551 likes | 3.23k Vues
โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. สืบค้นสายสัมพันธ์โนนธาตุโนนแท่น. เสนอ. อาจารย์อรวรรณ กองพิลา. รายวิชา ส 11070 ประวัติศาสตร์. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน.
E N D
โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สืบค้นสายสัมพันธ์โนนธาตุโนนแท่น เสนอ อาจารย์อรวรรณ กองพิลา รายวิชา ส 11070 ประวัติศาสตร์
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน กลุ่มโครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสนใจที่จะศึกษาโบราณสถานโนนแท่นและประเพณีที่เกี่ยวกับโนนแท่น ในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงความสำคัญของสถานที่ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนเพื่อจะเป็นการคลายข้อสงสัยและเป็นการเผยแพร่ ประเพณีโนนธาตุโนนแท่น ประเพณีสรงน้ำพระแท่นพระยืน และโบราณสถานและวัตถุโบราณที่สำคัญๆต่างๆมากมายให้คงอยู่ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบไป
คำถามการทำโครงงาน • โนนแท่นมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างไร • 2.โบราณสถานโนนแท่นก่อให้เกิดความสัมพันธ์ของชาวบ้านอย่างไร • 3.ความสัมพันธ์ของชาวบ้านที่มีต่อโนนแท่นเปลี่ยนไปจาอดีตอย่างไร • 4.ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับโนนแท่นมีพิธีกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างไร
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาวัตถุโบราณที่มีอยู่ในโบราณสถานโนนแท่น 2. เพื่อศึกษาความเป็นมาของโนนแท่นและประเพณีโนนธาตุโนนแท่น 4. เพื่อศึกษาประเพณีโนนธาตุโนนแท่นว่ามีพิธีกรรมแตกต่างกันอย่างไร 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผู้คนที่มีต่อโนนแท่นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ข้อมูลที่จัดทำสามารถทำให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกหมู่บ้านได้รู้จักกับโนนแท่นและประเพณีโนนธาตุโนนแท่นมากยิ่งขึ้น • 2.เป็นแนวทางให้หน่วยงานในชุมชน เช่น โรงเรียน อ.บ.ต นำผลการดำเนินงานไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานของตน • 3.ชาวบ้านให้ความสำคัญกับโนนแท่นและประเพณีโนนธาตุโนนแท่นมากขึ้นเป็นการเผยแพร่สถานที่เก่าแก่ของท้องถิ่นตนอย่างโนนแท่นให้คงอยู่สืบต่อไป
วิธีการดำเนินงาน • อุปกรณ์ในการศึกษา • 1.คอมพิวเตอร์ • 2.อินเตอร์เน็ต • 3.กล้อง • 4.ปากกา สมุดบันทึก 5.พาหนะเดินทาง
สืบค้นสายสัมพันธ์โนนธาตุโนนแท่นสืบค้นสายสัมพันธ์โนนธาตุโนนแท่น ทีมการทำโครงงานได้ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานต่างๆสามารถแบ่งเป็นยุคดังนี้ ยุคที่ 1 โนนแท่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคที่ 2 สายสัมพันธ์ของชาวบ้านกับโนนแท่น ยุคที่ 3 กว่าจะเป็นโนนธาตุโนนแท่น ยุคที่ 4 ฟื้นฟูและการอนุรักษ์ (2546- ปัจจุบัน)
หมู่บ้านบึงสวางเดิมชาวบ้านเรียกว่า "บ้านพระแท่น" กับ "บ้านบักพร้าว" ที่เรียกว่า "บ้านพระแท่น" เนื่องจากในบริเวณบ้านบึงสวางมีซากแท่นโบราณ เป็นแท่นศิลาแลงขนาดใหญ่ บริเวณใกล้ ๆ มีกลุ่มของใบเสมาฝังอยู่จำนวนมาก มีการขุดค้นพบกระดูก และข้าวของเครื่องใช้ของคนโบราณในบริเวณนี้ ปัจจุบันพระแท่นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความนับถือเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีพิธีเซ่นผีพระแท่นเป็นประจำทุกปี สำหรับชื่อ "บ้านบักพร้าว" มาจาก แต่เดิมที่บริเวณนี้มีต้นมะพร้าวขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนชื่อบึงสวางเป็นชื่อที่ทางราชการใช้เรียกในภายหลัง สันนิษฐานว่ามาจากการที่มีบึงขนาดใหญ่อยู่หน้าหมู่บ้าน
อยู่ ณ บริเวณที่เรียกว่าโนนแท่น
ยุคที่ 1 โนนแท่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรได้เข้ามาสำรวจบริเวณโนนแท่นสันนิฐานว่าโนนแท่นเป็นโบราณสถานที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ก่อนประวัติศาสตร์พบหลักฐานที่แสดงถึงการดำรงชีวิต พิธีกรรมและความเชื่อสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 จากหลักฐานที่ค้นพบมีความเป็นไปได้ว่าหลักฐานเหล่านั้นจะอยู่ยุคโลหะมนุษย์ยุคนี้รู้จักนำสำริดและเหล็กมาเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ หลักฐานที่พบมีดังนี้
วัตถุโบราณที่ค้นพบ ในสถานปฏิบัติธรรมโนนแท่น
พระพุทธรูปปรางค์หินทราย มีอายุในราวปีพุทธศตวรรษที่ 16 -18
โบราณสถานศิลาแลง มีเฉพาะส่วนฐานมีขนาด 48 เมตรโดยปัจจุบันชาวบ้านได้สร้างศาลาโปร่งคลอบทับไว้ และประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นไว้บนแท่น ด้านหลังพระพุทธรูปมีแท่นฐานปติมากรรมหินทราย 1 ชิ้น และอีก 1 ชิ้นวางอยู่ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของแท่นฐานโบราณสถาน ด้านทิศตะวันตกของฐานโบราณสถาน ฐานศิลาแลง ที่ชาวบ้านเรียกว่า พระแท่น
ภาพที่ 2ใบเสมา ที่พบไม่ไกลจากฐานศิลาแลงมากนัก
ฐานศิวลึงค์ที่พบบริเวณด้านทิศตะวันตกของฐานศิลาแลงฐานศิวลึงค์ที่พบบริเวณด้านทิศตะวันตกของฐานศิลาแลง
โครงกระดูกมนุษย์ ภาพก ภาพ ข ภาพ ข กระดูกฟันกรามของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบบริเวณสระน้ำ ภาพ ก โครงกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ถูกเก็บไว้ในถังพลาสติก
ภาชนะดินเผา ที่ขุดค้นพบมีด้วยกันหลายรูปแบบ ได้แก่ หม้อดิน เหยือกน้ำ คนโทที่มีรูปทรงฐานเตี้ยคอยาวและปากว้าง เป็นต้น
เครื่องประดับ มีทั้งที่ทำจากสำริด หิน และแร่ต่างๆ ซึ่งเครื่องประดับที่ค้นพบมีด้วยกันหลายชนิด เช่น กำไรสำริด แหวนสำริด ลูกปัดที่ทำจากหิน กำไรหินอ่อน กำไรที่ทำจากอำพัน (อำพันมีลักษณะคล้ายหยก สีเขียว หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เขียวอำพัน)
กระเบื้องดินเผาที่พบมีลักษณะโค้งเว้า หนาประมาณ 1-2 นิ้วคนในสมัยนั้นใช้ประโยชน์คือ มุงหลังคาเพื่อกันแดดกันฝน โดยวิธีการมุงก็มุงให้สลับหงายและคว่ำจะทำให้กระเบื้องซ้อนกันกันพอดี
ยุคที่ 2 สายสัมพันธ์ของชาวบ้านกับโนนแท่น ในช่วงประมาณกว่าศตวรรษที่ผ่านมา โนนแท่นทำให้เกิดประเพณีดีงามขึ้น นั่นคือประเพณีโนนธาตุโนนแท่น ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวบ้านทั้งตำบลบ้านเหล่ามารวมกัน สาเหตุที่ชาวบ้านไปสักการบูชาโนนแท่น (แท่นศิลาแลง) เพราะว่ามีตำนานเล่าขานกันมาว่าสถานที่โนนแท่นแห่งนี้เป็นสถานที่ต้องห้าม ถ้าผู้ใดเขาไปในเขตของโนนแท่น (ปัจจุบันเป็นเขตของสถานปฏิบัติธรรมโนนแท่น) โดยการลบลู่ดูหมิ่นหรือคิดที่จะเข้าไปทำลายหรือด้วยจุดประสงค์อะไรก็ตามแต่ที่คิดไม่ดีต่อโนนแท่น คนคนนั้นเมื่อกับมาถึงบ้านจะตายไปโดยไม่รู้สาเหตุ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าไหลตาย และมีปรากฏการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นต่อๆกันมาทำให้ชาวบ้านตายอย่างไม่รู้สาเหตุติดต่อกันหลายราย หลายๆครั้ง จนชาวบ้านมีความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นผีดุร้ายที่มากินคนที่เข้าไปในพื้นที่ของโนนแท่นจนเรียกผีดังกล่าวว่า “ผีกินคน” จนชาวบ้านให้ความนับถือและเคารพบูชาความศักดิ์สิทธิ์ของโนนแท่นมาเรื่อยๆ ทำให้เกิดประเพณีที่ดีงามเกิดขึ้นนั้นคือ ประเพณีสรงน้ำพระแท่นที่ชาวบ้านทั้งตำบลบ้านเหล่าทำพิธีร่วมกัน
ยุคที่ 3 กว่าจะเป็นโนนธาตุโนนแท่น ในอดีตชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องผีกินคนที่มีอยู่ในตำนาน ที่มีอยู่ในตำนาน พอเวลาผ่านไปนานๆปรากฏการณ์ที่เหนือธรรมที่เคยเกิดขึ้นก็ไม่ปรากฏ ทำให้ชาวบ้านหลายๆหมู่บ้านเริ่มให้ความศรัทธาและความเชื่อทีมีต่อโนนแท่นน้อยลง ทำให้ดูเหมือนว่าความศักดิ์สิทธิ์ของโนนแท่นที่มีอยู่เริ่มหายไป แต่ก็ยังมีขาวบ้านอีกส่วนหนึ่งที่ยังยึดมั่นและเคารพบูชาในสถานที่แห่งนี้ กว่า 100 ปีที่แล้ว เริ่มต้นจากความเชื่อความศรัทธาและความเคารพบูชาของชาวบ้านที่มีต่อโนนแท่น จนทำให้เกิดประเพณีที่ดีงามเป็นประเพณีสรงน้ำพระแท่นที่ชาวบ้านทั้งตำบลร่วมกันเข้าร่วมพิธี
ในปี พ.ศ.2480 ชาวบ้านจากตำบลบ้านเหล่าจากหมู่บ้านบึกสวางได้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในเขตบ้านพระยืนตำบลพระยืน ไม่นานนักชาวบ้านตำบลบ้านเหล่ากับตำบลพระยืนก็มีความสัมพันธ์กันจนก่อให้เกิดประเพณีสรงน้ำพระแท่นพระยืน • ในเวลาประมาณ 20 ให้หลังหรือราว พ.ศ.2500 ชาวบ้านที่ถือเป็นบรรพบุรุษผู้ริเริ่มประเพณีที่ทำร่วมกันระหว่างชาวบ้านสองตำบลก็เริ่มเสียชีวิตลงเรื่อยๆผู้คนก็เรื่อยไปมาร่วมประเพณีก็ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด เป็นเหตุให้ประเพณีสรงน้ำพระแท่นพระยืนไม่มีผู้สืบต่ออีกต่อไป
ปี พ.ศ.2533 การประกอบพิธีกรรมประเพณีโนนธาตุโนนแท่น เริ่มมีคนเข้าร่วมพิธีน้อยลงชาวบ้านเริ่มห่างหายไปเรื่อยๆประเพณีสรงน้ำพระแท่นไม่มีการสืบทอดต่อ และต้องนำไปสู่การฟื้นฟูในปัจจุบัน สอบถามผู้รู้ในท้องถิ่นเกี่ยวกับประเพณีโนนธาตุโนนแท่น
ยุคที่ 4 ฟื้นฟูและการอนุรักษ์ (2546- ปัจจุบัน) พระอาจารย์ปรีชา เขมาภิรโต มีความคิดที่จะฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีที่เคยมีมาตั้งแต่ก่อน ให้กลับมาดังเดิมอีกครั้งดังนี้
1.สร้างและสนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้แก่ผู้คนในชุมชน เช่น การจัดอบรมและสัมมนาต่างๆในเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาสถานที่ดังกล่าวให้เกิดความรู้และจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้คนในชุมชน 2.จัดการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมดังกล่าว ให้เกิดการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนของตนและชุมชนใกล้เคียง เพื่อให้ผู้คนในชุมชนเกิดความตระหนักถึงวัฒนธรรมดังกล่าวและเกิดการพัฒนาและฟื้นฟูอย่างถูกต้อง
3.มีการนำเสนอให้แก่ส่วนกลางได้รับทราบถึงปัญหานี้ และหาทางแก้ไขได้อย่างถูกต้อง เพื่อของบประมาณในการพัฒนาและฟื้นฟูวัฒนธรรมตลอดจนการส่งเสริมและจัดให้มีการสำรวจและเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไปในอนาคต • ในปีพ.ศ. 2552 ทางสำนักสงฆ์ก็ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นบริเวณโนนแท่นโดยมีลักษณะคล้ายอุโบสถเพื่อจัดทำเป็นศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้ชาวบ้านและผู้สนใจเข้าไปศึกษาเรียนความเป็นมาของโนนแท่นและสืบทอดความสำคัญของพระพุทธศาสนา
สรุปผลการศึกษา ประเพณีโนนธาตุโนนแท่น เริ่มมาจากประเพณีสรงน้ำพระแท่นซึ่งมีขึ้นในราวปี พ.ศ.2453 หรือประมาณ 100 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อโนนแท่น จนกลายมาเป็นประเพณีสรงน้ำพระแท่นดังกล่าว เมื่อชาวบ้านจากตำบลบ้านเหล่ามีการย้ายถิ่นฐานไปสู่บ้านพระยืนตำบลพระยืน ทำให้ชาวบ้านมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น จนมีการเข้าร่วมประเพณีร่วมกันระหว่างตำบลบ้านเหล่ากับตำบลพระยืนเกิดเป็นประเพณีสรงน้ำพระแท่นพระยืน
จนกระทั่งประเพณีเริ่มจะเลือนรางและสูญหายไปในที่สุด ต่อมาเมื่อชาวบ้านตำบลบ้านเหล่าไม่ได้ไปสักการบูชาพระยืนแล้วชาวบ้านก็ยังเคารพและบูชาโนนแท่นอย่างเดิม มีประเพณีที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “ประเพณีโนนธาตุโนนแท่น” เนื่องจากชาวบ้านได้ค้นพบพระธาตุองค์หนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเหล่ามากนัก ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสิ่งเก่าแก่และมีความศักดิ์สิทธ์และเห็นว่าพระธาตุอยู่ไม่ไกลจากโนนแท่นมากนักจึงทำกันเป็นประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
สมาชิกในกลุ่ม ทรราช 1.นางสาวกมลรส ทำจ้อม หัวหน้ากลุ่ม 2.นางสาววนิดา นามบ้านเหล่า 3.นางสาวอาภาวรรณ กองมณี 4.นางสาวธัญชนก พิมพ์บึง 5.นางสาวสุกัญญา บุญเมฆ 6.นางสาวศุภาวรรณ ซุยกระเดื่อง