1 / 10

สรุปสาระสำคัญ

ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 26 กันยายน 2554. สรุปสาระสำคัญ. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ciro
Télécharger la présentation

สรุปสาระสำคัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานประกาศในราชกิจจานุเบกษา 26 กันยายน 2554

  2. สรุปสาระสำคัญ • ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป • ให้ยกเลิก ความในข้อ (2) ของข้อ 5 หมวด 1 แห่งประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องมาจากการทำงาน ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

  3. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • สำหรับการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางให้จ่ายตามอัตรา ดังนี้ • (ก) กรณีไตวายเฉียบพลัน เวลารักษาไม่เกิน 60 วัน - การฟอกโลหิต จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินครั้งละ 3,000 บาท - การล้างไตทางช่องท้อง จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ 500 บาท • (ข) การรักษาโรคมะเร็ง ให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น ดังนี้

  4. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • 1. กรณีโรคมะเร็ง 7 ชนิดให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามอัตราที่กำหนดและอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาลดังนี้ - มะเร็งเต้านม จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามอัตราที่กำหนดแต่ไม่เกิน 117,900 บาทต่อรายปี - โรคมะเร็งปากมดลูก จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามอัตราที่กำหนดแต่ไม่เกิน 75,000 บาทต่อรายปี -โรคมะเร็งรังไข่ จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามอัตราที่กำหนดแต่ไม่เกิน 272,100 บาทต่อรายปี - โรคมะเร็งโพรงจมูก จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามอัตราที่กำหนดแต่ไม่เกิน 35,100 บาทต่อรายปี

  5. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ - โรคมะเร็งปอด จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามอัตราที่กำหนดแต่ไม่เกิน 246,000 บาทต่อรายปี - โรคมะเร็งหลอดอาหาร จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามอัตราที่กำหนดแต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อรายปี - โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามอัตราที่กำหนดแต่ไม่เกิน 96,400 บาทต่อรายปี • 2. กรณีรักษาโรคมะเร็ง 7 ชนิดตามที่ระบุไว้ ด้วยยา เคมี รังสีรักษานอกเหนือจากแนวทางที่กำหนดไว้แนบท้ายประกาศนี้ ให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายปี • (ค) การผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคภายในร่างกาย ให้เหมาจ่ายตามอัตราที่กำหนดไว้แนบท้ายประกาศนี้

  6. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • (ง) การผ่าตัดสมอง ให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จำเป็นดังนี้ - ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองหรือสมอง ยกเว้นการเจาะรูกะโหลกศีรษะ ไม่เกิน 15,000 บาทต่อราย - ผ่าตัดถึงในเนื้อสมองและผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวนานเกิน 15 วัน ไม่เกิน 30,000 บาทต่อราย - การผ่าตัดเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง และต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ ไม่เกิน 30,000 บาทต่อราย - รักษาโรคหลอดเลือดสมองด้วยวิธี Balloon Embolization ไม่เกิน 30,000 บาทต่อราย สำหรับการรักษาภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด

  7. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ - รักษาโรคสมองด้วยวิธี Stereotactic Radiosurgery ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย สำหรับการรักษาภายใต้เงื่อนไขตามที่กำหนด • (จ) ค่ายาในการรักษาผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรค Cryptococcal Meningitis จ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อราย • (ฉ) ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย • (ช) การผ่าตัดหัวใจในโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย

  8. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • (ซ) การรักษาโรคลิ้นหัวใจโดยใช้สายบอลลูนผ่านทางผิวหนัง จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาทต่อราย • (ฌ) การรักษาโดยขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้บอลลูนอย่างเดียว จ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินครั้งละ 30,000 บาท ให้มีสิทธิได้รับไม่เกิน 2 ครั้ง โดยการใช้หัวกรอ จ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินครั้งละ 40,000 บาท ให้มีสิทธิได้รับไม่เกิน 2 ครั้ง (ญ) การปิดรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน (ASD) ทางสายสวนหัวใจ โดยใช้ Amplatzer Septal Occluder จ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าอุปกรณ์ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน ครั้งละ 100,000 บาทต่อราย

  9. การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบการนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ • (ฎ) การใส่อุปกรณ์เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD) ให้จ่ายค่าอุปกรณ์เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD)ตามจริงไม่เกินรายละ 200,000 บาท และสายไม่เกินรายละ 100,000 บาท สำหรับการผ่าตัดภายใต้เงื่อนไขตามที่กำหนด • แนบท้าย แนวทางการรักษาโรคมะเร็งและอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล

  10. จบการนำเสนอ

More Related