1 / 9

ที่มา doae.go.th

ที่มา http://www.doae.go.th. โครงงาน เห็ดนางฟ้า. จัดทำโดย. น.ส.กรรณิการ์ ชินพลชาย ม.6/2. ที่มาและความสำคัญ.

cathy
Télécharger la présentation

ที่มา doae.go.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ที่มา http://www.doae.go.th โครงงาน เห็ดนางฟ้า

  2. จัดทำโดย น.ส.กรรณิการ์ ชินพลชาย ม.6/2

  3. ที่มาและความสำคัญ • เห็ดเป็นอาหารประเภทผักที่คนนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารมาช้านานแล้ว มีรสชาติดี คุณค่าอาหารสูง นำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และยังมีคุณสมบัติทางยาสามารถป้องกันและรักษาโรคได้อีกด้วย ผู้ที่รับประทานเห็ดเป็นประจำจะทำให้กรดไขมันในเส้นเลือดไม่สูงหรือต่ำเกินไป ที่สำคัญต่อต้านมะเร็งได้

  4. ลักษณะของเห็ดนางฟ้า ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็นนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 - 14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 - 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้

  5. ขั้นตอนการเพาะ ขั้นตอนที่ 1 ผสมขี้เลื่อย(ไม้ยางพารา)ขี้เลื่อยไม้อื่น ๆ ก็ใช้ได้ แต่จากการผลิตกันทั่วๆไป สรุปว่าขี้เลื่อยไม้ยางพารา ดีที่สุด ขี้เลื่อยจะต้องไม่ใหม่สดๆ ควรกองทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำมาใช้ได้ ผสมรวมกับอาหารเสริมได้แก่รำข้าว ปูนขาว EM ตามอัตราส่วน ขั้นตอนที่ 2   เติมน้ำลงไปประมาณ 70 เปอร์เซนต์ทดสอบโดยการกำขี้เลื่อยที่ผสมแล้ว แน่นๆ แล้วให้ สังเกต ดังนี้ 1.ถ้ามีน้ำไหลซึมตามง่ามนิ้วมือ แสดงว่าน้ำมากเกินไป2.เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลตามง่ามนิ้วมือ ให้แบมือออก ถ้าขี้เลื่อยแตกออกเป็น 3 ก้อนถือว่าพอดี แต่ถ้าแบมือออกแล้ว ขี้เลื่อยไม่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่า น้ำน้อยเกินไป

  6. ขั้นตอนที่ 3  เมื่อผสมเรียบร้อยแล้ว ให้กรอกขี้เลื่อยใส่ถุงสำหรับเพาะเห็ดโดยเฉพาะ ใส่ให้ได้น้ำหนัก 800 - 900 กรัม  รวบปากถุง หลวมๆ กระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอสมควร แล้วใส่คอขวด จากนั้นนำไปนึงปิดฝาให้แน่น ใช้เวลานึ่งอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส 4 ชั่วโมงหลังจากนั้นเปิดประตู ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงจึงนำไปหยอดเชื้อเห็ด ขั้นตอนที่ 4 หลังจากที่เรานึ่งก้อนเชื้อด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 90 องศาเซลเซียส นานไม่น้อยกว่า       3 ชั่วโมงแล้ว      ก็ถึงเวลา หยอดเชื้อลงในก้อนเชื้อแล้ว แต่ใจเย็น ๆ       1.ต้องตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง นานไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง      2.เตรียมเชื้อที่จะหยอดให้พร้อม      3.เตรียมห้องให้พร้อม       4.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น แอลกอฮอล์ ยางวง กระดาษ 4 x 4 นิ้ว

  7. การเตรียมเชื้อเห็ด 1.เป็นเชื้อที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้  2.เชื้อบรรจุอยู่ในขวดกลม หรือแบนก็ไม่มีข้อห้าม  3.ลักษณะเชื้อเป็นเมล็ดข้าวฟ่าง มีเชื้อราสีขาว ๆ เดินอยู่เต็ม 4.เตรียมจำนวนให้เพียงพอ 1 ขวด หยอดได้ประมาณ 25 ก้อน 5.อายุของเชื้อไม่ควรเกิน 2เดือน

  8. ขั้นตอนที่ 5 การเปิดดอกหลังจากหยอดเชื้อเห็ดแล้วนำก้อนเชื้อนั้นไปบ่มไว้ประมาณ 20- 25 วัน เพียงแต่หาที่เก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ถูกแดด ไม่ถูกฝน ลมไม่โกรกไม่มีแมลง ไม่มีหนู อากาศถ่ายเทได้สะดวกสำหรับโรงเรือนเห็ดนางฟ้าจะต้องยึดหลัก เย็น ชื้น สะอาด สะดวก เปิดจุก ดึงคอขวดพลาสติกออก แล้วจัดปากถุงให้อยู่สภาพเดิม ข้อควรระวัง 1. ในขณะที่เชื้อยังเจริญไม่เต็มก้อน ไม่ควรเคลื่อนย้ายก้อน การกระทบกระเทือนจะ มีผลต่อการเจริญของเส้นใย 2. ถ้ามีก้อนใดเกิดราสีดำ ให้รีบแยกออก และทำลายทันที เนื่องจากเชื้อราอื่นจะแพร่กระจายไปก้อนเชื้อในโรงบ่ม

  9. การให้น้ำ น้ำที่ใช้รดเห็ดให้ได้ผลดีนั้น ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสารเคมีและสิ่งสกปรกเจือปนไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบ่อ หรือน้ำคลอง แต่ไม่ควรเป็นน้ำกร่อย เค็ม ไม่เป็นกรด หรือด่างถ้าเป็นน้ำประปา ควรจะกักไว้ในภาชนะปากกว้างทิ้งไว้ให้คลอรีนระเหยก่อนจึงจะนำไปรดได้         การรดน้ำในโรงเรือนควรรดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาความชื้นในโรงเรือนให้ได้นานที่สุด สังเกตดูถ้าอากาศแห้งก็สามารถเพิ่มจำนวนครั้งในการรดได้อีก การรดน้ำนอกจากจะเป็นการรักษาความชื้นแล้ว ยังเป็นการรักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 20 - 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเห็ดนางฟ้า

More Related