1 / 17

การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพระบบงานคอมพิวเตอร์

การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพระบบงานคอมพิวเตอร์. ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง. สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางอารมณ์ ความปลอดภัยของคนทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงที่สุดและมีผลเชิงลบต่อคนทำงานน้อยที่สุด

coy
Télécharger la présentation

การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพระบบงานคอมพิวเตอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพระบบงานคอมพิวเตอร์การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพระบบงานคอมพิวเตอร์

  2. ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง • สุขภาวะทางกาย • สุขภาวะทางอารมณ์ • ความปลอดภัยของคนทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงที่สุดและมีผลเชิงลบต่อคนทำงานน้อยที่สุด ซึ่งพบว่า สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดความเครียดในการทำงาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ

  3. สิ่งที่ต้องพิจารณาในสภาพแวดล้อมทางกายภาพสิ่งที่ต้องพิจารณาในสภาพแวดล้อมทางกายภาพ • อุณหภูมิ • แสงสว่าง ที่อยู่โดยรอบคนทำงานในขณะปฏิบัติงาน • รูปแบบการจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์

  4. อุณหภูมิและสภาพอากาศในการทำงานคอมพิวเตอร์อุณหภูมิและสภาพอากาศในการทำงานคอมพิวเตอร์ • ปกติคนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่สภาวะสบายเมื่อสภาพอุณหภูมิที่พอเหมาะคือ ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไปและไม่หนาวเย็นจนเกินไป อุณหภูมิที่สบาย • ปัจจัยสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยคือ ความชื้น และ การเคลื่อนที่ของอากาศ โดยพบว่า ในสภาพที่มีลม คนจะรู้สึกหนาวกว่าสภาพที่ไม่มีลม ดังนั้นไม่ควรจัดโต๊ะทำงานอยู่ใต้เครื่องปรับอากาศโดยตรง และ ในห้องที่มีอุณหภูมิสูง คนสามารถทนทำงานได้ถ้าห้องถ่ายเทอากาศได้ดี

  5. เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ดังนั้นจึงมีความร้อนจากตัวเครื่องอยู่ตลอดเวลาที่มีการใช้งาน ทำให้อุณหภูมิห้องสูง ห้องทำงานคอมพิวเตอร์ จึงควรจัดห้องให้มีสภาพอากาศหมุนเวียนได้ดี เช่น พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ จัดให้ห้องทำงานมีการระบายอากาศได้ดี อัตราการหมุนเวียนของอากาศภายใน 3-6นิ้วต่อวินาที และระดับความชื้นของอากาศอยู่ในช่วง 30-60% • โดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละรุ่นจะมีอุณหภูมิที่สามารถทนได้แตกต่างกัน เช่น Pentium D805 ช่วง 3.2-3.5 GHz อุณหภูมิปกติคือ 42 องศาเซลเซียส และ full load ที่ 55 องศาเซลเซียส หากเกินจากนี้อาจทำให้เกิดไฟลัดวงจรได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีพัดลมภายในเพื่อระบายความร้อน ดังนั้นการวางเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่วางติดผนัง ควรห่างออกมาประมาณ 1 ฟุต เพื่อให้อากาศเคลื่อนที่ได้

  6. แสงสว่างในการทำงานคอมพิวเตอร์แสงสว่างในการทำงานคอมพิวเตอร์ • ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการมองเห็น • ระดับความเข้มและคุณภาพของแสงสว่าง มีผลกระทบต่อการทำงาน 2 สภาวะคือ สภาวะที่ความเข้มของแสงน้อยเกินไป และสภาวะของแสงที่มากเกินไป • ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ว่าด้วยระดับความเข้มของแสงตามลักษณะงานที่ต้องการความละเอียดปานกลาง เช่นงานเขียน อ่านหนังสือ กำหนดให้มีระดับความเข้ม 300 lux • จำนวนของดวงไฟ, ระยะห่างระหว่างสายตาและหน้าจอ, ความชัดเจนของข้อมูลบนจอภาพ, ความถูกต้องของสายตาของคนทำงาน ปัจจัยเหล่านี้จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการจัดสภาพแสงสว่างให้เหมาะสมในการทำงาน หากจัดสภาพไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดการรบกวนการทำงาน หรือการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา(eyestrain)และกระบอกตาได้

  7. ข้อแนะนำในการจัดสภาพแสงในพื้นที่ทำงานข้อแนะนำในการจัดสภาพแสงในพื้นที่ทำงาน 1. จัดให้ด้านข้างของจอภาพขนานกับช่องหน้าต่างของห้อง เพราะหากช่องหน้าต่างอยู่ด้านหลังจอภาพ จะทำให้แสงส่องเข้าตา และหากช่องหน้าต่างอยู่ด้านหลัง อาจเกิดเงาหรือจุดมืดของผู้ใช้งานตกกระทบบนจอภาพหรืออาจเกิดจุดสว่างที่จอภาพทำให้มองเห็นข้อมูลไม่ชัดเจน 2. ปริมาณแสงในห้องทำงาน ควรมีความสม่ำเสมอทั่วห้อง ไม่มีจุดสว่างหรือมืดแตกต่างกันมากนัก เพราะหากเกิดสภาพแสงสว่างไม่สม่ำเสมอ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะอ่อนล้าของดวงตา

  8. 3. ทำการขจัดแสงเงาที่จะเกิดขึ้น โดยปรับความสูงของจอไม่ให้เกิดเงาสะท้อน และเงาของแสงไฟ รวมถึงการย้ายสิ่งที่เป็นตัวสะท้อนเงาให้พ้นไปจากระดับสายตา เช่นกระดาษหรือเฟอร์นิเจอร์สีขาว ที่จะสะท้อนไปยังจอภาพ ทำให้ความชัดเจนของข้อมูลบนจอภาพลดลง 4. จัดให้แสงจากหลอดไฟ ฉายตรงบนชิ้นงานเอกสาร แต่ไม่ฉายตรงบนจอภาพหรือเข้าตาผู้ทำงาน เนื่องจากแสงไฟที่จ้าเข้าตาผู้ทำงาน มีผลทำให้แสบตา ตาแห้ง หรือปวดศีรษะได้ 5. ผนังของห้องทำงานที่อยู่ด้านหลังของจอภาพ ไม่ควรเป็นสีขาวสะท้อนแสงจ้าเข้าตา หากใช้สีขาวก็ควรเป็นสีขาวนวล หรือสีโทนเย็น 6. หากมีช่องแสง ควรใช้ม่านหรือมู่ลี่ เพื่อควบคุมปริมาณแสงในห้อง ลดปริมาณความเข้มแสงที่เข้าสู่ดวงตา

  9. รูปแบบการจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบการจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์ • โครงสร้างหลักของร่างกายที่ถูกใช้ในการทำงาน ได้แก่ มือและข้อมือ, แขนและไหล่, เข่าและขา, ดวงตา หากเกิดความไม่สะดวกสบายในการทำงาน อวัยวะเหล่านี้อาจเกิดอาการผิดปกติขึ้นได้แก่ ปวดหลัง, เคล็ดคอและบ่า, แขนเกร็งอ่อนล้า, นิ้วมือยึดเกร็งอ่อนแรง, ปวดขา

  10. โต๊ะทำงานคอมพิวเตอร์ • พื้นที่วางบนโต๊ะควรมีเนื้อที่เพียงพอที่จะวางจอคอมพิวเตอร์ได้ ห่างจากสายตา 18-30 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างสายตาและจอภาพ ที่เหมาะสมในการมองเห็นได้ชัดเจน • ความสูงของโต๊ะ จะต้องคำนึงด้วยว่าเมื่อวางจอคอมพิวเตอร์แล้ว จอคอมพิวเตอร์จะอยู่ในระดับสายตาพอดี เพราะหากต่ำหรือสูงกว่า ทำให้ต้องก้มหรือเงย ส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าของคอและบ่า

  11. เก้าอี้ทำงานคอมพิวเตอร์เก้าอี้ทำงานคอมพิวเตอร์ • ปรับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสมกับลักษณะการเคลื่อนไหวของแขนและเท้า โดยคำนึงถึงความสามารถของแขนในการทำงานบนโต๊ะได้สะดวกสบาย และเท้าควรแตะพื้นหรือฐานรองเท้า เท้าไม่ลอยห้อยอยู่เพราะเมื่อทำงานเป็นเวลานานจะมีผลต่อกล้ามเนื้อขาและเข่าได้

  12. ควรมีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับให้เข่าและขาเคลื่อนไหวได้สะดวก หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของขวางเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุของขาและเข่า หรือมีการเอี้ยวบิดตัวทำให้เกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อได้ • เก้าอี้ทำงานคอมพิวเตอร์ควรมีพนักพิงหลัง เพื่อให้รองรับกับกระดูกสันหลัง อาจมีหมอนรองหนุนหลังรองรับความโค้งงอของโครงสร้างกระดูกสันหลัง เพราะหากใช้เก้าอี้ที่ไม่รับกับส่วนหลัง อาจเกิดอาการปวดหลังหรือเอวได้ • เก้าอี้ทำงานที่มีที่เท้าแขน จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถวางพักแขนได้ขณะที่ไม่ได้พิมพ์งานบนแป้นพิมพ์ เพื่อลดแรงกดดันและการทำงานของกล้ามเนื้อช่วงบ่าและท่อนแขน แต่ไม่ควรเลือกแบบเท้าแขนที่ไปขัดข้อศอกเวลาทำงาน

  13. การจัดวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การจัดวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • ส่วนที่ใช้งานบ่อยได้แก่ เมาส์,แป้นพิมพ์,โทรศัพท์ควรจัดในส่วนใช้งานบ่อย(Primary Work Zone) เพื่อหยิบจับใช้งานได้สะดวก หลีกเลี่ยงการวางอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้ทำงานต้องเอื้อมมือ ซึ่งมีผลกระทบต่อความไม่สะดวกสบายของแขน ไหล่ และหลัง

  14. จัดวางตำแหน่งแป้นพิมพ์ลึกเข้าไปจากขอบโต๊ะ เพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอที่จะสามารถวางข้อมือหรือท่อนแขนลงบนโต๊ะโดยไม่ทำให้เกิดการเมื่อยล้าของข้อมือ ระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ต้องสัมพันธ์ เพราะตำแหน่งของคีย์บอร์ดควรทำมุมกับข้อมือและข้อศอกในระดับระนาบ ไม่บิดงอ

  15. จัดวางเมาส์ให้อยู่ในตำแน่งที่สามารถขยับมือไปมาได้ ควรจัดให้แป้นพิมพ์และเมาส์อยู่ใกล้กัน เพื่อให้สามารถขยับมือไปมาระหว่าง 2 อุปกรณ์ได้รวดเร็ว และเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ใช้ต้องยกมือขึ้นลงบ่อยๆ

  16. แหล่งอ้างอิง • จรัณ ภาสุระ. 2539. เออร์กอนอมิกส์ (Ergonomics) ศาสตร์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำวัน. กรุงเทพ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน). • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เพื่อสุขภาพและความปลอดภัย[ออนไลน์] [อ้าง เมื่อ 1 พฤษภาคม 2549] เข้าถึงได้จาก: http://oho.ispt.ac.th/health/. • สิทธิ์ ศรีบูรพา. 2540. เออร์โกโนมิกส์ : วิศวกรรมมนุษยปัจจัย. กรุงเทพ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน). • Occupational Safety and Health Administration:U.S. Department of Labor. 1997. Computer Workstation. [Online] [Cited 26 May 2006] Available from http://www.osha.gov/SLTC/etools/computerworkstations/index.html • PCS:Public&Commercial Services Union. 1992. Temperature at work: Minimum and Maximum temperatures for indoor workplaces. [Online] [Cited 9 May 2006] Available from: http://www.pcs.org.uk • Siamhealth. 2548. ความเครียดจากการทำงาน [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 8 พฤษภาคม 2549] เข้าถึงได้จาก : http://www.siamhealth.net/Disease/neuro/psy/stress/work_stress.htm

More Related