1 / 23

สต. 300 สถิติทั่วไป

สต. 300 สถิติทั่วไป. อาจารย์รัชนีวรรณ กุมภคาม สาขาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. คำอธิบายรายวิชา. มาตรวัดต่างๆ สถิติพรรณนาและการประยุกต์ใช้ แนวคิดเกี่ยวกับประชากร กลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน. 1. 2. 3. บทที่ 1 บทนำ. บทที่ 2 การนำเสนอข้อมูล.

Télécharger la présentation

สต. 300 สถิติทั่วไป

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สต. 300 สถิติทั่วไป อาจารย์รัชนีวรรณ กุมภคาม สาขาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  2. คำอธิบายรายวิชา มาตรวัดต่างๆ สถิติพรรณนาและการประยุกต์ใช้ แนวคิดเกี่ยวกับประชากร กลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน

  3. 1 2 3 บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 การนำเสนอข้อมูล บทที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น รายละเอียดของเนื้อหาวิชา 4 4 บทที่ 4 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 5 บทที่ 5 การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย 6 บทที่ 6 การทดสอบข้อมูลที่อยู่ในรูปของความถี่

  4. บทที่ 4 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

  5. สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปร เช่น น้ำหนักกกับส่วนสูง คะแนนวิชาคณิตศาสตร์กับวิชาภาษาไทย ค่าใช้จ่ายในการโฆษณากับยอดขายสินค้า เป็นต้น ความสัมพันธ์มีสองลักษณะ คือ ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงและความสัมพันธ์เชิงเส้นโค้ง ค่าที่แสดงถึงระดับหรือขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปร ว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด เรียกว่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient) ซึ่งมักเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ r หรือสัญลักษณ์อื่นๆ ตามที่นักสถิติกำหนดขึ้น

  6. สหสัมพันธ์ (correlation) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ จะมีค่าตั้งแต่ -1 ถึง +1 ( -1 ≤ r ≤ +1 ) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จึงบอกทั้งขนาดและทิศทางของความสัมพันธ์ เช่น r = 0.92 และ r = -0.92 จะมีขนาดของความสัมพันธ์เท่ากันแต่มีทิศทางตรงกันข้าม เฟอร์กูสัน (Ferguson , G.A. 1981) ได้อธิบายความหมายของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่คำนวณได้ไว้ดังนี้

  7. สหสัมพันธ์ (correlation) r = 0 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กันเลย < 0.3 แสดงว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กันน้อย 0.5 < < 0.8 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง > 0.8 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง r = 1 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นบวกสมบูรณ์ r = -1 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นลบสมบูรณ์

  8. สหสัมพันธ์ (correlation) การวัดความสัมพันธ์เบื้องต้นนั้นจะพิจารณาจากแผนภาพการกระจาย รูปร่างของแผนภาพการกระจายนั้นจะบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ว่าเป็นแบบเส้นตรงหรือเส้นโค้ง มีความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใดและเป็นไปในทางบวกหรือลบ โดยพิจารณาเส้นการถดถอยประกอบด้วย

  9. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product – Moment Correlation Coefficient) การคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปรที่ใช้กันมากและรู้จักกันดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นรากฐานของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบอื่นๆ ก็คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

  10. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ข้อตกลงเบื้องต้น 1. ค่าของตัวแปรทั้งสองเป็นค่าต่อเนื่อง และมีการแจกแจงแบบปกติ 2. สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองเป็นความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง 3. ข้อมูลแต่ละคู่เป็นอิสระจากกัน สูตรที่ใช้ในการคำนวณ

  11. ตัวอย่างที่ 1 ของบริษัทจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้แล้ว โดยบันทึกข้อมูลอายุการใช้งานของรถยนต์ (X:หน่วยเป็นปี) และราคาขาย (Y:หน่วยเป็นพันบาท) ของรถจำนวน 6 คัน ดังนี้

  12. ตัวอย่างที่ 2 จงหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลฯ และวิชาการวิจัยการท่องเที่ยวจากผลการสอบของนักศึกษา จำนวน 10 คน ดังตาราง

  13. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมนสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมน (Spearman Rank Correlation Coefficient) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ลำดับที่ของสเปียร์แมน ได้รับการพัฒนามาจากสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ยังเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน เป็นการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อมูลที่อยู่ในมาตรอันดับ (ordinal scale) ใช้ได้สะดวกในกรณีที่มีข้อมูลน้อยกว่า 30 คู่ การคำนวณวิธีนี้จะคำนวณจากตำแหน่งที่ของข้อมูลที่มีการเรียงลำดับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดถึงข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด หรือเรียงลำดับข้อมูลต่ำสุดถึงสูงสุด ถ้าข้อมูลใดมีค่าเท่ากัน ให้ใช้ลำดับที่เฉลี่ยของข้อมูล เป็นลำดับที่ของข้อมูลค่านั้น สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ลำดับที่ของสเปียร์แมนอาจเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ rs

  14. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมนสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมน ข้อตกลงเบื้องต้น 1. ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปร 2. ตัวแปรทั้งสองมีการวัดอยู่ในมาตรอันดับ สูตรที่ใช้ในการคำนวณ

  15. ตัวอย่างที่ 3 ผลการสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาที่สุ่มมา 10 คนได้คะแนนดังต่อไปนี้ จงคำนวณหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

  16. ตัวอย่างที่ 4 ในการประกวดแมวครั้งหนึ่งมีผู้สนใจส่งแมวเข้าประกวดทั้งหมด 30 ตัว คณะกรรมการตัดสินคัดเลือกแมวไว้ 7 ตัว แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน ให้คะแนนไว้ตามตารางต่อไปนี้

  17. สัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์สัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ สัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ (Kendall’s Tau Rank Correlation Coefficient) เป็นวิธีที่ใช้หาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อมูลที่ถูกจัดเป็นอันดับที่ตั้งแต่ 3 ชุดขึ้นไป

  18. สัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์สัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ ข้อตกลงเบื้องต้น 1. ใช้หาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร k ตัวแปร หรือ k ชุด (k ≥ 3) 2. ตัวแปรทั้ง k ตัว หรือทั้ง k ชุด มีระดับของการวัดอยู่ในมาตรเรียงอันดับเป็นอย่างน้อย 3. ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตัดสิน k คน มีความสอดคล้องกันค่า W จะเท่ากับ 1 แต่ถ้าผลการตัดสินของผู้ตัดสิน k คน ไม่มีความสอดคล้องกันเลย ค่า W จะเท่ากับ 0

  19. สัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์สัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ สูตรที่ใช้ในการคำนวณ N = จำนวนคู่ของข้อมูล D = ผลต่างระหว่างผลรวมของอันดับที่กับค่าเฉลี่ยของผลรวมของอันดับที่ = r = ผลรวมของอันดับ = ค่าเฉลี่ยของผลรวมของอันดับ k = จำนวนผู้จัดอันดับ

  20. ตัวอย่างที่ 5 ในการประเมินอาจารย์ผู้สอน 8 คน โดยผู้บริหาร 4 คน ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ คณบดี และหัวหน้าโปรแกรมวิชา ผู้บริหาร 4 คน ได้จัดอันดับอาจารย์ผู้สอนทั้ง 8 คน ไว้ดังนี้ จงคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์

  21. ตัวอย่างที่ 6 ในการประกวดกระทงครั้งหนึ่ง มีผู้เข้ารอบสุดท้าย 4 คน มีกรรมการตัดสิน 5 คน ให้ลำดับที่ในการประกวดปรากฏผลดังตาราง จงคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อดูผลการตัดสินของกรรมการว่ามีความสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด

  22. Thank You ! Add your company slogan

More Related