1 / 55

- ปกป้อง จันวิทย์ -

การปฏิรูปกฎหมายแรงงาน เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม : กรณีศึกษากฎหมายว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและกฎหมายว่าด้วยระบบประกันสังคม. - ปกป้อง จันวิทย์ -. เค้าโครงการนำเสนอ. บทความนี้นำเสนอสภาพการณ์ ปัญหา (การออกแบบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย) และแนวทางปฏิรูปกฎหมายแรงงานฉบับสำคัญ 2 ฉบับ

conor
Télécharger la présentation

- ปกป้อง จันวิทย์ -

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปฏิรูปกฎหมายแรงงานเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม:กรณีศึกษากฎหมายว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและกฎหมายว่าด้วยระบบประกันสังคมการปฏิรูปกฎหมายแรงงานเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม:กรณีศึกษากฎหมายว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและกฎหมายว่าด้วยระบบประกันสังคม - ปกป้อง จันวิทย์ -

  2. เค้าโครงการนำเสนอ • บทความนี้นำเสนอสภาพการณ์ ปัญหา (การออกแบบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย) และแนวทางปฏิรูปกฎหมายแรงงานฉบับสำคัญ 2 ฉบับ • กฎหมายว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ – หมวด 6 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน • กฎหมายว่าด้วยระบบประกันสังคม – พ.ร.บ.ประกันสังคม

  3. กฎหมายว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกฎหมายว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ • กฎหมายหลักว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ประกาศฯ เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ 5 ฉบับ (ปี 2515 2518 2524 2524 และ 2540) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2551ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2553 ประกาศฯ เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตั้งแต่ปี 2516 ถึงปัจจุบัน 44 ฉบับ

  4. นิยาม “ค่าจ้างขั้นต่ำ” แบบไทย • นิยาม : “อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด ...” “ให้คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณากำหนดค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งลูกจ้างควรจะได้รับ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างสามารถเลี้ยงดูตนเองและสมาชิกในครอบครัวอีกสองคน ให้ดำรงชีพอยู่ได้ตามปกติวิสัยเช่นเดียวกับคนทั่วไปในสังคม” (ประกาศฯ เรื่องการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับแรก) พ.ศ. 2515) สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) (ฉบับที่ 131) ของไอแอลโอ

  5. นิยาม “ค่าจ้างขั้นต่ำ” แบบไทย • นิยาม : “อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด ...” “ให้คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็นเพื่อรัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายค่าจ้างของประเทศ และมีอำนาจหน้าที่กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งลูกจ้างคนเดียวควรจะได้รับและสามารถดำรงชีพอยู่ได้” (ประกาศฯ เรื่องการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2518) “เป็นอัตราค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือ 1 คน ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยมีมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น”(คำชี้แจง ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2553)

  6. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (2516-2554)

  7. ข้อยกเว้น • ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น • รัฐวิสาหกิจ • งานเกษตรกรรม ได้แก่ งานเพาะปลูก งานประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ • ‘งานอื่น’ ตามที่กระทรวงกำหนด ลูกจ้างที่รับงานไปทำที่บ้าน ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจอยู่ด้วย ลูกจ้างที่ทำงานอันมิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นต้น • ลูกจ้างทดลองงาน 60 วัน (ยกเลิกปี 2535)

  8. คณะกรรมการค่าจ้าง • กระบวนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบัน คณะกรรมการค่าจ้าง (15 คน แบ่ง 3 ฝ่ายเท่ากัน – นายจ้าง ลูกจ้าง รัฐบาล) ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน อำนาจหน้าที่หลักคือกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด (เกิดขึ้นปี 2540) เสนออัตราระดับจังหวัดให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณา - ทิศทางมุ่งสู่อัตราค่าจ้างรายจังหวัด คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ที่ปรึกษาคณะกรรมการค่าจ้าง 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงาน การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมกฎหมาย

  9. คณะกรรมการค่าจ้าง • ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ มาตรา 87 ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่น โดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

  10. คณะกรรมการค่าจ้าง • องค์ประกอบ: ตัวแทน 3 ฝ่าย มีจำนวนเท่ากัน ตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง(และนายจ้าง) จาก 1 ใน 9 (ปี 2515 – จำนวนรวม 5-9 คน ต้องมีตัวแทนอย่างน้อย 1 คน) เป็น 1 ใน 5 (ปี 2518- จำนวนรวม 9-15 คน ต้องมีตัวแทนอย่างน้อย 3 คน) เป็น 1 ใน 3 (ปี 2540 – จำนวนรวม 21 คน มีตัวแทน 7 คน และปี 2541 จำนวนรวม 15 คน มีตัวแทน 5 คน) • กฎการลงคะแนนในการกำหนดอัตราค่าจ้าง: เสียงข้างมากเด็ดขาด 2 ใน 3 ต้องมีกรรมการมาประชุม 2 ใน 3 และต้องมีตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างร่วมด้วยเสมอ (ตั้งแต่ปี 2541 ต้องมีตัวแทนเข้าร่วมในทุกเรื่อง)

  11. คณะกรรมการค่าจ้าง • การสรรหาตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง: คัดเลือกกันเองในระดับองค์กร ลูกจ้างไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งโดยตรงตามหลัก 1 คน 1 เสียง องค์กร (สหภาพแรงงาน สถานประกอบการมีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป) เสนอชื่อ และมีสิทธิเลือกตั้งตามหลัก 1 องค์กร 1 เสียง โดยไม่คำนึงถึงจำนวนสมาชิกในองค์กร สหภาพแรงงาน (กิจการเอกชน) มีทั้งสิ้น 1,282 แห่ง มีจำนวนสมาชิก 352,400 คน (คิดเป็นร้อยละ 1 ของแรงงานทั้งหมด) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจมีจำนวน 44 แห่ง จำนวนสมาชิก 169,940 คน และในส่วนขององค์กรนายจ้าง สมาคมนายจ้างมี 377 แห่ง และสภาองค์การนายจ้างมี 12 แห่ง (ข้อมูลกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ. 2552)

  12. คณะกรรมการค่าจ้าง • การสรรหาตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง: จังหวัดที่มีสหภาพแรงงานมีเพียง 34 จังหวัดเท่านั้น โดยมี 24 จังหวัดที่มีจำนวนสหภาพแรงงานต่ำกว่า 10 แห่ง และ 20 จังหวัดมีจำนวนสหภาพแรงงาน 1-3 แห่ง ตัวอย่างการเลือกตั้ง “...การเลือกตั้งคณะกรรมการไตรภาคี 8 ชุด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปรากฏว่ามีผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งทั่วประเทศจากผู้แทนสมาคมนายจ้าง 50 คน ผู้แทนนายจ้างสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป 45 คน ส่วนผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งฝ่ายลูกจ้างมาจากผู้แทนสหภาพแรงงานจำนวน 80 คน ผู้แทนคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ 10 คน ทั้งนี้ มีฝ่ายลูกจ้างมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 526 คนจากจำนวน 593 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 89 และมีฝ่ายนายจ้างมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 141 คน จากจำนวน 179 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 79” (จากข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)

  13. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำหลายอัตรา • ปี 2517 มีหลายอัตราครั้งแรก – กรุงเทพฯและปริมณฑล (20 บาท), ภาคกลางและใต้ (18 บาท), ภาคเหนือและอีสาน (16 บาท) • ปี 2524 เท่ากันทั้งประเทศ ยกเว้นจังหวัดพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม ระนอง พังงา ภูเก็ต ชลบุรี สระบุรี นครราชสีมา และเชียงใหม่ แต่อัตราค่าจ้างรวมไม่เกิน 4 อัตรา • ตั้งแต่มกราคม 2545 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 อัตรา เป็น 8 อัตรา และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 16 อัตรา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 เป็น 20 อัตรา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 และปัจจุบันมีทั้งสิ้น 32 อัตรา

  14. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำหลายอัตรา

  15. ความถี่ในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำความถี่ในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ • ปี พ.ศ. 2516-2518 มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั้งสิ้น 5 ครั้ง กล่าวเฉพาะกรณีกรุงเทพฯและปริมณฑล อัตราค่าจ้างเพิ่มจาก 12 บาท เป็น 16 บาท (ร้อยละ 33) ในเวลา 9 เดือน เพิ่มเป็น 20 บาท (ร้อยละ 25) ในอีก 5 เดือน และเพิ่มเป็น 25 บาท (ร้อยละ 25) ในอีก 7 เดือนต่อมา กล่าวคือ ช่วง 21 เดือน ค่าจ้างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 108 • การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยเฉลี่ยเกิดขึ้นทุก 12.78 เดือน บางปีปฏิทินไม่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเลย ได้แก่ ปี พ.ศ. 2519 2527 2529 2531 2540 2542 2543 และ 2552 บางปีปฏิทินมีการปรับมากกว่า 1 ครั้ง เช่น ปี พ.ศ. 2517 ปรับ 3 ครั้ง พ.ศ. 2532 2537 2548 และ 2551 ปรับ 2 ครั้ง

  16. ความถี่ในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำความถี่ในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ • ช่วงที่ไม่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำยาวนานที่สุดคือ มกราคม 2541 ถึงมกราคม 2544 (36 เดือน) รองลงมาคือ มกราคม 2518 ถึงตุลาคม 2520 (32 เดือน) มกราคม 2528 ถึงเมษายน 2530 (25 เดือน) และตุลาคม 2539 ถึงมกราคม 2541 (25 เดือน) ช่วงเวลาส่วนใหญ่คือช่วงที่ประเทศไทยเผชิญปัญหาเศรษฐกิจหรือการเมือง • ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพียง 1 ครั้งเท่านั้นในปี พ.ศ. 2541

  17. ความถี่ในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำความถี่ในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

  18. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับอัตราเงินเฟ้ออัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับอัตราเงินเฟ้อ

  19. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับอัตราเงินเฟ้ออัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับอัตราเงินเฟ้อ • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เปรียบเทียบการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ และอัตราค่าจ้างแท้จริง โดยใช้ปี พ.ศ. 2544 เป็นปีฐาน พบว่า จากปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2553 ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเติบโตขึ้นร้อยละ 48 อัตราค่าจ้างแท้จริงกลับเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น (ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์, “Thailand: Tougher Challenges, Bigger Opportunities,” SCB Annual Conference on the Economy, 3 กันยายน 2553)

  20. อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ • ยกระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้สูงขึ้นในกรณีที่ลูกจ้างผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในแต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับ (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551) • กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 3 กลุ่มสาขาอาชีพ (ช่างเครื่องกล ภาคบริการ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์) 11 สาขาอาชีพ ได้แก่ ช่างสีรถยนต์ ช่างเคาะตัวถังรถยนต์ ช่างซ่อมรถยนต์ ผู้ประกอบอาหารไทย พนักงานนวดไทย นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (หัตถบำบัด) ช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์ ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ช่างอิเล็กทรอนิกส์ (โทรทัศน์) (ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554) • แต่ละสาขาอาชีพ แยกมาตรฐานฝีมือออกเป็น 2-3 ระดับ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงสุดอยู่ที่ระดับ 510 บาทต่อวัน (สาขาอาชีพพนักงานนวดไทย ระดับ 3) ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 275 บาทต่อวัน (สาขาอาชีพช่างซ่อมรถยนต์ ระดับ 1)

  21. แนวทางปฏิรูป • การเปลี่ยนแปลงแนวคิดว่าด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ • การปฏิรูปกระบวนการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ • การปฏิรูปการคัดเลือกตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง (และนายจ้าง) • การบังคับใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้ครอบคลุมทุกองค์กรและทุกประเภทกิจการ

  22. ค่าจ้างขั้นต่ำ VS. ค่าจ้างเพื่อชีวิต • minimum wage VS. living wage ค่าจ้างขั้นต่ำควรสอดคล้องกับค่าจ้างเพื่อชีวิต • ค่าจ้างเพื่อชีวิต คือ ระดับค่าจ้างที่ทำให้แรงงานสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวอย่างสม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีระดับมาตรฐานการครองชีพที่อยู่ได้อย่างภาคภูมิใจ สามารถธำรงความเคารพนับถือในตัวเองได้ อีกทั้งเป็นระดับค่าจ้างที่ทำให้แรงงานมีหนทางและเวลาว่างเพียงพอที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในฐานะพลเมืองคนหนึ่งของสังคม

  23. ค่าจ้างเพื่อชีวิต • หลักการคำนวณค่าจ้างเพื่อชีวิต ค่าจ้างสุทธิที่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐาน เช่น ค่าอาหาร ค่าที่อยู่อาศัย ค่าพลังงาน ของครอบครัวเฉลี่ยครอบครัวหนึ่ง (Basic Budget) ได้ • ข้อสังเกต - ความสามารถในการเลี้ยงครอบครัว เช่น เฉลี่ย 4 คน - มีเกณฑ์อ้างอิงพื้นฐาน เช่น เส้นความยากจน หรือระดับรายจ่ายพื้นฐานของครอบครัว ซึ่งแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ - เงินออม - ครอบคลุมแรงงานทุกประเภท

  24. ค่าจ้างเพื่อชีวิต • ตัวอย่าง: บทความ Making the Federal Minimum Wage a Living Wage (2007) ของ Robert Pollin • ใช้เส้นความยากจนที่ปรับให้สอดคล้องกับค่าครองชีพจริงเป็นหลักในการคำนวณ (130-140% ของเส้นความยากจน) สำหรับแรงงานที่เป็นแม่เลี้ยงลูกคนเดียว (Single Mom) ซึ่งมีลูก 2 คน โดยไม่มีวันหยุดพักผ่อนและไม่มีประกันสุขภาพ • ผลที่ได้คือ 11.50 เหรียญต่อชั่วโมง แต่ในพื้นที่ค่าครองชีพสูง อาจสูงถึง 14.40 เหรียญต่อชั่วโมง แต่หากคำนวณโดยใช้ Basic Budget อาจสูงถึง 17.50 เหรียญต่อชั่วโมง (ลินคอล์น, เนบราสกา) และ 31.60 เหรียญต่อชั่วโมง (บอสตัน, มลรัฐแมสซาชูเซตส์)

  25. ค่าจ้างเพื่อชีวิต • คำถาม: ค่าจ้างที่สูงขึ้นส่งผลให้เกิดการปลดคนออกจากงาน หรือการย้ายฐานการผลิตไปยังเมืองอื่นที่มีระดับค่าจ้างขั้นต่ำต่ำกว่าหรือไม่? • เมือง New Orleans เสนอให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่ม 1 เหรียญต่อชั่วโมง (1999) ผล: เพิ่มต้นทุนแก่บริษัทน้อยกว่า 1% (ประมาณ 0.9%) ของต้นทุนปฏิบัติการทั้งหมดของบริษัท 12,682 แห่งในเมืองนั้น ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของบริษัทที่มีขนาดยิ่งเล็กยิ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (ประมาณ 0.5%) อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ภัตตาคาร (ต้นทุนเพิ่ม 2.2%) และโรงแรม (ต้นทุนเพิ่ม 1.7%) ซึ่งใช้แรงงานค่าจ้างต่ำเป็นจำนวนมาก

  26. ค่าจ้างเพื่อชีวิต • เมือง Santa Fe เสนอให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจาก 5.15 เป็น 8.50 เหรียญต่อชั่วโมง (2004) ทำให้ราคาสินค้าในภัตตาคาร (ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่จ้างแรงงานราคาถูกมาก และได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ) เพิ่มขึ้นเพียง 3% • ต้นทุนของธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขึ้นค่าจ้าง ไม่ทำให้เกิดการปลดคนงานออก ไม่ส่งผลให้เกิดการลดชั่วโมงทำงานลง ไม่ส่งผลที่ทำให้ธุรกิจย้ายฐานการผลิตไปยังเมืองอื่น บริษัทปรับตัวรับมือค่าจ้างที่สูงขึ้นด้วยการขึ้นราคาสินค้า แต่ราคาก็ไม่ได้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

  27. ค่าจ้างเพื่อชีวิต • ข้อสนับสนุนค่าจ้างเพื่อชีวิต - ส่งผลให้มีการพัฒนาผลิตภาพ (productivity) มากขึ้น - การเปลี่ยนงานมีแนวโน้มลดลง ช่วยลดต้นทุนการรับคนงานใหม่และลดต้นทุนการพัฒนาแรงงาน - เกิดการเปลี่ยนแปลงการกระจายรายได้ระหว่างนายทุนและแรงงานในทิศทางที่เท่าเทียมขึ้น นั่นคือ กำไรที่ลดลงของนายทุนแบ่งมาเป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นของลูกจ้าง หากไม่สามารถขึ้นราคาสินค้า หรือเพิ่มผลิตภาพ เพื่อชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้นได้เต็มที่

  28. ค่าจ้างเพื่อชีวิต • ข้อสนับสนุนค่าจ้างเพื่อชีวิต - เพิ่มคุณภาพชีวิตของแรงงานกลุ่มล่างสุดให้ดีขึ้น และมีผลเสริมส่งช่วยยกระดับค่าจ้างของแรงงานกลุ่มข้างเคียงกันด้วย ทำให้แรงงานลดการพึ่งพิงความช่วยเหลือจากรัฐ รัฐเองก็สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการลง โดยให้เอกชนร่วมรับภาระในการสร้างสังคมที่เป็นธรรม - เพิ่มระดับการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจอันเป็นฐานสร้างความเติบโตแก่ระบบเศรษฐกิจ ภายใต้เศรษฐทัศน์แบบ “ล่างขึ้นบน” (Bottom-Up) การเพิ่มอำนาจซื้อและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สร้างเสถียรภาพ และลดความเสี่ยงของประเทศในการผูกติดกับ ศก.โลก

  29. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย • หากทางเลือกของสังคมต้องการเพิ่มความเป็นธรรมในตลาดแรงงาน เช่น ให้มีการกระจายผลได้หรือส่วนเกินระหว่างลูกจ้างและนายจ้างอย่างเท่าเทียมขึ้น ให้ลูกจ้างและครอบครัวมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี และต้องการเพิ่มอำนาจต่อรองของลูกจ้างในตลาดแรงงาน • การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรยึดหลักอัตราค่าจ้างเพื่อชีวิต • ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ควรร่วมกันผลิตบทสนทนาสาธารณะและทำการศึกษาวิจัย ในประเด็นต่อไปนี้

  30. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย • วาระวิจัยและถกเถียง - ระดับอัตราค่าจ้างเพื่อชีวิตที่เหมาะสมในกรณีของประเทศไทย - ระเบียบวิธีการคำนวณซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันระดับหนึ่งและเหมาะสมกับบริบทจริงของสังคมเศรษฐกิจไทย - ผลกระทบของการปรับระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นอัตราค่าจ้างเพื่อชีวิตต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ทั้งกลุ่มลูกจ้าง นายจ้าง ผู้บริโภค และเศรษฐกิจส่วนรวม - ลำดับขั้นในการดำเนินนโยบาย

  31. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย • ไม่จำเป็นต้องเป็นอัตราเดียวกันในทุกเขตท้องที่ทั่วประเทศ แต่ควรสะท้อนสภาพความเป็นอยู่จริงของลูกจ้างในแต่ละเขตท้องที่ • หากการศึกษาพบว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังคงน้อยกว่าอัตราค่าจ้างเพื่อชีวิตมาก ควรกำหนดลำดับขั้นในการปรับระดับอัตราค่าจ้างไปสู่ระดับที่พึงปรารถนาภายใต้เงื่อนเวลาที่ชัดเจน (ให้บรรลุเป้าหมายภายในกี่ปี ปรับปีละกี่เปอร์เซ็นต์จากฐานเดิม) แต่ไม่ควรเป็นการปรับครั้งเดียวทันที ไม่ควรใช้อัตราเดียวกันทั่วประเทศ และต้องมีมาตรการลดผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมควบคู่ไปด้วย

  32. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย • อัตราค่าจ้างเพื่อชีวิตไม่สามารถทำงานในระบบเศรษฐกิจด้วยตัวเองเพียงลำพัง แต่ต้องมีชุดของนโยบายอื่นๆ ที่ควรดำเนินการควบคู่ไปด้วย เช่น การพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพของแรงงาน ผ่านการศึกษาและฝึกฝีมือแรงงาน การช่วยเหลือบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีขีดความสามารถในการรับมือผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างได้จำกัด มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาสินค้าบางประเภทที่จะปรับตัวสูงขึ้นอย่างน้อยในระยะสั้น การพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพในการผลิตของภาคธุรกิจ นโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่มุ่งเน้นการจ้างงานอย่างเต็มศักยภาพ

  33. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย • การกดอัตราค่าจ้างให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อเป็นเชื้อเพลิงแห่งการเติบโตของภาคธุรกิจเป็นแนวทางที่ไม่ยั่งยืน สร้างปัญหาสังคมอื่นๆ และไม่สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดไป นอกจากยุทธศาสตร์การ ‘ขายของถูกด้วยวิธีการที่มักง่าย’ แล้ว ภาคธุรกิจไทยต้องเตรียมการที่จะปรับตัวไปสู่การ ‘ขายของดีมีคุณภาพด้วยวิธีการที่ดีมีคุณภาพ’ • ภาคธุรกิจไทยจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จได้ในโลกที่ต้นทุนอัตราค่าจ้างแพงขึ้น มิใช่ผลักภาระในการอยู่รอดทางธุรกิจให้กับฝ่ายลูกจ้างต้องแบกรับเป็นหลัก

  34. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย • เศรษฐกิจไทยมิอาจให้ความสำคัญเฉพาะเป้าหมายด้านประสิทธิภาพเพียงประการเดียวได้อีกแล้ว หากต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในชีวิตของผู้คนในเศรษฐกิจด้วย การเติบโตทางเศรษฐกิจในยุคต่อไปควรเป็นการเติบโตในทางที่ส่งเสริมและช่วยยกระดับกลุ่มฐานล่างอย่างยั่งยืน

  35. กระบวนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำกระบวนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ • กระบวนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของไทยไม่ได้มีจุดตั้งต้นที่ “ค่าจ้างเพื่อชีวิต” แต่ในความเป็นจริงเป็นการต่อรองระหว่างฝ่ายต่างๆ จากฐานค่าจ้างระดับเดิม • แม้กฎหมายจะกำหนดไว้ดีว่าให้ “คำนึงถึง” ปัจจัยต่างๆ ตามมาตรา 87 แต่ปัจจัยเหล่านั้นไม่ได้กลายเป็น “กฎเกณฑ์” ที่โปร่งใส ชัดเจน และคงเส้นคงวา ในโมเดลการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ หากขึ้นอยู่กับ “ดุลยพินิจ” เป็นสำคัญ ปัจจัยบางตัวมีปัญหาด้านความสมบูรณ์ของข้อมูล ไม่มีการจัดเก็บเป็นระบบ เช่น ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ต้นทุนการผลิต

  36. กระบวนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำกระบวนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ • ข้อมูลตามมาตรา 87 บางตัวเป็นข้อมูลระดับประเทศ ไม่มีข้อมูลที่มีคุณภาพในระดับจังหวัด เช่น GDP ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ • ไม่มีเกณฑ์มาตรฐานในการกำหนดค่าจ้างระดับจังหวัดแต่ละแห่ง และข้อมูลมีคุณภาพไม่เท่ากัน • คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดถูกตั้งคำถามเรื่อง ศักยภาพในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด (ข้อมูลคน), ความเป็นตัวแทนที่แท้จริงของแต่ละฝ่าย เช่น พลังของลูกจ้างเข้มแข็งในระดับประเทศมากกว่าระดับรายจังหวัด • ในอีกด้านหนึ่ง อำนาจกำหนดค่าจ้างของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดไม่มีจริง เพราะส่วนกลางเป็นผู้ตัดสินใจในบั้นปลาย

  37. กระบวนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำกระบวนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ • ควรมีการออกแบบระบบเสริมที่นำไปสู่การปรับระดับอัตราค่าจ้างตามอายุการทำงาน ประสบการณ์ ทักษะความสามารถ และตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย เช่น ข้อเสนอให้มีโครงสร้างบัญชีเงินเดือนที่กำหนดระดับขั้นเงินเดือนตามอายุการทำงานและผลปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยมีการปรับอัตราค่าจ้างทุกปีเป็นเปอร์เซ็นต์จากฐานค่าจ้างเดิม • การปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามอัตราเงินเฟ้อและผลิตภาพแรงงาน โดยปรับเป็นเปอร์เซ็นต์

  38. ประเด็นปฏิรูปอื่นๆ • การปฏิรูประบบการคัดเลือกตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างในคณะกรรมการค่าจ้างและคณะกรรมการอื่นๆ ในทางที่เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกจ้างและนายจ้างโดยตรงในฐานะปัจเจกบุคคล ไม่ใช่แค่ระดับองค์กร • อัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรบังคับใช้ครอบคลุมทุกองค์กรและทุกประเภทของกิจการ

  39. กฎหมายว่าด้วยระบบประกันสังคมกฎหมายว่าด้วยระบบประกันสังคม • กฎหมายหลักว่าด้วยระบบประกันสังคม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533, ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2537, ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542 • จำนวนผู้ประกันตน ณ เดือนเมษายน 2553 รวม 9.4 ล้านคน ผู้ประกันตนภาคบังคับ - ลูกจ้าง (มาตรา 33) รวม 8.7 ล้านคน ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ - ผู้สิ้นสภาพลูกจ้างมาตรา 33 (มาตรา 39) เช่น ลูกจ้างเกษียณ ฯลฯ รวม 7 แสนคน - ลูกจ้างอื่นที่ไม่ใช่มาตรา 33 (มาตรา 40) เช่นแรงงานนอกระบบ,อิสระ รวม 48 คน

  40. อัตราเงินสมทบและสิทธิประโยชน์อัตราเงินสมทบและสิทธิประโยชน์

  41. การจัดสรรเงินสมทบของเข้ากองทุนต่างๆการจัดสรรเงินสมทบของเข้ากองทุนต่างๆ

  42. กองทุนประกันสังคม • เป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงาน แหล่งที่มาหลักคือเงินสมทบจากรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตน • ระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 กำหนดให้มีการนำเงินกองทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงหรือความเสี่ยงต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุน และกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูงไม่เกินร้อยละ 40 ของเงินกองทุน

  43. กองทุนประกันสังคม • ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 เงินลงทุนจำนวน 813,890 บาท • แบ่งตามกองทุน: กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 657,009 ล้านบาท (เริ่มจ่ายชราภาพปี 2557) กรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 102,986 ล้านบาท และกรณีว่างงาน 53,895 ล้านบาท • แบ่งตามเงินสมทบและผลตอบแทนสะสม: เงินสมทบสะสม 606,912 ล้านบาท และผลตอบแทนสะสมจากการลงทุนสะสม 206,978 ล้านบาท • แบ่งตามประเภทการลงทุน:หลักทรัพย์ความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชน จำนวน 652,358 ล้านบาท (ร้อยละ 80) หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ 161,532 ล้านบาท (ร้อยละ 20)

  44. ปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทยปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทย • ด้านความครอบคลุมทั่วถึง: ความครอบคลุมแรงงานนอกระบบต่ำ เพราะโครงสร้างสิ่งจูงใจไม่ดึงดูดพอ สิทธิประโยชน์ต่ำ (ไม่รวมเจ็บป่วย บำนาญ) ราคาแพง รัฐไม่ช่วยสมทบ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มี 48 คน (เมษายน 2553) จากจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 38.7 ล้านคน มีแรงงานนอกระบบหรือผู้ทำงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงานจำนวน 24.1 ล้านคน หรือร้อยละ 62.3 ทำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดร้อยละ 41.6 รองลงมาคือภาคเหนือ ร้อยละ 21.3 ในกรุงเทพมหานครเพียงร้อยละ 5.4 ส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตรกรรมร้อยละ 60 และภาคการค้าและการบริการร้อยละ 31.4 ผู้จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประมาณร้อยละ 65.9

  45. ปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทยปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทย • ด้านการให้ประโยชน์ทดแทนและการจ่ายเงินสมทบ ในปี 2552 มีผู้ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.56 ล้านคน สิทธิประกันสังคม 9.61 ล้านคน และสิทธิข้าราชการ (รวมข้าราชการการเมืองและรัฐวิสาหกิจ) 4.96 ล้านคน ทั้งนี้ผู้ประกันตนเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินสมทบสำหรับบริการรักษาพยาบาล ข้อมูลของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้ว่า ส่วนที่ระบบประกันสังคมยังด้อยกว่าระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้แก่ การมีสิทธิประโยชน์หลักน้อยกว่า 16 รายการ การบริหารจัดการด้อยกว่า 25 รายการ ยาที่มีปัญหาในการเข้าถึง 20 รายการ อุปกรณ์และอวัยวะเทียม 221 รายการ

  46. ปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทยปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทย • ด้านธรรมาภิบาลและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงินกองทุนประกันสังคม สปส. อยู่ภายใต้ระบบราชการ การถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง – กรณีคิดนำเงินกองทุน 1 แสนล้านบาทให้ครูกู้ใช้หนี้ การซื้อหุ้นธนาคารบางแห่ง อำนาจรวมศูนย์ที่ผู้บริหารระดับสูง - กรณีโครงการเช่า จัดหา และดำเนินการระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน ระบบกำกับตรวจสอบ และการนำเงินไปลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

  47. ปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทยปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทย • ด้านธรรมาภิบาลและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงินกองทุนประกันสังคม มาตรา 24: กำหนดให้คณะกรรมการอาจจัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินสมทบแต่ละปี เพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารของสำนักงาน และค่าเบี้ยประชุมของกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ยอดเงินสมทบในปี 2549 2550 2551 และ 2552 มีจำนวน 93,240 ล้านบาท 99,935 ล้านบาท 106,909 ล้านบาท และ 92,927 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงานประกันสังคม คิดเป็นเงิน 3,369 ล้านบาท 2,197 ล้านบาท 3,027 ล้านบาท และ 3,058 ล้านบาท ตามลำดับ (รายงานประจำปีของสำนักงานประกันสังคม)

  48. ปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทยปัญหาหลักของระบบประกันสังคมของไทย • ด้านความยั่งยืนของกองทุนชราภาพ ระบบการจ่ายประโยชน์ทดแทนที่ไม่เพียงพอให้ผู้ประกันตนเลี้ยงชีพได้เมื่อเกษียณโดยเฉพาะเมื่อผู้ประกันตนมีฐานค่าจ้างต่ำ เงินสมทบที่เรียกเก็บจากผู้ประกันตนก็ยังไม่เพียงพอ กองทุนอาจล้มละลายในอนาคต การรวมกองทุนประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรกับกองทุนชราภาพเข้าด้วยกัน

  49. ร่างกฎหมายใหม่ในฐานะเครื่องมือปฏิรูประบบประกันสังคม • ในช่วงปี 2553-2554 มีความพยายามแก้กฎหมายประกันสังคม ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ …) พ.ศ. ... ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับบูรณาการแรงงานจากเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน • วิเคราะห์ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับโดยประเมินจากศักยภาพในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบประกันสังคม ได้แก่ ความครอบคลุมทั่วถึง ระบบประกันสุขภาพที่มีคุณภาพและมาตรฐานเดียว ธรรมาภิบาลของการบริหารจัดการ และความยั่งยืนของกองทุนชราภาพ

  50. ร่างกฎหมายรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ • การขยายความครอบคลุมของระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น - ลูกจ้างชั่วคราวของราชการ - คู่สมรสหรือบุตรของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยให้รัฐบาลออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนสำหรับคู่สมรสหรือบุตรกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย เป็นรายปีในอัตราเท่ากับค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปีที่รัฐบาลจ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ - ผู้รับงานไปทำที่บ้าน

More Related