290 likes | 641 Vues
บทที่ 7-1. :Security Policy and Organizational Security. Outline. นโยบาย (Policy) คืออะไร นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security Policy) คืออะไร ข้อแนะนำในการกำหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ ประเภทของนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ
E N D
บทที่ 7-1 :Security Policy and Organizational Security PanidaPanichkul
Outline • นโยบาย (Policy) คืออะไร • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security Policy) คืออะไร • ข้อแนะนำในการกำหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ • ประเภทของนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศระดับองค์กร • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะเรื่อง • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะระบบ Panida Panichkul
7-1.1 นโยบาย (Policy) คืออะไร • Policy คือ การกำหนดนโยบาย เป็นการเขียนกฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับในการปฏิบัติตนของพนักงานในองค์กร ซึ่งจะรวมถึงการปฏิบัติตนเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศขององค์กรด้วย • นโยบาย (Policy) คือ แผนงานหรือกลุ่มของข้อปฏิบัติที่องค์กรใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดคำสั่งจากผู้บริหารระดับสูง ไปยังบุคลากรในระดับตัดสินใจ ระดับปฏิบัติการ รวมถึงบุคลากรในหน้าที่อื่นๆ ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบาย • นโยบายเป็นเสมือนกฎหมายที่บังคับใช้ในองค์กร เนื่องจากนโยบายได้ระบุข้อปฏิบัติที่ถูกและผิดไว้ภายใต้กรอบวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ รวมทั้งยังได้มีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่มีความประพฤติขัดต่อนโยบายด้วย Panida Panichkul 3
จากนโยบายจะนำไปสู่การกำหนด “มาตรฐาน (Standard)” ซึ่งจะแสดงถึงรายละเอียดการในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับนโยบาย และจากมาตรฐานจะนำไปสู่การกำหนด “วิธีการปฏิบัติ (Practice)”, “ลำดับขั้นตอน (Procedure)” และ “แนวทาง (Guideline)” Panida Panichkul 4
7-1.2 นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security Policy) คืออะไร • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security Policy)คือ กฎข้อบังคับที่ใช้ในการป้องกัน สารสนเทศขององค์กร • นั่นคือ หากต้องการจัดตั้งโครงการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศขององค์กร จะต้องเริ่มต้นจากการนำนโยบาย (Policy) ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ มาตรฐาน (Standard) และวิธีการปฏิบัติ (Practice) ตาม มาตรฐานมาทบทวน หรือใช้เป็นบรรทัดฐานในการวางแผน ออกแบบ และกำหนดขั้นตอนการดำเนินโครงการ หากปราศจากนโยบายแล้ว ทีมงานจะไม่สามารถจัดตั้งโครงการที่ตอบสนองความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศขององค์กรได้อย่างแท้จริง Panida Panichkul 5
2-1.3 ข้อแนะนำในการกำหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ • ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย • สามารถใช้ในชั้นศาลได้หากจำเป็น • ต้องได้รับการสนับสนุนและการบริหารจัดการที่ดี • ต้องมีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ • ฝ่ายบริหารจะต้องมั่นใจว่ามีการกำหนดข้อปฏิบัติแก่บุคลากรในการใช้งานระบบสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม • ควรให้ผู้ใช้ระบบสารสนเทศมีส่วนร่วมในขั้นตอนกำหนดนโยบาย • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ จะต้องตอบสนองความต้องการขององค์กรได้อย่างแท้จริง Panida Panichkul 6
7-1.4 ประเภทของนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ • NIST ได้ระบุไว้ในเอกสารเผยแพร่ฉบับพิเศษ 800-14 ว่าในการกำหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น ทีมงานจะต้องกำหนดนโยบายทั้งหมด 3 ชนิด ดังนี้ • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศระดับองค์กร (Enterprise Information Security Policy) • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะเรื่อง (Issue-specific Security Policy) • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะระบบ (System-specific Security Policy) Panida Panichkul 7
7-1.5 นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศระดับองค์กร (Enterprise Information Security Policy: EISP) • คือ การกำหนดทิศทางและขอบเขตเชิงกลยุทธ์เพื่อความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร [E. Whitman and J. Mattord, 2008] • นโยบายชนิดนี้ยังถูกเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปอีกหลายชื่อ ได้แก่ • General Security Policy • IT Security Policy • High-level Information Security Policy • Information Security Policy • นโยบายฯ ระดับองค์กร เป็นการกำหนดความรับผิดชอบของงานความ มั่นคงปลอดภัยทุกด้าน เป็นการกำหนดทิศทางงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศสำหรับองค์กรในภาพรวม หรือในระดับที่ครอบคลุมทั้งองค์กร ไม่ได้เป็นการระบุความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะด้าน Panida Panichkul 8
คุณลักษณะของ EISP • เป็นนโยบายที่สนับสนุนและตอบสนองต่อภารกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กรโดยตรง • สามารถนำมาใช้ในกระบวนการทางกฎหมายได้ • ผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายชนิดนี้ จึงเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือระดับอาวุโส • เอกสารนโยบายชนิดนี้จะไม่มีการปรับปรุงแก้ไขบ่อยครั้ง • การปรับปรุงแก้ไขจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนวิสัยทัศน์หรือกลยุทธ์ขององค์กร Panida Panichkul 9
องค์ประกอบของ EISP • ประกาศวัตถุประสงค์ อธิบายว่า “นโยบายที่กำหนดขึ้น มีไว้เพื่ออะไร” • องค์ประกอบความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในส่วนนี้ให้กำหนดองค์ประกอบของการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศขั้นพื้นฐานและอื่นๆ ตามที่ต้องการ เช่น การป้องกันสารสนเทศให้เป็นความลับ (Confidentiality) มีความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และพร้อมใช้ (Availability) แม้ว่าจะอยู่ในขณะ ประมวลผล การเคลื่อนย้าย หรือการจัดเก็บ จะกระทำผ่านนโยบาย การให้ความรู้และฝึกอบรม ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น ในเนื้อหาส่วนนี้ ทีมงานสามารถระบุนิยามของแต่ละองค์ประกอบได้ Panida Panichkul 10
ความจำเป็นที่ต้องมีความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ เขียนรายละเอียดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศภายในองค์กร โดยต้องแสดงให้เห็นถึงข้อผูกพันทางกฎหมายและจริยธรรมด้วย • บทบาทและความรับผิดชอบด้านความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ แสดงโครงสร้างองค์กรที่กำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศภายในองค์กร • อ้างอิงมาตรฐานและแนวทางอื่นๆ แสดงรายชื่อมาตรฐาน กฎหมาย หรือนโยบายอื่นๆ ที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำนโยบายฉบับนี้ Panida Panichkul 11
ตัวอย่าง EISP Panida Panichkul 12
7-1.6 นโยบายความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะเรื่อง (Issue-specific Security Policy: ISSP) • คือ การกำหนดทิศทางและขอบเขตเชิงกลยุทธ์เพื่อความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร [E. Whitman and J. Mattord, 2008] • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะเรื่อง จะมีการอธิบายรายละเอียดที่แคบลง คืออธิบายเฉพาะเรื่องจำแนกตามประเภทของเทคโนโลยี และที่สำคัญอธิบายเป็นลำดับขั้นตอนมากขึ้น จึงสามารถนำไปใช้เป็นมาตรฐานในการใช้งานเทคโนโลยีหรือระบบต่างๆ ได้ง่ายกว่านโยบายชนิด EISP • คุณลักษณะของ ISSP • ระบุรายละเอียดเป็นเรื่องๆ จำแนกตามเทคโนโลยีแต่ละชนิด • ต้องมีการปรับปรุงข้อมูลในนโยบายตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอยู่เสมอ • มีการอธิบายสถานะขององค์กรที่เป็นอยู่ในแต่ละเรื่อง Panida Panichkul 17
สำหรับหัวข้อเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ในนโยบายความมั่นคงปลอดภัยเฉพาะเรื่อง ยกตัวอย่างดังนี้ • การใช้งานอีเมล์ • การใช้อินเทอร์เน็ตและบริการ World Wide Web • การตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิด • การวางแผนฟื้นฟูจากความเสียหายและ/หรือการวางแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในเหตุการณ์คับขัน • การตั้งค่าระบบคอมพิวเตอร์ในขั้นต้น เพื่อการป้องกันเวิร์มและไวรัส • การป้องกันระบบจากแฮคเกอร์ และการทดสอบระบบควบคุมความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร • การใช้คอมพิวเตอร์ของบริษัทที่บ้านของพนักงาน Panida Panichkul 18
การใช้งานอีเมล์ • การใช้อุปกรณ์ส่วนตัวของพนักงานเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายขององค์กร • การใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมชนิดต่างๆ (เช่น เครื่องแฟกซ์โมเด็ม หรือโทรศัพท์) • การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร Panida Panichkul 19
องค์ประกอบของ ISSP • วัตถุประสงค์ (Statement of Purpose) • ขอบเขตและการนำนโยบายไปใช้งาน • นิยามของเทคโนโลยีชนิดต่างๆ • ความรับผิดชอบ • การใช้งานที่ได้รับอนุญาต (Authorized Uses) • การเข้าถึง • การใช้งานอย่างเป็นธรรมและรับผิดชอบ • การปกป้องความเป็นส่วนตัว Panida Panichkul 20
การใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต (Prohibited Uses) • นำไปใช้ในทางที่ผิด • ใช้ก่ออาชญากรรม • ใช้สร้างความรำคาญหรือก่อกวน • ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา • ตามข้อห้ามอื่นๆ • การจัดการระบบ (Systems Management) • การจัดการเอกสารที่จัดเก็บไว้ • การติดตามอีเมล์ • การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ • ความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพ • การเข้ารหัส Panida Panichkul 21
การละเมิดนโยบาย (Violations of Policy) • ขั้นตอนการจัดทำรายงานการละเมิดนโยบาย • บทลงโทษสำหรับการละเมิด • การทบทวนนโยบายและการแก้ไข (Policy Review and Modification) • ตารางการทบทวนนโยบาย • ขั้นตอนการแก้ไขนโยบาย • ความรับผิดชอบ (Limitations of Liability) • ความรับผิดชอบ • การแสดงความไม่รับผิดชอบ Panida Panichkul 22
7-1.6 นโยบายความมั่นคงปลอดภัยทศเฉพาะระบบ (System-specific Security Policy: SysSP) • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศเฉพาะระบบ (System-specific Security Policy: SysSP)คือ การกำหนดมาตรฐานและวิธีปฏิบัติ ที่จะนำไปใช้ในการกำหนดค่าคุณสมบัติหรือการบำรุงรักษาระบบ [E. Whitman and J. Mattord, 2008] • เช่น การกำหนดค่าคุณสมบัติของ Firewall ในเอกสารจะต้องมีประโยคที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาหรือความตั้งใจในการ จัดทำนโยบาย แนวทางในการเลือก กำหนดค่า และวิธีการใช้ระบบ Firewall แก่วิศวกรที่รับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังต้องแสดงให้เห็นถึงตารางควบคุมการเข้าถึง (Access Control List: ACL) ที่ระบุระดับของการเข้าถึงระบบของผู้ใช้แต่ละคน เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งที่ทีมงานควรคำนึงถึง คือ กรอบของการจัดทำนโยบายทั้งหมด ที่จะต้องมั่นใจว่านโยบาย SysSPจะไม่ขัดต่อนโยบาย ISSP และ EISP Panida Panichkul 23
เนื้อหาในนโยบาย SysSP อาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แนวทางด้านบริหาร (Managerial Guidance) และข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specification) หรือจะรวมเนื้อหาทั้ง 2 กลุ่มเข้าด้วยกันก็ได้ Panida Panichkul 24
Reference • พนิดา พานิชกุล, ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security), สำนักพิมพ์ เคทีพี, 2553. Panida Panichkul