1 / 63

วิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้น

วิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้น. คำฟ้องต้องระบุ การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด (องค์ประกอบความผิด) ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับ วันเวลา สถานที่กระทำความผิด บุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้อง. อำนาจศาลในชั้นตรวจคำฟ้อง ถ้าฟ้องถูกต้องให้ประทับรับฟ้อง

Télécharger la présentation

วิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้นวิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้น

  2. www.themegallery.com • คำฟ้องต้องระบุ • การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด (องค์ประกอบความผิด) • ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับ วันเวลา สถานที่กระทำความผิด • บุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้อง

  3. www.themegallery.com • อำนาจศาลในชั้นตรวจคำฟ้อง • ถ้าฟ้องถูกต้องให้ประทับรับฟ้อง • ยกเว้นแต่คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้อง ต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน จึงจะสั่งประทับฟ้องได้ • ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องให้ศาลสั่งให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้อง • ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องในเรื่องที่ศาลสั่งให้โจทก์แก้คำฟ้องไม่ได้ ให้ยกฟ้อง • คำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ถึงขนาดที่สั่งให้แก้ฟ้องไม่ได้ เช่น ขาดองค์ประกอบความผิด

  4. www.themegallery.com การไต่สวนมูลฟ้อง • ในกรณีที่ศาลเห็นว่าฟ้องถูกต้อง • ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนประทับฟ้อง ยกเว้นแต่ อัยการจะได้ฟ้องจำเลยในข้อหาอย่างเดียวกัน ม.162 (1) • ในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ ให้ศาลประทับฟ้อง โดยไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่อัยการจะต้องมีตัวจำเลยมายื่นฟ้องด้วย ม.162 (2)

  5. www.themegallery.com • การไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่อัยการยื่นฟ้อง • ต้องมีตัวจำเลยมาไต่สวนมูลฟ้อง ยกเว้นแต่ จำเลยอยู่ในอำนาจของศาลอยู่แล้ว(ขัง หรือปล่อยชั่วคราว) • ศาลต้องส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย • ถ้าศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง • ถามว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง • จำเลยไม่สิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบ แต่มีสิทธิที่จะมีทนายความช่วยเหลือ • ก่อนประทับฟ้องจำเลยมีฐานะเป็นจำเลยแล้ว

  6. www.themegallery.com • การไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ • ก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องศาลต้องส่งสำเนาคำฟ้อง และวันนัดไต่สวนมูลฟ้องให้แก่จำเลย • จำเลยจะมาหรือไม่มาในวันไต่สวนมูลฟ้องก็ได้ ถ้าจำเลยไม่มาศาลมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลยได้ • จำเลยมีสิทธิตั้งทนายความมาซักค้านพยานโจทก์ได้ แต่ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ • ถ้าศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง • ห้ามมิให้ศาลถามคำให้การจำเลย • ก่อนศาลประทับฟ้องจำเลยยังไม่มีฐานะเป็นจำเลย

  7. www.themegallery.com • มาตรา 167, 170 (ผลของการไต่สวนมูลฟ้อง) • คำสั่งคดีมีมูล มาตรา 167 บัญญัติให้ศาลประทับรับฟ้องเฉพาะคดีที่มีมูล คำสั่งที่มีมูลย่อมเด็ดขาดคู่ความจะอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปไม่ได้ทั้งสิ้น • ถ้าคดีไม่มีมูล ให้ศาลยกฟ้อง (มาตรา 167) ศาลจะทำเป็นคำพิพากษา หรือคำสั่งก็ได้ คำสั่งคดีไม่มีมูล โจทก์ย่อมอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ แต่อยู่ภายใต้บทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ ฎีกา

  8. www.themegallery.com • โจทก์ไม่มาศาลในวันไต่สวนมูลฟ้อง(โจทก์ขาดนัด ม.166) • การไต่สวนมูลฟ้องเป็นกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับศาลเท่านั้น ดังนั้นโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำพยานมาสืบเพื่อให้ศาลเห็นว่าคดีของโจทก์มีมูล ดังนั้นถ้าโจทก์ไม่มาศาลในวันไต่สวนมูลฟ้อง ถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ • หลักเกณฑ์โจทก์ขาดนัด • โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัด และโจทก์ทราบกำหนดนัดโดยชอบ • การไม่มาตามกำหนดนัด คือไม่มาศาลตามกำหนดนัดที่โจทก์มีหน้าที่นำพยานมาสืบ • โจทก์ หมายถึง พนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน

  9. www.themegallery.com • ผลของการที่โจทก์ขาดนัด หากโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัดให้ศาลยกฟ้องโจทก์เสีย ซึ่งเกิดผลตามมาตรา 166 วรรคสอง คือ • โจทก์ต้องร้องขอให้ศาลยกคดีของโจทก์ขึ้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลยกฟ้อง • โจทก์จะฟ้องคดีใหม่ไม่ได้

  10. www.themegallery.com • โจทก์ขาดนัด นำไปใช้ในชั้นพิจารณาด้วย(ม.181) แต่ใช้เฉพาะในนัดที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบเท่านั้น ถ้าโจทก์ไม่มาในนัดอื่น ไม่ถือว่าโจทก์ขาดนัด

  11. www.themegallery.com หลักทั่วไปในการพิจารณาคดีอาญาในศาล

  12. www.themegallery.com • การพิจารณาคดีอาญาต้องกระทำในศาลเจ้าของสำนวน • การเดินเผชิญสืบ • การที่ศาลออกไปสืบพยานหลักฐานไม่ว่าจะเป็นพยานเอกสาร บุคคล วัตถุ สถานที่ หรือผู้เชี่ยวชาญนอกอาคารที่ทำการศาล • ป.วิ.อ. ม.229 และ 230 • ทำเฉพาะในเขตศาลเท่านั้น • การส่งประเด็นไปสืบพยานหลักฐานที่ศาลอื่น • พยานหลักฐานนั้นสำคัญแต่นำมาที่ศาลเจ้าของคดีไม่ได้และพยานหลักฐานอยู่นอกเขตศาลเจ้าของเรื่องนั้น • ป.วิ.อ. ม.230

  13. www.themegallery.com • การสืบพยานที่อยู่นอกศาลโดยการประชุมทางจอภาพ • ป.วิ.อ. ม.230/1

  14. www.themegallery.com • การสืบพยานหลักฐานต้องกระทำโดยเปิดเผย(ม.172) • ข้อยกเว้น ม. 177 • เพื่อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศให้ล่วงรู้ถึงประชาชน

  15. www.themegallery.com • การพิจารณาคดีอาญาต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ม.172 • จำเลยขัดขวางการพิจารณา ป.วิ.อ. ม. 180 • ป.วิ.อ. ม. 230 การเดินเผชิญสืบนอกเขตศาล • พนักงานอัยการขอสืบพยานบุคคลไว้ก่อนที่จะจับตัวผู้ต้องหาได้ และก่อนฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. ม. 237 ทวิ • การสืบพยานซึ่งหวาดกลัวจำเลย ม.172 ว. 3 • การสืบพยานเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ม. 172 ตรี • ป.วิ.อ. ม. 172 ทวิ (1) (2) และ (3)

  16. www.themegallery.com • การพิจารณาคดีในศาลต้องใช้ภาษาไทย • ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ • คดีอาญา ม.13 ให้จัดหาล่ามให้พยาน ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา

  17. www.themegallery.com การพิจารณาคดีในศาล

  18. www.themegallery.com • เมื่อจำเลยอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว ศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง • ก่อนเริ่มพิจารณาศาลต้องหาทนายความให้จำเลย ม.173 • ถ้าเป็นความผิดซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิต หรือจำเลยเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ให้ศาลหาทนายความให้จำเลย ไม่ว่าจำเลยจะต้องการหรือไม่ • คดีมีอัตราโทษจำคุก ศาลต้องถามว่าจำเลยมีทนายความหรือไม่ ถ้าจำเลยไม่มีและต้องการให้ศาลหาทนายความให้

  19. www.themegallery.com “ก่อนเริ่มพิจารณา” ซึ่งหมายถึง ก่อนศาลสอบถามคำให้การจำเลย ตามมาตรา 172 วรรค 2 กำหนดอายุ 18 ปี ในวันที่ถูกฟ้องต่อศาลเท่านั้น หากวันที่กระทำผิดหรือวันที่ถูกจับจำเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปี แต่วันที่ถูกฟ้องคดีต่อศาลจำเลยมีอายุเกินกว่า 18 ปี ศาลไม่อยู่ในบังคับมาตรา 173 ที่ศาลต้องตั้งทนายความให้จำเลย

  20. www.themegallery.com • การพิจารณาคดีในศาลต้องกระทำต่อหน้าจำเลย • ข้อยกเว้น ม.172 ทวิ ศาลอาจสืบพยานลับหลังจำเลยได้กรณีดังนี้ • คดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อจำเลยมีทนายความ และศาลอนุญาต • คดีที่มีจำเลยหลายคน และการสืบพยานไม่เกี่ยวกับจำเลยคนใด ก็สืบพยานลับหลังจำเลยคนนั้นได้ • ศาลเห็นสมควร

  21. บทยกเว้นให้ศาลสืบพยานลับหลังจำเลยได้ ดังนี้ -มาตรา 172 ทวิ -มาตรา 180จำเลยขัดขวางการพิจารณา -มาตรา 230 -มาตรา 237 ทวิ

  22. www.themegallery.com • คดีอาญาจำเลยจะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าจำเลยไม่ให้การถือว่าจำเลยปฏิเสธ (ม.172 ว. 2) • หลัก โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ศาลเห็นว่ากระทำความผิดจริง • ข้อยกเว้น ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจะพิพากษาโดยไม่ต้องให้มีการสืบพยานก็ได้ ยกเว้นแต่ ข้อหาที่จำเลยรับสารภาพนั้นมีอัตราโทษขั้นต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปศาลต้องฟังพยานโจทก์ จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง

  23. www.themegallery.com • จำเลยรับสารภาพ ได้แก่ การที่จำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง • ถ้าจำเลยรับว่ากระทำ แต่ต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะที่กฎหมายยกเว้นความผิด หรือมีกฎหมายยกเว้นโทษ ถือเป็นคำให้การปฏิเสธฟ้องทั้งสิ้น เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามิได้กระทำความผิด หรือไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายเพื่อให้ศาลพิพากษายกฟ้องตาม มาตรา 185 คำให้การดังกล่าวถือเป็นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ไม่ใช้คำให้การรับสารภาพ

  24. www.themegallery.com • ข้อสังเกต • คดีอาญาที่อยู่ในเกณฑ์ต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย พิจารณาเฉพาะโทษขั้นต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เท่านั้น ไม่พิจารณาโทษขั้นสูง • เช่นกรณีที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน 10 ปี โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลพิพากษาลงโทษได้ โดยไม่ต้องสืบพยาน • กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดไม่เต็มตามตัวบทกฎหมาย การคิดอัตราโทษ ต้องลดมาตราส่วนโทษก่อน

  25. www.themegallery.com • โจทก์ฟ้องว่าลักทรัพย์ หรือรับของโจร หากจำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้ระบุชัดว่ารับสารภาพในข้อหาใดแน่ คำให้การเช่นนี้ไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับสารภาพตามฟ้องฐานใด โจทก์ต้องนำสืบพยานต่อไป

  26. -ฟ้องขอให้ลงโทษบทหนักซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ เมื่อจำเลยรับสารภาพ แม้โจทก์จะมิได้สืบพยานประกอบ แต่บทเบามีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่ถึง 5 ปี ศาลย่อมลงโทษบทเบาได้

  27. www.themegallery.com • คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนเสมอ ม.174 • คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนเสมอ เสร็จให้จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบ • ถ้าโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ถือว่าหน้าที่นำพยานเข้าสืบของโจทก์หมดแล้ว ดังนั้นโจทก์จะไม่มาวันนัดสืบพยานจำเลย ศาลจะยกฟ้องเพราะโจทก์ขาดนัดตาม ม.166 ประกอบกับ 181 ไม่ได้

  28. www.themegallery.com • โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง ม.163,164 • โจทก์ต้องมีเหตุอันควร เช่น การพิมพ์เวลา หรือสถานที่เกิดเหตุผิด หรือเพิ่มเติมวันเวลากระทำผิดซึ่งมิได้กล่าวในฟ้องโดยเกิดการพิมพ์ฟ้องผิดไป • โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอแก้ หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น • การแก้ฟ้องต้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี

  29. www.themegallery.com ฐานความผิด การแก้ ซึ่งต้องแถลงในฟ้องก็ดี รายละเอียด ฐานความผิด หรือ การเพิ่มเติม ซึ่งมิได้กล่าวไว้ก็ดี รายละเอียด ไม่ว่าจะทำเช่นนี้ในระยะใด ระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น หลัก มิให้ถือว่าจำเลยเสียเปรียบ ผล ข้อยกเว้น เว้นแต่จำเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิด หรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น

  30. www.themegallery.com คำพิพากษาฎีกาที่ 76/2501 ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดวันที่ 5 จำเลยให้การปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ สืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโจทก์ขอแก้ฟ้องเป็นว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 5 ดังนี้ จำเลยหลงต่อสู้ อนุญาตให้แก้ไม่ได้

  31. การพิพากษา (ม.185) ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดก็ดี การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจำเลยไว้ หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้ เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิด และไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด แต่เมื่อเห็นสมควรศาลจะปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้

  32. ห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอ ม.192 • หลัก ข้อยกเว้น • ม. 192 ว. 1 ม. 192 ว. 5, 6 • ม. 192 ว. 4 • ม. 192 ว. 2 ม. 192 ว. 3

  33. หลักเกณฑ์ มาตรา 192 ว.1 “ห้ามมิให้ศาลพิพากษา หรือสั่งเกินคำขอ หรือในข้อที่โจทก์ มิได้กล่าวในฟ้อง”

  34. ดูอย่างไรว่า เกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง • คำขอท้ายฟ้องไม่มี คำบรรยายฟ้องก็ไม่มี เท่ากับโจทก์ไม่ได้ขอ • คำขอท้ายฟ้องไม่มี แต่โจทก์บรรยายฟ้องมา เท่ากับมีคำขอ • คำขอท้ายฟ้องมี แต่โจทก์ไม่บรรยายฟ้องมา เท่ากับโจทก์ไม่ได้ขอ (ฟ้องขาดองค์ประกอบ)

  35. ม. 192 ว. 4 “ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง และที่ปรากฏในทางพิจารณา ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ” ผล ห้ามมิให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น

  36. เช่น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามตาม ป.อ. มาตรา 339 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 ในกรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคสี่ เพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องมาหรือมิได้มีคำขอท้ายฟ้อง

  37. ฎีกา 2941/2540 โจทก์บรรยายฟ้องว่าเป็นบุกรุกตามมาตรา 364 กรณีเข้าไปหรือซ่อนโดยปราศจากเหตุอันสมควร แต่ฟังได้ว่าเป็นบุกรุก เพราะไม่ยอมออกจากสถานที่ เมื่อผู้มีสิทธิให้ออก ดังนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้

  38. กรณีดังต่อไปนี้มิให้ถือว่าเกินคำขอ หรือเป็นเรื่องที่มิได้กล่าวในฟ้อง • ม. 192 วรรค 5 • ม. 192 วรรค 6

  39. มาตรา 192 ว.5 เงื่อนไข ถ้าศาลเห็นว่า 1. ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม 2. แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ผล ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ • โจทก์บรรยายฟ้องและสืบพยานหลักฐานได้ว่าจำเลยกระทำความผิด แต่ข้อหาหรือบทมาตราที่โจทก์ขอให้ศาลลงโทษไม่ตรงกัน ศาลลงโทษตามฐานที่ถูกต้องได้ ไม่ให้ถือว่าเป็นเรื่องนอกคำขอ

  40. ฎีกาที่ 5188/2549 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 291 และมาตรา 390 มิใช่ได้รับอันตรายสาหัสตามป.อ.มาตรา 300 ที่โจทก์ระบุมาในคำขอท้ายฟ้องเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องกรณีเป็นเรื่องโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า

  41. มาตรา 192 ว.6 เงื่อนไข ถ้าความผิดตามฟ้อง 1. รวมการกระทำหลายอย่าง และ 2. แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ผล ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความนั้นก็ได้

  42. ฎีกา 22/2539 ฟ้องว่าผลิต หรือจำหน่าย หรือมียาเสพติดไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย ย่อมรวมความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองอยู่ในตัว • ฎีกา 2161/2531 ฟ้องว่าจำเลยกับพวกรวม 3 คน ปล้นทรัพย์ ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกับพวกรวม 2 คน ชิงทรัพย์ ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ • ฎีกา 110/2534 ฟ้องว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ป.อ. มาตรา 276 หรือกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 การกระทำชำเราย่อมรวมการกระทำอนาจารอยู่ในตัว แม้โจทก์ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 279 ฐานอนาจาร ศาลย่อมลงโทษฐานอนาจาร ซึ่งโทษเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอ ตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 192 วรรคหก

  43. ฎีกา 740/2536 ฟ้องว่าพรากผู้เยาว์ไปเพื่ออนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 318 แต่ฟังได้ว่าจำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ศาลลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ • ฎีกา 6443/2545 โจทก์ฟ้องว่าทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงไม่ยินยอม ตาม ป.อ. มาตรา 303 ย่อมรวมความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอม ตามมาตรา 302 ด้วยอยู่ในตัว • ฎีกา 4934/2545 การใช้กำลังประทุษร้าย เป็นการกระทำผิดส่วนหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ เมื่อฟ้องว่าชิงทรัพย์ จึงลงโทษฐานทำร้ายร่างกายได้

  44. หลักเกณฑ์ มาตรา 192 วรรคสอง เงื่อนไขถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตก ต่างกับข้อเท็จจริงดังกล่าวในฟ้อง หลักให้ศาลยกฟ้อง ข้อยกเว้น1. ข้อแตกต่างมิใช่สาระสำคัญ และ 2. จำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ความนั้นก็ได้

  45. ถ้าข้อเท็จจริงที่ฟ้องแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง ยกเว้นแต่จะเป็นข้อแตกต่างที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยก็ได้ • ข้อแตกต่างในเรื่องใดบ้างที่เป็นหรือไม่เป็นสาระสำคัญ • วันเวลา สถานที่ • ฐานความผิด • เจตนา หรือประมาท • วัตถุ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด • ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน • ประสงค์ต่อผล เล็งเห็นผล

  46. ข้อแตกต่างตาม ม.192 ว. 3 มิให้ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญ(ศาลลงโทษได้) เว้นแต่จำเลยจะได้หลงต่อสู้ • ข้อแตกต่างในเรื่องวัน เวลา สถานที่ กระทำความผิด • ข้อแตกต่างในเรื่องฐานความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ • ถ้าไม่ใช่เกี่ยวกับทรัพย์ ดูว่าเข้า วรรค 5 หรือ 6 หรือไม่ • เจตนา ประมาท

  47. มาตรา 192 วรรคสาม • ข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่กระทำความผิด • การต่างกันระหว่างการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ • ลักทรัพย์ กรรโชก ฉ้อโกง รีดเอาทรัพย์ โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร ทำให้เสียทรัพย์ • (ข้อสังเกต ตัวบทไม่ระบุฐาน วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ บุกรุก) • การกระทำความผิดในเรื่องที่แตกต่างกันระหว่างการกระทำโดยเจตนากับประมาท

  48. การแตกต่างดังกล่าว • มิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ตามมาตรา 192 วรรคสอง • มิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอ ตามมาตรา 192 วรรคแรก • มิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ตามมาตรา 192 วรรค 4 ศาลสามารถลงโทษจำเลยได้ แต่จะลงโทษจำเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

  49. ยกเว้นแต่ จะปรากฏว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้

  50. ความแตกต่างกันเกี่ยวกับเวลาและสถานที่กระทำความผิดความแตกต่างกันเกี่ยวกับเวลาและสถานที่กระทำความผิด • ฟ้องว่ากระทำผิดเวลา สถานที่หนึ่ง แต่ทางพิจารณาได้ความว่ากระทำผิดเวลา หรือสถานที่อื่น ม. 192 ว. 3 มิให้ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่โจทก์ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้

More Related