1 / 35

วัสดุในการก่อสร้าง : ส่วนที่ 2/1

วัสดุในการก่อสร้าง : ส่วนที่ 2/1. เรียบเรียงโดย รศ.ดร.สิทธิชัย แสงอาทิตย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี. วัสดุในการก่อสร้าง : ส่วนที่ 2/1 (บทนำวัสดุในการก่อสร้าง). - บทนำ. - ชนิดของโครงสร้าง. - การวิบัติของโครงสร้าง.

Télécharger la présentation

วัสดุในการก่อสร้าง : ส่วนที่ 2/1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วัสดุในการก่อสร้าง: ส่วนที่ 2/1 เรียบเรียงโดย รศ.ดร.สิทธิชัย แสงอาทิตย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี

  2. วัสดุในการก่อสร้าง: ส่วนที่ 2/1 (บทนำวัสดุในการก่อสร้าง) - บทนำ - ชนิดของโครงสร้าง - การวิบัติของโครงสร้าง - สมบัติของวัสดุ (material properties) -มาตรฐานกำหนดสมบัติของวัสดุ - การทดสอบวัสดุ (material testing)

  3. บทนำวัสดุในการก่อสร้างบทนำวัสดุในการก่อสร้าง บทนำ วิศวกร/ช่าง/ผู้ออกแบบโครงสร้างของอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น คอนกรีต เหล็ก และไม้ เพื่อให้เลือกใช้วัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้งานวัสดุได้อย่างเหมาะสม และในการควบคุมงาน เราต้องทราบวิธีการตรวจสอบวัสดุที่นำมาใช้ว่ามีคุณสมบัติต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้เมื่อตอนออกแบบหรือไม่ หากขาดความรู้อาจก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อโครงสร้างเช่น พังทลายหรือใช้งานไม่เต็มที่ ต้องซ่อมแซมหรืออาจก่อให้เกิดความไม่ประหยัดเนื่องจากใช้วัสดุที่มีสมบัติดีเกินจำเป็น

  4. วัสดุที่มักใช้ในการก่อสร้างที่จะศึกษาในที่นี้ได้แก่วัสดุที่มักใช้ในการก่อสร้างที่จะศึกษาในที่นี้ได้แก่ 1. เหล็กโครงสร้าง (Structural steel) 2. คอนกรีต (Concrete) 3. ไม้ (Timber) 4. อิฐ (Brick) 5. ผลิตภัณฑ์คอนกรีต - คอนกรีตบล๊อค (concrete block) - พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป (precast concrete slab) - เสาเข็มคอนกรีต (concrete pile) - ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก

  5. วัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างจะต้องมีวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างจะต้องมี - กำลัง (strength) - ความแกร่ง (stiffness) - ความคงทน (durability) การเลือกใช้วัสดุ: ตัวอย่างการพิจารณา 1. วัสดุที่มีสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาใช้และหาได้ง่ายในท้องตลาดมีอะไรบ้าง? เหล็กและคอนกรีต 2. สมบัติทางกลของวัสดุแต่ละชนิด เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วเป็นอย่างไร? เหล็ก-เหนียว/คอนกรีต- เปราะ เหล็กมีกำลังและความแกร่งสูงกว่าคอนกรีต แต่เหล็กมีความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมต่ำกว่าคอนกรีต

  6. 3. วัสดุที่พิจารณาอยู่ต้องมีการดูแลรักษามากน้อยแค่ไหนและอย่างไร? เหล็กต้องการการดูแล/รักษา เช่น ทาสีกันสนิมและพ่นกันไฟ มากกว่าคอนกรีต 4. วัสดุที่พิจารณาอยู่มีราคาเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ? เหล็ก - 20 บาท/kg ส่วนคอนกรีต - 1500 บาท/m3 5. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุและการก่อสร้างเป็นอย่างไร? มีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องนำมาพิจารณาร่วม? ง่าย/ยาก ระดับฝีมือของช่าง เครื่องจักร 6. วิธีการกำหนดมาตรฐานของวัสดุที่จะนำมาใช้งานต้องทำอย่างไร? ตาม มอก./กฏกระทรวง 7. วิธีการทดสอบและตรวจสอบวัสดุเป็นอย่างไร?

  7. ชนิดของโครงสร้าง “โครงสร้าง (structure)”ได้จากการก่อสร้างหรือประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงสร้างเข้าด้วยกัน เพื่อรองรับแรงกระทำต่างๆ (loads) ตามวัตถุประสงค์ของโครงสร้างอย่างปลอดภัย โครงข้อหมุน/โครงถัก (Truss) Bridge truss Roof truss • ประกอบด้วยชิ้นส่วนรับแรงดึงและแรงอัด ซึ่งถูกจัดเรียงในลักษณะของสามเหลี่ยมต่อเนื่องกัน เหมาะสมในกรณีที่โครงสร้างมี span 9-40 m

  8. โครงเฟรม (frame) เฟรมเป็นโครงสร้างที่ได้มาจากการนำคานและเสามาเชื่อมต่อกันด้วยจุดเชื่อมต่อแบบหมุด (pinned joint) หรือแบบยึดแน่น (rigid joint) Reinforced Concrete frame ตัวอย่างโครงข้อแข็ง (rigid frame) Steel frame

  9. เคเบิล เคเบิล (cable) เป็นโครงสร้างที่ดัดไปมาได้ง่ายและรองรับแรงกระทำโดยการพัฒนาแรงดึงในตัวเคเบิล (ไม่เกิดแรงเฉือนและโมเมนต์ภายใน) ตัวอย่างสะพานแขวน (suspension bridge) ในจังหวัดเลยถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2544 เคเบิลได้เปรียบเหนือคานและโครงข้อหมุนเมื่อ span ของโครงสร้างมีความยาวมากกว่า 45 m

  10. Arch (โค้งตั้ง) Arch เป็นโครงสร้างที่ต้านทานแรงกระทำโดยการพัฒนาแรงกดอัดขึ้นภายในตัว arch เป็นหลัก ที่มา: การรถไฟแห่งประเทศไทย

  11. การวิบัติของโครงสร้างการวิบัติของโครงสร้าง การวิบัติของหลังคาของศาลาประชาคมที่เมือง Hartford, CT เนื่องจากน้ำหนักของหิมะในปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521)

  12. การวิบัติของโครงสร้างการวิบัติของโครงสร้าง การวิบัติของสะพานลอยเหนือถนน US Route 29 ที่เมือง Concord, NC เมื่อ 20 พ.ค. 2000 (2543) เนื่องจากการผุกร่อนของลวดอัดแรงหลังจากที่เปิดใช้งานได้เพียง 5 ปี

  13. สมบัติของวัสดุ วัสดุก่อสร้าง: เหล็ก VS คอนกรีต โดยทั่วไป สมบัติของวัสดุที่ต้องพิจารณาแบ่งได้เป็น 8 ข้อดังนี้ 1. สมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ขนาด น้ำหนัก ความหนาแน่น และปริมาณความชื้น ฯลฯ 2. สมบัติทางกล ได้แก่ กำลัง ความแกร่ง และความยืดหยุ่น ฯลฯ 3. สมบัติทางเคมี ได้แก่ ความต้านทานต่อการเกิดสนิม ความเป็นกรดหรือด่าง ฯลฯ 4. สมบัติทางเคมีกายภาพ ได้แก่ การดูดซึมน้ำ การยืดตัวหรือการหดตัวเนื่องจากความชื้น ฯลฯ

  14. สมบัติของวัสดุ วัสดุก่อสร้าง: เหล็ก VS คอนกรีต 5. สมบัติทางความร้อน ได้แก่ การนำความร้อน การหดตัวหรือขยายตัวเนื่องจากความร้อน ฯลฯ 6. สมบัติทางไฟฟ้าและแม่เหล็ก ได้แก่ การนำไฟฟ้า การแทรกผ่านของสนามแม่เหล็ก ฯลฯ 7. สมบัติทางคลื่นเสียง ได้แก่ การส่งผ่านและการสะท้อนของเสียง ฯลฯ 8. สมบัติทางแสง ได้แก่ สี การส่งผ่านและการสะท้อนของแสง ฯลฯ

  15. สมบัติทางกลของวัสดุ - พฤติกรรมทางกลของวัสดุ ภายใต้การกระทำของแรง ซึ่งมีสมบัติที่สำคัญ เช่น • กำลัง เป็นความสามารถของวัสดุในการต้านทานต่อแรงกระทำ โดยไม่เกิดการวิบัติ เหล็ก = การคราก (yielding)/ คอนกรีต = การบดแตก (crushing) • ความแกร่งเป็นความสามารถของวัสดุในการต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ภายใต้แรงกระทำ ดูค่าโมดูลัสยืดหยุ่น (modulus of elasticity) • ความยืดหยุ่น เป็นความสามารถของวัสดุในการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ภายใต้แรงกระทำ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างถาวรเกิดขึ้น

  16. มาตรฐานกำหนดสมบัติของวัสดุมาตรฐานกำหนดสมบัติของวัสดุ จุดประสงค์ของการมีมาตรฐานกำหนดคือ เป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคและป้องกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น ป้องกันไม่ให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งอาจจะมีราคาถูกแต่มักจะไม่คุ้มค่า และให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความสอดคล้องกัน เช่น ความยาวของหลอดนีออน มาตรฐานที่ใช้ในประเทศไทยถูกกำหนดขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เรียกว่า มอก. และมีหมายเลขกำกับและปี พ.ศ. ที่ออกใช้ เช่น มอก. 59-2526 คอนกรีตบล็อค มาตรฐานอุตสาหกรรมมีพื้นฐานมาจากมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาหรือ ASTM (American Society for Testing and Materials) และของอังกฤษหรือ BS (British Standards)

  17. มาตรฐานกำหนดสมบัติของวัสดุประกอบด้วยมาตรฐานกำหนดสมบัติของวัสดุประกอบด้วย 1. ข้อกำหนดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ (specifications) ซึ่งกำหนดให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต้องมีคุณสมบัติตามที่ได้ระบุไว้ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณตาม มอก.116-2529 2. วิธีการทดสอบ (testing method) ซึ่งบอกวิธีการทดสอบผลิตภัณฑ์ว่า มีคุณสมบัติตามมาตรฐานหรือไม่

  18. ทดสอบแรงกดอัดของคอนกรีตตามมาตรฐาน ASTM C 31 ทดสอบแรงดึงของเหล็กเส้นตามมาตรฐาน มอก. 20-2527

  19. มาตรฐานอุตสาหกรรมของไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. ประเภทที่ผู้ผลิตต้องผลิตให้ได้มาตรฐาน ถ้าผลิตไม่ได้มาตรฐานจะผิดกฏหมาย เช่น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต และกระจกนิรภัยรถยนต์ ซึ่งจะต้องติดเครื่องหมาย มอก. 20-2527 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม มอก. 24-2536 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย 2. ประเภทที่ผู้ผลิตต้องผลิตให้ได้มาตรฐานหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าผลิตได้มาตรฐานจะติดเครื่องหมาย มอก. 80-2550 ปูนซีเมนต์ผสม

  20. การทดสอบวัสดุ ในการออกแบบโครงสร้างทฤษฎีและผลการทดสอบวัสดุมีความสำคัญเท่ากัน โดยทฤษฎีจะนำมาใช้ในการหาสมการที่ใช้ทำนายพฤติกรรมของโครงสร้าง แต่สมการจะไม่สามารถนำมาใช้ได้ หากเราไม่ทราบสมบัติทางกลของวัสดุซึ่งได้จากการทดสอบวัสดุเท่านั้น

  21. การทดสอบวัสดุ แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบได้เป็น 3 รูปแบบคือ 1. การทดสอบเพื่อการควบคุม เป็นการทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าวัสดุที่ผลิตมีสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่? โดยแบ่งย่อยออกเป็น 1.1 การทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพการผลิต (quality controltesting) เป็นการทดสอบเพื่อตรวจสอบว่า วัสดุที่ผลิตมีสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่? ซึ่งกระทำโดยผู้ผลิตเพื่อให้วัสดุมีสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานและไม่ดีจนเกินไป 1.2 การทดสอบเพื่อการยอมรับ (acceptance testing) เป็นการทดสอบเพื่อตรวจสอบว่า วัสดุที่ผลิตมีสมบัติไม่ด้อยกว่าที่ต้องการ ซึ่งกระทำโดยผู้ซื้อ

  22. ตัวอย่างผลการทดสอบเพื่อควบคุมการผลิตเหล็กกำลังสูงตัวอย่างผลการทดสอบเพื่อควบคุมการผลิตเหล็กกำลังสูง ค่า mean ค่า standard variation

  23. ตัวอย่างผลการทดสอบเพื่อการยอมรับคอนกรีตตัวอย่างผลการทดสอบเพื่อการยอมรับคอนกรีต แผนภาพ stress ( σ )และ strain ( ε ) ของคอนกรีต

  24. ตัวอย่างผลการทดสอบเพื่อการยอมรับเหล็กโครงสร้างตัวอย่างผลการทดสอบเพื่อการยอมรับเหล็กโครงสร้าง แผนภาพ stress ( σ )และ strain ( ε ) ของเหล็ก

  25. 2. การทดสอบเพื่อการวิจัยและพัฒนาวัสดุ เป็นการทดสอบเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือข้อมูลใหม่จากวัสดุที่มีอยู่แล้ว หรือเพื่อค้นคว้าผลิตวัสดุชนิดใหม่ขึ้นมาใช้งาน 3. การทดสอบเพื่อวัดค่าทางวิทยาศาสตร์ของวัสดุ เป็นการทดสอบเพื่อหาสมบัติพื้นฐานของวัสดุ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมของวัสดุ การทดสอบทั้งสามรูปแบบมีความแตกต่างกันในวิธีการทดสอบเครื่องมือที่ใช้ความละเอียดแม่นยำของการวัด คุณสมบัติและความสามารถของผู้ทดสอบ และค่าใช้จ่าย ดังนั้น การเลือกรูปแบบการทดสอบวัสดุจึงต้องทำให้เหมาะสมกับงาน

  26. วิธีการให้แรงกระทำต่อตัวอย่างทดสอบ วิธีการให้แรงกระทำต่อตัวอย่างทดสอบ เงื่อนไขการทดสอบ ประเภทของการทดสอบทางกล

  27. 1. ประเภทของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในตัวอย่างทดสอบ - การทดสอบแรงดึง -การทดสอบแรงอัด - การทดสอบแรงเฉือน - การทดสอบแรงบิด - การทดสอบแรงดัด วิธีการให้แรงกระทำต่อตัวอย่างทดสอบ

  28. การทดสอบแรงดึงของเหล็กการทดสอบแรงดึงของเหล็ก • - หน่วยแรงคราก (yielding stress) • - หน่วยแรงประลัย (ultimate stress) • เปอร์เซ็นต์การยืดตัว • (percent of elongation) • - โมดูลัสความยืดหยุ่น • (modulus of elasticity) การทดสอบแรงอัดของคอนกรีต • - หน่วยแรงกดอัดประลัย • (ultimate compressive stress) • โมดูลัสความยืดหยุ่น • (modulus of elasticity)

  29. 2. อัตราการให้แรงกระทำต่อตัวอย่างทดสอบ - การทดสอบแบบสถิตย์ (static test) - การทดสอบแบบพลวัติ (dynamic tests) เช่น การทดสอบแรงกระแทก - การทดสอบแบบ long-term เช่น การทดสอบการคืบ (creep test)

  30. 3. จำนวนครั้งที่แรงกระทำต่อตัวอย่างทดสอบ - การให้แรงกระทำต่อตัวอย่างทดสอบเพียงรอบเดียว - การให้แรงกระทำต่อตัวอย่างทดสอบเกินกว่า 1 รอบ เช่น การทดสอบการล้า (fatigue test)

  31. เงื่อนไขการทดสอบ สมบัติทางกลของวัสดุโดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม - อุณหภูมิ - การทดสอบที่อุณหภูมิห้อง - การทดสอบที่อุณหภูมิต่ำ - การทดสอบที่อุณหภูมิสูง - ความชื้น - สารเคมี เช่น โครงสร้างห้องเย็น เช่น โครงสร้างโรงผลิตเหล็ก เช่น บ่อบำบัดน้ำเสีย โรงงานปิโตรเคมี น้ำทะเล ฯลฯ

  32. การเลือกและจัดเตรียมตัวอย่างทดสอบการเลือกและจัดเตรียมตัวอย่างทดสอบ ตัวอย่างทดสอบจะต้องถูกจัดเตรียมขึ้นมาตามมาตรฐานการทดสอบที่ใช้อ้างอิง เช่น • ซีเมนต์ (cement) ตามมาตรฐาน ASTM C183 • อิฐดินเผา (brick) ตามมาตรฐาน ASTM C67 • อิฐบล๊อก (concrete block) ตามมาตรฐาน ASTM C143 • ไม้ (timber) ตามมาตรฐาน ASTM D143 เป็นต้น โดยจะต้องให้มี - ความคลาดเคลื่อนของขนาดและรูปร่างที่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ - จำนวนของตัวอย่างทดสอบให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อการทดสอบในแต่ละครั้ง (มักต้องเตรียมเผื่อไว้)

  33. เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ • ในการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ข้อคือ • จุดประสงค์ของการทดสอบ • ความถูกต้องแม่นยำและความน่าเชื่อถือที่ต้องการ • ค่าใช้จ่าย

  34. ตัวอย่างเครื่องมือวัดในการทดสอบวัสดุตัวอย่างเครื่องมือวัดในการทดสอบวัสดุ

  35. จบการบรรยาย ส่วนที่ 2/1

More Related