1 / 24

International Environmental Law

International Environmental Law. กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ. องค์กรที่มีบทบาทในการดูแลสิ่งแวดล้อมในระดับระหว่างประเทศ. องค์การสหประชาชาติ (United Nations) United Nations Environment Program – UNEP โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ

dionne
Télécharger la présentation

International Environmental Law

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. International Environmental Law กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ 4 International Environmnetal Law

  2. องค์กรที่มีบทบาทในการดูแลสิ่งแวดล้อมในระดับระหว่างประเทศองค์กรที่มีบทบาทในการดูแลสิ่งแวดล้อมในระดับระหว่างประเทศ • องค์การสหประชาชาติ (United Nations) • United Nations Environment Program – UNEP โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ • Food and Agriculture Organization – FAO องค์การอาหารและการเกษตร • International Maritime Organization – IMO องค์การพาณิชยนาวีระหว่างประเทศ • International Atomic Energy Agency – IAEA ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ • องค์การอื่นๆ เช่น WHO, WTO, World Bank 4 International Environmnetal Law

  3. UN Millennium Goals: http://www.un.org/millenniumgoals/ • Sustainable Development: http://www.worldbank.org/en/topic/sustainabledevelopment • UNEP: http://www.unep.org/ • FAO: http://www.fao.org/home/en/ • WHO: http://www.who.int/en/ • IAEA: http://www.iaea.org/ • IMO: http://www.imo.org/Pages/home.aspx • Basel Convention: http://www.basel.int/ • Rotterdam Convention: http://www.pic.int/ • Ramsar Convention: http://www.ramsar.org/cda/en/ramsar-rsworldwideindex/main/ramsar/1%5E25636_4000_0__ • CITES: http://unfccc.int/kyoto_protocol/items/2830.php • Convention on Biological Diversity: http://www.cbd.int/ • Cartagena Protocol on Biosafety: http://bch.cbd.int/protocol/ • Kyoto Protocol: http://unfccc.int/kyoto_protocol/items/2830.php 4 International Environmnetal Law

  4. กฎบัตรสหประชาชาติ และปฎิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน • กฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 55 ด้วยความมุ่งหมายในการสถาปนาภาวการณ์แห่งเสถียรภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจำเป็นสำหรับความสัมพันธ์โดยสันติและโดยฉันทมิตร ระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยมีความเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกันและการกำหนดเจตจำนงของตนเองของประชาชนเป็นมูลฐานสหประชาชาติจะต้องส่งเสริม • ก. มาตราฐานการครองชีพที่สูงขึ้น • ข. การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม อนามัยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและความร่วมมือระหว่างประเทศทางวัฒนธรรมและการศึกษา และ • ค. การเคารพโดยสากล และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพอันเป็นหลักมูลสำหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา • ปฎิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพและความมั่นคงแห่งบุคคล 4 International Environmnetal Law

  5. United Nations Environment Program – UNEP โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ • ตั้งขึ้นจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ที่สต๊อกโฮม 1972 • โดยมติของสมัชชาที่ประชุมใหญ่ (General Assembly Resolution)ที่ 2997 • UN GA Res. 2997 • กฎบัตรของสหประชาชาติ เพื่อคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านทางคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council) • ปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 4 International Environmnetal Law

  6. โครงสร้างของ UNEP • คณะมนตรีปกครอง Governing Council (คือตัวแทน 58 รัฐ จากภูมิภาคต่างๆทั่วโลก โดยเลือกตั้งในสมัชชาที่ประชุมใหญ่แห่งสหประชาชาติ) ทำการประชุมปีละครั้ง และรายงานผลต่อที่ประชุมใหญ่ • คณะกรรมการผู้แทนถาวร Committee of Permanent Representatives (คือตัวแทนจากรัฐทั้งหมด 187 รัฐ ประชุมทุก 3 เดือน และรายงานต่อคณะมนตรีปกครอง) • คณะกรรมการรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูง High – Level Committee of Ministers and Officials (กรรมการ 36 คนที่รับเลือกจากผู้แทนของรัฐจากภูมิภาคต่างๆ ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของเลขาธิการ UNEP) 4 International Environmnetal Law

  7. กิจกรรมของ UNEP • การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ Climate change • ภัยพิบัติและความขัดแย้ง Disasters & Conflicts • การจัดการระบบนิเวศ Ecosystem Management • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม Environmental Governance เช่น การเงิน นโยบาย กฎหมาย • สารพิษและวัตถุอันตราย Harmful Substances • การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ Resource Efficiency 4 International Environmnetal Law

  8. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) • ปี 1976 องค์การยูเนสโกได้จัดตั้ง "คณะกรรมการมรดกโลก" เพื่อทำหน้าที่ดูแลมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญของโลก และจัดตั้ง "กองทุนมรดกโลก" เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ 4 International Environmnetal Law

  9. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ตามข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2530 กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาฯ ในปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) ประเทศไทยเป็นสมาชิกของยูเนสโก เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2492 (ลำดับที่ 49) และให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเมื่อวันที่ 17 ก.ย.2530 และเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกชุดปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2552-2556 • ภายในเดือนมกราคม 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง "คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก" โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ และทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีการดำเนินงานตามแผนการจัดการแหล่งมรดกโลก 4 International Environmnetal Law

  10. พิธีสารเกียวโต (Kyoto protocol) • ริเริ่มเมื่อ 1990 • เป็นข้อผูกพันทางกฎหมาย (Legal binding) ซึ่งกำหนดพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศภาคีในภาค ผนวกที่ 1 (Annex I) โดยรวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากระดับการปล่อยโดยรวมของกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายในช่วงปี พ.ศ. 2551-2555 โดยปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และมีการกำหนดชนิดก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ภายใต้พิธีสารฯ 6 ชนิดคือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs)  เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PCFs) และซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ (SF6) 4 International Environmnetal Law

  11. พิธีสารเกียวโต (Kyoto protocol) ต่อ • ไทยลงนามเมื่อ 1997 • อย่างไรก็ตามประเทศไทยในฐานะภาคีในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่ม Non-annex I จึงไม่มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • แต่ ประเทศไทยได้นำ กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ซึ่งเป็นกลไกภายใต้พิธีสารเกียวโตมาดำเนินงาน โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. ทำหน้าที่เป็น Designated National Authority of Clean Development Mechanism (DNA-CDM) office ทำหน้าที่ วิเคราะห์ กลั่นกรองโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด Clean Development Mechanism (CDM) และให้ความเห็นแก่คณะกรรมการบริหารองค์การก๊าซเรือนกระจก ว่าโครงการต่างๆ ที่ดำเนินงานในประเทศไทย 4 International Environmnetal Law

  12. อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของอันตรายและการกำจัด (Basel Convention on the Control of Transboundary Movement of Hazardous Waste and their Disposal :BASEL) • การควบคุมการเคลื่อนย้ายของของเสีย และเครื่องมือหรือกลไกการจัดการของเสียอันตรายให้อยู่ในระดับสากล • ประเทศไทยให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 1997 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1998 เป็นต้นมา • กรมควบคุมมลพิษ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน (Focal Point) ของอนุสัญญาฯ โดยทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลการรายงานอุบัติเหตุ การแจ้งคำนิยามของเสียอันตรายแห่งชาติ รายงานประจำปี ส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการจัดส่งค่าใช้จ่ายในการเป็นสมาชิกอนุสัญญาฯ 4 International Environmnetal Law

  13. อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and PesticPIC) • ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญารอตเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 • หน่วยงานหลัก ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ 1) กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช 2) กรมโรงงานอุตสาหกรรม รับผิดชอบสารเคมีทางอุตสาหกรรม และ 3) กรมควบคุมมลพิษ รับผิดชอบสารเคมีอื่นๆ นอกเหนือจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ และทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางประสาน 4 International Environmnetal Law

  14. อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมศุลกากร กรมองค์การระหว่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมการค้าต่างประเทศ กรมยุโรป การท่าเรือแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 4 International Environmnetal Law

  15. อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora :CITES) • ระบบการควบคุมของไซเตส การค้าสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ จะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต (Permit) หมายความว่า สัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาฯ ควบคุมจะต้องมีใบอนุญาตในการส่งออก (export) การส่งกลับออกไป (re-export) การนำเข้า (import) และการนำเข้าจากทะเล (Introduction from the sea) 4 International Environmnetal Law

  16. อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora :CITES) 2 • อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 (เมื่อประเทศที่ลงนามรับรองอนุสัญญาฯ ได้ให้สัตญาบันครบ 10 ประเทศ) ปัจจุบันอนุสัญญาไซเตสมีประเทศภาคี 169 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549) • ประเทศไทยส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมเพื่อยกร่างอนุสัญญาฯ นี้ในปี พ.ศ. 2516 แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาฯ นี้ในปี พ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นภาคีลำดับที่ 78 • หน่วยงานประสานกลางของชาติ (National Focal Point) คือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 4 International Environmnetal Law

  17. อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora :CITES) 3 • พระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ครั้งที่ 13 ในประเทศไทย พ.ศ. 2547 • พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 • พระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 • ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 58) พ.ศ. 2534 • ประกาศกรมวิชาการเกษตรเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2547 4 International Environmnetal Law

  18. อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) • 1980หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เชื่อมโยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ • การจัดตั้งคณะกรรมการการเจรจาระหว่างรัฐบาลด้านกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Negotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change: INC) ในปี พ.ศ. 2533 และต่อมา INC ได้ยกร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ขึ้นและได้มีการลงมติรับรองในวันที่ 9 พฤษภาคม 2535 ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นได้เปิดให้มีการลงนามในระหว่างการประชุม Earth Summit ในเดือนมิถุนายน 2535 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ซึ่งมีประเทศต่างๆ รวม 154 ประเทศได้ร่วมลงนาม และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2537 (ค.ศ. 1994) 4 International Environmnetal Law

  19. อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention on Wetlands) • เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 (ค.ศ.1971) ที่เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน • ประเทศไทยเข้าเป็นภาคอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 และอนุสัญญามีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยในวันที่ 13 กันยายน 2541 ซึ่งการเข้าเป็นภาคีนั้นประเทศสมาชิกต้องเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Wetland of International Importance) 1 แห่ง ซึ่งประเทศไทยได้เสนอพรุควนขี้เสียน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง มีพื้นที่ 3,085 ไร่ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 948 ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศของอนุสัญญาแรมซาร์ 4 International Environmnetal Law

  20. ข้อตกลงอนุสัญญาว่าด้วยความหลากลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) • อนุสัญญาฯ ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2536 และมีการประชุม The Conference of the Parties to the Convention on Biological Diversity; COP) เพื่อมีการหาข้อยุติในประเด็นขัดแย้งต่างๆ ในอนุสัญญามาแล้ว ถึง 8 ครั้ง โดยครั้งสุดท้าย จัดขื้นที่เมืองคูริติบา ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 20-31 มีนาคม 2549 ประเทศไทยได้ลงนามรับรองอนุสัญญา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2535 และได้ให้สัตยาบรรณเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 และมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีอนุสัญญา ลำดับที่ 188 จาก 190 ประเทศ (มีนาคม 2550) 4 International Environmnetal Law

  21. พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (1989) • สนธิสัญญานี้มุ่งไปที่การจำกัดการใช้กลุ่มสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน-ฮาโลเจนซึ่งพบว่ามีส่วนสำคัญในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยสารทำลายชั้นโอโซนทั้งหมดนี้มีส่วนผสมของคลอรีนหรือโบรมีนประกอบอยู่ด้วย (ในขณะที่สารที่ประกอบด้วยฟลูออรีนเท่านั้นจะไม่ทำลายชั้นโอโซน) สนธิสัญญาได้จำแนกสารทำลายชั้นโอโซนออกเป็นกลุ่มๆ โดยแบ่งเป็นตารางเวลาที่ระบุถึงจำนวนปีที่การผลิตสารเหล่านี้จะต้องยุติลงและหมดสิ้นลงไปในที่สุด 4 International Environmnetal Law

  22. พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) • เป็นพิธีสารที่เป็นผลสืบเนื่อง มาจากบทบัญญัติของข้อ 19 วรรค 3 และ 4 และข้อ 8 (g) และ 17 ของอนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการคำนึงถึงความตกลงของสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่ II/5 ให้พัฒนาพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพโดยเน้นเรื่องการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดน (Transboundary movement) ซึ่งสิ่งมีชีวิตใดๆ ก็ตามที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม (Living modified organisms – LMOs) ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่อาจมีผลกระทบในทางลบต่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ตลอดจนกำหนดกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับความตกลงในการแจ้งล่วงหน้า (Advance Informed Agreement – AIA) 4 International Environmnetal Law

  23. ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) • ริเริ่มเมื่อ 2002 ระหว่างกลุ่มสมาชิกอาเซียน • โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดมลหมอกพิษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4 International Environmnetal Law

  24. 5 เรื่องที่ต้องอ่าน • Agenda 21 • Kyoto Protocol • Convention on Climate Change • CITES • Convention on Biological Diversity จบ ☃ 4 International Environmnetal Law

More Related