดปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้นแทนการวัดปริมาณโภชนะที่หายไป วิธีการ : ชั่งตัวอย่างใส่ในหลอดทดลอง (คล้ายกับเข็มฉีดยาตรงปลายมีสายยางสั้น ๆ) : ใส่ rumen fluid และ buffer : นำหลอดทดลองใส่ในตู้บ่มที่มีการหมุนเวียนของหลอดทดลองตลอดเวลา เป็นเวลา 8 และ 24 ชั่วโมง

  35. วิธี Gas production method : อ่านค่าปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้น เมื่อบ่มครบกำหนดเวลา : นำค่าที่ได้มาคำนวณค่าการย่อยได้ ของอินทรียวัตถุ (organic method digestibility) ,พลังงานใช้ ประโยชน์ (metaboligable energy, ME เป็น Mg/kg DM) โดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์แบบ gas test

  36. การศึกษาในหลอดทดลอง เป็นการสร้างหลอดทดลองที่เลียนแบบกระเพาะรูเมน ขั้นตอน : นำตัวอย่างอาหารที่ทราบน้ำหนักแน่นอน : ใส่ rumen fluid : ปรับสภาพในหลอดทดลองให้เหมาะสมเช่น - อุณหภูมิปรับที่ 39๐ซ - มีการเติมบัพเฟอร์ที่เป็นสารเคมี - ปรับสภาพให้เป็นสุญญากาศโดยใช้ CO2

  37. การศึกษาในหลอดทดลองมีกี่ประเภทการศึกษาในหลอดทดลองมีกี่ประเภท • แบ่งออกเป็น 2 ประเภท • 1.แบบไม่ต่อเนื่อง(batch trials) ลักษณะแบบปิดคล้ายถังหมัก ใช้เวลาแช่บ่มอาหาร 24- 48 ชั่วโมง ลักษณะของตู้บ่ม โถหรือหลอดทดลอง

  38. การศึกษาในหลอดทดลอง(ต่อ)การศึกษาในหลอดทดลอง(ต่อ) • 2.แบบต่อเนื่อง(continuous fermenter) เป็นเครื่องมือหรือหลอดทดลองที่ออกแบบให้มีสภาพใกล้เคียงกับกระเพาะรูเมนในสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยให้มีการไหลผ่านของอาหารเข้า-ออกในหลอดทดลองหรือถังหมัก ซึ่งเป็นข้อด้อยในการศึกษาการย่อยได้ในหลอดทดลองแบบไม่ต่อเนื่อง การศึกษาในหลอดทดลองแบบต่อเนื่อง

  39. วิธีใช้ถุงไนล่อนทำอย่างไรวิธีใช้ถุงไนล่อนทำอย่างไร • ชั่งตัวอย่างอาหารใส่ถุงไนล่อน • นำถุงแช่ในกระเพาะรูเมนของ fistulated animal : ใช้เวลาต่างกัน เช่น 4, 8, 12, 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง (อาหารหยาบ) และที่ 2, 4, 8, 16, 24 ,36และ 48 ชั่วโมง สำหรับตัวอย่างอาหารข้น • ข้อจำกัดที่สำคัญของวิธีนี้ คือ ต้องมีความเข้าใจและมีความระมัดระวังในการเลือกใช้ถุง

  40. วิธีใช้ถุงไนล่อนทำอย่างไร(ต่อ)วิธีใช้ถุงไนล่อนทำอย่างไร(ต่อ) • เมื่อครบกำหนดเวลานำถุงออกมาล้างให้สะอาด • นำถุงไนล่อนไปอบให้แห้งในตู้อบที่อุณหภูมิ 60๐ซ • นำตัวอย่างอาหารที่เหลือหลังจากการแช่บ่ม วิเคราะห์คุณค่าทาอาหารเช่น วัตถุแห้ง โปรตีน เพื่อคำนวณค่าการย่อยได้โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Neway

  41. ปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยได้ของโภชนะปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยได้ของโภชนะ • ปริมาณอาหารที่กิน ถ้ากินมากย่อยได้น้อย • ปริมาณลิกนินและเยื่อใยในอาหาร • ชนิดของสัตว์ • ความน่ากินของอาหาร • การเตรียมตัวอย่างอาหาร เช่นการแปรรูปอาหาร การหั่น สับ • ผลของอาหารที่ให้ร่วมกัน • การปรับตัวของสัตว์

  42. ตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหารตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหาร การทดลองให้อาหารในแกะที่มีระยะก่อนการทดลอง 7 วัน และระยะทดลอง 7 วัน อาหารคือหญ้าแห้งให้กินอาหารแห้ง 2% ของน้ำหนักตัวและแกะทดลองมีน้ำหนักเฉลี่ย 40 กก. เก็บมูลได้เฉลี่ยน้ำหนัก 0.6 กก.วัตถุแห้ง • ผลวิเคราะห์อาหารในห้องปกิบัติการปรากฏดังนี้

  43. ตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหารตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหาร หาโภชนะที่กิน และโภชนะในมูล/ต่อวัน ย่อยได้ 0.27 - 0.019 0.16 0.10

  44. ตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหารตัวอย่างการศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในอาหาร • % DDM = I-F/I x100 = 0.8-0.53/0.8 x 100 = 33.75 % • % DCF= 0.4- 0.24 / 0.4 x 100 = 40.00 %

  45. พลังงาน(energy) • โคมีความจำเป็นต้องได้โภชนะที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์จากอาหารเพื่อนำไปสร้างเป็นพลังงาน สำหรับเนื้อเยื่อหรือเซลล์ต่างๆในร่างกาย ทั้งในการใช้พลังงานเพื่อกิจกรรมพื้นฐานของร่างกาย (พลังงานเพื่อการดำรงชีพ) และการให้ผลผลิตในรูปแบบต่างๆ • โดยพลังงานในอาหารที่อยู่ในรูปของพลังงานเคมีเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงานกล และพลังงานความร้อน

  46. พลังงานในวัตถุดิบอาหารสัตว์พลังงานในวัตถุดิบอาหารสัตว์ • วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดการย่อยทำให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง จนสามารถดูดซึมผ่านผนังของเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารได้ จากนั้นจะเดินทางไปที่เซลล์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เป็นพลังงานในด้านต่างๆ เช่นสำหรับดำรงชีวิต และให้ผลผลิต โดยวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิดจะมีการกระจายของพลังงานที่ต่างกัน • แยกเป็นวัตถุดิบที่ให้พลังงาน, วัตถุดิบที่ให้โปรตีนฯลฯ

  47. หน่วยของพลังงาน • Calorie = cal หรือ หรือ จูล joules = volt x amperes x second • 1 cal = 4.184 joule (j) = จำนวนความร้อนที่ต้องการเพิ่มขึ้นในการทำให้น้ำที่มีน้ำหนัก 1 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีก 1๐ซ ( 14.5 เป็น 15.5) • Kcal = 1 kilocalories = 1,000 cal., • 1cal = 4.184 J หรือ 1J = 0.239 cal • Mcal = 1,000 kcal.= 4.184 MJ (Mega joules) • หรือใช้หน่วย BTU = 252 cal (BTU= British Thermal Unit)

  48. หลักการทางพลังงานทางโภชนศาสตร์หลักการทางพลังงานทางโภชนศาสตร์ • พลังงานในอาหารสามารถตรวจวัดด้วยเครื่อง วิเคราะห์พลังงานคือ bomb calorimeter ค่าที่วิเคราะห์ได้ คือ 1.พลังงานรวมหรือพลังงานทั้งหมด (GE) 2.พลังงานที่สูญเสียออกทางมูล (FE) 3.พลังงานที่ย่อยได้(DE)

  49. หลักการทางพลังงานทางโภชนศาสตร์หลักการทางพลังงานทางโภชนศาสตร์ 4. พลังงานที่ใช้ประโยชน์(ME) 5.พลังงานสุทธิ (NE) • เพื่อการดำรงชีพ (NEm) • เพื่อให้ผลผลิต(NEg) , (NEl) ยอดโภชนะที่ย่อยได้ทั้งหมดTotal digestible nutrient (TDN)

  50. การกระจายของพลังงานจากอาหารการกระจายของพลังงานจากอาหาร • Gross energy = GE = พลังงานในวัตถุดิบอาหารสัตว์หรือพลังงานที่ได้จากการนำอาหารไปเผาในเครื่อง bomb calorimeter เป็นค่าพลังงานโดยประมาณที่มีในวัตถุดิบนั้น • หญ้ามี GE = 4.42 Mcal /น้ำหนักแห้ง

More Related