1 / 110

พรมแดนของประเทศไทย

พรมแดนของประเทศไทย. พรมแดนเป็นสิ่งที่กำหนดแบ่งพรมแดนของรัฐ ประเทศ ที่แสดงว่าประเทศนั้นมีสิทธิ์และอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่บริเวณนั้น ๆ. พรมแดนของประเทศไทย. เกณฑ์การแบ่งแนวพรมแดน โดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ

Télécharger la présentation

พรมแดนของประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พรมแดนของประเทศไทย พรมแดนเป็นสิ่งที่กำหนดแบ่งพรมแดนของรัฐ ประเทศ ที่แสดงว่าประเทศนั้นมีสิทธิ์และอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่บริเวณนั้น ๆ

  2. พรมแดนของประเทศไทย เกณฑ์การแบ่งแนวพรมแดน โดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ 1. พรมแดนทางธรรมชาติ (Natural Boundary) เป็นพรมแดนที่กำหนดโดยพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎ เช่น เทือกเขา แม่น้ำ ฝั่งทะเล ที่ราบสูง เป็นต้น 2. พรมแดนทางวัฒนธรรม (Cultural Boundary) เป็นพรมแดนที่ได้จากการตกลงโดยอาศัยลักษณะทางวัฒนธรรม เช่น ภาษา ศาสนา เชื้อชาติ เป็นต้น

  3. พรมแดนของประเทศไทย 3. พรมแดนทางเรขาคณิต (Geometrical Boudary) เป็นพรมแดนที่พิจารณาตามข้อตกลงระหว่างประเทศโดยการลากเส้นพรมแดนลงบนแผนที่ อาจใช้เส้นละติจูด ลองจิจูด หรือการปักเสาหลักเขต 4. พรมแดนผสม (Mixed Boundary) เป็นพรมแดนที่อาศัยหลายวิธีร่วมกันกำหนดแนวพรมแดน

  4. พรมแดนของประเทศไทย ประเทศไทยมีพรมแดนทางบกติดกับประเทศใกล้เคียง 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และมีพรมแดนทางทะเลที่ติดกับประเทศใกล้เคียง 7 ประเทศ คือ ด้านทะเลอันดามันติดต่อกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย พม่า และด้านอ่าวไทย ติดต่อกับมาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม

  5. พรมแดนของประเทศไทย ประเทศไทยมีความยาวของพรมแดนทั้งหมด 7,940 กิโลเมตร ประกอบด้วยพรมแดนทางบกยาว 5,326 กิโลเมตร (ประกอบด้วยสันปันน้ำ ยาว 3,253 กิโลเมตร ร่องน้ำลึก 1,941 กิโลเมตร และแนวเส้นตรงในที่ราบ 132 กิโลเมตร) สำหรับแนวพรมแดนทางทะเลยาว 2,614 กิโลเมตร (ประกอบด้วยทะเลด้านอ่าวไทยยาว 1,875 กิโลเมตร ด้านทะเลอันดามันยาว 739 กิโลเมตร)

  6. พรมแดนของประเทศไทย 1. พรมแดนทางบก 2. พรมแดนทางทะเล

  7. 1. พรมแดนทางบก ในการศึกษาพรมแดนทางบกของประเทศไทยจะศึกษาแต่ละพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้ 1.1 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า 1.2 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว 1.3 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา 1.4 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย

  8. 1.1 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า พรมแดนด้านตะวันตกของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแนวพรมแดนทางธรรมชาติที่เด่นชัด แนวพรมแดนยาวประมาณ 2,202 กิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง

  9. 1.1 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า แผนที่แนวพรมแดนด้านไทย-พม่า

  10. 1.1 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า • ลักษณะแนวพรมแดน • สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า

  11. ลักษณะแนวพรมแดน ลักษณะแนวพรมแดนประกอบด้วย 3 ลักษณะคือ • สันปันน้ำ • ร่องน้ำลึก • พรมแดนที่เป็นแนวเส้นตรง

  12. สันปันน้ำ (Divide หรือ Water Parting หรือ Watershed) เป็นพรมแดนที่ใช้แนวเทือกเขา หรือสันเขาซึ่งเป็นแนวแบ่งการไหลของน้ำฝนเป็นหลักในการพิจารณา สันปันน้ำที่ใช้เป็นพรมแดนมีความยาว 1,601 กิโลเมตร

  13. สันปันน้ำ สันปันน้ำที่สำคัญคือ เทือกเขาแดนลาว กั้นระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดเชียงรายเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เทือกเขาถนนธงชัย กั้นระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี เทือกเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบฯ ชุมพร จนถึงตอนเหนือของจังหวัดระนอง

  14. ร่องน้ำลึก เป็นพรมแดนที่ใช้ลำน้ำไหล เช่น แม่น้ำ คลอง โดยเฉพาะบริเวณร่องน้ำลึกคือแนวที่ลึกที่สุดของร่องน้ำ โดยปกติจะสังเกตได้จากบริเวณตรงกลางของลำน้ำซึ่งสายน้ำมีอัตราการไหลเร็วที่สุด แนวร่องน้ำลึกที่เป็นพรมแดนยาวประมาณ 538 กิโลเมตร

  15. ร่องน้ำลึก ประกอบด้วยแม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำรวก กันระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัด เชียงราย แม่น้ำแม่สาย ” เชียงราย แม่น้ำสาละวิน ” แม่ฮ่องสอน แม่น้ำเมย ” ตาก แม่น้ำกระบุรี ” ระนอง

  16. ร่องน้ำลึก บริเวณอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

  17. ร่องน้ำลึก บริเวณบ้านอรุโณทัย อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

  18. ร่องน้ำลึก บริเวณบ้านด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

  19. ร่องน้ำลึก ศาลเจ้าพ่อหินกอง บริเวณด่านสิงขร อ.เมืองฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไม้ปักเขตแดนไทย-พม่า บริเวณด่านสิงขร อ.เมืองฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์

  20. ร่องน้ำลึก ปากแม่น้ำกระบุรี อำเภอเมืองฯ จังหวัดระนอง แม่น้ำกระบุรี อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

  21. พรมแดนที่เป็นแนวเส้นตรง พรมแดนที่เป็นแนวเส้นตรง เชื่อมจุดต่างๆ กระจายอยู่บริเวณที่ราบ มีระยะทางประมาณ 63 กิโลเมตร

  22. 1.1 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า การกำหนดแนวพรมแดนระหว่างพม่ากับไทย กำหนดขึ้นจากการตกลงทำสัญญา กำหนดเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับมณฑลของอังกฤษ (พม่า) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา โดยมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบัน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2411 พร้อมทั้งทำแผนที่แสดงแนวพรมแดนประเทศทั้งสองซึ่งใช้เป็นหลักในการกำหนดแนวพรมแดนสืบมา ต่อมาได้มีการตกลงกันในเรื่องเกี่ยวกับแนวพรมแดนอีกหลายครั้ง

  23. 1.1 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า และเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2437 ได้มีการแสดงจุดที่ปักหลักเขตแดน แนวพรมแดนระหว่างพม่ากับไทยได้ตกลงกันมากว่า 100 ปี ซึ่งบางครั้งอาจทำให้แนวพรมแดนบางบริเวณเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติอันเป็นปัญหาที่ต้องนำมาพิจารณากันอยู่เสมอ

  24. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า 1. ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่าเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ ชาวพม่า กระเหรี่ยง มอญ ว้า คนกลุ่มนี้เข้ามาลักลอบทำงานในจังหวัดชายแดนและใกล้เคียง บางกลุ่มเพื่อการเรียกร้องประชาธิปไตย

  25. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า สาเหตุที่มีผู้หลบหนีเข้าเมืองจำนวนมาก เพราะการทำงานจะได้รับรายได้สูงกว่าการทำงานในพม่า การเข้า-ออกบริเวณชายแดนทำได้ง่าย ปัญหาของผู้หลบหนีเข้าเมืองคือ การแย่งอาชีพของคนไทยในพื้นที่ ก่อคดีอาชญากรรม พม่าระแวงว่าประเทศไทยให้การสนับสนุนชนกลุ่มน้อย เกิดชุมชนเถื่อนบริเวณชายแดน

  26. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า 2. การลักลอบทำการค้า สินค้าที่มีการลักลอบนำไปขายในพม่าคือ น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องเวชภัณฑ์ อาวุธ เสื้อผ้า ส่วนสินค้าที่ลักลอบนำมาขายในประเทศไทย ได้แก่ อัญมณี แร่ธาตุ ปศุสัตว์ ยาเสพติด เป็นต้น

  27. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า 3. การค้าบริเวณชายแดน ศูนย์กลางสำคัญคือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เกาะสองตรงข้ามกับอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ปัญหาการค้าบริเวณชายแดนคือ พม่าปิดพรมแดนเป็นครั้งคราวโดยไม่มีการแจ้งกำหนดเวลาเปิดที่แน่นอน

  28. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า 4. การทำประมง มีปัญหาเขตพื้นที่ทำประมง เรือและอุปกรณ์ทำประมง และปัญหาการคุ้มครองเรือประมงไทย

  29. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับพม่า 5. ปัญหาสาธารณสุขพื้นที่บริเวณชายแดน - ไข้มาเลเรีย บริเวณชายแดนด้านกาญจนบุรี ตาก - โรคเท้าช้าง บริเวณชายแดนทางภาคใต้ - โรคระบาดจากสัตว์ ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย ในโคและกระบือ

  30. 1.2 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว พรมแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยกับลาว มีความยาวทั้งหมดประมาณ 1,750 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี หรืออาจกล่าวได้ว่าจุดเริ่มของพรมแดนคือ บริเวณสบรวก จังหวัดเชียงราย ไปจนถึงช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี

  31. 1.2 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว แผนที่แสดงแนวพรมแดน ด้านไทย-ลาว

  32. 1.2 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว • ลักษณะแนวพรมแดน • สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับลาว

  33. ลักษณะแนวพรมแดน ลักษณะแนวพรมแดนประกอบด้วย 2 ลักษณะคือ • สันปันน้ำ • ร่องน้ำลึก

  34. สันปันน้ำ พรมแดนที่เป็นเทือกเขา มีความยาวทั้งหมดประมาณ 650 กิโลเมตร คือ • เทือกเขาหลวงพระบาง • เทือกเขาภูแดนเมือง

  35. เทือกเขาหลวงพระบาง กั้นระหว่างลาวกับไทยที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ความยาวของเทือกเขาประมาณ 460 กิโลเมตร เริ่มจากดอยแปงเมือง อ.เชียงของ อ.เทิง จ.เชียงราย อ.เชียงคำ จ.พะเยา, อ.ทุ่งช้าง เชียงกลาง อ.ปัว อ.แม่จริม อ.สา อ.นาน้อย จ.น่าน, อ.ฟากท่า อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก

  36. เทือกเขาภูแดนเมือง กั้นระหว่างลาวกับไทยที่จังหวัดอุบลราชธานี ความยาวของภูเขาประมาณ 190 กิโลเมตร เริ่มจากปากน้ำห้วยดอน แนวพรมแดนเป็นร่องน้ำห้วยดอนเลยขึ้นมาด้านต้นน้ำ และเป็นแนวสันปันน้ำภูแดนเมืองผ่านเขต อ.พิบูลมังสาหาร อ.สิรินธร อ.บุณฑริก อ.นาจะหลวย อ.ย้ำยืน จ.อุบลราชธานี ไปสิ้นสุดที่บริเวณช่องบก หรือสามเหลี่ยมมรกต ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างลาว ไทย กัมพูชา

  37. ร่องน้ำลึก แนวร่องน้ำลึกมีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร คือ • แม่น้ำโขงตอนบน • แม่น้ำเหือง และแม่น้ำเหืองงา • แม่น้ำโขงตอนล่าง

  38. แม่น้ำโขงตอนบน ความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร เริ่มต้นจากบริเวณบ้าน สบรวกหรือสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงรายแนวพรมแดนทอดลงมาทางด้านใต้ตามแนวร่องน้ำลึกผ่านปากแม่น้ำกก แม่น้ำอิงจนถึง อ.เชียงของ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย โดยไปถึงเชิงดอยแปรเมืองในเทือกเขาหลวงพระบาง

  39. แม่น้ำเหือง และแม่น้ำเหืองงา แม่น้ำเหืองงา เริ่มจากยอดเขาเต็งวา (ตอนใต้ของ เทือกเขาหลวงพระบาง) แนวของแม่น้ำไหลลงมาทางใต้ จนบรรจบกับแม่น้ำเหือง แม่น้ำเหือง ต้นกำเนิดจากภูเขาในอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างจังหวัดพิษณุโลก เลย แนวแม่น้ำเหืองไหลไปทางตะวันออกผ่าน อ.นาแห้ว แล้วไปลงแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงคาน จ.เลย

  40. แม่น้ำโขงตอนล่าง ความยาวประมาณ 865 กิโลเมตร เริ่มจากแม่น้ำเหืองบรรจบกับแม่น้ำโขง ไหลไปทางตะวันออกในเขตพื้นที่ของจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ไหลผ่านปากแม่น้ำมูลแล้วไหลเป็นพรมแดนไปจนถึงปากน้ำห้วยดอน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำมูลประมาณ 8 กิโลเมตร จากนั้น แม่น้ำโขงจะไหลเข้าไปในประเทศลาว

  41. 1.2 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว บริเวณแม่น้ำเทือง อำเภอนาแห้ง จังหวัดเลย บริเวณบ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

  42. 1.2 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว บริเวณ แม่น้ำโขง (แก่งคุดคู้) อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย แม่น้ำโขง บริเวณจังหวัดมุกดาหาร

  43. 1.2 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว บริเวณสบมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แม่น้ำมูลไหลลงแม่น้ำโขง หรือเรียกว่า แม่น้ำสองสี

  44. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับลาว สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับลาว 1. การเดินเรือในแม่น้ำโขง การกำหนดแนวพรมแดนระหว่างไทยกับลาว ส่วนใหญ่เป็นไปตามสนธิสัญญาเกี่ยวกับอินโดจีนของฝรั่งเศส โดยประเทศฝรั่งเศสทำกับรัฐบาลสยามซึ่งมีหลายฉบับที่เกี่ยวกับการกำหนดพรมแดน อนุสัญญาที่ก่อให้เกิดปัญหามากคือ อนุสัญญาปี พ.ศ. 2469 ที่ระบุว่า “ตอนใดของแม่น้ำที่มีเกาะ ดอน ตั้งอยู่ ทำให้เกิดร่องน้ำสองแห่ง ในกรณีเช่นนี้ให้ใช้ร่องน้ำที่อยู่ระหว่างเกาะหรือดอนนั้นกับริมฝั่งแผ่นดินของสยามเป็นแนวเส้นเขตแดน”

  45. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับลาว สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับลาว ผลของอนุสัญญาทำให้เกาะ ดอนเกือบทั้งหมดให้ลำน้ำโขงเป็นของลาว ยกเว้นเกาะเพียง 8 เกาะ (ดอนเขียว ดอนน้อย ดอนยาด ดอนบ้านแพง ดอนทรายเพเวิ่นกุ่ม ดอนแกวกอง ดอนดินเหนือ ดอนสำโรง) ซึ่งดอนทั้งหมดมีสภาพเป็นแผ่นดินงอกออกไปจากฝั่งไทยลงไปในแม่น้ำโขงทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ในฤดูแล้งการเดินเรือทุกชนิดของไทยจะต้องเข้าไปในดินแดนของลาวทุกบริเวณที่ผ่านเกาะและดอนในลำน้ำโขง ทำให้เป็นมูลเหตุพิพาทระหว่างไทยกับลาวเสมอมา

  46. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับลาว สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับลาว 2. ยาเสพติด ส่วนใหญ่เป็นการลักลอบนำกัญชาอักแท่งเข้ามาจำหน่ายในไทย ปัจจุบันลาวเป็นทางผ่านนำยาเสพติดประเภทอื่นเข้ามาในประเทศไทย 3. การลักลอบค้าอาวุธสงครามจากลาว คนไทยได้มีการติดต่อซื้ออาวุธสงครามจากลาว แล้วนำไปขายให้คนกลุ่มน้อยในเขตชายแดนพม่า 4. การโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จากฝั่งไปไทยไปขายทางประเทศลาว

  47. สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับลาว สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับลาว 5. ผู้หลบหนีเข้าเมือง ประชาชนลาวหลบหนีเข้าเมืองเพื่อประกอบอาชีพในประเทศไทย รวมทั้งชาวม้งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

  48. 1.3 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา พรมแดนด้านนี้มีความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่บริเวณสามเหลี่ยมมรกต (ช่องบก) ซึ่งอยู่ตอนใต้ของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด

  49. 1.3 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา แผนที่แสดงแนวพรมแดน ด้านไทย-กัมพูชา

  50. 1.3 พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา • ลักษณะแนวพรมแดน • สถานการณ์บริเวณแนวพรมแดนไทยกับกัมพูชา

More Related