1 / 60

สมบัติของธาตุและสารประกอบของธาตุ

สมบัติของธาตุและสารประกอบของธาตุ. ธาตุหมู่ IA ( โลหะแอลคาไล). Li Na K Rb Cs Fr. สมบัติของธาตุและสารประกอบของธาตุ (ต่อ). สมบัติที่สำคัญของธาตุหมู่ IA. 1. เป็นของแข็งที่อ่อน ใช้มีดตัดได้ นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี. 2. เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุอื่น ในคาบเดียวกัน.

carolyn-ray
Télécharger la présentation

สมบัติของธาตุและสารประกอบของธาตุ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมบัติของธาตุและสารประกอบของธาตุสมบัติของธาตุและสารประกอบของธาตุ ธาตุหมู่ IA (โลหะแอลคาไล) Li Na K Rb Cs Fr

  2. สมบัติของธาตุและสารประกอบของธาตุ (ต่อ) สมบัติที่สำคัญของธาตุหมู่ IA 1. เป็นของแข็งที่อ่อน ใช้มีดตัดได้ นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี 2. เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุอื่นในคาบเดียวกัน - ธาตุหมู่ IA มีความเป็นโลหะมากที่สุด - ธาตุหมู่ IA มีขนาดอะตอมใหญ่ที่สุด - ธาตุหมู่ IA มีค่า IE1และ EN ต่ำที่สุด - ธาตุหมู่ IA เป็นโลหะที่เสียอิเล็กตรอนได้ง่ายที่สุด

  3. สมบัติของธาตุและสารประกอบของธาตุ (ต่อ) สมบัติที่สำคัญของธาตุหมู่ IA 3. มีความหนาแน่นต่ำ ( Li, Na และ K หนาแน่นน้อยกว่าน้ำ) 4. เมื่อรวมตัวกับอโลหะได้สารประกอบไอออนิก ซึ่งธาตุหมู่ IA มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +1 5. เป็นโลหะที่ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยามาก ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำหรือไอน้ำในอากาศ ให้ H2และความร้อนจำนวนมาก -----> จึงต้องเก็บไว้ในน้ำมัน

  4. สมบัติของธาตุและสารประกอบของธาตุ (ต่อ) สารประกอบของธาตุหมู่ IA ธาตุหมู่ IA อยู่ในรูปของสารประกอบมากมาย เช่น LiCl, NaCl, KCl, NaNO3, KNO3, Na2SO4, NaHCO3 สารประกอบของธาตุหมู่ IA ในธรรมชาติที่พบมากที่สุด คือ สารประกอบของโซเดียม เช่น NaCl

  5. สมบัติบางประการของสารประกอบของธาตุหมู่ IA 1. เมื่อหลอมเหลว หรือละลายน้ำ จะสามารถนำไฟฟ้าได้ 2. มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง 3. ละลายน้ำได้ดี เช่น สารประกอบคาร์บอเนต (CO32-) เช่น Na2CO3 K2CO3 สารประกอบซัลเฟต (SO42-)เช่น K2SO4Na2SO4 สารประกอบคลอไรด์ (Cl- ) เช่น LiCl NaCl ยกเว้นสารประกอบคาร์บอเนต และฟอสเฟต ของ Li จะละลายน้ำได้น้อย -------> Li2CO3 , Li3PO4

  6. สมบัติบางประการของสารประกอบของธาตุหมู่ IA 4. สารประกอบของธาตุหมู่ IA ต่อไปนี้ เมื่อละลายน้ำ สารละลายจะมีสมบัติเป็นเบส สารประกอบซัลไฟด์ เช่น Na2S สารประกอบออกไซด์ เช่น NaO สารประกอบไฮไดรด์ เช่น NaH LiH

  7. ประโยชน์ของธาตุหมู่ IA 1. Cs (ซีเซียม) ใช้ทำโฟโตเซลล์ที่เปลี่ยนสัญญาณแสงไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพราะ Cs สามารถเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายกว่าโลหะหมู่ IA ตัวอื่นๆ เช่น ที่ใช้ในเครื่องวัดความเข้มแสงในกล้องถ่ายรูป 2. ใช้ Na (โซเดียม)และ K (โพแทสเซียม) ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู

  8. ประโยชน์ของธาตุหมู่ IA 3. ใช้ Na บรรจุในท่อโพลิเอทิลีน สำหรับใช้แทนสายเคเบิลอะลูมิเนียมหรือทองแดง เพราะเบากว่า ถูกกว่า และมีประสิทธิภาพดีกว่า 4. Li และ Na ใช้ในการเตรียมสารอินทรีย์หลายชนิด เช่น เตตระเอทิลเลด เตรียมจากเอทิลคลอไรด์ทำปฏิกิริยากับโลหะผสมระหว่างโซเดียมกับตะกั่ว 5. Na ใช้การเตรียมโซเดียมเปอร์ออกไซด์ ซึ่งใช้ทำสารฟอกสี

  9. ธาตุหมู่ IIA (โลหะแอลคาไลน์ เอิร์ท) Be (เบริลเลียม) Mg (แมกนีเซียม) Ca (แคลเซียม) Sr (สทรอนเชียม) Ba (แบเรียม) Ra (เรเดียม)

  10. สมบัติที่สำคัญของธาตุหมู่ IIA 1. เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นมากกว่าธาตุหมู่ IA จึงมีความแข็งมากกว่า 2. เป็นโลหะ แต่น้อยกว่าธาตุหมู่ IA เมื่อเปรียบเทียบในคาบเดียวกัน 3. นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี แต่น้อยกว่าธาตุหมู่ IA ในคาบเดียวกัน

  11. สมบัติที่สำคัญของธาตุหมู่ IIA 4. มีค่า IE1และ EN ต่ำ แต่สูงกว่าธาตุหมู่ IA 5. มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่าธาตุหมู่ IA ในคาบเดียวกัน เพราะมีพันธะโลหะที่แข็งแรงกว่า 6. เสียอิเล็กตรอนได้ง่าย (ตัวรีดิวซ์ที่ดี) แต่ไม่ดีเท่ากับธาตุหมู่ IA ในคาบเดียวกัน

  12. สมบัติที่สำคัญของธาตุหมู่ IIA 7. เมื่อรวมตัวกับอโลหะจะได้สารประกอบไอออนิก ซึ่งธาตุหมู่ IIA มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +2 8. ธาตุหมู่นี้สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำ และสารอื่นได้หลายชนิด เนื่องจากเป็นธาตุที่ว่องไว และความว่องไวเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น

  13. สารประกอบของธาตุหมู่ IIA เนื่องจากธาตุหมู่ IIA เป็นธาตุที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา สามารถรวมตัวกับอโลหะเกิดสารประกอบได้หลายชนิดในธรรมชาติ จึงไม่พบในรูปของธาตุอิสระ CaCO3 , MgSO4 , MgCl2 , BaCl2 , CaHPO4, Ba(NO3)2

  14. สมบัติบางประการของสารประกอบของธาตุหมู่ IIA 1. สารประกอบของธาตุหมู่ IIA จะเป็นสารประกอบไอออนิก 2. มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง 3. เมื่อหลอมเหลว หรือเป็นสารละลายจะสามารถนำไฟฟ้าได้ 4. สารประกอบของหมู่ IIA ที่เกิดจากการรวมตัวกับไอออนที่มี ประจุ -1 ส่วนใหญ่จะละลายน้ำได้ดี แต่สารประกอบของหมู่ IIA ที่เกิดจากการรวมตัวกับไอออนที่มีประจุ -2 หรือ -3 จะไม่ละลายน้ำ

  15. ประโยชน์ของธาตุหมู่ IIA • Mg + Al ใช้ทำส่วนประกอบของเครื่องบิน เพราะมีน้ำหนักเบา • Mg ใช้ทำไส้หลอดไฟแฟลตถ่ายรูป • Be + Cu ใช้ทำส่วนประกอบของเรือเดินทะเล • CaSO4ใช้ในอุตสาหกรรมปูนปลาสเตอร์ • Sr(NO3)2ใช้ทำพลุ, ดอกไม้เพลิงสีแดง • Ba(NO3)2ใช้ทำพลุ, ดอกไม้เพลิงสีเขียว • Mg(OH)2 ใช้เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน และใช้เป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

  16. Bismuth(Bi) Antimony(Sb) Arsenic(As) ตัวอย่างออกไซด์: N2O, NO2, N2O4, N2O5,P4O6, P4O10

  17. SO3(s) +H2O(l) H2SO4(aq) Group 6A Elements Oxygen (O) Polonium (Po) Sulphur (S) Selenium (Se) Tellurium(Te) ตัวอย่างออกไซด์: SO2,SO3

  18. ธาตุหมู่ VIIA F (ฟลูออรีน) Cl (คลอรีน) Br (โบรมีน) I (ไอโอดีน) At (แอสทาทีน)

  19. สมบัติสำคัญที่ของธาตุหมู่ VIIA 1. ธาตุในหมู่นี้มีทั้ง 3 สถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง I

  20. สมบัติสำคัญที่ของธาตุหมู่ VIIA (ต่อ) 2. ธาตุแฮโลเจนทุกชนิดเป็นพิษ F2เป็นแก๊สพิษอย่างแรง , Cl2เป็นแก๊สพิษมีกลิ่นฉุนจัด 3. ธาตุทุกตัวเป็นอโลหะ ไม่นำไฟฟ้าทุกสถานะ 4. โมเลกุลของธาตุแฮโลเจนประกอบด้วย 2 อะตอม (diatomic molecule) F2 Cl2 Br2 I2

  21. สมบัติสำคัญที่ของธาตุหมู่ VIIA (ต่อ) 5. มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ เพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของธาตุแฮโลเจนเป็นแรงแวนเดอวาลส์ แรงแวนเดอวาลส์ เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่ไม่มีขั้วกับไม่มีขั้ว แรงนี้มีค่าน้อย แต่จะมากขึ้นเมื่อสารมีมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น 6. IE , EN สูง และมีค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับธาตุในคาบเดียวกัน

  22. สมบัติสำคัญที่ของธาตุหมู่ VIIA (ต่อ) 7. ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ซึ่งไม่มีขั้ว เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) , เฮกเซน (C6H14), เบนซีน(C6H6) 8. มีเลขออกซิเดชันหลายค่า แต่ในสารประกอบส่วนใหญ่ธาตุแฮโลเจนมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ -1 9. ในหมู่เดียวกันความว่องไวในการทำปฏิกิริยาลดลงจากบนลงล่าง

  23. สารประกอบของธาตุหมู่ VIIA 1. สามารถเกิดได้ทั้งสารประกอบไอออนิกและสารประกอบโคเวเลนต์ สารประกอบไอออนิก สารประกอบโคเวเลนต์ KBr MgCl2 CaF2 PCl5 HCl HBr

  24. สารประกอบของธาตุหมู่ VIIA (ต่อ) 2. ธาตุหมู่ VIIA เกิดสารประกอบที่มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า 3. สารประกอบออกไซด์และสารประกอบซัลไฟด์ของธาตุหมู่ VIIA เมื่อละลายน้ำมีสมบัติเป็นกรด เช่น Cl2O Br2O

  25. ประโยชน์ของธาตุหมู่ VIIA 1. ฟลูออรีนใช้เตรียมสารประกอบฟลูออโรคาร์บอน เช่น ฟรีออน ใช้ในเครื่องทำความเย็น , เทฟลอน (CF2=CF2) เคลือบภาชนะหุงต้ม

  26. ประโยชน์ของธาตุหมู่ VIIA 2. คลอรีนใช้ในการเตรียมสารต่างๆ เช่น ใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในสระว่ายน้ำ และในน้ำประปา NaOCl ใช้ในการฟอกสีกระดาษให้ขาว NaClO3ใช้เป็นยากำจัดวัชพืช 3. โบรมีนใช้เตรียมสารประกอบเอทิลีนไดโบรไมด์ เติมในน้ำมันเพื่อหยุดการสะสมตะกั่วในเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังใช้ทำสีย้อมผ้า ฟิล์มถ่ายรูป (AgBr)

  27. ประโยชน์ของธาตุหมู่ VIIA 4. ไอโอดีนป้องกันโรคคอพอก ทิงเจอร์ไอโอดีน (ไอโอดีนละลายในเอทานอล) ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค

  28. ก๊าซเฉื่อยหรือก๊าซมีตระกูล He (ฮีเลียม) Ne (นีออน) Ar (อาร์กอน) Kr (คริปตอน) Xe (ซีนอน) Rn (เรดอน) ก๊าซเฉื่อย (Inert gas) เป็นธาตุที่มีสถานะเป็นก๊าซ ในธรรมชาติจะไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น 1 โมเลกุลมี 1 อะตอม (เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยว)

  29. ประโยชน์ของก๊าซเฉื่อย He ---->Balloon, Deep sea diving, สารหล่อเย็น

  30. ประโยชน์ของก๊าซเฉื่อย ใช้บรรจุในหลอดนีออน He ให้แสงสีชมพู Ne ให้แสงสีแดงส้ม Ar ให้แสงสีม่วง Xe ให้แสงสีน้ำเงิน

  31. ประโยชน์ของก๊าซเฉื่อย - อาร์กอน ใช้บรรจุในหลอดไฟฟ้าแบบมีไส้แทนอากาศ - คริปตอนใช้ในหลอดไฟแฟลช , ใช้ในเลเซอร์บางชนิด และใช้ในหลอดสตรอโบสโคป - เรดอน ใช้รักษาโรคมะเร็ง

  32. ประโยชน์ของก๊าซเฉื่อยประโยชน์ของก๊าซเฉื่อย 1. ก๊าซฮีเลียม (He):เป็นก๊าซที่มีมวลโมเลกุลน้อย ไม่ติดไฟจึงใช้บรรจุบัลลูนแทนก๊าซไฮโดรเจนและใช้ผสมกับก๊าซออกซิเจนในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร เพื่อใช้ในการหายใจสำหรับผู้ที่ลงไปทำงานในทะเลลึก 2. ก๊าซนีออน (Ne): ใช้บรรจุในหลอดไฟโฆษณาให้หลอดไฟสีแดงเข้ม 3. ก๊าซอาร์กอน (Ar): ใช้เป็นก๊าซบรรจุในหลอดไฟฟ้าเพื่อให้ไส้หลอดมีอายุการใช้งานนานมากขึ้น ใช้บรรจุในหลอดไฟโฆษณาเพื่อให้แสงสีม่วงสีน้ำเงิน และใช้ในอุตสาหกรรมการเชื่อมโลหะ 4. ก๊าซคริปทอน (Kr):ใช้ในหลอดไฟแฟลชสำหรับการถ่ายรูปด้วยความเร็วสูง 5. ซีนอน (Xe):เป็นก๊าซที่ช่วยให้สลบ แต่มีราคาแพงมาก 6. เรดอน (Rn):ใช้รักษาโรคมะเร็ง

  33. สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุตามคาบ 1. สารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IA IIA มีสมบัติเป็นกลาง ยกเว้น BeCl2มีสมบัติเป็นกรด ส่วนสารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIA มีสมบัติเป็นกรด 2. สารประกอบคลอไรด์ที่ไม่ละลายน้ำได้แก่ CCl4 3. เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบคลอไรด์กับน้ำได้ดังนี้ PCl5 + 4H2O  H3PO4 + 5HCl SiCl4 + 2H2O  SiO2 + 4HCl

  34. สารประกอบคลอไรด์ที่ควรรู้จักสารประกอบคลอไรด์ที่ควรรู้จัก • CaCl2ใช้ในเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรมห้องเย็น ใช้ทำฝนเทียม • KCl ใช้ทำปุ๋ย • NH4Cl ใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ของเซลล์ถ่านไฟฉาย ใช้เป็นน้ำประสานดีบุก • ปูนคลอรีน แคลเซียมไฮโปคลอไรต์ Ca(OCl)2ใช้เป็นสารฟอกสีหรือฟอกขาวเยื่อกระดาษ ใช้ฆ่าแบคทีเรียในน้ำประปาและในสระว่ายน้ำ • DDT และดีลดริน ใช้เป็นยาฆ่าแมลง กำจัดศัตรูพืช • เกลือแกง ใช้ปรุงแต่งอาหาร ถนอมอาหาร และใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต NaHCO3 (โซดาทำขนม) Na2CO3(โซดาแอช) NaOH (โซดาไฟ) และ HCl นอกจากนี้ยังใช้ละลายน้ำแข็งในหิมะ • CCl4และ CHCl3ใช้เป็นตัวทำละลายในการสกัดสารอินทรีย์

  35. สมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุตามคาบ 1. สารประกอบออกไซด์ของธาตุหมู่ IA IIA ละลายน้ำได้สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นเบส ยกเว้น BeOไม่ละลายน้ำ 2. สารประกอบออกไซด์ของธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIA ละลายน้ำได้สารละลายที่มีฤทธิ์ เป็นกรด ยกเว้น Al2O3และ SiO2ไม่ละลายน้ำ 3. เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบออกไซด์เมื่อละลายน้ำได้ดังนี้ Li2O(s) + H2O(l)  2LiOH(aq) (เบส) CaO(s) + H2O(l)  Ca(OH)2(aq) (เบส) CO2(g) + H2O(l)  H2CO3(aq) (กรด) SO2(g) + H2O(l)  H2SO3 (aq) (กรด)

  36. สมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุตามคาบ 4. ออกไซด์ที่ไม่ละลายน้ำ อธิบายได้ดังนี้ ก. ถ้าทำปฏิกิริยากับกรดได้ แสดงว่าออกไซด์นั้นมีสมบัติเป็นเบส เช่น MgOละลายน้ำได้เล็กน้อยและทำปฏิกิริยากับกรดได้ดังสมการ MgO(s) + H2SO4(aq)  MgSO4 (aq) + H2O(l) ข. ถ้าทำปฏิกิริยากับเบสได้ แสดงว่าออกไซด์นั้นมีสมบัติเป็นกรด เช่น SiO2(s) + 2NaOH(aq)  NaSiO3 (aq) + H2O(l) ค. ถ้าทำปฏิกิริยาได้ทั้งกรดและเบส แสดงว่ามีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เช่น BeO(s) + 2NaOH(aq) + H2O(l)  Be(OH)2-4 (aq) + 2Na+(aq) BeO(s) + 2HCl(aq)  BeCl2 (aq) + H2O(l)

  37. สารประกอบออกไซด์ที่ควรรู้จักสารประกอบออกไซด์ที่ควรรู้จัก • CO2เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงและการเผาผลาญอาหารของสิ่งมีชีวิต การเพิ่มขึ้นของ CO2 ทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศสูงขึ้นทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก • CO2ใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช • ใช้ผลิตปุ๋ยยูเรีย ใช้ผลิตน้ำอัดลม น้ำโซดา ใช้ดับเพลิง • ใช้ในยุ้งเก็บเมล็ดธัญพืชเพื่อป้องกันการงอก ทำน้ำแข็งแห้งเพื่อใช้เก็บอาหาร

  38. สารประกอบออกไซด์ที่ควรรู้จักสารประกอบออกไซด์ที่ควรรู้จัก • CO, SO2, NO และ NO2จัดเป็นก๊าซพิษ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ ทำให้เกิดหมอกควันพิษ เกิดฝนกรด • CO(g) + H2(g) เรียกว่า water gas • CO(g) + N2(g) เรียกว่า producer gas • CO(g) ใช้เป็นตัวรีดิวซ์ในการถลุงโลหะ • SO2(g) ใช้ในการฟอกสีและฆ่าเชื้อรา • แร่ดีบุกคือ แร่แคสซิเทอไรต์ (SnO2) • แร่เหล็กคือ แร่ฮีมาไทต์ (Fe2O3) • SiO2หรือซิลิกา เกิดในธรรมชาติเป็นผลึกรูปต่าง ๆ บางชนิดสวยงาม บางชนิดแข็ง มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง ใช้ทำเครื่องประดับ สารขัดโลหะกระดาษทราย สารช่วยกรองในเครื่องกรองน้ำ ทำแก้ว กระจก และเลนส์

  39. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบของธาตุตามคาบจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบของธาตุตามคาบ * แนวโน้มจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 จะลดลงจากซ้ายไปขวา เพราะคลอไรด์ของโลหะเป็นสารประกอบไอออนิก ส่วนคลอไรด์ของอโลหะสารประกอบโคเวเลนต์ * จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบออกไซด์ของโลหะมีจุดหลอมเหลวและ จุดเดือดสูงเพราะสารประกอบเหล่านี้เป็นสารประกอบไอออนิก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง ไอออนบวกกับไอออนลบเกิดขึ้นต่อเนื่องกันทั่วทั้งสาร ส่วนสารประกอบออกไซด์ของ อโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเหล่านี้คือ แรงแวนเดอร์วาส์ล การทำให้สารระเหยหรือกลายเป็นไอจึงใช้พลังงานต่ำ

  40. ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบตามหมู่ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบตามหมู่ • โลหะหมู่ IA และ IIA ทำปฏิกิริยากับน้ำได้สารละลายเบสและก๊าซไฮโดรเจน โดยโลหะหมู่ IA จะเกิดปฏิกิริยากับน้ำได้ดังสมการ • 2Na(s) + 2H2O(l)  2NaOH(aq) + H2(g) • โลหะหมู่ IIA จะทำปฏิกิริยากับน้ำร้อนได้ดีกว่าน้ำเย็น • Mg(s) + 2H2O(l)  Mg(OH)2(aq) + H2(g) • โลหะหมู่ IIIA ไม่ทำปฏิกิริยากับทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น • Al(s) + H2O(l)  ไม่เกิดปฏิกิริยาหรือเกิดช้ามาก {2Al(OH)3(aq) + 3H2(g)} ร้อน,เย็น ร้อน ** สรุปความว่องไวในการทำปฏิกิริยากับน้ำได้ดังนี้ ธาตุหมู่ IA > หมู่ IIA > หมู่ IIIA

  41. การละลายน้ำของสารประกอบธาตุหมู่ IA และ IIA

  42. ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุแฮโลเจน (halogen) Cl2 + 2KBr  2KCl + Br2 Cl2 + 2KI  2KCl + I2 สำหรับ I2ไม่ทำปฏิกิริยากับ Cl-และ Br- I2 + KCl ไม่เกิดปฏิกิริยา I2 + KBr ไม่เกิดปฏิกิริยา Br2ทำปฏิกิริยากับ I-ได้ ดังสมการ Br2 + 2KI  2KBr + I2

  43. ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุแฮโลเจน (halogen) ความสามารถในการทำปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA จะลดลงตามลำดับจากบนลงล่าง โดยธาตุที่อยู่ตอนบนสามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุในหมู่เดียวกันที่อยู่ตอนล่างได้ แสดงว่า ตัวออกซิไดส์ (เกิดปฏิกิริยารีดักชัน) : Cl2 > Br2 > I2 ตัวรีดิวซ์ (เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน) : Cl- > Br- > I- ธาตุหมู่ VIIA ทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ เกิดสารประกอบได้หลายชนิดเช่น NaCl, HF, NaClO

  44. ตำแหน่งของธาตุ H ในตารางธาตุ ธาตุ H อาจมีลักษณะคล้ายกับธาตุในหมู่ IA และหมู่ VIIA ได้ด้วย ดังข้อเปรียบเทียบดังนี้คือ ดังนั้น จึงจัด H ไว้ต่างหาก คาบเกี่ยวระหว่าง หมู่ IA และหมู่ VIIA

  45. ธาตุแทรนซิชัน

  46. ธาตุแทรนซิชัน (Transition elememts) B1 B2

  47. สมบัติของธาตุแทรนซิชันสมบัติของธาตุแทรนซิชัน 1. เป็นโลหะ มีความแข็ง แวววาว สามารถตีเป็นแผ่นได้ แต่มีความเป็นโลหะน้อยกว่า IA และ IIA 2. แข็ง มีจุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นสูง กว่าธาตุหมู่ IA และ IIA 3. นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี

  48. สมบัติของธาตุแทรนซิชัน (ต่อ) 4. มีสมบัติคล้ายกันทั้งภายในหมู่และภายในคาบเดียวกัน 5. มีเลขออกซิเดชันหลายค่า เช่น Fe มีเลขออกซิเดชัน +2, +3 Cr มีเลขออกซิเดชัน +6, +3, +2 ยกเว้นหมู่ IIB และ IIIB มีเลขออกซิเดชัน +2 และ +3 ตามลำดับ Table

More Related