380 likes | 1.08k Vues
โครงการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเกษตรกร นายนรินทร์ สมบูรณ์สาร ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาองค์กรเกษตรกร สำนักพัฒนาเกษตรกร. สัมมนาเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ปี 2555 วันที่ 1 มีนาคม 2555 ณ ห้องอารี ยา โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี. วัตถุประสงค์.
E N D
โครงการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเกษตรกรนายนรินทร์ สมบูรณ์สารผู้อำนวยการส่วนพัฒนาองค์กรเกษตรกรสำนักพัฒนาเกษตรกร สัมมนาเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ปี 2555วันที่ 1 มีนาคม 2555ณ ห้องอารียา โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี
วัตถุประสงค์ 1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร และกลุ่มยุวเกษตรกร รวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายดำเนินกิจกรรม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการประกอบอาชีพการเกษตร ให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีความมั่นคงทางอาชีพ มีความเป็นอยู่ที่ดี ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มและชุมชน
วัตถุประสงค์ 2. พัฒนาความรู้และทักษะให้กับเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร และกลุ่มยุวเกษตรกร ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพการเกษตรให้กับกลุ่มบุคคลเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ 3. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถของเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร และกลุ่มยุวเกษตรกร ให้เกิดการสร้างรายได้ในครอบครัว และลดค่าใช้จ่าย รวมถึงการกระตุ้นให้มีการออมเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ 4. การยกย่องเชิดชูเกียรติ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ผลงานดีเด่นของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไปและเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร
เป้าหมาย งบประมาณ : เกษตรกร จำนวน 21,714 ราย : รวมทั้งสิ้น 19,726,200 บาท (ดูรายละเอียดในแบบจัดสรรงบประมาณประกอบ)
วิธีการดำเนินงาน 1. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร 1.1 เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้
1.1.1 จัดเวทีเครือข่ายกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ระดับจังหวัด - จังหวัดดำเนินการ - เป้าหมาย 25 ราย / จังหวัด - จังหวัดคัดเลือกกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรที่มีพื้นฐานการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักชนิดเดียวกันจากแต่ละอำเภอๆ ละ 2 – 5 ราย จนครบเป้าหมาย 25 ราย - ผู้แทนกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร เป้าหมายดังกล่าวอาจมาจากผู้ประสบปัญหาการผลิต การตลาดแบบเดียวกัน หรืออาจจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันจากแต่ละอำเภอก็ได้
1.1.1 จัดเวทีเครือข่ายกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ระดับจังหวัด (ต่อ) - จัดเวทีเครือข่ายระดับจังหวัด โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ช่วยระดมสมอง และสร้างพลังความคิดในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสร้างอำนาจต่อรองเพื่อต่อยอดทางธุรกิจได้ - งบประมาณ จังหวัดละ 25 รายๆ ละ 400 บาท 1 วัน เป็นเงิน 10,000 บาท
1.1.2 จัดเวทีเครือข่ายกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ระดับประเทศ - ส่วนกลางเป็นผู้ดำเนินการ - ดำเนินการในกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตร จำนวน 2 เครือข่าย 1. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรชาวสวนมะม่วง 2. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด - เป้าหมาย 50 ราย / เครือข่าย - จัดเครือข่ายละ 2 ครั้งๆ ละ 3 วัน - งบประมาณ 660,000 บาท
1.1.3 ปรับโครงสร้างหนี้กลุ่มเกษตรกร - กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร - กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร - เป้าหมายกลุ่มเกษตรกรลูกหนี้ที่ยังมีหนี้ค้างชำระทุกกลุ่ม - จังหวัดและส่วนกลางดำเนินการร่วมกัน - งบประมาณ 211,400 บาท
วิธีการดำเนินงาน (ต่อ) 2. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้
2.1 จัดสัมมนาสมัชชากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับประเทศ ภายใต้หัวข้อ “4 ทศวรรษกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของ กรมส่งเสริมการเกษตร” - ส่วนกลางดำเนินการ - เป้าหมาย 1,030 ราย จังหวัด/เขตคัดผู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก (1) ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับอำเภอ อำเภอละ 1 ราย จำนวน 882 ราย (2) ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด จังหวัดละ 1 ราย จำนวน 77 จังหวัด (3) ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต จำนวน 11 ราย (4) คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต 6 เขต เขตละ 10 ราย จำนวน 60 ราย
2.1 จัดสัมมนาสมัชชากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับประเทศ ภายใต้หัวข้อ “4 ทศวรรษกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของ กรมส่งเสริมการเกษตร” (ต่อ) - ระยะเวลา 3 วัน - งบประมาณ 3,399,000 บาท - กิจกรรม -- บรรยายพิเศษให้ความรู้ -- เลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับประเทศชุดใหม่ -- แสดงกิจกรรมและศักยภาพของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ของกรมส่งเสริมการเกษตร
2.2 จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต - สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 – 6 ดำเนินการ - เป้าหมาย ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดละ 1 ราย จากทุกจังหวัดที่สังกัดในเขตนั้น - กิจกรรม -- อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ (1) บทบาทหน้าที่คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต (2) การทำงานเชื่อมโยงให้เกิดเครือข่ายระหว่างจังหวัดและเขต -- เลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต
2.2 จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต (ต่อ) - ระยะเวลา 2 วัน / เขต - งบประมาณ เขต 1 19,800 บาท เขต 2 17,600 บาท เขต 3 19,800 บาท เขต 4 44,000 บาท เขต 5 30,800 บาท เขต 6 37,400 บาท
2.3 จัดอบรมถ่ายทอดความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด - จังหวัดดำเนินการ - เป้าหมาย คัดเลือกผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและคณะกรรมการบริหารกลุ่ม อำเภอละ 5 ราย - กิจกรรม -- อบรมให้ความรู้เรื่อง (1) บทบาทหน้าที่คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับจังหวัด (2) การทำงานเชื่อมโยงระหว่างอำเภอและจังหวัด -- เลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด
2.3 จัดอบรมถ่ายทอดความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด (ต่อ) - ระยะเวลา จังหวัดละ 1 วัน - งบประมาณ อำเภอละ 5 รายๆ ละ 400 บาท (ดูรายละเอียดในแบบจัดสรรงบประมาณประกอบ)
วิธีการดำเนินงาน (ต่อ) 3. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร 3.1 พัฒนาองค์กรยุวเกษตรกร ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้
3.1.1 พัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร (1 อำเภอ 1 กลุ่ม) - อำเภอดำเนินการ - เป้าหมาย 15 ราย / กลุ่ม - ดำเนินการในกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน สพฐ. หรือ โรงเรียน ตชด. ก็ได้ รวมทั้งกลุ่มยุวเกษตรกรนอกโรงเรียน - กิจกรรม -- อบรมหลักสูตร (1) การตั้งกลุ่มยุวเกษตรกร (2) การบริหารงานกลุ่มยุวเกษตรกร (3) การจดบันทึก (4) การทำบัญชีรับจ่าย (5) ความรู้พื้นฐานด้านการเกษตรและเคหกิจเกษตร
3.1.1 พัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร (1 อำเภอ 1 กลุ่ม) (ต่อ) - กิจกรรม -- ค่าวัสดุการเกษตร กลุ่มละ 3,000 บาท (1) ค่าวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน (2) ค่าพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์ปลา (3) ค่าวัสดุแปรรูปสินค้าเกษตรด้านเคหกิจเกษตร - อำเภอต้องเข้าไปนิเทศงาน / ถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่องทุกเดือนในกลุ่มยุวเกษตรกรที่ได้รับงบประมาณดำเนินการ ปี 2555
3.1.2 สัมมนาเพิ่มสมรรถนะที่ปรึกษายุวเกษตรกร - คัดเลือกที่ปรึกษายุวเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นระดับ จังหวัดและที่ปรึกษาคณะกรรมการสภายุวเกษตรกร ระดับประเทศ เพื่อเข้าร่วมการสัมมนา - ส่วนกลางดำเนินการ - จำนวน 89 รายๆ ละ 1,100 บาท 1 ครั้ง 3 วัน เป็นเงิน 293,700 บาท
3.2 สร้างโอกาสและเผยแพร่งานยุวเกษตรกร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้
3.2.1 ชุมนุมยุวเกษตรกรระดับเขต - สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 – 6 ดำเนินการ - เป้าหมาย เขต 1, 2, 3 เขตละ 100 ราย เขต 4, 5, 6 เขตละ 150 ราย - ระยะเวลา 4 วัน - ผู้เข้าร่วมชุมนุมประกอบด้วย คณะกรรมการสภายุวเกษตรกรและที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรระดับจังหวัดทุกจังหวัดที่สังกัดในแต่ละเขต โดยเขตพิจารณาบริหารโควต้าให้แต่ละจังหวัดเข้าร่วมตามจำนวนที่เห็นว่าเหมาะสม
3.2.1 ชุมนุมยุวเกษตรกรระดับเขต (ต่อ) - งบประมาณ ผู้เข้าร่วมชุมนุมคนละ 1,100 บาท / วัน - กิจกรรม -- ถ่ายทอดความรู้ -- แข่งขันตอบปัญหา / เกม / ความรู้ความสามารถ ในการแสดงออก -- ประชุมและเลือกตั้งคณะกรรมการสภายุว เกษตรกรระดับเขต
3.2.2 ชุมนุมยุวเกษตรกรบนพื้นที่สูง - สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการ - เป้าหมาย 180 ราย - ระยะเวลา 4 วัน - ผู้เข้าร่วมชุมนุมประกอบด้วย -- คณะกรรมการสภายุวเกษตรกรในจังหวัดลำพูน แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตาก น่าน กาญจนบุรี พะเยา และเชียงใหม่ รวมทั้งที่ปรึกษายุวเกษตรกรด้วย -- สสข. 6 จังหวัดเชียงใหม่พิจารณาจัดสรรโควต้าตามความเหมาะสมให้กับจังหวัดเป้าหมาย
3.2.2 ชุมนุมยุวเกษตรกรบนพื้นที่สูง (ต่อ) - งบประมาณ ผู้เข้าร่วมชุมนุมคนละ 1,100 บาท / วัน รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 792,000 บาท - กิจกรรม -- ถ่ายทอดความรู้ -- แข่งขันตอบปัญหา / เกม / ความรู้ความสามารถ ในการแสดงออกด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี และ วัฒนธรรมท้องถิ่น -- ประชุมยุวเกษตรกรบนพื้นที่สูง
3.2.3 การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ - ส่วนกลาง ดำเนินการแล้ว เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2555 ที่พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี - เป้าหมาย 5,000 ราย - งบประมาณ 200,000 บาท
3.3 การส่งเสริมองค์กรยุวเกษตรกรกับต่างประเทศ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ 3.3.1 การแลกเปลี่ยนยุวเกษตรกรกับต่างประเทศ (1) เตรียมความพร้อมผู้นำเยาวชนเกษตรไปฝึกงานตามความข้อตกลง โดยรับสมัครและดำเนินการสอบคัดเลือกยุวเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมพื้นฐานโครงการฝึกงานผู้นำเยาวชนเกษตรไทยในครอบครัวเกษตรกรญี่ปุ่น โดยฝึกอบรมด้านการเกษตรและภาษาญี่ปุ่น จำนวน 13 ราย ระยะเวลา 81 วัน เป็นเงิน 384,670 บาท
(2) อบรมภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแก่เยาวชนเกษตรกร (โคอิบูจิ) โดยรับสมัครยุวเกษตรกร ที่ปรึกษายุวเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานยุวเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วม โครงการ และสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับการอบรมภาษาและ วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตร จังหวัด กาญจนบุรี จำนวน 8 รายๆ ละ 1,100 บาท ระยะเวลา 10 วัน เป็นเงิน 88,000 บาท
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ยุวเกษตรกร 1. เป็นสมาชิกยุวเกษตรกรไม่น้อยกว่า 3 ปี 2. อายุ 20 – 35 ปี 3. พูดภาษาอังกฤษได้บ้าง 4. สุขภาพแข็งแรง ที่ปรึกษายุวเกษตรกร 1. อายุไม่เกิน 45 ปี 2. คุณสมบัติข้ออื่นเหมือนยุวเกษตรกร
3.3.2 รับยุวเกษตรกรต่างประเทศฝึกอบรมในไทย กรมส่งเสริมการเกษตรรับเป็นเจ้าภาพการฝึกอบรมของ ยุวเกษตรกรสาธารณรัฐเกาหลี 4 ราย และยุวเกษตรกรญี่ปุ่น (วิทยาลัยเกษตรกรรมโคอิบูจิ) 27 ราย รวมเป็น 31 รายๆ ละ 1,100 บาท ระยะเวลา 14 วัน เป็นเงิน 477,400 บาท
วิธีการดำเนินงาน (ต่อ) 4. การประกวดเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรดีเด่น 4.1 คัดเลือกผลงานเกษตรกรดีเด่น/บุคคลทางการเกษตรดีเด่นระดับจังหวัด/เขต/ประเทศ จำนวน 5 สาขาอาชีพ ประกอบด้วย 1) สาขาอาชีพทำสวน 2) สาขาอาชีพทำไร่ 3) สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม 4) ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร 5) สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร
วิธีการดำเนินงาน (ต่อ) 4.2 คัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด/เขต/ประเทศ จำนวน 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) กลุ่มยุวเกษตรกร 2) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 4.3 ส่วนกลางนำเสนอผลการคัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่นและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นระดับเขตต่อคณะกรรมการพิจารณาผลงานเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ระดับจังหวัด ค่าเงินรางวัลอันดับที่หนึ่ง จำนวน 7 ประเภทๆ ละ 1,000 บาท : 77 จังหวัด เป็นเงิน 539,000 บาท ระดับเขต ค่าใช้จ่ายในการประกวดเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร : เขต 1,2,3 เขตละ 80,000 บาท เป็นเงิน 240,000 บาท : เขต 4,5,6 เขตละ 130,000 บาท เป็นเงิน 390,000 บาท ระดับประเทศ ค่าใช้จ่ายในการประกวดเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร/เงินรางวัล เป็นเงิน 755,630 บาท
ผลผลิต (OUTPUT) เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรได้รับองค์ความรู้และทักษะ ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ภาระหนี้สินลดลง มีรายได้พอเพียงครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผลลัพธ์ (OUTCOME) ครัวเรือนเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ผู้ประสานงานโครงการ 1. นายนรินทร์ สมบูรณ์สาร ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาองค์กรเกษตรกร โทรศัพท์ 0 2955 1637 2. นายประวิช จรดำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนากลุ่มเกษตรกร โทรศัพท์ 0 2561 4794 3. นางจุฑาพร ศรีวิพัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โทรศัพท์ 0 2579 7545 4. นายสมเกียรติ วิจิตรประเสริฐ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร โทรศัพท์ 0 2561 4793