1 / 19

สสจ .สกลนคร

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ Eosinophilia จากการตรวจเลือดทั่วไป และอาการ ทางคลินิกของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสกลนคร. Correlation of Eosinophilia in Routine Blood Samples and Clinical Manifestations in Sakon Nakhon Hospital พญ .จินดารัตน์ ชัยโพธิ์คำ. 25 มิ.ย. 2562. สสจ .สกลนคร. บทนำ.

carljenkins
Télécharger la présentation

สสจ .สกลนคร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ Eosinophilia จากการตรวจเลือดทั่วไปและอาการทางคลินิกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสกลนคร Correlation of Eosinophilia in Routine Blood Samples and Clinical Manifestations in SakonNakhon Hospital พญ.จินดารัตน์ ชัยโพธิ์คำ 25 มิ.ย. 2562 สสจ.สกลนคร

  2. บทนำ พบว่าในการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ด้วยเครื่องอัตโนมัตินั้น (Automated complete blood count หรือ CBC) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสกลนครมีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil มากกว่าเกณฑ์ปกติ (Eosinophilia) ซึ่งจากการวิจัยที่ผ่านมาในประชากรทั่วไปควรมีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil ร้อยละ 3-5 เท่านั้น ซึ่งภาวะEosinophilia นั้นสามารถแสดงอาการทางคลินิกเล็กน้อยไปจนถึงทำให้เสียชีวิตได้ โดยไม่เคยมีการศึกษาความชุกของ Eosinophilia และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ Eosinophilia กับอาการทางคลินิกในโรงพยาบาลสกลนครมาก่อน

  3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องย้อนหลัง 10 ปี • พบการศึกษาในประเทศไทย 2 เรื่อง 2008 2004 större - a multipurpose PowerPoint template

  4. ความสำคัญของปัญหา ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสกลนคร Primary eosinophilia หรือ Idiopathic hypereosinophilic syndrome ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือด (CBC) ผู้ป่วย ที่มีเม็ด เลือดขาว Eosinophil สูง อาการทางคลินิก Correlation Secondary หรือ Reactive eosinophilia และ Clonal eosinophilia ความชุก (Prevalence) större - a multipurpose PowerPoint template

  5. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อศึกษาความชุกของภาวะเม็ดเลือดขาว Eosinophil สูง ในโรงพยาบาลสกลนคร • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับเม็ดเลือดขาว Eosinophil สูงกับอาการทางคลินิกของผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดขาว Eosinophil สูงในโรงพยาบาลสกลนคร större - a multipurpose PowerPoint template

  6. วิธีดำเนินการวิจัย • วิจัยเชิงพรรณนา (Prospective Cohort study) • วันที่ 1 มีนาคม 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 • Inclusion criteria: มีอายุ 15 ปีขึ้นไปและได้รับการตรวจ CBC • Exclusion Criteria: มีอายุน้อยกว่า 15 ปีหรือไม่มีผลตรวจ Eosinophil • ตัวแปรอิสระ:ระดับเม็ดเลือดขาว Eosinophil • ตัวแปรตาม: อาการทางคลินิก

  7. วิธีดำเนินการวิจัย • เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ตรวจ CBC แบบไปข้างหน้า • ตั้งแต่วันที่ 1 เมย.60-30 กย.60 • ผู้ป่วยได้รับการตรวจ CBC ทั้งหมด 44,961 คน • 28,300 คน • คำนวณความชุก • ข้อมูลพื้นฐาน • และขนาดตัวอย่าง • 28,183 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่าง ระดับความเชื่อมั่น 95% • ไม่มีข้อมูล Eosinophil 117 คน • 235 คน • บันทึกข้อมูลอาการทางคลินิกครั้งที่ 1 จากเวชระเบียน(วันที่ตรวจ CBC) และโทรสอบถาม • บันทึกข้อมูลอาการทางคลินิกครั้งที่ 2 เพื่อดูอาการเปลี่ยนแปลงวันที่ 31 มีค.61 • วิเคราะห์ข้อมูล större - a multipurpose PowerPoint template

  8. ผลการวิจัย • Male 45.1%, Female 54.9%

  9. ผลการวิจัย • Prevalence ของภาวะ Eosinophiliaเท่ากับ 18.60%(5,257/28,300)

  10. ผลการวิจัย • แสดงลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วย Eosinophilia ทั้งหมด 5,257 คน เมื่อแยกตามระดับความรุนแรง • จำนวนเกล็ดเลือดและจำนวนเม็ดเลือดขาวมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับภาวะ Eosinophilia (r .092 p .000 และ r .020 p .001 ตามลำดับ)

  11. ผลการวิจัย • กลุ่มตัวอย่าง 235 คนเป็นเพศชายและเพศหญิง 62.10 และ 37.90%

  12. ผลการวิจัย • จากผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมา 235 รายพบว่าที่มีภาวะ Mild eosinophilia 83.80% และ Severe eosinophilia 0.90%

  13. ผลการวิจัย • ผู้ป่วยมีอาการทางคลินิก 15 คน จากผู้ป่วยภาวะ Eosinophilia 235 คน คิดเป็น 6.4%(Secondary eosinophilia) จำแนกเป็นผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืดที่มีอาการกำเริบบ่อยหรือควบคุมไม่ได้ 11 คน ผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิ 3 คน และผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา 1 คน (Myeloproliferative neoplasm)

  14. ผลการวิจัย • จำนวนเม็ดเลือดขาว Eosinophil กับอาการทางคลินิกของผู้ป่วย มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ rpb = .137 (p.036) • สามารถแปลผลได้ว่าจำนวนเม็ดเลือดขาว Eosinophil กับอาการทางคลินิกของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ • เมื่อแยกวิเคราะห์เฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypereosinophilia (Eosinophil count ≥1,500/µl) จำนวน 38 คน • พบสาเหตุ6 คน ซึ่งผู้ป่วยที่เหลือ 32 คนไม่มีอาการ • ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ CBC ซ้ำที่เวลา 6 เดือนจำนวน 16 คน พบว่าผู้ป่วย 6 คนยังคงมีจำนวนเม็ดเลือดขาว Eosinophil มากกว่า 1,500/µl โดยไม่มีอาการทางคลินิก

  15. อภิปรายผล • ความชุกของภาวะ Eosinophilia ในโรงพยาบาลสกลนครสูงกว่าความชุกในการศึกษาที่ผ่านมาพบเพียง 7%เท่านั้น11 • ผู้ป่วยมีอาการทางคลินิก 6.4% เกิดจาก Secondary eosinophilia ทั้งหมด ซึ่งตรงกับการศึกษาที่ผ่านมา3 • สาเหตุของภาวะ Eosinophilia ที่พบบ่อคือโรคภูมิแพ้และหอบหืดที่ควบคุมอาการไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาที่ผ่านมา (พบร่วมกับการติดเชื้อพยาธิและภูมิแพ้ แต่ไม่ค่อยพบในโรคหอบหืด5) • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืดที่มีภาวะ Eosinophiliaไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ และแนวโน้มมีอาการของโรครุนแรง ซึ่งตรงกับการศึกษาที่ผ่านมา 22 • ผู้ป่วยภาวะ Hypereosinophiliaที่มี Persistent นาน 6 เดือน ไม่มีอาการทางคลินิก ซึ่งตรงกับการศึกษาที่ผ่านมา • ภาวะ Eosinophilia และอาการทางคลินิกความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งต่างจากการศึกษาที่ผ่านมา ไม่มีความสัมพันธ์กัน1,2,5,10,16 • การวิจัยครั้งนี้ศึกษาอาการทางคลินิกของผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบให้มีการตรวจวินิจฉัยภาวะ Eosinophilia ทุกคน จึงไม่สามารถบอกสาเหตุของภาวะ Eosinophilia ทั้งหมดได้ större - a multipurpose PowerPoint template

  16. สรุป • ความชุกของภาวะ Eosinophilia ในโรงพยาบาลสกลนครได้ 18.60%แบ่งตามระดับความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ • ผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาว Eosinophil สูงเล็กน้อย (Mild eosinophilia) เท่ากับ 16.00% • สูงปานกลาง (Moderate eosinophilia) 2.50% • และสูงมาก (Severe eosinophilia) 0.10% • สรุปว่าภาวะ Eosinophilia พบบ่อยในโรงพยาบาลสกลนคร อาการทางคลินิกพบน้อยแต่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของภาวะ Eosinophilia större - a multipurpose PowerPoint template

  17. ข้อเสนอแนะ • การนำผลการวิจัยไปใช้ • เมื่อพบผู้ป่วยที่มีภาวะ Eosinophilia ความซักประวัติ ตรวจร่างกายหาโรคภูมิแพ้และหอบหืด และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาโรคติดเชื้อพยาธิ เพื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว • เมื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาโรคติดเชื้อพยาธิแล้วไม่พบ ควรติดตามอาการทางคลินิกและ CBC ของผู้ป่วยต่อไป โดยไม่ต้องให้การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการทางคลินิก • เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืดที่มีภาวะ Eosinophilia ควบคุมอาการของโรคไม่ได้ ควรพิจารณาการรักษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยกลุ่มนี้เช่น การให้ยาสเตียรอยด์ เพื่อป้องกันการเกิดระบบหายใจล้มเหลวและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำๆ större - a multipurpose PowerPoint template

  18. ข้อเสนอแนะ • การวิจัยครั้งต่อไป • ควรออกแบบการวิจัยให้มีการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย Eosinophilia ทุกคน เพื่อให้สามารถบอกสาเหตุของผู้ป่วยที่มีภาวะ Eosinophilia ทั้งหมดได้ และตรวจ CBC ซ้ำทุกรายเพื่อให้ทราบว่าภาวะ Eosinophilia คงอยู่หรือไม่ • ควรมีการวิจัยเพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยภูมิแพ้และหอบหืดที่มีภาวะ Eosinophilia เพิ่มเติม • ควรมีการวิจัยเพื่อติดตาม CBC และอาการทางคลินิกของผู้ป่วย Asymptomatic eosinophilia ในระยะยาว • ควรมีการวิจัยเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแสดงและไม่แสดงอาการทางคลินิกของผู้ป่วยที่มีภาวะ Primary eosinophilia เพื่อเป็นแนวทางในการส่งตรวจพิเศษไปในอนาคต större - a multipurpose PowerPoint template

  19. กิตติกรรมประกาศ • ศ.ดร.นพ.พลภัทร โรจน์นครินทร์ หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • นพ.ศิรยุสต์วรามิตร กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสกลนคร • นทพ.ศิริวัฒน์ แสงโสม, นทพ.สกลเดช ไขไพรวัน เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพายาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลสกลนคร • เจ้าหน้าที่หน่วยโลหิตวิทยา กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสกลนคร • ผู้ป่วยทุกคน större - a multipurpose PowerPoint template

More Related