1 / 36

คดีปกครอง กับการดำเนินการทางวินัย

คดีปกครอง กับการดำเนินการทางวินัย. โดย ดร. ฤทัย หงส์สิริ นางศิริวรรณ จุลโพธิ์. กฎหมายปกครองทั่วไป. 1. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 2. พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 3. พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. 2540

Télécharger la présentation

คดีปกครอง กับการดำเนินการทางวินัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คดีปกครองกับการดำเนินการทางวินัยคดีปกครองกับการดำเนินการทางวินัย โดย ดร. ฤทัย หงส์สิริ นางศิริวรรณ จุลโพธิ์

  2. กฎหมายปกครองทั่วไป 1. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 2. พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 3. พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. 2540 4. พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

  3. ขั้นตอนการดำเนินคดีปกครองขั้นตอนการดำเนินคดีปกครอง 1. การยื่นและตรวจคำฟ้อง 2. การแสวงหาข้อเท็จจริง 3. การสรุปสำนวนและการทำคำแถลงการณ์ 4. การนั่งพิจารณาและการแถลงการณ์ 5. การพิพากษาคดี 6. การบังคับคดีหรืออุทธรณ์

  4. หัวข้อสนทนา คดีที่อาจฟ้องศาลได้ วิธีพิจารณาคดีของศาล แนวคำวินิจฉัยของศาล

  5. ประเด็นที่ศาลต้องตรวจคำฟ้องประเด็นที่ศาลต้องตรวจคำฟ้อง เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองหรือไม่ ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการฟ้องคดีครบถ้วนแล้วหรือไม่

  6. รัฐธรรมนูญ 2550 ม. 223 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง...ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ...

  7. คดีที่ขึ้นศาลปกครอง คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ด้วยกันหรือกับเอกชน คดีพิพาทจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นคดีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙

  8. หน่วยงานทางปกครอง 1. ส่วนราชการ 2. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือ พระราชกฤษฎีกา 3. หน่วยงานอื่นของรัฐ 4. หน่วยงานที่รับมอบหมายให้ใช้อำนาจ หรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

  9. เจ้าหน้าที่ของรัฐ 1. ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง 2. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลที่กฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติที่มีผลต่อบุคคล 3. บุคคลในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่

  10. คดีปกครอง (มาตรา 9) 1. การออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำฝ่ายเดียว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2. ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า 3. ละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น 4. สัญญาทางปกครอง 5. คดีที่กฎหมายบังคับให้ฟ้องศาล เพื่อบังคับบุคคลให้กระทำ 6. คดีอื่นที่กฎหมายกำหนด

  11. ตัวอย่างของคำสั่งทางปกครองตัวอย่างของคำสั่งทางปกครอง คำสั่งที่มีต่อข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ คำสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่น การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน หรือการให้พ้นจากตำแหน่ง หรือการลงโทษทางวินัย 2. คำสั่งที่เกี่ยวกับสวัสดิการต่าง ๆ 3. คำสั่งอื่น ๆ 4. คำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง

  12. กฎ 1. พระราชกฤษฎีกา 2. กฎกระทรวง 3. ประกาศกระทรวง 4. ข้อบัญญัติท้องถิ่น 5. ระเบียบ ข้อบังคับ 6. บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป

  13. โครงสร้างของศาลปกครองโครงสร้างของศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองกลาง ศาลปกครองในภูมิภาค

  14. คดีที่ต้องฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด 1. คดีเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัย ข้อพิพาทที่ที่ประชุมใหญ่กำหนด 2. คดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ฎ., กฎที่ออกโดย ครม. หรือความเห็นชอบของ ครม. การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง คดีที่ต้องฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น 1. ศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนา 2. ศาลที่มูลคดีเกิด (ม.47)

  15. เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง 1. ผู้เสียหาย (ม.42) 2. ได้แก้ไขความเดือดร้อนเสียหายครบขั้นตอน 3. คำฟ้องพร้อมพยานหลักฐาน และสำเนาครบ 4. ค่าธรรมเนียมศาล (ม.45) 5. ระยะเวลาฟ้องคดี (ม.49-52) 6. คำขอ 7.เงื่อนไขอื่น

  16. ตั้งคณะกรรมการสอบสวน การสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง คัดค้านกรรมการหรือกรรมการถอนตัว แจ้งข้อกล่าวหา รวบรวมพยานหลักฐาน แจ้งสรุปพยานหลักฐานและให้โอกาสแก้ข้อกล่าวหา ทำรายงานการสอบสวน สั่งลงโทษทางวินัย

  17. มาตรา 42วรรคหนึ่ง ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือ อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ... ตามมาตรา9และการแก้ไขหรือบรรเทาความ เดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา72ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

  18. มาตรา 42วรรคสอง ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะการฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าวและได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้นหรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด

  19. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง 1. เป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการใช้สิทธิทางศาล 2. ถ้ากฎหมายเฉพาะไม่กำหนดไว้ ต้องอุทธรณ์ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 3. ต้องอุทธรณ์เว้นแต่เป็นคำสั่งของรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการหรือกรณีที่กฎหมายยกเว้นไว้ 4. ยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่ง 5. การพิจารณาอุทธรณ์ 2 ชั้น

  20. อำนาจกำหนดคำบังคับของศาล (ม.72) 1) ให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามกระทำ 2) ให้ปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลกำหนด 3) ให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน กระทำ หรืองดเว้นกระทำ 4) ให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล 5) ให้กระทำหรือละเว้นกระทำให้เป็นไปตาม กฎหมาย

  21. วิธีพิจารณาคดีที่ประหยัด(มาตรา 45) 2. คดีละเมิด ความรับผิด หรือสัญญาที่ขอศาลสั่งเรียกใช้เงินหรือทรัพย์สิน เสียค่าธรรมเนียมศาลร้อยละ 2.5 ของทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท 1. โดยหลัก ไม่เสียค่าธรรมเนียมศาลเช่น การฟ้องเพิกถอนคำสั่ง กฎ หรือสั่งห้ามการกระทำ 3. อาจฟ้องคดีอย่างคนอนาถาได้

  22. ระยะเวลาฟ้องคดี (ม. 49-52) 1. ภายใน 90 วันนับแต่วันรู้หรือควรรู้เหตุหรือนับแต่ วันที่พ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันที่มีหนังสือขอให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและไม่ได้รับชี้แจงหรือชี้แจงแต่ไม่มีเหตุผล (อาจขยายเป็น 1 ปี ถ้าไม่แจ้งสิทธิฟ้องคดี) 2. คดีละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น ฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้หรือควรรู้เหตุ แต่ไม่เกิน10 ปีนับแต่มีเหตุ 3. เมื่อใดก็ได้ กรณีประโยชน์สาธารณะหรือสถานะบุคคล ข้อยกเว้นกรณีประโยชน์ส่วนรวม/เหตุจำเป็น

  23. การตรวจรับคำฟ้อง ศาลสั่งรับหรือไม่รับฟ้อง หรือสั่งให้แก้ไข เพิ่มเติมฟ้อง (หรือส่งคำฟ้องให้ศาลปกครองอื่น) กำหนดตัวผู้ถูกฟ้องคดีและสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การภายในเวลาที่ศาลกำหนด 3. พิจารณาเรื่องร้องสอด 4. พิจารณาเรื่องมาตรการชั่วคราว

  24. คำให้การ 1. ต้องชัดแจ้งแสดงการปฏิเสธหรือยอมรับข้อหา พร้อมส่งพยานหลักฐานและสำเนา 2. อาจฟ้องแย้งมาในคำให้การ ไม่ใช้ข้อความเสียดสี ไม่ทำคำให้การถือว่าไม่มีพยานหลักฐาน หรือยอมรับข้อเท็จจริง ถ้าประวิงคดี ศาลอาจรายงาน ผู้บังคับบัญชาหรือนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ไขหรือลงโทษทางวินัย

  25. คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล องค์ประกอบคณะกรรมการ 1. ประธานศาลฎีกา ประธาน 2. ประธานศาลปกครองสูงสุด 3. หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร 4. ประธานศาลอื่น (ยังไม่มี) 5. ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน เลขานุการศาลฎีกาเป็นเลขานุการคณะกรรมการ

  26. การแสวงหาข้อเท็จจริงโดยศาลการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยศาล ตุลาการเจ้าของสำนวนเป็นผู้รับผิดแสวงหา ข้อเท็จจริง แสวงหาข้อเท็จจริงจากคำฟ้อง คำให้การ คำคัดค้านคำให้การ หรือคำให้การเพิ่มเติม 1. ยื่นคำให้การภายใน 30 วัน 2. ยื่นคำคัดค้านคำให้การภายใน 30 วัน 3. ยื่นคำให้การเพิ่มเติมภายใน 15 วัน (หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด) แสวงหาข้อเท็จจริงอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร

  27. การสรุปสำนวนและทำคำแถลงการณ์การสรุปสำนวนและทำคำแถลงการณ์ 1. เจ้าของสำนวนสรุปสำนวนเสนอองค์คณะ 2. หัวหน้าคณะกำหนดวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง แล้วส่งสำนวนให้อธิบดีพิจารณา และแจ้งให้คู่กรณี ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วัน 3. ส่งสำนวนให้ผู้แถลงคดีทำคำแถลงการณ์ 4. องค์คณะกำหนดวันนั่งพิจารณาคดี ครั้งแรกหลังหารือกับอธิบดี และส่งสรุปข้อเท็จจริงให้ คู่กรณีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

  28. วันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก 1. ต้องมี เพื่อให้โอกาสคู่กรณีมาแถลงด้วยวาจา 2. เจ้าของสำนวนเสนอสรุปข้อเท็จจริงและประเด็นแห่งคดี 3. คู่กรณีมีสิทธิแถลงด้วยวาจาประกอบคำแถลงเป็นหนังสือ ที่ยื่นไว้ก่อนหรืออย่างช้าในวันนั่งพิจารณาคดี และนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบได้ 4. คำแถลงต้องกระชับและอยู่ในประเด็น 5. ศาลเป็นผู้ซักถามพยาน 6. ตุลาการผู้แถลงคดีชี้แจงด้วยวาจา ประกอบคำแถลงการณ์

  29. การพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดี องค์คณะประชุมปรึกษาโดย ผู้แถลงคดีอยู่ด้วย แต่ไม่มีสิทธิลงมติ 2. ออกคำบังคับตาม ม.72 โดยอาจมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติตามคำพิพากษา 3. คำพิพากษาผูกพันคู่กรณีนับแต่วันพิพากษา แต่ในกรณีศาลปกครองชั้นต้น ให้รอคำบังคับไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด 4. อุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่พิพากษา (ขยายเวลาไม่ได้) 5. คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียขอพิจารณาใหม่ได้

  30. ประเด็นโต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยประเด็นโต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัย กระบวนการดำเนินการทางวินัย 2. มีการกระทำที่เป็นการทำผิดวินัย 3. ดุลพินิจในการลงโทษทางวินัย

  31. การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 1. ไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ 2. ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย 3. ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนหรือวิธีการ อันเป็นสาระสำคัญ 4. ไม่สุจริต 5. เลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม 6. สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระเกินสมควร 7. ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ

  32. การลงโทษทางวินัย กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี

  33. ความหมายของดุลพินิจ ดุลพินิจ หมายถึง การที่กฎหมายให้อำนาจ ฝ่ายปกครองตัดสินใจที่จะเลือกกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการไปในทางใดทางหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสม ในกรณีที่กฎหมายให้ทางเลือกหลายทาง ซึ่งหากเลือกกระทำการไปในทางใดโดยมีเหตุผลอันสมควรแล้ว ก็ล้วนเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

  34. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2550 (มาตรา 116) เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น

  35. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี...

  36. คดีละเมิดในอำนาจศาลปกครองคดีละเมิดในอำนาจศาลปกครอง 1. ละเมิดเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ 2. การปฏิบัติหน้าที่ใน 4 กรณี การใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น ละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า

More Related