1 / 21

อุปกรณ์ไฟฟ้า

อุปกรณ์ไฟฟ้า. จัดทำโดย นางสาวจิราภรณ์ กอนต๊ะกัน เลขที่ 11 นางสาวเบญจวรรณ ดำแดงดี เลขที่ 17 นางสาวสุพัดชา ชูไว เลขที่ 24 ปวส .1 สาขางานพัฒนาโปรแกรม. สายไฟ.

chiko
Télécharger la présentation

อุปกรณ์ไฟฟ้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อุปกรณ์ไฟฟ้า จัดทำโดย นางสาวจิราภรณ์ กอนต๊ะกัน เลขที่11 นางสาวเบญจวรรณ ดำแดงดี เลขที่17 นางสาวสุพัดชา ชูไว เลขที่24 ปวส.1 สาขางานพัฒนาโปรแกรม

  2. สายไฟ สายไฟจะเป็นตัวส่งไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ผ่านโลหะที่อยู่ภายใน โดยอยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้า  ดังนั้นข้อสำคัญ คือสายไฟจะต้องห่อหุ้มด้วยฉนวนที่ดีจะได้ไม่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว ฉนวนอาจจะทำจาก ยาง หรือ พลาสติกพีวีซี ก็ได้  เราต้องหมั่นดูแลและคอยสังเกตสายไฟ ( ถ้าสายไฟไม่ได้ถูกซ่อนอยู่เหนือฝ้าหรืออยู่ภายในผนัง ) ไม่ให้เกิดความชำรุดเสียหายเพราะอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ในบ้าน  เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า จนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน

  3. สะพานไฟหรือ คัทเอาท์ อุปกรณ์ชนิดนี้เหมือนกับเป็นสวิตช์ใหญ่ประจำบ้าน เพราะเป็นตัวควบคุมการเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน เราสามารถใช้สะพานไฟควบคุมวงจรไฟฟ้าในแต่ละส่วนของบ้านได้ ปัจจุบันสะพานไฟจะเป็นตัวตัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจรไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดการใช้งานเกินกำลัง เพราภายในจะมีฟิวส์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า

  4. ฟิวส์ • เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญมากเพราะว่าจะช่วยป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าในบ้าน เพราะถ้าเราใช้ไฟเกินอุปกรณ์เล็ก ๆ ชิ้นนี้ก็จะหลอมละลาย ช่วยให้ไฟฟ้าในบ้านของเราไม่ลัดวงจร ฟิวส์มีหลายแบบตั้งแต่แบบเส้นลวด แบบขวดกระเบื้อง  แบบแผ่น แบบหลอดแก้ว แต่ในปัจจุบันมีฟิวส์แบบอัตโนมัติ

  5. สวิตช์ใช้เป็นตัวควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เปิดและปิด ได้ตามที่เราต้องการ โดยสวิตช์จะควบคุมกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านเข้าไปในอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เราจะใช้นั่นเอง สำหรับอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดเช่นดวงโคม สวิตช์ของมันบางทีอาจจะติดอยู่กับตัวมันหรืออาจจะติดอยู่บนผนัง  ส่วนพัดลมบางชนิดก็มีสวิตช์ติดอยู่ที่ตัวมันเองเลย หรือถ้าเป็นพัดลมแบบแขวนผนังตัวสวิตช์ก็จะอยู่ตามผนัง พูดง่าย ๆ ก็คือสวิตช์จะอยู่ในจุดที่เราสามารถเข้าไปเปิดใช้งานและปิดเมื่อไม่ใช้งานได้อย่างสะดวกนั่นเอง

  6. เต้ารับและเต้าเสียบ • อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิด จะมีเต้าเสียบอยู่กับตัวเพื่อเวลาที่เราจะใช้งานจะต้องนำไปเสียบเข้ากับเต้ารับ ที่อยู่ตามผนังภายในบ้านของเรา  อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิด มีทั้งเต้าเสียบและสวิตช์ไฟเพื่อควบคุมการใช้งาน เช่น พัดลม โคมไฟ โทรทัศน์  ทำให้เราสามารถเปิดปิดการใช้งานได้ง่าย แต่ที่สำคัญคือควรจะดึงเต้าเสียบออกเมื่อเลิกใช้งานแล้ว เพื่อไม่ให้กระแสไฟไหลเข้ามาและยัง เป็นการช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าอีกด้วย

  7. ข้อสำคัญอีกข้อก็คือ เราไม่ควรจะเสียบเต้าเสียบหลาย ๆ อันเข้ากับเต้ารับอันเดียวกัน เพราะจะทำให้เกิดความร้อนสูง ทำให้เกิดไฟฟ้าช็อต จากการใช้ไฟเกินได้ ดังนั้นในบ้านของเราจะต้องมีเต้ารับหลาย ๆ จุด ตามตำแหน่งที่เราจะต้องมีเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ใช้งาน  และควรติดให้อยู่สูงจากพื้นเพื่อกันน้ำท่วม และ ให้พ้นจากมือเด็กด้วย  ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของทุคนในบ้านท่านนั่นเอง

  8. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรรู้จักอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรรู้จัก • 1.เมนสวิตช์ (Main Switch) หรือสวิตช์ประธาน เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับ ตัดต่อวงจรของสายเมน เข้าอาคาร กับสายภายใน ทั้งหมด เป็นอุปกรณ์สับปลด วงจรไฟฟ้าตัวแรก ถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์) ของการนำไฟฟ้า เข้ามาในบ้าน เมนสวิชต์ประกอบด้วย เครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสเกิน (Overcurrent Protective Device) หน้าที่ของเมนสวิตช์ คือ คอยควบคุมการใช้ไฟฟ้า ให้เกิดความปลอดภัย ในกรณีที่ เกิดกระแสไฟฟ้าเกิน

  9.    2.เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรกเกอร์) หรือ สวิชต์อัตโนมัติ หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถใช้สับ หรือปลดวงจรไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ โดยกระแสลัดวงจรนั้น ต้องไม่เกินขนาดพิกัด ในการตัดกระแสลัดวงจรของเครื่อง (IC) 

  10. 3. ฟิวส์ เป็นอุปกรณ์ป้องกัน กระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่ง โดยจะตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด และเมื่อฟิวส์ทำงานแล้ว จะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของฟิวส์ต้องไม่ต่ำกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่ผ่านฟิวส์  4. เครื่องตัดไฟรั่ว หมายถึง สวิชต์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินในปริมาณที่มากกว่าค่าที่กำหนดไว้ เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมกับระบบสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มีไฟรั่วเกิดขึ้น

  11.        5. สายดิน คือสายไฟเส้นที่มีไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้ไฟฟ้า ปลายด้านหนึ่งของสายดิน จะต้องมีการต่อลงดิน ส่วนปลายอีกด้านหนึ่ง จะต่อเข้ากับวัตถุหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องการให้มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เท่ากับพื้นดิน       6. เต้ารับ หรือปลั๊กตัวเมีย คือ ขั้วรับสำหรับหัวเสียบ จากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคาร เป็นต้น       7. เต้าเสียบ หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับ ทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้

  12.        8. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีความหนาของฉนวนไฟฟ้าเพียงพอ สำหรับการใช้งานปกติเท่านั้น โดยมักมีเปลือกนอก ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทำด้วยโลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องมีการต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะนั้น เพื่อให้สามารถต่อลงดินมายังตู้เมนสวิชต์ โดยผ่านทางขั้วสายดินของเต้าเสียบ-เต้ารับ

  13. การตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าที่ชำรุดการตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าที่ชำรุด • การตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากเมื่อเราใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไปนาน ๆ ย่อมเกิดการชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการเสียหายที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดความรู้ขาดการดูแลเอาใจใส่แม้กระทั่งเกิดขึ้นเองตามสภาพการใช้งาน แต่เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้วเราควรที่จะรีบทำการแก้ไขก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้หรือต่อทรัพย์สิน เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การเกิดอัคคีภัย ฯลฯดังนั้นเพื่อให้นักเรียนรู้วิธีการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการ

  14. แก้ปัญหาเท่าที่เราสามารถกระทำได้แล้วยังนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันและยังสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ ซึ่งจะมีแนวทางดังต่อไปนี้ 1. การสำรวจสภาพความเสียหายของวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ        2. วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นของวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้า        3 .ดำเนินการแก้ไขตามสภาพของความเสียหาย

  15. ขั้นตอนในการตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้ามีวิธีตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าดังต่อไปนี้        1.1 ถ้าสายไฟขาดหรือมีรอยฉีกขาดควรทำการแก้ไขโดยตัดและต่อสายใหม่ ถ้าสายเก่าก็ให้เปลี่ยนสายใหม่และทำการต่ออย่างแน่นหนา

  16.         1.2 กรณีหลอดไฟไม่ติดหรือดับ อาจเกิดจากหลอดขาด ให้ทำการเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าไม่ขาดให้ลองตรวจสอบสวิทช์ไฟว่าเสีย สายขาด หรือเกิดการลัดวงจรหรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่สามารถแก้ไขได้ ควรทำการเปลี่ยน หรือทำการเช็ควงจรและไล่สายใหม่        1.3 กรณีปลั๊กหรือเต้ารับ ไม่มีไฟ สายอาจจะขาด อันเกิดจากการลัดวงจร ถ้าตรวจพบให้ต่อวงจรใหม่ให้เรียบร้อยแต่ถ้าไม่ขาดควรไปดูที่คัทเอ้าท์ และฟิวส์ที่แผงควบคุม อาจเกิดจากฟิวส์ขาดหรือถ้าใช้เซอร์กิต เบรคเกอร์ ให้ลองสับสวิทช์ดูใหม่

  17. ไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิต คือ ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีเมื่อเอาวัตถุบางอย่างมาถูกันจะทำให้เกิดพลังงานขึ้น ซึ่งพลังงานนี้สามารถดูดเศษกระดาษหรือฟางข้าวเบาๆได้ เช่น เอาแท่งยางแข็งถูกับผ้าสักหลาด หรือครั่งถูกับผ้าขนสัตว์ พลังงานที่เกิดขึ้นเหล่านี้เรียกว่า ประจุไฟฟ้าสถิต เมื่อเกิดประจุไฟฟ้าแล้ว วัตถุที่เกิดประจุไฟฟ้านั้นจะเก็บประจุไว้ แต่ในที่สุดประจุไฟฟ้าจะถ่ายเทไปจนหมด วัตถุที่เก็บประจุไฟฟ้าไว้นั้นจะคายประจุอย่างรวดเร็วเมื่อต่อลงดิน ในวันที่มีอากาศแห้งจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าได้มาก ซึ่งทำให้สามารถดูดวัตถุจากระยะทางไกลๆได้ดี ประจุไฟฟ้าที่เกิดมีอยู่ 2 ชนิด  คือ  ประจุบวกและประจุลบ คุณสมบัติของประจุไฟฟ้า คือ ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกันประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะดูดกัน

  18. สิ่งที่สำคัญต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำหนดสิ่งที่สำคัญต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำหนด เครื่องมือวัดไฟฟ้ามีหลายประเภท ที่มีใช้และเห็นกันบ่อย ๆ เช่น แอมป์มิเตอร์โวลท์มิเตอร์และ มัลติมิเตอร์ ฯลฯแต่เครื่องมือวัดที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่ มัลติมิเตอร์ เนื่องจากใช้ง่าย ราคาถูก และ สามารถใช้ได้เอนกประสงค์สามารถใช้วัดได้ทั้ง กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า นับเป็นเครื่องมือวัดขั้นพื้นฐานที่ช่างไฟฟ้าจะต้องมีไว้ใช้งาน และจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งาน

  19.       1.ส่วนประกอบของมัลติมิเตอร์มัลติมิเตอร์มีส่วนประกอบภายนอกสำหรับใช้งานที่คล้ายคลึงกัน      1.ส่วนประกอบของมัลติมิเตอร์มัลติมิเตอร์มีส่วนประกอบภายนอกสำหรับใช้งานที่คล้ายคลึงกัน หมายเลข 1 คือ หน้าปัดสเกล

  20. หมายเลข 2 คือ เข็มชี้หมายเลข 3 คือ สกรูปรับเข็มให้ตรง 0 หมายเลข 4 คือ ปุ่มปรับค่า 0 หมายเลข 5 คือ ย่านและประเภทของค่าที่หมายเลข 6 คือ สวิทช์เลือกย่านและประเภทหมายเลข 7 คือ รูสำหรับเสียบสายต่อขั้วลบหมายเลข 8 คือ รูสำหรับเสียบสายต่อขั้วบวก

  21. จากรูปจะเห็นว่า       - เมื่อวัดความต้านทานต้องอ่านค่าจากสเกล       - เมื่อวัดแรงดันหรือกระแสไฟตรงต้องอ่านค่าจากสเกล DCV.A        - เมื่อวัดแรงดันไฟสลับต้องอ่านค่าจากสเกล ACV หรือ AC 3V Only       - เมื่อวัดกระแสไฟสลับต้องอ่านค่าจากสเกล ACA       - เมื่อวัดขนาดของสัญญาณต้องอ่านค่าจากสเกล dB

More Related