1 / 14

9 ปี ของการเผยแพร่ Backward Design

9 ปี ของการเผยแพร่ Backward Design

Télécharger la présentation

9 ปี ของการเผยแพร่ Backward Design

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 9 ปี ของการเผยแพร่ Backward Design Backward Design เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการศึกษาในเรื่องของการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ที่ Grant wingginsและ Jay Mc Tigheได้เผยแพร่แนวคิดในเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในมิติที่ได้รับการพัฒนาต่อเติมขึ้นใหม่

  2. ในช่วงที่ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษาในปี พ.ศ. 2542 ที่ริเริ่มเรื่องการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่งดีและมีความสุขนั้น Backward Design ได้เผยแพร่แนวคิดไปยังประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศไทยยังมิได้เปิดรับแนวคิดในเรื่อง Backward Design แต่อย่างใด ยังคงมุ่งถกประเด็นระหว่างเก่ง ดี มีสุข ว่าในการปฏิรูปการศึกษาในปี พ.ศ.2542 นั้น ผู้เรียนควรจะมีคุณลักษณะอย่างไรระหว่าง เก่ง ดี มีสุข กับ ดี เก่ง มีสุข

  3. ผลสุดท้ายคล้ายๆ จะยอมรับว่าผู้เรียนในยุคปฏิรูปการศึกษาควรจะมีลักษณะ ดี > เก่ง > มีสุข เป็นสำคัญหลังการปฏิรูปการศึกษา ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการระดมสรรพกำลังในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในช่วงเวลานั้นก็ยังไม่มีใคร “สั่งเข้า” ภูมิปัญญา Backward Design เข้ามาใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แต่อย่างใดทั้งๆ ที่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้เน้นในเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ไว้ค่อนข้างมาก

  4. หลังจากมีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แล้ว ก็ได้มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แต่ความคิดในเรื่องBackward Design ก็ยังไม่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแต่อย่างใด

  5. พ.ศ. 2550 ปีแห่ง Backward Design ปี พ.ศ. 2550 ในขณะทิศทางการพัฒนาประเทศและการพัฒนาการศึกษาไทยก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ปี พ.ศ.พอเพียง นั้น ในวงการศึกษาไทยก็ได้เริ่มก้าวเข้าสู่ปีแห่ง Backward Design อย่างเร่งรีบ ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากคำบรรยายของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการในวาระสำคัญช่วงที่มีการพัฒนาให้เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวในการศึกษาหาความรู้ในเรื่อง Backward Design กันอย่างกว้างขวาง

  6. จน ณ เวลานี้ (มิถุนายน 2550) ก็ยังไม่มีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยใดแปลหรือเขียนตำราเกี่ยวกับ Backward Design ฉบับสมบูรณ์ออกมาแต่อย่างใดมีแต่เอกสารเผยแพร่เป็นบางส่วนบางตอนออกมาเพียงประปราย Backward Design อีกหนึ่งรูปแบบของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในวงการศึกษาของไทยในปัจจุบัน

  7. นิยามและความหมาย ของ Backward Design หลากหลายนิยาม แต่ความหมายเดียว Backward Design มีผู้ให้นิยามและความหมายไว้อย่างหลากหลาย อาทิ Backward Design: กระบวนการออกแบบและถอยหลังกลับ Backward Design: การออกแบบแบบย้อนกลับ Backward Design: การออกแบบถอยกลับ Backward Design: การออกแบบย้อนกลับ Backward Design: การออกแบบสะท้อนกลับ

  8. นิยามและความหมาย โดยสรุปแล้ว Backward Design หมายถึงกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตลอดกระบวนทัศน์ที่มุ่งไปสู่ผลผลิตตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้ คำว่ากระบวนทัศน์ในที่นี้หมายถึง การเริ่มต้นการคิดในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบว่าในการออกแบบการจัดการเรียนรู้นั้น จะต้องออกแบบอะไรอีกบ้างที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งสามารถจะย้อนกลับมาตรวจสอบถึงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

  9. การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design จึงเป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีความเข้มข้นมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง โดยก่อนที่จะออกแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างชัดแจ้ง ได้แก่ 1.การกำหนดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน 2.การกำหนดกิจกรรมการประเมินผลของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้

  10. เมื่อกำหนดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนและการกำหนดกิจกรรมการประเมินผลของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้แล้ว การออกแบบการเรียนรู้จะต้องออกแบบไว้อย่างมีมาตรฐานเป็นวิทยาศาสตร์สามารถวัดได้ ตรวจสอบได้ โดยการออกแบบกิจกรรมที่จะนำไปสู่สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียน • มีความรู้ • มีความสามารถ • สามารถแสดงออกซึ่งความรู้ • ความสามารถตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงจากการแสดงออกของ ผู้เรียนและตามกิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้

  11. ทั้งหมดนี้ คือ นิยามความหมายรวมไปถึง หลักการสำคัญเบื้องต้นของการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ของ Backward Design

  12. สามความสัมพันธ์ ของ การออกแบบ การจัดการเรียนรู้

  13. กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี

More Related