370 likes | 380 Vues
บทที่ 12. การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช. เมล็ดพืชสามารถเจริญเติบโตได้ ต้องอาศัยปัจจัย 2 ประเภท. ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก เช่น น้ำ อุณหภูมิ แสง ธาตุอาหารต่างๆ. ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายใน เช่น ฮอร์โมนพืช พันธุกรรมของพืช. การตอบสนอง. การส่งสัญญาณระหว่างเซลล์. 1. 2. 3.
E N D
บทที่ 12 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
เมล็ดพืชสามารถเจริญเติบโตได้เมล็ดพืชสามารถเจริญเติบโตได้ ต้องอาศัยปัจจัย 2 ประเภท ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก เช่น น้ำ อุณหภูมิ แสง ธาตุอาหารต่างๆ ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายใน เช่น ฮอร์โมนพืช พันธุกรรมของพืช
การตอบสนอง การส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ 1 2 3 4 5 สิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายใน การถ่ายโอนสัญญาณภายในเซลล์ ตัวรับสัญญาณ กระบวนการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ค้นพบในปี พ.ศ. 2423 โดย Charles และ Francis Darwin • ได้ศึกษาโคลีออพไทล์(coleoptile) ของหญ้าคานารี ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พบว่าเซลล์ด้านที่ไม่รับแสงเติบโตเร็วกว่าด้านที่ได้รับแสง ทำให้โคลีออพไทล์(coleoptile) โค้งเข้าหาแสง แต่พอตัดปลายหรือครอบด้วยวัสดุทึบแสง พืชชนิดนี้ไม่โค้งหาแสง • แสดงว่า ปลายของโคลีออพไทล์ เป็นส่วนรับแสงและทำให้โค้งหาแสง ออกซิน
ฮอร์โมนพืช ไซโทไคนิน(cytokinin) ออกซิน (auxin) กรดแอบไซซิก(abscisicacid;ABA) จิบเบอเรลลิน(gibberellin;GA) เอทิลีน(ethylene)
ออกซิน -auxin-
ต่อมาทดลองโดยแผ่นไมกา(mica sheet)แทรกบริเวณไม่ได้รับแสง แสงเข้ามาในทิศตรงข้าม พบว่าถ้านำแผ่นไมกาแทรกด้านรับแสง ทำให้โคลีออพไทล์(coleoptile)โค้งหาแสง เมื่อตัดปลายออกแล้วนำแผ่นเจลาตินกั้น แล้ววางปลายไว้ข้างบน แสงเข้าด้านเดียว พบว่า • โคลีออพไทล์โค้งหาแสง • แสดงว่าต้องมีสารเคมีที่ถูกลำเลียงจากปลายโคลีออพไทล์ • ที่ผ่านแผ่นไมกาไม่ได้ แต่ผ่านแผ่นเจลาตินได้ ออกซิน
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าโคลีออพไทล์(coleoptile)โค้งเข้าหาแสงได้เนื่องจากบริเวณปลายโคลีออพไทล์(coleoptile)จะสร้างสารบางชนิดและแสงจะทำให้สารนี้เคลื่อนที่จากด้านที่ได้รับแสงมากไปยังด้านที่ได้รับแสงน้อยทำให้เซลล์บริเวณด้านที่ได้รับแสงน้อยมีปริมาณสารนี้มากและจะไปกระตุ้นให้เซลล์บริเวณนี้ขยายตัวตามยาว สารเคมีที่สร้างจากปลายโคลีออพไทล์(coleoptile) และมีผลต่อการเจริญเติบโตเรียกว่า ออกซิน(auxin) สารกลุ่มออกซินที่พบมากในธรรมชาติคือ indole-3-acetic acid (IAA)
แหล่งสร้างออกซิน ใบอ่อน เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ผลอ่อน ส่วนเนื้อเยื่ออื่นๆ
ผลของออกซิน ทำให้เกิดการเจริญของปลายยอดเข้าหาแสง และการเจริญของปลายรากเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก กระตุ้นเซลล์ให้พัฒนาและเปลี่ยนสภาพเป็นเนื้อเยื่อ ไซเล็มและโฟลเอ็ม กระตุ้นเซลล์บริเวณที่มีการยืดตัวให้ขยายขนาดทำให้พืชเจริญเติบโตสูงขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของแคมเบียม ยับยั้งการหลุดร่วงของใบ 4 2 2019 1 3 5
ออกซินกับการนำไปใช้ สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายออกซิน เช่น indole butyric acid (IBA),2,4-dichlorophenoxy acetic acid(2,4) และ naphthalene acetic acid(NAA) นำมาใช้เร่งการเกิดรากในติ่งตอนหรือกิ่งปักชำ การพัฒนาของรากแขนงพัฒนาและเปลี่ยนสภาพของรากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชรวมทั้งกระตุ้นให้พืชบางชนิดไม่ต้องมีการปฏิสนธิ เช่น องุ่น แตงโม มะเขือเทศ ซึ่งทำให้ได้ผลที่ไม่มีเมล็ดและยับยั้งการเจริญเติบโตจึงมีการใช้สารกลุ่มนี้เพื่อกำจัดวัชพืชบางชนิดด้วย
นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสารบางอย่างที่ชักนำให้เกิดการแบ่งเซลล์ในเซลล์เพาะเลี้ยงหรือเนื้อเยื่อที่เกิดบาดแผลและพบว่าน้ำมะพร้าวเมื่อใช้ร่วมกับออกซินสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์พืชได้นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสารบางอย่างที่ชักนำให้เกิดการแบ่งเซลล์ในเซลล์เพาะเลี้ยงหรือเนื้อเยื่อที่เกิดบาดแผลและพบว่าน้ำมะพร้าวเมื่อใช้ร่วมกับออกซินสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์พืชได้ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบไคเนทิน(kinetin)ในเอนโดสเปิร์มของข้าวโพด (Zea mays)จึงเรียกว่า ซีเอทิน (zeatin) ซึ่งเป็นไซโทไคนินในธรรมชาติ แหล่งสร้างไซโทไคนินอยู่บริเวณเนื้อเยื่อเจริญที่รากและบริเวณที่มีการแบ่งเซลล์
สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายไซโทไคนิน เช่น 6-benzylaminopurine(BA) นำมาใช้เพื่อช่วยเร่งการแตกตาข้างของพืช รวมทั้งการทำงานร่วมกันของ ออกซินและไซโทไคนินมาใช้ในการแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มของไม้ดอกไม้ประดับและผลไม้ บางชนิด นอกจากนี้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังสามารถใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้าย ไซโทไคนินหรือใส่น้ำมะพร้าวซึ่งมีซีเอทินลงไปในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช พืชกระตุ้นการสร้างตาใหม่ การสร้างยอด ไซโทไคนิน กับการนำไปใช้
Gibberellin A1 ; GA1 จิบเบอเรลลิล Gibberellin จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ ควบคุมการเจริญเติบโตและมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางพัฒนาการรวมทั้งการยืดของข้อ การงอก การพักตัว การออกดอก การแสดงเพศ การชักนำการสร้างเอนไซม์ รวมทั้งการชราของดอกและผล [1] จิบเบอเรลลินถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น Eiichi Kurosawa ผู้ศึกษาโรค บากาเนะในข้าว เริ่มจากการศึกษาต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanaeซึ่งมีลักษณะสูง ผอม เกิดจากเชื้อรา Gibberellafujikuroi. Gibberellin acid ; GA20
ผลของจิบเบอเรลลิน 3. 1. 2. กระตุ้นเซลล์ที่ลำต้นพืชให้มีการยืดตัวและแบ่งเซลล์มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับออกซิน กระตุ้นการสร้างเอนไซน์สำหรับย่อยแป้งที่เก็บสะสมอยู่ในเมล็ดให้เป็นน้ำตาล เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการงอกในพืช ใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด กระตุ้นการงอกของเมล็ด
เอทิลีน(Ethylene) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง บทบาทที่สำคัญของเอทิลีนคือควบคุมกระบวนการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับความชรา การหลุดร่วงของใบ ดอก ผล และควบคุมการเจริญของพืชเมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เอทิลีนมีผลต่อต้นกล้าของถั่ว 3 ลักษณะ (Triple response) ได้แก่ ยับยั้งความสูงของ ลำต้น ลำต้นหนาขึ้น เพิ่มการเติบโตในแนวราบ นอกจากนั้น ยังพบว่าการแผ่ขยายของแผ่นใบถูกยับยั้ง ส่วนเหนือใบเลี้ยงมีลักษณะโค้งงอเป็นตะขอ
ผลของเอทิลีน กระตุ้นการขยายขนาดของเซลล์ทางด้านข้าง เมื่อเอทิลีนมีความเข้มข้นสูงระดับหนึ่ง ส่งเสริมใบและดอกเข้าสู่การเสื่อมตามอายุ และกระตุ้นให้เกิดการร่วงของใบ ดอก และผล 1 3 กระตุ้นการสุกของผลไม้ที่สามารถบ่มให้สุกได้ เช่น มะม่วง กล้วย ละมุด ทุเรียน 2
กรดแอบไซซิกกับการนำไปใช้กรดแอบไซซิกกับการนำไปใช้ กรดแอบไซซิกนำไปใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายกรดแอบไซซิกนั้นสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยชะลอการเที่ยวเฉาของพืชและไม้ดอกในขณะขนส่งโดยการทำให้รูปากใบแคบลงหรือรูปากใบปิดเพื่อลดการสูญเสียน้ำของพืชแต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะมีราคาแพง จากผลของฮอร์โมนพืชที่มีต่อการตอบสนองของพืชส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนพืชมากกว่า 1 กลุ่มเช่น การร่วงของใบ เป็นผลของออกซินและเอทิลีนในใบอ่อนจะมีปริมาณออกซินสูงเนื่องจากอยู่ที่บริเวณแหล่งสร้างออกซินเป็นฮอร์โมนพืชที่ทำงานด้านกับเอทิลีนดังนั้นออกซินที่มีปริมาณสูงจะยับยั้งการสร้างเอทิลีนแต่เมื่อใบมีอายุมากขึ้นปริมาณออกซินจะลดลงเป็นลำดับจึงส่งผลให้ใบแก่สร้างเอทิลีนเพิ่มขึ้น การเจริญของตาข้าง เป็นผลของออกซินและไซโทไคนินเกิดจากออกซินที่สร้างบริเวณยอดถูกส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของลำต้นไปยับยั้งการสร้างไซโทไคนินที่ตาข้างเมื่อตาข้างที่ได้รับปริมาณออกซินสูงและมีปริมาณไซโทไคนินต่ำเช่นตาข้างบริเวณใกล้ยอดจะไม่เจริญแต่ในบริเวณตาข้างที่อยู่ทางด้านล่างซึ่งจะได้รับปริมาณออกซินต่ำลงและมีไซโทไคนินสูงตาข้างจึงเจริญได้หรือในกรณีที่ตัดปลายยอดของพืชออกซึ่งเป็นการลดแหล่งสร้างออกซินทำให้ตาข้างที่อยู่ใกล้ยอดสามารถเจริญได้เนื่องจากสัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินต่ำทำให้ต้นพืชแตกกิ่งข้างออกเป็นพุ่มนอกจากฮอร์โมนพืชทั้ง 5 กลุ่มคือออกซินไซโทไคนินจิบเบอเรลลินเอทิลีนและกรดแอบไซซิกแล้ววิทยาศาสตร์ยังค้นพบฮอร์โมนพืชกลุ่มอื่นๆอีกเช่นบราสซิโนสเตอรอยด์ (brassinosteroid เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์และสตริโกแลกโทน (strigolactone) เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการเจริญของตาข้างเป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด ฮอร์โมนพืชแต่ละกลุ่มจะมีบทบาทหน้าที่ช่วยกระตุ้นยับยั้งและส่งเสริมการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง ทางสรีรวิทยาของพืชในกรณีสภาพพักตัวของเมล็ด (seeddormancy) พบว่าเมล็ดมีปริมาณกรดแอบไซซิกสูงและจิบเบอเรลลินต่ำเมื่อพ้นระยะพักตัวกรดแอบไซซิกจะสลายและมีการสร้างจิบเบอเรลลินเพิ่มขึ้นและเมื่อได้รับปัจจัยภายนอกที่เหมาะสมกับการงอกเมล็ดจะสามารถงอกได้นอกจากนี้ยังพบว่ามีเมล็ดพืชบางชนิดที่มีภาพพักตัวสั้นมากทำให้เมล็ดสามารถงอกได้ขณะที่อยู่ในผลเช่นขนุนมะละกอมะขามเทศลำไยและเมล็ดที่ไม่มีสภาพพักตัวเช่นโกงกาง
สาเหตุและวิธีการทำลายสภาพพักตัวของเมล็ดสาเหตุและวิธีการทำลายสภาพพักตัวของเมล็ด เปลือกเมล็ดมีสารจำพวกไข คิวทิน ลิกนินซูเบอรินสะสมอยู่ที่ผนังเซลล์ของเปลือกเมล็ด ทำให้น้ำไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดได้ง่าย เช่นเมล็ดถั่วเขียวถั่วเหลือง การทำลายสภาพพักตัวโดยใช้การแช่เมล็ดในน้ำน้ำจะเข้าสู่เมล็ดพืชทางไมโครไพล์ทำให้เมล็ดพองและเปลือกเมล็ดแตก ส่วนห่อหุ้มเมล็ดมีความหนาหรือแข็งทำให้น้ำไม่สามารถผ่านเข้าสู่ภายในเมล็ดได้ซึ่งในธรรมชาติจะมีการทำลายสภาพพักตัวได้หลากหลายวิธี เปลือกเมล็ดมีสารเคมีบางชนิดที่มีผลยับยั้งการงอกของเมล็ดจึงเกิดสภาพพักตัวของเมล็ดซึ่งในธรรมชาติเมื่อฝนตกลงมาจะชะล้างสารเคลือบที่เปลือกเมล็ดออกทำให้เมล็ดสามารถงอกได้นอกจากนี้มนุษย์สามารถทำลายสภาพพักตัวของเมล็ดเหล่านี้โดยการล้างสารเคลือบเมล็ดออกและพึ่งให้แห้งจากนั้นจึงนำไปเพาะ เช่น เมล็ดมะเขือเทศ ในเมล็ดพืชบางชนิดเอ็มบริโอยังเจริญไม่เต็มที่ เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมันอยู่ในสภาพพักตัวที่ต้องรอระยะเวลาให้เอ็มบริโอของเมล็ดเจริญพัฒนาเต็มที่เมล็ดจึงจะสามารถงอกได้
การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ สูตรดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ ผลบวกของจำนวนต้นกล้าที่งอกในแต่ละวัน / จำนวนวันหลังจากเพาะเมล็ด วัดดัชนีการงอกทำได้โดยการนำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาเพาะแล้วนับจำนวนเมล็ดที่งอกจนไม่มีเมล็ดงอกเพิ่มขึ้นอีก จากนั้นนำมาคำนวณหาค่าดัชนีการงอกโดยเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกันจากแหล่งอื่น ๆ
การตอบสนองของพืชในลักษณะการเคลื่อนไหวการตอบสนองของพืชในลักษณะการเคลื่อนไหว ทรอพิซึม เป็นการตอบสนองที่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้าภายนอก เพื่อการสร้างรูปแบบการเจริญเติบโตที่เหมาะสมมี 2 แบบ คือ การเบนเร้าหาสิ่งเร้าและการเบนออกจากสิ่งเร้า • โดยถ้าทิศทางการตอบสนองสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าภายนอก เรียกว่าการเบนหรือทรอพิซึม เช่น การโค้งเข้าหาแสง เช่นการหุบของยอดพืช ส่วนการตอบสนองที่มีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าภายนอก เรียกว่า แนสติกมูฟเมนต์เช่น การหุบ-บานของดอกบัวสีขาว
ทรอพิซึม การเบนเนื่องจากแสง • เป็นทิศทางการตอบสนองที่มีสัมพันธ์กับทิศทางของแสง การเบนเนื่องจาก แรงโน้มถ่วงของโลก • เป็นการตอบสนองที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของแรงโน้มถ่วงของโลก
ทรอพิซึม • การตอบสนองของสารเคมี (chemotropism) เช่นการงอกของหลอดเรณูไปยังออวุลของพืชดอกซึ่งมีสารกลุ่มโปรตีนที่ออวุลสร้างขึ้นเพื่อกำหนดทิศทาง การงอกของหลอดเรณูไปยังออวุล • การตอบสนองต่อน้ำ (Hydrotropism) เช่น รากพืชเจริญเข้าหาน้ำ • การตอบสนองต่อการสัมผัส (Thigmotropism) เช่นการเกี่ยวพันของมือเกาะตำลึง
แนสติกมูฟเมนต์ การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าภายนอก การบานของดอกไม้เพราะการเจริญเติบโต เช่น ดอกกุหลาบบาน ดาวเรืองบาน การบานของดอกไม้เพราะแสง เช่น ดอกบัวบานตอนเช้า การบานของดอกไม้เพราะอุณหภูมิ เช่น ดอกทิวลิปบานในฤดูใบไม้ผลิ ดอกมะลิ การบาน (Epinasty) เกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านในกลีบดอกขยายมากกว่าด้านนอก การหุบ (Hyponasty) เกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านนอกกลีบดอกขยายมากกว่าด้านใน การเคลื่อนไหวแบบส่าย (nutation movement) เป็นการหมุนแกว่งของยอดพืชขณะที่มี การเจริญเติบโต โดยเกิดจากที่พืชมีการแบ่งเซลล์ในลำต้นไม่เท่ากัน การหุบของกาบหอยแครงเมื่อมีการสัมผัส (thigmonasty)
แนสติกมูฟเมนต์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์ที่โคนก้านใบที่มีความไวต่อสิ่งเร้าสูง เรียกว่า pulvinusโดยถ้าน้ำเข้าเซลล์จะเต่งและใบกาง ถ้าน้ำออกเซลล์ก็จะเหี่ยวและใบหุบ • การเปิดบิดปากใบ • การนอนหลับของพืชตระกูลถั่ว Turgid pressure • การหุบของไมยราพ • การหุบของกาบหอยแครง
การตอบสนองต่อภาวะเครียดการตอบสนองต่อภาวะเครียด พืชโดยทั่วไป มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอกเพื่อทำให้พืชอยู่ในภาวะสมดุลมีการเจริญเติบโต แต่เมื่อใดสิ่งเร้าภายนอกที่ได้รับมีมากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลให้พืชไม่สามารถเติบโตเต็มที่ตามศักยภาพทางพันธุกรรมแสดงว่าพืชอยู่ใน ภาวะเครียด (Stress) พืชมีการตอบสนองต่อภาวะเครียดที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกซึ่งมีทั้งสิ่งเร้าทางกายภาพและสิ่งเร้าทางชีวภาพต่างๆ ภาวะเครียด น้ำ การป้องกันการถูกสัตว์กัดกินหรือการเกิดโรค เช่น กายภาพ ชีวภาพ อุณหภูมิ ความเค็ม
ภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางกายภาพภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางกายภาพ น้ำ เมื่อพืชอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำท่วมขังทำให้ช่องว่างในดินเต็มไปด้วยน้ำ ไม่มีช่องว่างสำหรับแก๊สออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจระดับเซลล์ รากพืชจะหายใจแบบไม่ใช้แก๊สออกซิเจนและได้เอทานอล เมื่อพืชทนอยู่ในภาวะนี้เป็นเวลานาน จะมีอาการใบเหลือง และยังกระตุ้นการสร้างเอทิลีนในปริมาณที่สูงกว่าปกติทำให้ใบ ดอก และผล เกิดการหลุดร่วง และตายในที่สุด พบว่าพืชบางชนิดมีการปรับตัว เช่น การสร้างโพรงอากาศในรากซึ่งเกิดจากการสลายกลุ่มเซลล์พาเรงคิมาบางส่วนในคอร์เทกซ์เกิดเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ชึ่งช่วยในการถ่ายเทอากาศ เมื่อพืชขาดน้ำจะทำให้แรงดันเต่งลดลง พืชจะมีการปรับตัวเพื่อลดการสูญเสียน้ำ เช่น ข้าวจะเกิดการม้วนใบ เพื่อลดพื้นที่ผิวด้านที่มีปากใบที่สัมผัสกับอากาศหรือสร้างขนเพิ่มขึ้น และมีคิวทเคิลหนาขึ้น เพื่อช่วยลดการคายน้ำ Air space
อุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมสูงขึ้นทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดลงพืชจะมีอัตราการคายน้ำเพิ่มมากขึ้นซึ่งช่วยรักษาอุณหภูมิของใบไม่ให้สูงเกินไปเพื่อรักษาสภาพการทำงานของเซลล์ให้เป็นปกติแต่หากได้รับอุณหภูมิที่สูงเกินไปพืชสามารถป้องกันการเสียสภาพของโปรตีนในเซลล์โดยการทำงานของ ฮีทช็อคโปรตีน (heat-shock protein) ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อพืชได้รับความร้อน เมื่ออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมต่ำมาก จะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์สูญเสียสมบัติการเป็นของไหลพืชจะมีการปรับโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ให้มีสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวมากขึ้น และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงจนน้ำภายในเซลล์กลายเป็นผลึก พืชจะสร้าง แอนทิฟรีซโปรตีน (antifreeze protein) เพื่อช่วยป้องกันและลดการเกิดผลึกภายในเซลล์ ความเค็ม เมื่อพืชอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีความเค็มสูง ทำให้พืชขาดน้ำ เนื่องจากสารละลายในดินมีปริมาณเกลือมากจึงทำให้มีสารละลายมีความเข้มข้นกว่าภายในราก น้ำจึงเคลื่อนที่ออกจากรากสู่ดิน พืชจึงมีการตอบสนองต่อภาวะเครียดจากความเค็มคล้ายกับการตอบสนองต่อภาวะขาดน้ำ นอกจากนี้หากพืชสะสมไอออนของเกลือปริมาณมากจะทำให้ป็นพิษต่อเซลล์ พืชบางชนิดมีกลไกลดการนำโซเดียมจากดิน หรือมีการกระตุ้นให้โปรตีนบางชนิดขับเกือออกหรือเก็บในแวคิวโอล หากพืชต้องอยู่ในภาวะเครียดจากความเค็มเป็นระยะเวลานาน พืชจะตาย ยกเว้นพืชดินเค็ม (halophyte) สามารถเจริญเติบโตเป็นปกติได้ในดินเค็มจัดได้
ภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางชีวภาพภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางชีวภาพ • พืชมีวิธีป้องกันจากการถูกสัตว์กัดกินหรือจุลินทรีย์ก่อโรคเข้าทำลาย ดังนี้ • การป้องกันเชิงกล เช่น การมีขนบนใบและลำต้น การมีหนาม ทำให้ยากต่อการเข้าทำลายจากสัตว์ ผนังเซลล์มีซิลิกาทให้เนื้อเยื่อพืชมีความแข็งแรงทนต่อการกัดกินของแมลงภายในเซลล์มีผลึกแคลเซียมออกซาเลตในแวคิวโอล ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหลอดอาหารของสัตว์กินพืช • การป้องกันเชิงเคมีโดยพืชสร้างสารเคมีบางชนิด เช่น คาเฟอีนในต้นชา ช่วยป้องกันการเข้าทำลายของสัตว์กินพืช และยับยั้งการเจริญขิงจุลินทรีย์ นอกจากนี้ในพืชบางชนิดที่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ของสัตว์กินพืชชนิดนั้น