1 / 26

การบริหาร กพส.

การบริหาร กพส. แสดงสถิติเปรียบเทียบฐานะการเงินของ กพส. ในช่วง 5 ปี (ปีบัญชี 2547 - 2551). (หน่วย : ล้านบาท).

cole-ware
Télécharger la présentation

การบริหาร กพส.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหาร กพส.

  2. แสดงสถิติเปรียบเทียบฐานะการเงินของ กพส. ในช่วง 5 ปี (ปีบัญชี 2547 - 2551) (หน่วย : ล้านบาท) หมายเหตุ :ในปี 2551 รายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย จำนวน(169) ล้านบาท เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตั้งหนี้สงสัยจะสูญ ไว้เต็มจำนวน ตามมติคณะกรรมการบริหาร กพส. ครั้งที่ 1/2552 วันที่18 พฤศจิกายน 2551

  3. สรุปผลการอนุมัติ/เบิกจ่ายเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (หน่วย : ล้านบาท) แหล่งที่มา : กลุ่มวิเคราะห์กองทุนพัฒนาสหกรณ์

  4. แผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาสหกรณ์ปี พ.ศ. 2550 - 2554 วิสัยทัศน์ เป็นกองทุนส่งเสริมสหกรณ์อย่างมีแบบแผนและบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์ ภารกิจของกองทุนพัฒนาสหกรณ์มี 4 ภารกิจ ดังนี้ ภารกิจที่ 1 การพัฒนาระบบการเงินกองทุน ภารกิจที่ 2 การเพิ่มขีดความสามารถของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการกองทุน ภารกิจที่ 3 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน ภารกิจที่ 4 การพัฒนาระบบสนับสนุน

  5. การให้กู้ยืมเงิน • สหกรณ์ทุกประเภท • มีทุนเรือนหุ้นไม่ต่ำกว่า 50,000.- บาท • มีวินัยทางการเงินไม่ผิดนัดชำระหนี้กรมฯ ทุกเงินทุน • ไม่ทุจริต หรือ บกพร่องทางการเงินและบัญชี • สหกรณ์ตั้งไม่เกิน 1 ปี กู้ได้ไม่เกิน 500,000 บาท หลักเกณฑ์การกู้เงิน กพส. คุณสมบัติของสหกรณ์

  6. วัตถุประสงค์การให้กู้วัตถุประสงค์การให้กู้ • หมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ • ลงทุนในทรัพย์สิน - ให้กู้ไม่เกิน 15 ปี - ให้กู้ไม่เกิน 80 % ของค่าลงทุน หมายเหตุ :แนวทางการบริหาร กพส. ปีงบประมาณ 2552 การกู้เงินเพื่อสร้าง สำนักงานสหกรณ์ต้องสมทบเงินลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30

  7. สหกรณ์ที่บริจาค ASPLได้ตามกำหนด • มีสิทธิกู้ไปลงทุนเพิ่มเติมในปัจจัยพื้นฐาน • ไม่ต้องสมทบการลงทุน • ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี

  8. กรอบการพิจารณาคำขอกู้เงิน(เจ้าหนี้ต้องคำนึงถึง)กรอบการพิจารณาคำขอกู้เงิน(เจ้าหนี้ต้องคำนึงถึง) คุณสมบัติของสหกรณ์์ วงเงินกู้ยืมประจำปี ความเป็นไปได้ของแผนงาน/โครงการ - ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าสหกรณ์จะดำเนินธุรกิจได้ตามแผน - รายได้เพียงพอส่งชำระหนี้คืน - แผนงาน/โครงการต้องเกิดประโยชน์กับสมาชิกเป็นส่วนใหญ่ ความสามารถในการบริหารจัดการ มีหลักประกันเงินกู้ ความเหมาะสมของเงินกู้ ระยะเวลาให้กู้

  9. ระยะเวลาการให้กู้ 1. หมุนเวียน ไม่เกิน 1 ปี หรือ 1 ฤดูการผลิต 2. ทรัพย์สิน ไม่เกิน 15 ปี 3. นอกเหนือ 1 และ 2 พิจารณาเป็นรายๆ ไป

  10. อัตราดอกเบี้ยและค่าปรับอัตราดอกเบี้ยและค่าปรับ ดอกเบี้ยร้อยละ 1-10 / ปี กรณีประสบสาธารณภัยอาจให้กู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย ค่าปรับผิดนัด ร้อยละ 6 / ปี หมายเหตุ :ปัจจุบันการกำหนดอัตราดอกเบี้ย พิจารณาจากชั้นลูกหนี้ วัตถุประสงค์ การกู้ยืมและขนาดของสหกรณ์

  11. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยการกำหนดอัตราดอกเบี้ย

  12. หลักประกันเงินกู้ คณะกรรมการดำเนินการและผู้จัดการ - ค้ำประกันฐานะส่วนตัว - คณะกรรมการชุดใหม่ค้ำประกันเพิ่ม จำนองอสังหาริมทรัพย์ จำนำสังหาริมทรัพย์

  13. ผู้มีอำนาจอนุญาตให้สหกรณ์กู้เงินผู้มีอำนาจอนุญาตให้สหกรณ์กู้เงิน คณะกรรมการบริหาร กพส. กรณีมอบอำนาจให้มอบได้ไม่เกิน 25 ล้านบาท

  14. การมอบอำนาจอนุญาตให้กู้การมอบอำนาจอนุญาตให้กู้ คณะกรรมการบริหาร กพส. มอบอำนาจให้อธิบดี ไม่เกิน 25 ล้านบาท อธิบดีมอบอำนาจ 2 ระดับ 1. ผู้ว่าราชการจังหวัด / ผอ.สสพ. 1,2 ทุกสัญญารวมกันไม่เกิน 3 ล้านบาท/สหกรณ์ 2. ผอ.สบส. วงเงินเกินอำนาจของ ผวจ. / ผอ.สสพ. 1,2 แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท

  15. ขั้นตอนการเบิกเงินกู้ กพส. 1. จังหวัด/สสพ.1,2 แจ้งผลการพิจารณาเงินกู้ กพส. ให้สหกรณ์ทราบ 2. ให้สหกรณ์นำผลการพิจารณาอนุมัติ เสนอที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ เพื่อพิจารณา และมีมติมอบหมายให้ผู้มีอำนาจลงนามแทนสหกรณ์ จำนวน 2 คน โดยระบุชื่อและตำแหน่ง และหลักประกัน เงินกู้ให้ชัดเจน

  16. ขั้นตอนการเบิกเงินกู้ กพส. 3. ให้สหกรณ์จัดทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินกพส.และหนังสือ ค้ำประกันเงินกู้ อย่างละ 2 ฉบับ 4. สหกรณ์ขอเบิกเงินกู้ กพส. พร้อมแนบ 4.1 หนังสือรายงานการขอเบิกเงินกู้กพส. 4.2 สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่มีมติให้เบิกเงินกู้ตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติและมติแต่งตั้ง ผู้มีอำนาจลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง 4.3 สำเนาบัญชีเงินฝาก ธกส. พร้อมรับรอง สำเนาถูกต้อง เพื่อโอนเงินให้สหกรณ์

  17. 4.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียน บ้านของผู้ค้ำประกันทุกคน รับรองสำเนาถูกต้อง 5. จังหวัด/สสพ.1,2 ตรวจสอบความถูกต้องของ 5.1 สัญญากู้ยืมเงิน 5.2 หนังสือค้ำประกัน 5.3 หลักประกันอื่น (ถ้ามี) 6. จังหวัด/สสพ.1,2 โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ สหกรณ์

  18. 7. เมื่อสหกรณ์ได้รับเงินกู้แล้ว ให้จัดส่งหลักฐานการเบิกเงิน ให้จังหวัด/สสพ.1,2 ดังนี้ • สำเนาหลักฐานใบแจ้งเพิ่ม/หักบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (งฝ.8)หรือสำเนา statement หรือสำเนาบัญชีเงินฝาก ธกส. ที่โอนเงินเข้า ให้รับรองสำเนาถูกต้องและส่งให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด ภายใน 3 วัน นับจากวันที่เงินกู้เข้าบัญชี ใบเสร็จรับเงินของสหกรณ์ ลงนามโดยผู้มีอำนาจ แทนสหกรณ์ และระบุชื่อตำแหน่งบุคคลดังกล่าวให้ชัดเจน

  19. 8. การส่งชำระหนี้คืนกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ดำเนินการดังนี้ 8.1 ให้สหกรณ์โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ ธกส.สาขานางเลิ้ง ประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ดังนี้  เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ บัญชีเลขที่ 000-1-00010-8 เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ โครงการพัฒนาธุรกิจโคนม บัญชีเลขที่ 000-1-07318-1 เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ โครงการ ASPLบัญชีเลขที่ 000-1-07423-4

  20. 8.2 ให้สหกรณ์ส่งหลักฐานการโอนเงินผ่าน จังหวัด/ สสพ.1,2 ทันที ประกอบด้วย - สำเนาใบโอนเงิน เข้าบัญชีเงินฝากกรมฯ ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร - หนังสือแจ้งการชำระหนี้ ระบุชื่อโครงการ วัตถุประสงค์ ชื่อสหกรณ์ เลขที่สัญญา วันที่โอนเงิน จำนวนเงิน

  21. การขอผ่อนผันการชำระหนี้กพส.การขอผ่อนผันการชำระหนี้กพส. หมายถึงการที่ผู้ให้กู้ยอมให้ผู้กู้ชำระหนี้เกินระยะเวลาที่กำหนด แต่ไม่เกินระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา หลัก - มีเหตุสุดวิสัย หรือจำเป็น มิใช่เหตุทุจริต - เงินกู้ที่ขอผ่อนผันได้ เงินกู้ที่มีกำหนดชำระเป็นงวด ๆ สามารถขอผ่อนผันได้ไม่เกิน 1 งวด ยกเว้น งวดสุดท้าย ผ่อนผันไม่ได้ - เวลา ต้องขอก่อนหนี้ถึงกำหนดอย่างน้อย 45 วัน เว้นแต่ เหตุสุดวิสัย ให้ยื่นภายในกำหนดเวลาชำระหนี้ หมายเหตุ :ไม่อนุญาตให้ลด หรืองดคิดดอกเบี้ย

  22. การขยายเวลาชำระหนี้ กพส. หมายถึงการที่ผู้ให้กู้กับผู้กู้ ตกลงให้มีการปรับระยะเวลาการชำระหนี้เดิมออกไป และกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ขึ้นใหม่ โดยต้องกระทำก่อนหนี้ ถึงกำหนดชำระ หลัก - มีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุอื่น มิใช่เหตุทุจริต - เงินกู้ที่ขอขยายเวลาชำระหนี้ เงินกู้ที่มีกำหนดชำระงวดเดียว หรือเงินงวดสุดท้ายของเงินกู้ที่มีกำหนดชำระหลายงวด - เวลา ต้องขอก่อนหนี้ถึงกำหนดอย่างน้อย 45 วัน เว้นแต่ เหตุสุดวิสัย ให้ยื่นภายในกำหนดเวลาชำระหนี้ - ขยายเวลาให้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี (หลักเกณฑ์ ข้อ 2.3) หมายเหตุ :อาจปลอดชำระต้นเงินได้ตามเหมาะสม แต่ต้องชำระดอกเบี้ยทุกปี โดยไม่อนุญาตให้ลด หรืองดคิดดอกเบี้ย

  23. การปรับโครงสร้างหนี้กพส.การปรับโครงสร้างหนี้กพส. 1. หนี้เป็นภาระหนักหรือมีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุอันจำเป็น หรือ เหตุอื่นตามคณะกรรมการบริหาร กพส. เห็นควร 2. - สหกรณ์ดำเนินธุรกิจ ให้บริการสมาชิกปกติต้องมีแผนฟื้นฟู ชัดเจน - สหกรณ์หยุดดำเนินธุรกิจ ต้องมีแผนปรับปรุงฟื้นฟู หรือ เร่งรัดหนี้ชัดเจน และเป็นไปได้ 3. หนี้ที่เกิดจากใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ หรือ ทุจริต ไม่สามารถ ปรับโครงสร้างหนี้ได้

  24. วิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทำวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทำวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี วิธีที่ 1 รวมหนี้ต้นเงินคงเหลือทุกสัญญาเข้าด้วยกันแล้วขยายเวลาการชำระหนี้ ตามความสามารถของลูกหนี้ (หลักเกณฑ์ ข้อ 3.2) วิธีที่ 2รวมดอกเบี้ยและค่าปรับที่ยังไม่ได้ชำระทุกสัญญารวมกันเป็นต้นเงิน แล้วขยายเวลาชำระหนี้ตามความสามารถของลูกหนี้ ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 3.2 วิธีที่ 3ลดอัตราดอกเบี้ย หรืองดดอกเบี้ยค่าปรับ ทั้งนี้จะขยายเวลา หรือ ไม่ขยายเวลาชำระหนี้ก็ได้ (หลักเกณฑ์ ข้อ 3.3) หมายเหตุ :การขอปรับโครงสร้างหนี้ ต้องยื่นเรื่องก่อนส่งเรื่องให้อัยการดำเนินคดีและต้อง เสนอหลักประกันด้วย

  25. ปัญหาและอุปสรรคของ กพส. • จำนวนสหกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 7,000 สหกรณ์ แต่กองทุนไม่ได้เติบโตอย่างเพียงพอ จึงเกิดความไม่สมดุล ของเงินกองทุนกับความต้องการเงินกู้ของสหกรณ์ • สหกรณ์บางแห่งยังไม่มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการ • สหกรณ์ขาดแผนทิศทางพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ

  26. ประโยชน์ของ กพส. • อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสถาบันการเงิน • นโยบายการบริหารแบบผ่อนปรน • การกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น • เพิ่มช่องทางระบบเศรษฐกิจฐานราก • ส่งเสริมรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร • สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรประชาชน • สนับสนุนนโยบายทางราชการ

More Related