1 / 56

ใน วัยสูงอายุ

กินดีอยู่สบาย ไม่ตายเร็ว. ใน วัยสูงอายุ. จุ รีย์ เลาหพงษ์ นักวิชาการโภชนาการชำนาญการพิเศษ. การกินดี. หูฉลาม. ปลิงทะเล. หมูหัน. กุ้งมังกร. ความสำคัญของอาหารกับผู้สูงอายุ.

Télécharger la présentation

ใน วัยสูงอายุ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กินดีอยู่สบาย ไม่ตายเร็ว ในวัยสูงอายุ จุรีย์เลาหพงษ์ นักวิชาการโภชนาการชำนาญการพิเศษ

  2. การกินดี หูฉลาม ปลิงทะเล หมูหัน กุ้งมังกร

  3. ความสำคัญของอาหารกับผู้สูงอายุความสำคัญของอาหารกับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความต้องการปริมาณอาหารลดลงจากวัยหนุ่มสาว แต่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และสร้างความต้านทานโรค

  4. ผู้สูงอายุมักมีการขาดอาหารได้ง่าย เนื่องจากเมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะร่างกาย สังคม และเศรษฐกิจ อันอาจนำไปสู่ภาวะทุโภชนาการได้

  5. วิธีสังเกตว่าผู้สูงอายุกำลังมีการขาดอาหารที่ซ่อนเร้นอยู่วิธีสังเกตว่าผู้สูงอายุกำลังมีการขาดอาหารที่ซ่อนเร้นอยู่

  6. ประเภทข้าว แป้ง

  7. ผักผลไม้สีต่างๆ มีประโยชน์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร สีสันในผักผลไม้มาจากสารเคมีตามธรรมชาติที่แตกต่างกันไป เช่น       ผักผลไม้สีส้ม สีเหลือง เช่น แครอท ฟักทอง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ตำลึง คะน้า ผักบุ้ง บร็อกโคลี จะมีเบต้าแคโรทีนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ

  8. ผักผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศ แตงโม มะละกอสุก จะมีไลโคปีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้ายได้อีกด้วย

  9. ผักผลไม้สีเหลือง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด ผักกาด คะน้า ปวยเล้ง ผักโขม จะมีลูทีนและซีแซนทินซึ่งช่วยบำรุงสายตาและป้องกันความเสื่อมของดวงตา

  10. ข้าวโพดอัญญมณีแก้ว ข้าวโพดที่ สวยที่สุดในโลก

  11. ผักผลไม้สีม่วง เช่น ดอกอัญชัน กะหล่ำม่วง มะเขือม่วง เบอร์รีชนิดต่างๆ จะมีแอนโทไซยานินซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด และช่วยต้านการอักเสบ

  12. ผักผลไม้ชนิดใดดีที่สุดสารสำคัญในผักผลไม้ชนิดต่างๆ ทำงานออกฤทธิ์ส่งเสริมเกื้อหนุนกัน จึงไม่มีชนิดใดดีที่สุด การรับประทานให้หลากหลาย สลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละวัน อย่าให้ซ้ำซากจำเจจะดีที่สุด ผักบางชนิดรับประทานสุกจะมีประโยชน์กว่า เช่น มะเขือเทศที่ผ่านการปรุงสุกหรือผ่านกระบวนการ เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ ร่างกายจะนำไลโคปีนไปใช้ได้ดีกว่า

  13. น้ำผักผลไม้ มีประโยชน์เหมือนผักผลไม้สดหรือไม่น้ำผักผลไม้ไม่มีกากใยเหมือนกับผักผลไม้สดๆ กากใยช่วยให้เรารู้สึกอิ่ม ช่วยขัดขวางการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันโรคอ้วน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดีต่อระบบการขับถ่าย ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร และลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่         แต่สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้รับประทานผักผลไม้สด ก็อาจจะดื่มน้ำผักผลไม้เสริม โดยควรจะคั้นเอง ดีกว่าซื้อน้ำผักผลไม้สำเร็จรูปซึ่งจะมีปริมาณน้ำตาลสูง น้ำผักผลไม้ที่คั้นเองยังสะอาดปลอดภัยกว่าซื้อนอกบ้านอีกด้วย

  14. ผักผลไม้แห้ง ดีหรือไม่ผักผลไม้แห้งที่ใส่น้ำตาลจะให้พลังงานสูงกว่าผักผลไม้สดประมาณ 1 เท่าตัว ควรรับประทานแต่น้อย ไม่เช่นนั้นอาจจะอ้วนได้    ส่วนผักผลไม้แห้งที่เติมเกลือ เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง ก็มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูง ควรรับประทานแต่น้อยเช่นกัน

  15. ผักผลไม้แช่แข็งหรือบรรจุกระป๋อง ยังมีประโยชน์หรือไม่กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพสามารถรักษาคุณค่าทางอาหารเอาไว้ได้ อาจสูญเสียวิตามินบางชนิดไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับเสื่อมคุณภาพ       อย่างไรก็ตาม ผักผลไม้แช่แข็งต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมเท่านั้น ส่วนผักผลไม้กระป๋อง ควรเลือกชนิดที่ไม่เติมเกลือและน้ำตาล หรือแต่งเติมสิ่งต่างๆ ให้น้อยที่สุด

  16. สารสกัดจากผักผลไม้ ทดแทนผักผลไม้สดได้หรือไม่ผักผลไม้สดมีทั้งกากใย วิตามิน เกลือแร่ มากมายหลายชนิด ที่ทำงานประสานส่งเสริมกัน ซึ่งผักผลไม้ที่แปรรูปเป็นอาหารเสริมหรือสารสกัดไม่สามารถทดแทนได้

  17. ผัก *ผลไม้แคปซูล

  18. ควรรับประทานผักผลไม้ให้ได้ทุกมื้อทุกวัน เทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยไม่ให้การรับประทานผักกลายเป็นเรื่องจืดชืดจำเจ คือการสร้างสรรค์เมนูผักตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นผัดผัก ต้มแกง ผักจิ้มน้ำพริก เครื่องเคียงในอาหารยำ สลัดผักผลไม้ โดยเลือกผักผลไม้ชนิดต่างๆ ให้หลากหลาย ผู้ที่ชื่นชอบผักผลไม้เป็นพิเศษอาจจะหั่นผสมลงไปในข้าว กับข้าว หรือเครื่องดื่ม รับประทานผลไม้เป็นอาหารว่างแทนขนมขบเคี้ยว ดื่มน้ำผักหรือน้ำผลไม้คั้นเองสักวันละแก้ว หรือแม้แต่หันมากินข้าวกล้องแทนข้าวขาว ก็เพิ่มคุณค่าให้กับมื้ออาหารได้ไม่น้อย

  19. ผักและเนื้อสัตว์ที่ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ไม่ควรบริโภค เนื่องจากมีสารพิวรีนสูง ตับ, น้ำต้มเนื้อ, น้ำเกาเหลา, ไต, น้ำสกัดจากเนื้อเข้มข้น, ตับอ่อน     น้ำซุปใส, ปลาไส้ตัน, น้ำปลาและกะปิจากปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน, ยีสต์และอาหารหมักจากยีสต์ เช่น เบียร์ หอยเชลล์, ปลาทู, ปลารัง, เนื้อไก่, เป็ด, นก และ ไข่ปลา

  20.                                                       <>                                                      <>                                                       <>

  21. การสูบบุหรี่ การดื่มสุราเป็นประจำ จะลดประสิทธิภาพการดูดซึม ธาตุแคลเซียม ใน ร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว

  22. ประโยชน์ของน้ำเต้าหู้น้ำเต้าหู้ผลิตมาจากถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่สำคัญ โดยมีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับโปรตีนจากสัตว์ นอกจากโปรตีนแล้ว ถั่วเหลืองยังให้ไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน A, B, B1, B2, B6, B12, ไนอาซิน และวิตามิน C, D, E และจากการวิจัยยังพบว่าในเมล็ดถั่วเหลืองนั้นยังมี เลซิทิน ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มทักษะความจำ ลดไขมัน และลดโคเลสเตอรอลในร่างกาย

  23. อาหารที่มีแคลเซียม

More Related