470 likes | 567 Vues
มาตรการปรับขนาดกำลังคนของกรุงเทพมหานคร. เป้าประสงค์หลัก. กำลังคนของกรุงเทพมหานครมีขนาดและคุณภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีการใช้กำลังคนอย่างคุ้มค่า ประหยัด เต็มศักยภาพ ได้ประโยชน์สูงสุด. กรอบอัตรากำลังข้าราชการและลูกจ้าง กรุงเทพมหานครปัจจุบัน.
E N D
มาตรการปรับขนาดกำลังคนของกรุงเทพมหานครมาตรการปรับขนาดกำลังคนของกรุงเทพมหานคร
เป้าประสงค์หลัก กำลังคนของกรุงเทพมหานครมีขนาดและคุณภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีการใช้กำลังคนอย่างคุ้มค่า ประหยัด เต็มศักยภาพ ได้ประโยชน์สูงสุด
กรอบอัตรากำลังข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานครปัจจุบันกรอบอัตรากำลังข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานครปัจจุบัน กรอบอัตรากำลังของกรุงเทพมหานคร (ข้าราชการและลูกจ้าง) 99,834 ตำแหน่ง ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร 40,092 ตำแหน่ง 59,742 ตำแหน่ง ประจำ 40,747 คน สามัญ 23,959 คน ชั่วคราว 16,235 คน ครู 16,133 คน โครงการ 2,760 คน ข้อมูล ณ มกราคม 2553
กรอบอัตรากำลังข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร ปี 2547 - 2551 84,825 83,642 80,613 81,145 76,997 จำนวนคน
กรอบอัตรากำลังข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร ปี 2547 - 2551 จำนวนคน
กรอบอัตรากำลังจำแนกตามกลุ่มภารกิจกรอบอัตรากำลังจำแนกตามกลุ่มภารกิจ
กรอบอัตรากำลังจำแนกตามกลุ่มภารกิจกรอบอัตรากำลังจำแนกตามกลุ่มภารกิจ ปกครองและประสานงาน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภคพื้นฐาน และป้องกันภัย (18,839) (40,630) (11,363)
กรอบอัตรากำลังจำแนกตามกลุ่มภารกิจกรอบอัตรากำลังจำแนกตามกลุ่มภารกิจ สังคมและ ทรัพยากรมนุษย์ นโยบายและ ติดตามประเมิน การบริหารและการคลัง (18,839) (4,997) (11,363)
แบ่งการดำเนินการเป็น ๒ มาตรการ
มาตรการหลักระยะสั้น ๑.ตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ๑.๑ โดยหลักการ ไม่เพิ่มกรอบอัตรากำลังในภาพรวมทุกหน่วยงาน ยกเว้นกรณีอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากมีการจัดตั้งหน่วยงานหรือส่วนราชการขึ้นใหม่ หรือเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งไว้อยู่ก่อนแล้ว ที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มอัตรากำลัง โดยส่วนราชการหรือหน่วยงานที่จะเพิ่มกรอบอัตรากำลังได้ต้องมีลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ดังนี้
มาตรการหลักระยะสั้น ๑.ตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ (ต่อ) ๑.๑.๑ เป็นหน่วยงานหรือส่วนราชการที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนโดยตรง ๑.๑.๒ เป็นหน่วยงานหรือส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือได้รับการถ่ายโอนภารกิจมาจากราชการส่วนกลางหรือตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่ดำเนินการจะทำให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
มาตรการหลักระยะสั้น ๑.ตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ (ต่อ) (๑) ในเบื้องต้นให้เกลี่ยอัตรากำลังจากตำแหน่งภายในส่วนราชการหรือหน่วยงานก่อน (๒) หากยังมีอัตรากำลังไม่เพียงพอ ให้หน่วยงานปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือใช้การจ้างงานที่หลากหลาย เช่น การจ้างลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างที่ปฏิบัติตามโครงการจ้างอาสา หรือจ้างเหมาเอกชนแล้วแต่กรณี
มาตรการหลักระยะสั้น ๑.ตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ (ต่อ) (๓) หากดำเนินการแล้วยังมีอัตรากำลังไม่เพียงพออีก ให้เสนอเหตุผล ความจำเป็นให้คณะกรรมการจัดสรรกำลังคนของกรุงเทพมหานครพิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากหน่วยงานอื่นมาให้ (๔) หากคณะกรรมการฯ ไม่สามารถจัดสรรอัตราให้ได้หรือจัดสรรให้แล้ว ยังมีอัตรากำลังไม่เพียงพอจึงจะสามารถนำเสนอขอเพิ่มกรอบอัตรากำลังได้ โดยการเพิ่มกรอบอัตรากำลังจะมีเงื่อนไขดังนี้
มาตรการหลักระยะสั้น ๑.ตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ (ต่อ) - หน่วยงานจะได้รับกรอบอัตรากำลังไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของกรอบอัตรากำลังที่สำนักงาน ก.ก. วิเคราะห์ได้ สำหรับกรอบอัตรากำลังที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละ ๕๐ ให้หน่วยงานแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการอื่น เช่น การสร้างเครือข่ายในการทำงาน Project Management ไปก่อนจนกว่าจะมีการประกาศยกเลิกมาตรการ
มาตรการหลักระยะสั้น ๑.ตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ (ต่อ) - สำนักงาน ก.ก. จะดำเนินการวิเคราะห์อัตรากำลังให้หน่วยงานอีกครั้ง เมื่อยกเลิกมาตรการ หากวิเคราะห์แล้วปรากฏว่าหน่วยงานยังมีความจำเป็นต้องใช้อัตรากำลัง จึงจะกำหนดอัตรากำลังเพิ่มใหม่ให้ - กรณีที่เป็นตำแหน่งในสายงานสนับสนุน เมื่อวิเคราะห์แล้วจะไม่กำหนดกรอบอัตรากำลังเป็นตำแหน่งข้าราชการ โดยสำนักงาน ก.ก. จะกำหนดจำนวนผู้ปฏิบัติให้และให้ใช้วิธีจ้างเหมาเอกชนดำเนินการ
มาตรการหลักระยะสั้น ๑. ตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ๑.๒ ให้นำอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการ เสนอให้คณะกรรมการจัดสรรกำลังคนของกรุงเทพมหานคร พิจารณาจัดสรรให้หน่วยงานในภาพรวมตามความจำเป็นเร่งด่วน
มาตรการหลักระยะสั้น ๑. ตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ๑.๓ ให้นำตำแหน่งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลที่ว่างจากการเกษียณอายุราชการและในระหว่างปีมารวมไว้ที่ส่วนกลาง (สำนักงาน ก.ก.) เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดสรรกำลังคนของกรุงเทพมหานครพิจารณาจัดสรรให้หน่วยงานที่มีความจำเป็นในการใช้อัตรากำลังหรือหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่
มาตรการหลักระยะสั้น ๒.ตำแหน่งลูกจ้างประจำ ๒.๑ ไม่ให้เพิ่มอัตรากำลังลูกจ้างประจำที่มีชื่อหรือลักษณะงานซ้ำซ้อนกับข้าราชการ ๒.๒ กำหนดให้หน่วยงานสามารถเพิ่มกรอบอัตราลูกจ้างประจำได้ดังนี้
มาตรการหลักระยะสั้น ๒.ตำแหน่งลูกจ้างประจำ ๒.๓ ให้ยุบเลิกกรอบอัตราลูกจ้างประจำที่ว่างจากการเกษียณอายุและว่างระหว่างปี (ตาย ลาออก ออกด้วยเหตุวินัย) กรณีที่หน่วยงานมีความจำเป็นต้องใช้ตำแหน่งที่ว่าง ให้นำตำแหน่งลูกจ้างประจำอื่นมาเปลี่ยนเพื่อทดแทนได้ หากหน่วยงานไม่มีตำแหน่งว่างตำแหน่งอื่นมาเปลี่ยนเพื่อทดแทนให้หน่วยงานแจ้งเหตุผลความจำเป็น และนำเสนอไปยังกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อจะได้มีการพิจารณาความจำเป็นของหน่วยงานนำเสนอคณะกรรมการจัดสรรกำลังคนของกรุงเทพมหานครต่อไป
มาตรการหลักระยะสั้น ๒.ตำแหน่งลูกจ้างประจำ ๒.๔ เปลี่ยนตำแหน่งและเกลี่ยอัตรากำลังลูกจ้างประจำที่มีเงื่อนไขตามข้อบังคับกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดอัตราจ้างขั้นต่ำสุดและสูงสุดของลูกจ้าง ไปรองรับการจ้างและแต่งตั้งลูกจ้างชั่วคราวเป็นลูกจ้างประจำแทน การขอพิจารณากำหนดอัตราลูกจ้างประจำเพิ่มในแต่ละปีงบประมาณ รวมทั้งการนำอัตรากำลังลูกจ้างที่เกษียณอายุราชการประจำปี มาดำเนินการร่วมด้วยอีกทางหนึ่ง
มาตรการหลักระยะสั้น ๓.ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ๓.๑ การคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวเป็นลูกจ้างประจำ ผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องอยู่ในตำแหน่งที่คัดเลือกติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า ๓ ปี (นับถึงวันสิ้นปีงบประมาณ) สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือกอื่น ๆ ให้เป็นไปตามคณะกรรมการพิจารณาผลการคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวเป็นลูกจ้างประจำกำหนด
มาตรการหลักระยะสั้น ๓.ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ๓.๒ ชะลอการกำหนดอัตรากำลังลูกจ้างชั่วคราวเพิ่มทุกกรณี ยกเว้นกรณีที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครเห็นว่ามีเหตุพิเศษหรือมีความจำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือจนกว่าสถานการณ์ด้านงบประมาณจะผ่อนคลายภายใต้บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรการหลักระยะสั้น ๓.ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ๓.๓ นำรูปแบบการจ้างเหมาเอกชน มาดำเนินการแทนการจ้างลูกจ้าง โดยพิจารณาจากความจำเป็นเหมาะสมตามสภาพงาน เช่น การจ้างเหมาทำความสะอาดภายในอาคาร การทำความสะอาดทางสาธารณะทั้งทางบกและทางน้ำ การรักษาความปลอดภัย เป็นต้น ทั้งนี้คาดหมายว่าภายในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ จะดำเนินการจ้างเอกชนหรือมีเครือข่ายมาดำเนินการแทนการจ้างลูกจ้างประจำ ประมาณร้อยละ ๔๐
มาตรการหลักระยะยาว • ให้สำนักงาน ก.ก. และหน่วยงานร่วมกันตรวจสอบตำแหน่งที่ปฏิบัติภารกิจรองและภารกิจสนับสนุนของหน่วยงาน และจัดทำบัญชีแสดงตำแหน่งที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุน กรณีที่หน่วยงานใดมีตำแหน่งที่ปฏิบัติภารภิจสนับสนุนเกินกว่าร้อยละ ๒๐ ของจำนวนตำแหน่งทั้งหมด ให้หน่วยงานและสำนักงาน ก.ก. ร่วมกันพิจารณาและลดจำนวนตำแหน่งไม่ให้เกินกว่าที่กำหนด
มาตรการหลักระยะยาว ๒. ให้หน่วยงานปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำงาน เช่น นำเทคโนโลยีมาทดแทนการใช้กำลังคนหรือใช้วิธีการจ้างงานที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้มีผู้ปฏิบัติงานทดแทนในภารกิจสนับสนุน
มาตรการหลักระยะยาว ๓. ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และส่วนราชการที่ปฏิบัติงานการเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน สำรวจตำแหน่งที่ไม่สามารถแต่งตั้งข้าราชการไปดำรงตำแหน่งได้ และเป็นตำแหน่งที่ว่างเกินกว่า ๑ ปี เพื่อแจ้งให้สำนักงาน ก.ก. ตรวจสอบและหากพบว่าเกิดจากการกำหนดตำแหน่งไม่เหมาะสม ให้ดำเนินการปรับปรุงตำแหน่งใหม่ และหากพบปัญหาอื่น เช่น ยังไม่เปิดสอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการ
มาตรการหลักระยะยาว ๔. ให้กรุงเทพมหานครกำหนดระยะเวลาการแต่งตั้ง (ย้าย) ข้าราชการในแต่ละตำแหน่งให้มีกำหนดเวลาที่ชัดเจนและดำเนินการปีละ ๒ ครั้ง (วันที่ ๑ เม.ย. และวันที่ ๑ ต.ค. ของทุกปี) ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนมิอาจเลี่ยงได้
มาตรการสนับสนุน เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการหลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติราชการ จึงได้กำหนดมาตรการ สนับสนุนขึ้น เพื่อให้ สำนักงาน ก.ก. กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานได้นำไปปฏิบัติ โดยกำหนดเป็น ๓ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
มาตรการสนับสนุน (ต่อ) ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การทบทวนภารกิจ การตรวจสอบการใช้ตำแหน่งและการจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ ๑.๑ การทบทวนภารกิจของหน่วยงาน / ส่วนราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ๑.๒ การตรวจสอบการใช้ตำแหน่งและการจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ
มาตรการสนับสนุน (ต่อ) ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การนำหลักสมรรถนะไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล ๒.๑ การกำหนดแนวทางการนำหลักสมรรถนะมาใช้กับกระบวนการสรรหาบุคคลของกรุงเทพมหานคร ๒.๒ การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการคัดเลือกบุคคลเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีศักยภาพ สำหรับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ๒.๓ การกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนาบุคลากร โดยพิจารณาจากสมรรถนะที่ควรส่งเสริมหรือพัฒนาให้เกิดศักยภาพมากยิ่งขึ้น
มาตรการสนับสนุน (ต่อ) ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการด้วยมาตรการจูงใจ ๓.๑ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการ ๓.๒ การวางแผนกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้กำลังคน
สรุปปัญหาของหน่วยงานที่เกิดจากสรุปปัญหาของหน่วยงานที่เกิดจาก มาตรการปรับขนาดกำลังคนของกรุงเทพมหานคร