1 / 77

เติมพลังทีมงานสร้างสรรค์ รู้ รัก สามัคคี ทำดีเพื่อส่วนรวม

เติมพลังทีมงานสร้างสรรค์ รู้ รัก สามัคคี ทำดีเพื่อส่วนรวม. โดย ดร.สุทิน ลี้ปิ ยะชาติ. วันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. เติมพลังทีมงามสร้างสรรค์ รู้ รัก สามัคคี ทำดีเพื่อส่วนรวม. ประเด็นนำเสนอ :. พระปฐมบรมราชโองการ พระ บรมราโชวาทและพระราช ดำรัสที่เกี่ยวข้อง. ๑.

Télécharger la présentation

เติมพลังทีมงานสร้างสรรค์ รู้ รัก สามัคคี ทำดีเพื่อส่วนรวม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เติมพลังทีมงานสร้างสรรค์ รู้ รัก สามัคคี ทำดีเพื่อส่วนรวม โดยดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ วันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

  2. เติมพลังทีมงามสร้างสรรค์ รู้ รัก สามัคคีทำดีเพื่อส่วนรวม ประเด็นนำเสนอ : พระปฐมบรมราชโองการ พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้อง ๑ เก่ง : วิสัยทัศน์ พันธกิจ สศช. ๒ ดี :สมรรถนะข้าราชการ จรรยาข้าราชการ สศช. ๓ มีความสุข :ดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔

  3. เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

  4. พระบรมราโชวาทพระราชทานเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ “...ก่อนที่บุคคลจะพูดจะทำสิ่งใดจำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อนว่า กิจที่จะทำคำที่จะพูดผิดหรือถูกเป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหายเป็นสิ่งที่ควรพูดควรกระทำหรืองดเว้น…” คิดดี

  5. พระบรมราโชวาทพระราชทานเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ “…เมื่อคิดพิจารณาได้ดังนี้ก็จะสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควรหยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้องพูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผลเป็นประโยชน์และเป็นความเจริญ…” ทำดี

  6. พรปีใหม่ ๒๕๔๗ พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ “…ในปีใหม่นี้ทุกคนจึงชอบที่จะตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท. ไม่ว่าจะคิดจะทำสิ่งใดก็ขอให้คิดให้ดีให้รอบคอบทำให้ดีให้ถูกต้อง. ผลของการคิดดีทำดีทำถูกต้องนั้นจะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนตลอดจนประเทศชาติดำเนินก้าวหน้าต่อไปด้วยความมั่นคงสวัสดี...”

  7. พระราชดำรัส ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๔ธันวาคม ๒๕๔๗ “...ขอให้ท่านมาที่นี่ได้มีความแจ่มใส วันนี้รู้สึกว่าท่านจะแจ่มใสดีต้องแจ่มใส เพราะถ้าไม่แจ่มใสทำงานไม่ได้ต้องให้ท่านทำงานได้ดี ๆแล้วก็คิดถึงงานที่มีที่จะต้องทำทำให้ดี ๆ ไม่ทำให้เละถ้าทำให้เละประเทศชาติก็เละขอให้มีความสุขความสำเร็จทุกประการ...” แจ่มใส มีความสุข

  8. จำได้ไหม ในปีที่ผ่านมาทรงขออะไรจากพวกเรา

  9. ๑) คิด พูด ทำ ด้วยความเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ๒) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ ๓) ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน ๔) พยายามทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล พระราชดำรัส วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙

  10. “...ความเจริญมั่นคงทั้งนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติมุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลังด้วยสติรู้ตัวด้วยปัญญา รู้คิดและด้วยความสุจริต จริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น จึงขอให้ท่านทั้งหลาย...ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่างแล้วตั้งจิตตั้งใจให้เที่ยงตรงหนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมอันไพบูลย์ คือชาติบ้านเมืองอันเป็นถิ่นที่อยู่ที่ทำกินของเรามีความเจริญมั่นคงยั่งยืนสืบไป...” พระราชดำรัส วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒

  11. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท หลักธรรมของคนดี • รู้ รัก สามัคคี • รู้รู้ถึงปัญหา รู้ถึงสาเหตุ รู้ทางแก้ไข • รักรักและปรารถนาดีที่จะเข้าไปแก้ไข • สามัคคีมีความปรารถนาแก้ไขปัญหา ทำงานเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกัน

  12. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ดี เก่ง มีความสุข • ดีคือ ไม่คิดชั่ว มีสติรู้ตัวควบคุมและหยุดความคิดชั่วได้ • เก่ง(ทำดี)คือ ทำหน้าที่ถูกต้องสัมฤทธิ์ผล เป็นประโยชน์ และความเจริญแก่ครอบครัว ชุมชน ชาติ ด้วยรู้รักสามัคคี สุจริตกาย วาจา ใจ • มีความสุขคือ มีสุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง บริหารจัดการ อย่างมีสติ รอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต (ทางสายกลาง)

  13. วิสัยทัศน์ สศช. หน่วยงานหลักในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง

  14. บทบาทและภารกิจ • หน่วยงานยุทธศาสตร์ จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติ และการพัฒนาในระดับต่างๆ รวมทั้งให้คำปรึกษารัฐบาลประสานการแปลงนโยบายและยุทธศาสตร์รัฐบาลไปสู่ปฏิบัติ และติดตามประเมินผล • หน่วยงานข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมเชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลและเฝ้าระวังภัยทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล และเจาะลึกข้อมูลเชิงลึกของต่างประเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน -เชิงยุทธศาสตร์ บริหารเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ • หน่วยงานความรู้สมัยใหม่ พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเพียบพร้อมด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการวางแผนยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ และการประสานงาน เพื่อผลักดันการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

  15. ค่านิยม สศช. มุ่งมั่น ทุ่มเท พัฒนาประเทศ เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคม ด้วยคุณธรรม ตามหลักวิชาการอย่างมืออาชีพ

  16. วัฒนธรรมองค์กร สศช. • เป็นองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้าน วิชาการ • เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะและสังคม • มีระบบธรรมาภิบาล • บุคลากรของสำนักงานฯ เป็นทรัพยากรอันมีค่าที่สุด ขององค์กร

  17. จรรยาบรรณ-(Code of conduct) ประมวลกฏเกณฑ์ความประพฤติ หรือประมวลมารยาทของผู้ประกิบอาชีพนั้นๆ ต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กร หรือสมาคมควบคุม  มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติปฏิบัติด้วยความดีงาม

  18. กรอบจรรยาบรรณ • จรรยาบรรณต่อตนเอง • จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน • จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน (บน/ล่าง/ซ้าย/ขวา) • จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม

  19. ท่านอยากเป็นคนเก่ง คนดี คนมีความสุข แบบไหน คุณลักษณะของข้าราชการยุคใหม่ ควรมีสมรรถนะ(Core Competencies) ๕ ประการคือ ๑. การบริการที่ดี ๒. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ๓. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ๔. การมีจริยธรรม ๕. การทำงานเป็นทีม

  20. แนวทางปฏิบัติตน๗ประการแนวทางปฏิบัติตน๗ประการ ดำรงชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง มีความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ยึดหลักความเสมอภาค มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

  21. ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ สศช. พ.ศ. ๒๕๕๓ 1 2 NESDB 4

  22. ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ สศช.พ.ศ. ๒๕๕๓ • น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน • ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง • รับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม • มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

  23. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ...การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัว ให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดเพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้โดยแน่นอน...(๑๙ ก.ค. ๒๕๑๗)

  24. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ...เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป... (จากวารสารชัยพัฒนา)

  25. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ...เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่าSufficiency Economyใครต่อใครก็ว่า ไม่มี Sufficiency Economyแต่ว่าเป็นคำใหม่ของเรา ก็ได้หมายความว่าประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุผลจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง... ( ๔ ธ.ค. ๒๕๔๓)

  26. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ...ความพอเพียงนี้ อาจจะมีของหรูหราก็ได้แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่นต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียงทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง... (๔ ธ.ค. ๒๕๔๑)

  27. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ...ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆแต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน...พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้ ฉะนั้นโครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่...ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน...เหมือนเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน... ( ๒๓ ธ.ค. ๒๕๔๒)

  28. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางในการดำรงชีวิตประยุกต์ใช้ได้ ในทุกระดับ ทุกอาชีพ ทุกฐานะ

  29. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเหตุผล เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม นำสู่ สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง ความพอเพียง พอประมาณ ชีวิต / เศรษฐกิจ / สังคม/สิ่งแวดล้อม ก้าวหน้าอย่างสมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน

  30. ประชาคมโลก คน ครอบครัว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้กับทุกระดับ ทุกคนจากทุกภาคส่วนนำไปใช้ได้ ทำได้ ถ้าอยากจะทำ ประเทศ/รัฐ หมู่บ้าน ชุมชน องค์กร มูลนิธิ ฯลฯ

  31. วิกฤติในการดำเนินชีวิตปัจจุบันปัญหาหนี้สินในสังคม องค์กร บุคคล • ปัญหาหนี้สินระดับบุคคล • หนี้บัตรเครดิต • สินเชื่อบุคคล • หนี้บัตรเงินผ่อน • หนี้นอกระบบ • ฯลฯ

  32. ร้อยละ 10 Revenue Debt Service Ratio = Debt Paymentx 100 ไม่ควรเกิน ร้อยละ 15 ร้อยละ 20 ร้อยละ 30 Public Debt ไม่ควรเกิน ร้อยละ 50 GDP

  33. ปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลและวิธีแก้ไขปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลและวิธีแก้ไข • ท่านมีหนี้หรือไม่ • ถ้ามี มีหนี้อะไรบ้าง • และท่านมีวิธีแก้ไขปัญหาการเป็นหนี้อย่างไร • โปรดตอบสั้น ๆ แต่เข้าใจง่าย

  34. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๑. ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด “...การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้ จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ประหยัดเท่านั้น ยังจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย...”(๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๒)

  35. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๒. ไม่จ่ายเงินอย่างไร้เหตุผลอันควรในสิ่งที่ไม่ควรจ่าย “...โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ ฉะนั้นก่อนที่จะปักใจเชื่ออะไรลงไป ควรพิจารณาดูเหตุผลให้ถ่องแท้เสียก่อน แม้แต่สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า ยังทรงแนะให้ใช้สติและปัญญาศึกษาค้นคว้าไตร่ตรอง...”(๓ ตุลาคม ๒๕๓๒)

  36. เอแบคโพลล์: ร้อยละของตัวอย่างที่ตั้งใจจะซื้อสินค้าในอีก ๖เดือนข้างหน้า

  37. ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ตั้งใจจะซื้อสินค้าในอีก ๖เดือนข้างหน้า(ตอบได้มากกว่า ๑ข้อ) จำแนกตามรายได้

  38. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๓. รู้จักใช้เงิน ไม่ยึดติดวัตถุ ยี่ห้อ และบริโภคนิยม “... วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและของประชาชนทั่วไปมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด เนื่องมาจากความวิปริตผันแปรของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ของโลก ยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวังประคับประคองตัวเรามากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่โดยประหยัด เพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี...”(๓๑ธันวาคม ๒๕๒๑)

  39. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๔. ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่ขี้ตามช้างต้องระวังเรื่องการใช้จ่าย ให้กินอยู่ตามฐานะ “... คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่ แบบพออยู่พอกิน...”(๔ธันวาคม ๒๕๑๗)

  40. กรุงเทพโพล เรื่อง “การใช้โทรศัพท์มือถือ”สำรวจการใช้มือถือของวัยรุ่นไทย

  41. กรุงเทพโพล เรื่อง “การใช้โทรศัพท์มือถือ”สำรวจบุคคลที่โทรหาบ่อยที่สุด

  42. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง • ใช้บัตรเครดิตเท่าที่จำเป็น ในรายการที่เหมาะสมและ ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะ “...คนเราเมื่อมีความสามารถที่ดีเป็นทุนรอนอยู่  ก็จะไม่มีวันอับจน ย่อมหาทางสร้างตัวสร้างฐานะ       ให้ก้าวหน้าได้เสมอ  ข้อสำคัญในการสร้างตัวฐานะนั้น  จะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไปด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และความพอเหมาะพอดี   ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ...”(๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๐)

  43. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๖. การลดภาระหนี้ให้หมดไปโดยเร็วที่สุด เคล็ดลับการกำจัดหนี้

  44. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๗. รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดี “...ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล...ซึ่งสามารถนำมาใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพอันถาวรของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี ข้อสำคัญจะต้องรู้จักใช้ทรัพยากรนั้นอย่างฉลาด มุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ...”(๕ ธันวาคม ๒๕๒๙ )

  45. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๘. ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านสุขภาพกาย ควบคู่กับฝึกสติเพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตให้เข้มแข็ง “...คนเราถ้ามีอนามัยแข็งแรง มีจิตใจที่ร่าเริง ก็สามารถที่จะทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูง ถ้าหากว่าทำงานเคร่งเครียดไม่มีความหย่อนใจบ้าง หรือไม่มีการปฏิบัติเล่นกีฬาก็จะไม่สามารถที่จะทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงและมีผลดีต่อส่วนรวม...”(๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๐)

  46. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๙. กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณพอเหมาะ

  47. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๑๐. ใช้ชีวิตในการเรียนหรือการทำงานและชีวิตส่วนตัว อย่างสมดุลกัน และพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อรักษาสุขภาพ ร่างกายให้แข็งแรง “…กายที่มีสุขภาพดีก็หมายความว่ากายที่แข็งแรงที่เดินได้ ยืนได้ มีกำลัง มีทุกอย่าง รวมทั้งมีความคิดที่ดี ถ้ามีสุขภาพจิตที่ดีก็มีกำลัง เป็นกำลังที่จะแผ่ความเมตตาให้แก่คนอื่น มีกำลังที่จะคิดในสิ่งที่ถูกต้อง ที่จะทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองแก่ตัวและความเจริญรุ่งเรืองในสังคม...”(๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐)

  48. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๑๒. หมั่นพัฒนาจิตใจของตนเองให้มีความเจริญอยู่เสมอๆ “…จิตใจที่ต่ำทรามนั้นเป็นจิตใจที่อ่อนแอ ไม่กล้าและไม่อดทนที่จะเพียรพยายามสร้างสมความดีงาม ความเจริญ ความสำเร็จ ในทางที่ถูกต้อง เป็นธรรม...ก็ทำให้เป็นคนด้านหนาไร้ความอาย หยาบคาย ละโมบ ทำอะไรที่ไหน ก็เกิดอันตรายที่นั่น ท่านจึงสอนให้สังวรระวังใจของตนให้ดี อย่าให้ความชั่วเกิดขึ้น และหากเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำจัดเสียทันที...”(๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๔)

  49. กฎเหล็ก ๑๓ ประการเพื่อการดำเนินชีวิตที่พอเพียง ๑๓. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน ความสำคัญของ“บัญชีครัวเรือน” “.....เพื่อแสดงให้เห็นที่มาที่ไปของรายรับรายจ่ายในแต่ละช่วงเวลา อันจะนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้ตนเอง.....” นายธีรพงษ์ตั้งธีระสุนันท์ อดีตผู้จัดการ ธกส.

  50. รายรับและรายจ่าย รายรับ รายจ่าย • เงินเดือน • ค่าเช่าจากทรัพย์สินที่ให้เช่า • ดอกเบี้ย • เงินปันผล • รายได้จากงานเสริม • รายได้อื่นๆ • ภาษี • ค่าจำนอง / ค่าเช่า • ค่าอาหาร • ค่าเสื้อผ้า • ค่าประกัน • ค่าแก๊ส / ค่าน้ำมัน • ค่าสาธารณูปโภค • ค่าความบันเทิง • ค่าดอกเบี้ยของบัตรเครดิต • ค่าหนี้สิน • ค่าเสี่ยงโชค (หวย/ หุ้น) เงินลงทุน = เป็นค่าใช้จ่าย ให้กับตัวเองเป็นอันดับแรก

More Related