1 / 18

汉语拼音

汉语拼音. ความเป็นมาของสัทอักษรพินอิน. พินอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน ( จีนตัวเต็ม : 漢語拼音; จีนตัวย่อ : 汉语拼音;

duena
Télécharger la présentation

汉语拼音

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 汉语拼音

  2. ความเป็นมาของสัทอักษรพินอินความเป็นมาของสัทอักษรพินอิน พินอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (จีนตัวเต็ม: 漢語拼音;จีนตัวย่อ: 汉语拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn แปลว่า การถอดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถ่ายถอดเสียง หรือการทับศัพท์)

  3. พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถ่ายถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถ่ายถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization formodern Chinese)

  4. สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถ่ายถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย

  5. เรียนภาษาจีนด้วย pinyin อย่างเดียวได้หรือไม่(能否仅利用拼音来学习汉语?) 拼音(pinyin) หมายถึง ตัวอักษรโรมันที่ใช้ในการกำกับการออกเสียงของภาษาจีน คนไทยที่เรียนภาษาจีนนิยมพูดเป็นคำทับศัพท์คือ พินอิน (pinyin) หรือไม่ก็แปลเป็นสัทอักษร และยังมีบางท่านชอบใช้ภาษาอังกฤษมาเรียก คือ phonetic สาเหตุที่การเรียนการสอนภาษาจีนต้องอาศัย 拼音(pinyin) ก็เนื่องจากระบบการเขียนภาษาจีนไม่ได้แสดงการออกเสียง การเรียนรู้การออกเสียงในภาษาจีนจึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องหมายกำกับการออกเสียงเข้ามาช่วย

  6. ซึ่งในช่วงประมาณ 2,000 ปีที่ผ่านมานี้ เคยใช้เครื่องหมายเก่าสองระบบ แต่เพื่อทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนมีประสิทธิภาพและสะดวกมากยิ่งขึ้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้พัฒนาและประกาศใช้ระบบอักษรโรมันกำกับการออกเสียงของภาษาจีนขึ้นมาใหม่อีกระบบหนึ่งในปี ค.ศ.1958 โดยดัดแปลงมาจาก International Phonetic Alphabets ชื่อเต็มภาษาจีนเรียกว่า 汉语拼音(hànyŭpīnyīn) ซึ่งเปรียนเสมือนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ต้องใช้ในการเรียนภาษาจีน

  7. การออกเสียง องค์ประกอบของสัทอักษรพินอิน 1. พยางค์ 2. พยัญชนะ 3. สระ 4. การอ่านรวมเป็นพยางค์ 5. พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะ

  8. กฎการเขียนสัทอักษรพินอินกฎการเขียนสัทอักษรพินอิน โดยทั่วไป สัทอักษรพินอินของพยางค์ต่างๆ ประกอบขึ้นจากการสะกดรวมของเสียงพยัญชนะและสระ จากนั้นจึงใส่เสียงวรรณยุกต์ประกอบเข้าไป กฎการเขียนและสะกดพยางค์ของพยัญชนะและสระมีดังนี้ 1. พยัญชนะ j,q,x จะสะกดรวมกับสระที่ขึ้นต้นด้วยเสียง i และ ü เท่านั้น เมื่อพยัญชนะ j,q,x ประสมกับสระที่ขึ้นต้นด้วยเสียง ü จะต้องลดรูปจุดสองจุดบน ü

  9. 2. เมื่อพยางค์ที่ประกอบขึ้นจากสระที่ขึ้นต้นด้วยเสียง i และ ü ไม่มีเสียงพยัญชนะมาประกอบ จะต้องเปลี่ยนรูป i เป็น y และเปลี่ยนรูป u เป็น w 3. เมื่อสระ ui,un,iu,ü ประกอบขึ้นเป็นพยางค์ด้วยตัวเอง จะต้องเขียนเป็น ui→wei   un→wen   iu→you   ü→yu 4. เครื่องหมายคั่นเสียง เมื่อพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียง a, o, e อยู่หลังพยางค์อื่น และทำให้การสะกดแบ่งพยางค์ไม่ชัดเจน เราจะใช้เครื่องหมายคั่นเสียง(’)มาคั่นระหว่างพยางค์

  10. วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ทั้งสี่ใช้เครื่องหมาย ˉ,/,ˇ และ \ แทนตามลำดับ เครื่องหมายวรรณยุกต์ทั้งสี่จะเขียนไว้บนเสียงหลักของสระในแต่ละพยางค์ (เสียงหลักของสระหมายถึงเสียงที่ต้องอ้าปากกว้างและออกเสียงดังที่สุดในบรรดาเสียงที่ประกอบขึ้นเป็นสระ) เช่น qiāng, qiáng, qiǎng, qiàng เสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีนกลางมีคุณสมบัติในการแยกความหมาย ดังนั้น หากเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ความหมายก็จะต่างไปด้วย

  11. ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้ 1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (ˉ) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี ในภาษาไทย: ā ē ī ō ū ǖ 2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา ( / ) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย: á é í ó ú ǘ 3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม ( v ) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย (แต่ไม่ใช่เสียง"เอก") : ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ

  12. 4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย ( \ ) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย: à è ì ò ù ǜ 5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย: a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น yo เยาะ) ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)

  13. การใส่วรรณยุกต์ โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน (e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u

  14. สรุปหลักการอ่านออกเสียงตัวพินอิน (Pinyin) 1. พินอิน (Pinyin) คือ สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเสียงพูดในภาษาจีนกลาง 2. พยัญชนะ : ตัวพินอินที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะมีทั้งหมด 23 ตัว (พยัญชนะแท้ 21 ตัว + พยัญชนะที่มาจากสระ 2 ตัว : y,w) ได้แก่

  15. อักษรแทนเสียงพยัญชนะต้นมีทั้งหมด 23 ตัว b p m f d t n l g k h j q x zh ch sh r z c s y w

  16. 3. สระ : ตัวพินอินที่ใช้แทนเสียงสระมีทั้งหมด 37 ตัว ได้แก่ a o e e* ai ei ao ou an en ang eng ong er i u uu ia ie iao iu (iou) ian in iang ing iong ua uo uai ui (uei) uan un (uen) uang ueng uue uuan uun

  17. 4. ตัวสะกด : ภาษาจีนกลาง ไม่มีตัวสะกดเหมือนภาษาไทย เพราะได้รวมตัวสะกดเข้ากับสระแล้ว 5. วรรณยุกต์ : ภาษาจีนกลาง มีเสียงวรรณยุกต์ 4 เสียง หากไม่ใส่วรรณยุกต์ให้ออกเสียงเบา ในที่นี้ขอใช้ตัวเลขแสดงเสียงวรรณยุกต์ วรรณยุกต์เสียง 1-4 แทนด้วยเลข 1-4 หากไม่ใส่วรรณยุกต์ แทนด้วยเลข 5

  18. 6. วิธีอ่านออกเสียงคำในภาษาจีน คือ การนำเสียงพยัญชนะผสมกับเสียงสระ แล้วออกเสียงสูงต่ำตามวรรณยุกต์ ทั้งนี้ เสียงพยัญชนะจะไม่อยู่โดด ๆ จะต้องนำไปผสมกับสระเท่านั้น ส่วนเสียงสระจะออกเสียงโดยนำไปผสมกับพยัญชนะก็ได้ หรือจะออกเสียงโดด ๆ ก็ได้ 7. กฎที่ต้องจำ- สระ i (อี) เมื่อนำมาผสมกับพยัญชนะ z , c , s ,zh , ch , sh , r สระ i จะไม่ออกเสียงอี แต่จะออกเสียง อือ

More Related