1 / 15

สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย

สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย. ขนาดใหญ่กว่าไทย 6 เท่าหรือ 2 ใน 3 ของยุโรป การปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย 22 รัฐ และ 7 เขตภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลาง. สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย. ลักษณะโดยทั่วไป

clea
Télécharger la présentation

สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดียสหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย • ขนาดใหญ่กว่าไทย 6 เท่าหรือ 2 ใน 3 ของยุโรป • การปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย • 22 รัฐ และ 7 เขตภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลาง

  2. สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดียสหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย • ลักษณะโดยทั่วไป • มีความหลากหลายในระบบเศรษฐกิจ โดยมีภาคบริการใหญ่ที่สุด (~50% ของ GDP) ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน • แรงงานประมาณ 2 ใน 3 อยู่ในภาคการเกษตร ส่วนใหญ่ยังคงทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ผลผลิตสำคัญคือ ข้าว ข้าวสาลี ฝ้าย ชา เมล็ดพืชน้ำมัน • มีปัญหาการขาดแคลนอาหาร และความยากจนมาก ประชากร 25% มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน (Poverty line)

  3. สหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดียสหกรณ์การเกษตรในประเทศอินเดีย ลักษณะโดยทั่วไป (ต่อ) • การพัฒนาทางการเกษตรโดยรัฐบาลตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ได้แก่ • การจัดรูปที่ดิน • ส่งเสริมการใช้วิชาการสมัยใหม่ในการทำการเกษตร • จัดตั้งสถาบันวิจัยและทดลองการเกษตรสาขาต่างๆ • จัดให้มีสหกรณ์สินเชื่อและธนาคาร เป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ • จัดให้มีสหกรณ์การขาย เป็นแหล่งขายผลผลิตอย่างเป็นธรรมและมีการ ประกันราคาพืชผล

  4. ประวัติการสหกรณ์ในอินเดียประวัติการสหกรณ์ในอินเดีย • ค.ศ. 1904 รัฐใช้สหกรณ์ในการปลดเปลื้องหนี้สินของเกษตรกร ได้ประกาศใช้กฎหมายสมาคมสหกรณ์สินเชื่อ (The Cooperative Credit Societies Act) และจัดตั้งสหกรณ์สินเชื่อการเกษตรตามหลักของ Raiffiesen • ค.ศ. 1912 ประกาศใช้กฎหมายสหกรณ์ (The Cooperative Societies Act) เพื่อตั้งสหกรณ์รูปแบบอื่นๆ เช่น สหกรณ์การขาย แปรรูป ผู้บริโภคและอื่นๆ • ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ใช้สหกรณ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจในหมู่เกษตรกรและชุมชนที่อ่อนแอ • ตั้งคณะกรรมการสำรวจสินเชื่อในชนบท เพื่อหาลู่ทางพัฒนาสหกรณ์ • ในสหกรณ์การเกษตร มีข้อเสนอแนะให้รัฐเข้าไปถือหุ้น เพื่อความมั่นคงทางการเงินและให้รวมสหกรณ์สินเชื่อ การขายและแปรรูปเข้าด้วยกัน

  5. ประวัติการสหกรณ์ในอินเดีย (ต่อ) • รัฐมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง • ค.ศ. 1969 สหกรณ์การเกษตรไม่อาจให้บริการแก่เกษตรกรได้อย่างทั่วถึง • รัฐให้ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารชนบทระดับภาค (Regional Rural Bank)มีส่วนในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรร่วมกับสหกรณ์การเกษตร • รัฐจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ มาดำเนินธุรกิจการขายผลิตผล การจำหน่ายปุ๋ย ยกเลิกระบบผูกขาดการค้าปุ๋ยของสหกรณ์ • นโยบายของรัฐสร้างปัญหาด้านการตลาดให้แก่สหกรณ์และเป็นการท้าทายสหกรณ์ให้รีบปรับปรุงการดำเนินงาน

  6. ประวัติการสหกรณ์ในอินเดีย (ต่อ) • รัฐปรับปรุงสหกรณ์ขั้นปฐมให้มีความเข้มแข็งและขนาดใหญ่ขึ้น โดยการเปลี่ยนสหกรณ์สินเชื่อในระดับหมู่บ้าน เป็น สหกรณ์บริการเกษตรกร (Farmers’ Service Society) และสหกรณ์การเกษตรอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ (Large Sized Agricultural Multi-Purpose Societies) • พัฒนาให้สหกรณ์ในระดับสูงกว่าให้ความช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาของสหกรณ์สมาชิก

  7. ประเภทและโครงสร้างของสหกรณ์การเกษตร มี 2 ประเภท คือ •  สหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจด้านสินเชื่อการเกษตรเป็นหลัก • ได้แก่ สหกรณ์บริการเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ • โครงสร้างแบ่งตามระยะเวลาการให้สินเชื่อ • สินเชื่อระยะสั้นและระยะปานกลาง มีโครงสร้าง 3 ระดับ คือ • สหกรณ์ขั้นปฐมในระดับหมู่บ้าน • ธนาคารสหกรณ์ระดับอำเภอ (District Cooperative Bank) • ธนาคารสหกรณ์ประจำรัฐ (State Cooperative Bank) • 2. สินเชื่อระยะยาว ผ่านธนาคารสหกรณ์ที่ดินกลาง (Central Cooperative Land Development Bank) ระดับอำเภอ

  8. ประเภทและโครงสร้างของสหกรณ์การเกษตร (ต่อ) • ในปี 1982 รัฐได้จัดตั้งธนาคารแห่งชาติเพื่อพัฒนาชนบทและเกษตรกรรม (The National Bank of Agriculture and Rural Development) ขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรและชนบทให้แก่สถาบันที่เกี่ยวข้อง • สถาบันสหกรณ์ชั้นสูงเสนอต่อรัฐบาลให้จัดตั้งธนาคารเพื่อพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ (The National Cooperative Development Bank) เพื่อให้สินเชื่อแก่สถาบันสหกรณ์โดยเฉพาะ • ปัจจุบันมีการตั้งธนาคารสหกรณ์แห่งอินเดีย (Cooperative Bank of India)ดำเนินงานภายใต้กฎหมายสหกรณ์ระดับรัฐ (Multi state cooperative societies Act ) และกำลังดำเนินการให้อยู่ภายใต้กฎหมายการธนาคารอยู่

  9. ประเภทและโครงสร้างของสหกรณ์การเกษตร (ต่อ)  สหกรณ์การตลาด (Marketing Cooperative) โครงสร้างของสหกรณ์ฯ: แตกต่างกันในแต่ละรัฐ 1. สหกรณ์การตลาดระดับปฐม (Primary Marketing Coop.) 2. สหกรณ์การตลาดระดับอำเภอ (District Marketing Coop.) 3. ชุมนุมสหกรณ์การตลาดระดับรัฐ (The Coop. Marketing Federations) 4. ชุมนุมสหกรณ์การตลาดผลิตผลเกษตรแห่งชาติอินเดีย (The National Agricultural Coop. Marketing Federation of India: NAFED) หน้าที่: เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมการตลาดและการค้าของสถาบันสหกรณ์ ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ รัฐมอบหมายให้ดำเนินการพยุงราคาและจัดหาสินค้าให้แก่รัฐ

  10. ประเภทและโครงสร้างของสหกรณ์การเกษตร (ต่อ) • การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การตลาด: • รวบรวมและขายผลิตผลเกษตรของสมาชิก ตามนโยบายของรัฐ • จัดหาปัจจัยการผลิต รวมถึงให้สินเชื่อในรูปปัจจัยการผลิต • จัดหาสินค้าอุปโภคบริโภค • ดำเนินธุรกิจด้านฉางเก็บพืชผลและห้องเย็น • การแปรรูปผลิตผล • เป็นตัวกลางระหว่างสหกรณ์สินเชื่อการเกษตรกับเกษตรกรสมาชิก ดำเนินการตามระบบ “เชื่อมโยงสินเชื่อและการตลาด” • ช่วยเหลือรัฐในการรวบรวมผลผลิตเกษตรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา • มีบรรษัทพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ เป็นผู้ดูแลสหกรณ์การตลาด

  11. การบริหารงานของสหกรณ์การเกษตรการบริหารงานของสหกรณ์การเกษตร • ที่ประชุมใหญ่ มีอำนาจสูงสุด ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและผู้ตรวจสอบบัญชี • คณะกรรมการดำเนินการ มีหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามนโยบาย • หัวหน้าฝ่ายบริหารหรือกรรมการผู้จัดการ รับผิดชอบในการปฏิบัติงานรายวัน • เจ้าหน้าที่สหกรณ์ • ในทางปฏิบัติอาจมีความแตกต่างกันระหว่างรัฐ • อำนาจของที่ประชุมใหญ่อาจถูกจำกัดโดยรัฐบาลและนายทะเบียนสหกรณ์ได้ • รัฐมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เป็นกรรมการในการดำเนินงานสหกรณ์

  12. องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ในอินเดีย • 1. สหภาพสหกรณ์ (Cooperative Union)แบ่งได้เป็น 3 ระดับ • ระดับอำเภอ (District Cooperative Unions) • ระดับรัฐ (State Cooperative Unions) • ระดับชาติ (The National Cooperative Union of India: NCUI) มีหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์ทุกรูปแบบ: - ดูแลในการอบรมสมาชิกและเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ ผู้นำสหกรณ์ - ศึกษาและวิจัยงานสหกรณ์และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสหกรณ์ - ติดต่อประสานงานกับรัฐ ยื่นข้อเสนอแนะด้านนโยบายและการดำเนินงานสหกรณ์ต่อรัฐบาล

  13. องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ในอินเดีย (ต่อ) • 2. ธนาคารแห่งชาติอินเดีย (The Reserve Bank of India) • เดิมรัฐให้ธนาคารแห่งชาติให้เงินกู้แก่ธนาคารสหกรณ์ประจำรัฐ • โดยมีการจัดตั้งกองทุนพิเศษ ได้แก่ • กองทุนสินเชื่อการเกษตร (The Agricultural Credit Fund) (ระยะยาว) • กองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพสินเชื่อการเกษตร (The Agricultural Credit Stabilization Fund) แปลงหนี้ระยะสั้นเป็นระยะกลาง

  14. องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ในอินเดีย (ต่อ) 3. ธนาคารแห่งชาติเพื่อการพัฒนาชนบทและเกษตรกรรม (The National Bank of Agriculture and Rural Development) จัดตั้งโดยรัฐ เพื่อให้สินเชื่อแก่ ธนาคารสหกรณ์ประจำรัฐ แทนธนาคารแห่งชาติอินเดียปี 1982

  15. บทบาทของรัฐกับสหกรณ์การเกษตรบทบาทของรัฐกับสหกรณ์การเกษตร • สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนางานสหกรณ์ • ให้การสนับสนุนด้านการเงิน ให้เงินกู้ เข้าถือหุ้น • กำหนดให้ใช้สหกรณ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

More Related