1 / 41

บทที่ 6

บทที่ 6. นโยบายของรัฐในการพัฒนาการเกษตร. หัวข้อบรรยาย. 6.1 การค้าระหว่างประเทศและนโยบาย 6.2 ทรัพยากร - สิ่งแวดล้อมและนโยบาย 6.3 สินค้าสาธารณะและทางเลือกของประชาชน 6.4 นโยบายการพัฒนาเกษตร. 6.1 การค้าระหว่างประเทศและนโยบาย.

carol
Télécharger la présentation

บทที่ 6

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 นโยบายของรัฐในการพัฒนาการเกษตร

  2. หัวข้อบรรยาย 6.1 การค้าระหว่างประเทศและนโยบาย 6.2 ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อมและนโยบาย 6.3 สินค้าสาธารณะและทางเลือกของประชาชน 6.4 นโยบายการพัฒนาเกษตร

  3. 6.1 การค้าระหว่างประเทศและนโยบาย • ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยใหม่อธิบายว่าการค้าเกิดจากความได้เปรียบในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศด้วยต้นทุนที่ต่างกัน • ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ต่างกัน (โดยเฉพาะทรัพยากรแรงงานและทุนที่เป็นปัจจัยสำคัญของการผลิต) • เพราะต้นทุนการผลิตต่างกันทำให้ราคาสินค้าในแต่ละประเทศต่างต่างกัน เป็นที่มาของความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (comparative advantage)

  4. Y B C A Y02 X01 X การผลิตเพื่อบริโภคในประเทศและการค้า • ถ้าไม่มีการค้าประเทศจะผลิตและบริโภคที่ A • การมีการค้าทำให้เปลี่ยนการผลิตจาก A ไป B และบริโภคที่ C ทำไห้ได้รับความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

  5. Y Y ประเทศ ก ประเทศ ข A Y01 B Y02 X01 X X01 X ก. ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ • ไม่มีการค้าระหว่างประเทศ ราคาสินค้าในแต่ละประเทศจะต่างกัน • ในประเทศ ก ราคา X ถูกกว่า ส่วนในประเทศ ข ราคา Y ถูกกว่า

  6. Y Y ประเทศ ก ประเทศ ข C Y1 I Y3 M A E Y4 H Y2 B X1 X2 X X3 X4 X ก. ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ(ต่อ) • เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศราคาสินค้าจะปรับตัวจนได้ดุลยภาพ • ในประเทศ ก ราคา X แพงขึ้น ราคา Y ถูกลง และตรงข้ามในประเทศ ข

  7. ก. ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) • ในกรณีที่มี 2 ประเทศ (ก และ ข) และสินค้า 2 ชนิด (X และ Y) ในตัวอย่างข้างต้น • ประเทศ ก ผลิตและส่งออกสินค้า X และ นำเข้าสินค้า Y ในขณะที่ประเทศ ข ทำในทางตรงกันข้าม และได้ดุลซึ่งกันและกัน • ถ้า ณ ราคาที่กำหนดนั้น ประเทศ ก ต้องการส่งออกสินค้า X มากกว่าที่ประเทศ ข ต้องการซื้อ และต้องการนำเข้าสินค้า Y มากกว่าที่ประเทศ ข จะเสนอขายให้ การค้าระหว่างสองประเทศนี้จะเป็นอย่างไร?

  8. ก. ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) • คำตอบ: จะเกิดการปรับตัวให้ราคาสินค้า X ลดต่ำลง และ/หรือราคาสินค้า Y เพิ่มสูงขึ้น ปริมาณการค้าสินค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศก็จะปรับตัวจนได้ดุลกันในที่สุด • เป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน • ส่วนที่เรียกว่า Trade Triangle จะต้องเท่ากัน • ให้นักศึกษาลองหัดวาดรูปในกรณีประเทศทั้งสองมีทรัพยากรเท่ากันแต่มีรสนิยมต่างกันดูด้วยตนเอง

  9. ประเทศ ก ประเทศ ข PX PX S2 S1 P02 P0 P0 P01 D2 D1 X X X1 X01 X2 X3 X02 X4 กรณีพิจารณาสินค้าเพียงชนิดเดียว

  10. ข. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ • การใช้ภาษีศุลกากร (Tariff) • ภาษีนำเข้า และภาษีส่งออก (Import and Export Tariff) • การควบคุมปริมาณโดยตรง • โควตานำเข้าหรือส่งออก (Import or Export Quota) • การควบคุมการส่งออกโดยสมัครใจ (Voluntary Export Restrictions) • นโยบายอื่นๆ • มาตรฐานสินค้า การบรรจุภัณฑ์ ความปลอดภัย มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ต้นกำเนิดสินค้า Local Contents ฯลฯ

  11. ข. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) • นโยบายการค้าระหว่างประเทศสมัยใหม่ • ระเบียบการค้าขององค์กรการค้าโลก (WTO) • กำหนดให้ใช้ได้เฉพาะภาษีศุลกากร • ต้องเปิดตลาดขั้นต่ำ => โควตาภาษี • การลดการอุดหนุน • ข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area) • หนทางสู่การค้าเสรี (การค้าเสรีเฉพาะกลุ่มสมาชิก) • การหันไปใช้นโยบายที่ไม่ใช่ภาษี เน้นสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของอาหาร => ประเทศด้อยพัฒนาเสียเปรียบ

  12. ต่างประเทศ ประเทศ ก PX PX S1 Sf1 Sf P02 Pd Pd P0 Pe D1 Ded1 X X XiT Xi X1 X01 X2 X3 X4 นโยบายภาษีนำเข้า (Import Tariff) (กรณีประเทศใหญ่)

  13. ประเทศ ก PX S1 P02 H G Pd P0 J M I N K L D1 X X1 X01 X2 X3 X4 การเปลี่ยนแปลงของสวัสดิการทางสังคม • Consumers’ Surplus ลดลง = PdP0NH • Producers’ Surplus เพิ่มขึ้น =PdP0MG • ภาษีที่รัฐเก็บได้ = GKLH • Deadweight Loss =GMI + HJN • ภาระภาษีที่ต่างประ-เทศรับ =IKLJ • ประเทศมีผลได้ถ้า Deadweight Loss < ภาระภาษีที่ต่างประเทศรับ

  14. ต่างประเทศ ประเทศ ก PX PX S1 P02 Sf1 Pd Pd Sf P0 Pe D1 Ded1 X X XiT Xi X1 X01 X2 X3 X4 นโยบายภาษีนำเข้า (Import Tariff) (กรณีประเทศเล็ก)

  15. ต่างประเทศ ประเทศ ก PX PX S1 Sf1 Sf P02 Pd Pd P0 Pe D1 Ded1 X X XiT Xi X1 X01 X2 X3 X4 นโยบายโควตาการนำเข้า (Import Quota)(กรณีประเทศใหญ่)

  16. ต่างประเทศ ประเทศ ก PX PX S1 Sf1 P02 Pd Pd Sf P0 Pe D1 Ded1 X X XiT Xi X1 X01 X2 X3 X4 นโยบายโควตาการนำเข้า (Import Quota)(กรณีประเทศเล็ก)

  17. 6.2 ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อมและนโยบาย • เศรษฐศาสตร์ทรัพยากร (Resource Economics) • การนำเอาหลักวิชาการเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม • การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environment ) • ผลสะท้อนกลับจากสิ่งแวดล้อมสู่การทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ • เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรครอบคลุมถึง • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ผลกระทบต่อภายนอก (Externalities) • สินค้าสาธารณะ (Public Good)

  18. ผลกระทบต่อภายนอก ( Externalities) • ผลของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระทบต่อบุคคลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นๆ • ผลกระทบในแง่เสียหาย เช่น มลพิษ เสียหายต่างๆ • ผลกระทบในแง่ดี เช่น การศึกษา การปรับปรุงการขนส่งส่วนบุคคล • กิจกรรมแต่ละอย่างอาจก่อให้เกิดผลดีและผลเสียพร้อมๆกัน • การสร้างโรงงานแปรรูปสร้างการจ้างงาน แต่ก็ปล่อยมลพิษ

  19. MSC MSC1 MPC MSC0 MSB = MPB MPC1 MPC0 MPB’ ปริมาณสารเคมี X1 X0 X2 ก. กรณีผลกระทบทางเสียหาย

  20. คำอธิบาย • เอกชนเผชิญต้นทุนและผลได้เพิ่ม คือ MPC และ MPB ตามลำดับ • สังคมเผชิญกับต้นทุนและผลได้เพิ่มคือ MSC และ MSB = MPB (เอกชนอยู่ในสังคม) • เอกชนต้องการใช้สารเคมีในระดับ X1ในขณะที่สังคมต้องการให้ใช้เพียงระดับ X0 • การจัดการ ต้องลดระดับ MPB ลงมาให้ตัดกับ MPC ที่ X0

  21. MPC MPC’ MSB1 MSB0 MSB MPB1 MPB MPB0 Y1 Y0 การปลูกป่า ข. กรณีผลกระทบในแง่ดี

  22. คำอธิบาย • เอกชนเผชิญต้นทุนและผลได้เพิ่ม คือ MPC และ MPB ตามลำดับ • สังคมเผชิญกับต้นทุนและผลได้เพิ่มคือ MSC = MPC และ MSB (เอกชนอยู่ในสังคม) • เอกชนต้องการปลูกป่าในระดับ Y1ในขณะที่สังคมต้องการให้ปลูกในระดับ Y0 • การจัดการ ต้องลดระดับ MPC ลงมาให้ตัดกับ MPB ที่ Y0 หรือ ชดเชยผลประโยชน์ (บางกรณีทำได้ยาก) ให้เท่ากับ MSB

  23. สรุปการจัดการปัญหาผลกระทบต่อภายนอกสรุปการจัดการปัญหาผลกระทบต่อภายนอก • ประเด็นของปัญหา • ความไม่สามารถเรียกเก็บต้นทุนและผลประโยชน์ของผลกระทบต่อภายนอกได้ของผู้ทำกิจกรรม นั่นคือ • ผู้ทำประโยชน์ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน (ทั้งหมด) • ผู้สร้างผลเสียไม่ได้จ่ายต้นทุนที่เขาได้ก่อขึ้น (ทั้งหมด) • แนวทางการจัดการแก้ปัญหา • กิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลเสีย • การเก็บภาษี/ค่าบริการหรือควบคุมโดยตรง • การลดความช่วยเหลือ/ลดการอุดหนุน • การกำหนดข้อบังคับ (ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร)

  24. สรุปการจัดการปัญหาผลกระทบต่อภายนอก(ต่อ)สรุปการจัดการปัญหาผลกระทบต่อภายนอก(ต่อ) • แนวทางการจัดการแก้ปัญหา(ต่อ) • กิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลดี • การจ่ายเงินอุดหนุน/การให้ทุน • การลดภาษี/ให้สิทธิพิเศษต่างๆ • การใช้ข้อบังคับ (ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร)

  25. 6.3 สินค้าสาธารณะ (Public Goods) • สินค้าสาธารณะมีอุปสงค์ (Demand)และอุปทาน(Supply)แต่ไม่มีตลาดซื้อขาย • ลักษณะสินค้าสาธารณะ (Public Goods) 1) ไม่สามารถกีดกับการบริโภคได้ 2) ไม่มีการแข่งขันระหว่างผู้บริโภค 3) การผลิตแบ่งแยกไม่ได้ 4) ต้นทุนส่วนเพิ่มเท่ากับศูนย์

  26. ตัวอย่างสินค้าสาธารณะตัวอย่างสินค้าสาธารณะ • สินค้าสาธารณะแท้ เช่น • การป้องกันประเทศ • การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ • สินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสินค้าสาธารณะ เช่น • การส่งเสริมเกษตร • ถนน • ชลประทาน • สถานที่ท่องเที่ยว/ผักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ

  27. บทบาทของรัฐในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบทบาทของรัฐในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระบบเสรีนิยม/ทุนนิยมถูกกำหนด/ปรับดุลโดยกลไกราคา • มือที่มองไม่เห็น (invisible hand) หรือกลไกราคาจะทำหน้าที่ได้ดีในสภาพการแข่งขันสมบูรณ์ • เงื่อนไข full laissez-faire (อิสรเสรีโดยสมบูรณ์) นำมาซึ่งความมีประสิทธิภาพ แต่ทำให้ขาดคุณธรรม/จริยธรรม • คนมีเงินได้สินค้าไปบริโภคจนล้นเหลือ • คนยากจน (ส่วนใหญ่) ไม่ได้รับบริการ/สินค้าที่จำเป็นเพื่อยังชีพ

  28. บทบาทของรัฐในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ต่อ) • สินค้าบางอย่างที่จำเป็นอาจไม่ถูกผลิตเนื่องจากต้นทุนสูงและไม่สามารถกีดกันการบริโภคได้ใน full laissez-faire economy • การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้ full laissez-faire economy อาจนำมาซึ่งการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน • การผลิตเครื่องจักรกลทดแทนแรงงานคนทำให้ค่าจ้างคนจนต่ำลง • ความต้องการความมั่นใจ/ความสงบเรียบร้อยการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • ความมีเสรีของประชาชนกับความต้องการที่ถูกต้อง (merit wants) • พลังต่างๆ เหล่านผักดันให้จำเป็นต้องมีภาครัฐเข้ามาควบคุม • รัฐบาลควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับต่ำสุดกับ laissez-faire

  29. บทบาทของรัฐในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ต่อ) • บทบาทขั้นพื้นฐานของรัฐบาล • การถ่ายโอนรายได้ในรูปการเก็บภาษีและใช้จ่ายเงินของภาครัฐ • สร้างสวัสดิการขั้นต่ำเพื่อมาตรฐานการดำรงชีพขั้นต่ำ • สร้างบริการสาธารณะที่จำเป็น (สินค้าสาธารณะ) • สร้างความเป็นธรรมในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • การควบคุมกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ • รัฐมีบาบาทเป็นผู้บริโภครายใหญ่ • รัฐบาลทำงานตามความต้องการของประชาชนผ่านกระบวนการประชาธิปไตย

  30. G E0 G1 C1 C G E1 E2 G1 E3 C ทางเลือกของสังคมและประชาชนกับการจัดการสินค้าสาธารณะ • ประชาชนสามารถเลือกบริโภคสินค้าเอกชน (private goods: C) และสินค้าสาธารณะ (public goods: G) • ความมี/ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล • การเพิ่ม/ลดบทบาทของรัฐตามความต้องการของประชาชน G2 C1 C2

  31. การจัดการสินค้าสาธารณะการจัดการสินค้าสาธารณะ • รัฐบาลเป็นผู้กำหนดปริมาณและชนิดของสินค้าสาธารณะ • รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยมาจากประชาชน • ความต้องการและทางเลือกของประชาชนถูกสะท้อนออกมาในรูปผลของการเลือกตั้ง • ในทางปฏิบัติ ประชาชนสมารถมีส่วนในการจัดการสินค้าสาธารณะได้หลายทาง แต่ท้ายที่สุดนักการเมืองจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร

  32. นโยบายคือ การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่สังคมยอมรับ/ต้องการ/คาดหวัง ทำไมต้องพัฒนาการเกษตร ความสำคัญของการเกษตร เกษตรกรมีฐานะยากจน เกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบ ความเป็นธรรม นโยบายเกษตรที่ใช้ การปฏิรูปที่ดินและการจัดรูปที่ดิน การจัดหารสินเชื่อเกษตร การจัดหาปัจจัยการผลิต การปรับปรุงตลาดสินค้าเกษตร การปรับปรุง/ตัดถนน การปรับปรุงองค์กรตลาด การส่งเสริมองค์กรเกษตรกร 6.4 นโยบายพัฒนาการเกษตร

  33. นโยบายการปฏิรูป/จัดรูปที่ดินนโยบายการปฏิรูป/จัดรูปที่ดิน • การปฏิรูปที่ดิน (Land Reform) คือ การจัดสรรกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินเสียใหม่ • การให้เอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดิน • การพัฒนาองค์กรเกษตรกรเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม • การกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรม/ลดความเหลื่อมล้ำ • จูงใจให้มีการลงทุนพัฒนาที่ดิน • การจัดรูปที่ดิน (Land Consolidation) คือ การจัดสรรที่ดินเสียใหม่เพื่อให้การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  34. นโยบายการจัดหาสินเชื่อนโยบายการจัดหาสินเชื่อ • เกษตรกรรายย่อยที่ยากจนมักขาดเงินทุนเพื่อการเกษตร • การมีเงินทุนจำกัดทำให้เกษตรกรขาดโอกาสการสร้างรายได้เพิ่ม • แหล่งสินเชื่อการเกษตรของไทย • ธ.ก.ส. - สหกรณ์การเกษตร • ธนาคารพาณิชย์ - สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท • กลุ่มออมทรัพย์ต่างๆ ในชุมชน - โครงการ กข.คจ. • กองทุนหมู่บ้าน - โครงการ SMEs • ฯลฯ

  35. นโยบายการจัดหาปัจจัยการผลิตนโยบายการจัดหาปัจจัยการผลิต • ปัจจัยการผลิตที่มีราคาแพงและเพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนสูงและเพิ่มขึ้น • ปัจจัยการผลิตที่รัฐจัดหาให้ในราคาต่ำกว่าตลาด • การชลประทาน • ปุ๋ยเคมี • เมล็ดพันธุ์ • วัสดุการเกษตรอื่นๆ • สินเชื่อการเกษตร • เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้ราคาต่ำลง และผลผลิตมากขึ้น ส่งผลดีต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

  36. ราคา Sf1 Sf2 P1 P2 Dc ปริมาณ Q1 Q2 ผลของการจัดหาปัจจัยการผลิตในราคาต่ำกว่าตลาด • การจัดหาปัจจัยการผลิตในราคาต่ำทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง • อุปทานเลื่อนไปทางขวา • ราคาต่ำลง & มีปริมาณสินค้าในตลาดมากขึ้น(ดังแสดงในรูปด้านขวามือ)

  37. นโยบายการปรับปรุงระบบตลาดนโยบายการปรับปรุงระบบตลาด • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบตลาด • การลดค่าใช้จ่ายทางการตลาด • การปรับปรุงการขนส่ง (ถนน ประสิทธิภาพของพาหนะขนส่ง) • การปรับปรุงการเก็บรักษา (คลังสินค้า ห้องเย็น) • การปรับปรุงวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว • ผลกระทบจากการปรับปรุงระบบตลาด • ราคาไร่นาสูงขึ้น ราคาที่ผู้บริโภคจ่ายลดลง และมีสินค้าในตลาดมากขึ้น

  38. ราคา Sr Sr1 Sf Pr Pr1 Pf1 Pf Dc ปริมาณ Q1 Q2 ผลของการปรับปรุงระบบตลาด • การปรับปรุงระบบตลาดทำให้ต้นทุนการตลาดลดลง • ราคาที่ผู้บริโภคจ่ายลดลง • ราคาที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้น • มีปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้น

  39. นโยบายการปรับปรุงองค์กรการตลาดนโยบายการปรับปรุงองค์กรการตลาด • สภาการตลาด (Marketing Board) เป็นองค์การที่จะช่วยดูแลหน่วยธุรกิจการตลาดและพัฒนาตลาด สร้างความเป็นธรรมในการดำเนินกิจกรรมการตลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการตลาด • ตลาดสินค้าล่วงหน้า (Future Exchange) เป็นเครื่องมือและกลไกช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาผลผลิต • การสร้างองค์กรการตลาดใหม่ๆ เช่น สหกรณ์การเกษตร ตลาดกลางสินค้า ช่วยเพิ่มการแข่งขันและประสิทธิภาพการตลาด

  40. นโยบายการส่งเสริม/พัฒนาองค์กรเกษตรกรนโยบายการส่งเสริม/พัฒนาองค์กรเกษตรกร • ผู้ประกอบการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขาดอำนาจการต่อรอง • ความพยายามในการสร้างอำนาจการต่อรองของเกษตรกร ด้วยองค์กรเกษตรกร เช่น สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มอาชีพต่างๆ • องค์กรเกษตรกรช่วยเหลือกันเองในด้านการผลิตด้วย • การมีองค์กรเกษตรกรช่วยให้รัฐให้ความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น

  41. โชคดีครับ

More Related