220 likes | 1.11k Vues
อุปมา – อุปมัย โดย ผอ.ทองเหรียญ บุญปก “เพื่อนครูติวเตอร์”. โจทย์อุปมา – อุปมัย
E N D
อุปมา – อุปมัย โดย ผอ.ทองเหรียญ บุญปก “เพื่อนครูติวเตอร์”
โจทย์อุปมา – อุปมัย โจทย์อุปมา – อุปมัย (analogy) มีวัตถุประสงค์ในการวัดความสามารถในการวิเคราะห์และพิจารณาหาความสัมพันธ์ระหว่างคู่คำต่าง ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในลักษณะใด และนำความสัมพันธ์ค้นพบไปใช้ในการพิจารณาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด โจทย์ดังกล่าวเป็นองค์ประกอบที่มักจะปรากฏอยู่เสมอในโจทย์ข้อสอบภาคความสามารถทั่วไปโดยมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 5 – 10 ข้อ ในการวิเคราะห์โจทย์ดังกล่าวมีขั้นตอนที่สำคัญในการพิจารณาดังนี้
1. ขั้นตอนการแก้โจทย์อุปมา - อุปมัย พิจารณาประเภทของคำที่ใช้ในคู่ความสัมพันธ์แรก 1. 2. 3. 4. 5. พิจารณาทิศทางของความสัมพันธ์ที่ใช้ พิจารณาหาความสัมพันธ์โดยสร้างข้อความเชื่อม เพิ่มรายละเอียดความสัมพันธ์ นำความสัมพันธ์ที่ค้นพบไปพิจารณาคำตอบ ไม่ได้ หรือได้คำตอบ มากกว่า 1 คำตอบ เลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
การพิจารณาประเภทของคำการพิจารณาประเภทของคำ โดยพิจารณาประเภทของคำในคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์ว่าเป็นคำประเภทใด (เช่น คำนาม กริยา หรือวิเศษณ์) ทั้งนี้มีหลักที่สำคัญในการพิจารณาดังนี้ 1.1 หากคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำประเภทเดียวกัน คู่ความสัมพันธ์ในคำตอบจะต้องเป็นคำประเภทเดียวกันด้วย แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องเป็นคำประเภทเดียวกับคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์ ตัวอย่างเช่นตัวอย่าง 1 คนป่วย : ยา - - - ความหิว : ? ก. กิน ข. ปาก ค. ความจน ง. อาหาร จากตัวอย่างดังกล่าว คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำนาม คำนาม เมื่อคู่ความสัมพันธ์ในคำตอบคำแรก (ความหิว) เป็นคำนาม ดังนั้นในคำหลังจะต้องเป็นคำนามด้วย และเมื่อพิจารณาประกอบกับการพิจารณาลักษณะความสัมพันธ์ จะเลือกคำตอบที่เหมาะสม คือ ง. อาหาร (คนป่วยบำบัดได้ด้วยยา ความหิวบำบัดด้วยอาหาร)
ตัวอย่างที่ 2 น้ำ : แดด - - - ? : ? ก. ใส : จัด ข. ไหล : ร้อน ค. เย็น : ส่อง ง. ไหล : ส่อง จากตัวอย่างดังกล่าว คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำตอบประเภทเดียวกัน คือ คำนามคู่ความสัมพันธ์ในคำตอบต้องเป็นคำประเภทเดียวกันด้วย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นประเภทเดียวกับคู่แรก เช่น อาจเป็นกริยา : กริยา หรือวิเศษณ์ : วิเศษณ์ ก็ได้ ในกรณีตัวอย่างคำตอบเป็นกิริยา : กริยา คือง. ไหล : ส่อง
1.2 หากคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำคนละประเภทกัน คู่ความสัมพันธ์ในคำตอบจะต้องมีลักษณะของประเภทเลียนตามแบบในโจทย์ทันที ตัวอย่างเช่นตัวอย่างที่ 3 เมา : สุรา - - - ? : ? ก อิจฉา : ความงาม ข. กระหาย : น้ำ ค. ปีติ : ความสำเร็จ ง. เศร้า : ตาย จากตัวอย่างดังกล่าว คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำคนละประเภทกัน คือ คำกริยา : นาม ดังนั้นคู่คำตอบจะต้องเป็น กริยา : นาม ทันที จะเป็นคำประเภทอื่นไม่ได้ คำตอบที่เหมาะสมคือ ค.ปีติ : ความสำเร็จ ส่วนสาเหตุที่ไม่เลือก ง. เนื่องจาก “ตาย” ไม่ใช่คำนาม
ตัวอย่างที่ 4 ปืน : ยิง - - - ? : ? ก. ลูกกระสุน : ธนู ข. ฆ่า : ตาย ค. ลูกบอล : โยน ง. แทง : มีด จากตัวอย่างดังกล่าว คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็น นาม : กริยา ดังนั้นคำตอบต้องมีลักษณะของประเภทคำเลียนตามแบบในโจทย์ด้วย คือเป็น นาม : กริยา เช่นกัน ดังนั้น คำตอบที่เหมาะสมที่สุด คือ ค. ลูกบอล : โยน
สรุป หลักในการพิจารณาประเภท
2. การพิจารณาทิศทางของความสัมพันธ์ที่ใช้ คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์บางข้อ อาจแสดงให้เห็นถึงทิศทางของความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ใหญ่ – เล็ก , ส่วนย่อย – ส่วนรวม, มาก – น้อย ฯลฯ ทิศทางดังกล่าว มีความสำคัญในการพิจารณาด้วยประการหนึ่ง โดยมีหลักพิจารณาว่า คู่ความสัมพันธ์ในคำตอบจะต้องมีทิศทางเกี่ยวกับคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์ ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างที่ 5 ปืนใหญ่ : ปืนเล็กยาว................................? : ? ก. มืด : ดาบ ข. ภูเขา : จอมปลวก ค. หอก : ลูกดอก ง. ประตู : หน้าต่าง
ตัวอย่างที่ 6 แพทย์ : โรงพยาบาล.................................? : ?ก. ศาล : ทนายความ ข. รักษาโรค : คนป่วย ค. ทนายความ : ศาล ง. พยาบาล : กระทรวงสาธารณสุข จากตัวอย่างที่ 5 แสดงถึงความสัมพันธ์ในทิศทาง ใหญ่ : เล็ก โดยทั้งคู่เป็นอาวุธที่มีขนาดต่างกันเราไม่สามารถตอบ ก. มีด : ดาบ ได้ เนื่องจากกลับทิศทาง ส่วนข้อ ข. ไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ ไม่ใช่ของประเภทเดียวกัน คำตอบที่ถูกต้อง คือ ค. หอก : ลูกดอก เนื่องจากเป็นอาวุธและมีทิศทางเช่นเดียวกับโจทย์จากตัวอย่างที่ 6 แพทย์ : โรงพยาบาล แสดงความสัมพันธ์ในทิศทางแบบส่วนย่อย : ส่วนทั้งหมด (แพทย์เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของโรงพยาบาล) ดังนั้น คำตอบที่ที่เหมาะสมที่สุดโดนไม่กลับทิศทางคือ ค. ทนายความ : ศาล
3. การพิจารณาความสัมพันธ์ คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์จะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่งซึ่งผู้ตอบข้อสอบจะต้องพยายามค้นให้พบ และนำความสัมพันธ์ดังกล่าวไปพิจารณาคำตอบ วิธีการหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ผู้ตอบข้อสอบถามสามารถพิจารณาความสัมพันธ์ได้รวดเร็วขึ้น คือ การสร้างข้อความหรือวลี เพื่อช่วยเชื่อมคู่ความสัมพันธ์แล้วนำวลีดังกล่าวไปใช้เชื่อมคำในคู่คำตอบหากยังได้หลายคำตอบก็อาจเพิ่มรายละเอียดของความสัมพันธ์จนกระทั่งได้คำตอบที่เหมาะสมแต่เพียงคำตอบเดียว ลักษณะของความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่เสมอ ในโจทย์อุปมา – อุปมัย แสดงให้เห็นได้ตามตารางดังนี้
รูปแบบความสัมพันธ์ที่ได้สรุป เป็นเพียงตัวอย่างในบางลักษณะที่ปรากฏบ่อยเท่านั้นในความเป็นจริงข้อสอบอาจจะมีลักษณะความสัมพันธ์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย โดยไม่จำกัดแต่เพียงตัวอย่างข้างต้น ซึ่งในการพิจารณาผู้สอบอาจใช้บางประการหรือทั้งสามประการข้างต้นประกอบในการพิจารณาคำตอบ โดยเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว(ในชุดคำตอบอาจมีหลายคำที่เหมาะสม แต่เราจะเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น) ทั้งนี้โดยการพิจารณาความสัมพันธ์ และเพิ่มรายละเอียดความสัมพันธ์ให้มากขึ้นในกรณีที่ยังได้คำตอบมากกว่า 1 คำตอบ จนเหลือคำตอบที่เหมาะสมแต่เพียงคำตอบเดียว
ตัวอย่างที่ 7 เกาะ : หมู่เกาะ - - - ?: ? ก. สันกำแพง : เชียงใหม่ ข. นักร้อง : วงดนตรี ค. ดวงดาว : แกแลกซี่ ง. ทีมฟุตบอล : ผู้เล่น