1 / 29

สาขาการเงินของไทย

สาขาการเงินของไทย. เอกสารอ้างอิง. วเรศ อุปปาติก เศรษฐศาสตร์การเงินและธนาคาร 2544 บทที่ 6 และ 9 อรวรรณ รัตนภากร “โครงสร้างทางการเงินไทยในระดับมหภาค” บทความเสนอในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2548 จัดโดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 14-15 มิถุนายน 2548. เอกสารอ้างอิง.

Télécharger la présentation

สาขาการเงินของไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สาขาการเงินของไทย

  2. เอกสารอ้างอิง • วเรศ อุปปาติก เศรษฐศาสตร์การเงินและธนาคาร 2544 บทที่ 6 และ 9 • อรวรรณ รัตนภากร “โครงสร้างทางการเงินไทยในระดับมหภาค” บทความเสนอในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2548 จัดโดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 14-15 มิถุนายน 2548

  3. เอกสารอ้างอิง • รุ่ง โปษยานนท์ มัลลิกะมาส, ดอน นาครทรรพ และ ผจงจิต จิตตะมัย “ความท้าทายของธนาคารพาณิชย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงิน” บทความเสนอในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2548 จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

  4. สาขาการเงิน: ฝากเงิน ยืมเงิน • บทบาทของตัวกลางระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน (intermediation) • ส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร

  5. โครงสร้างสาขาการเงิน • สาขาการเงิน มีทั้งนอกระบบ และในระบบ • การเงินนอกระบบ: รัฐไม่กำกับดูแล เช่น กลุ่มแชร์ การกู้จากบุคคล • เคยมีขนาดใหญ่ (90% ของสินเชื่อรวมในปี 2505) • แต่ได้ลดลงมากเพราะการพัฒนาของในระบบ

  6. โครงสร้างสาขาการเงิน • การเงินในระบบ: รัฐกำกับดูแล • ประกอบด้วย สถาบันการเงิน และตลาดทุน (หลักทรัพย์ ตราสารหนี้)

  7. โครงสร้างสาขาการเงิน • สถาบันการเงิน: • ธนาคารพาณิชย์ • ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (ออมสิน อาคารสงเคราะห์ SME EXIM)

  8. โครงสร้างสาขาการเงิน • สถาบันการเงิน: • สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน บริษัทบริการให้สินเชื่อ) • อื่นๆ ได้แก่ บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ โรงรับจำนำ

  9. เท่าที่ผ่านมา สถาบันการเงิน (โดยเฉพาะธนาคาร) มีบทบาทมากที่สุด • แต่ตลาดทุนมีแนวโน้มใหญ่ขึ้นมากภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ

  10. ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • ก่อน WW2 ธนาคารต่างชาติมีบทบาทเด่น ส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมด้านการค้าต่างประเทศ • ช่วง WW2 ธนาคารต่างชาติดำเนินงานได้ยาก จึงเริ่มมีธนาคารไทยทดแทน เช่น ธ. กรุงเทพฯ ธ.กสิกรไทย • ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2485)

  11. ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • ธนาคารต่างชาติถูกจำกัดให้เปิดได้เพียงสาขาเดียว • ธนาคารไทยจำกัดจำนวนไว้ 15 แห่ง แต่ขยายสาขาได้มาก • Big four: กรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย และ ไทยพาณิชย์ ที่เหลือมีทั้งขนาดกลางและเล็ก

  12. ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • กำกับดูแลโดย ธปท. ตาม พรบ. การธนาคารพาณิชย์ 2505 เช่น กำหนดเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง กำหนดให้ถือเงินสดและสินทรัพย์สภาพคล่อง กำหนดเงินสำรองหนี้สูญ

  13. ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • กระจายความเป็นเจ้าของโดยให้ธนาคารต้องเป็นบริษัทมหาชน และบุคคลหนึ่งถือหุ้นได้ไม่เกิน 5% เพื่อแก้ปัญหาให้กู้กับบริษัทของเจ้าของธนาคาร

  14. ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • จัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (2528) สำหรับช่วยเหลือทางการเงินเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน + คุ้มครองผู้ฝากเงิน โดยสถาบันการเงินส่งเงินเข้ากองทุนฯ 0.2% ของยอดเงินฝาก

  15. ธนาคารพาณิชย์ (ก่อนวิกฤติ) • หลัง WW2 • นโยบาย “ไม่ให้เปิดใหม่ – เก่าล้มไม่ได้” กลายเป็นปัญหา moral hazard? • เริ่มเปิดเสรีการเงิน (2533) ให้ธนาคารมีกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) และการกู้เงินจากต่างประเทศจนทำให้เกิดวิกฤติ

  16. บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ (ก่อนวิกฤติ) • บริษัทเงินทุน คล้ายกับธนาคาร แต่รับฝากเงินไม่ได้ ต้องกู้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และให้กู้ในลักษณะที่เสี่ยงกว่า • บริษัทเงินทุนเคยรวมกับธุรกิจหลักทรัพย์ (นายหน้าค้าหุ้น) เคยมีปัญหา “ล้มละลาย” มาแล้ว (2522-26) เพราะเล็กและเสี่ยงกว่าธนาคาร จึงมักเป็นด่านแรกที่เจอปัญหา • ธปท. กำกับดูแลไม่ทั่วถึง มีช่องโหว่สำหรับกิจกรรมนอกระบบ เช่น แชร์แม่ชม้อย

  17. สถาบันการเงินช่วงวิกฤติปี 2540- 44 • การไหลออกของเงิน หุ้นราคาตกต่ำ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ทรุด นำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในสถาบันการเงิน (เริ่มด้วยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และต่อมากระทบถึงธนาคาร) • ผู้ฝากแห่ไปถอนเงิน เกิดปัญหาสภาพคล่อง และต่อมากลายเป็นปัญหาความอยู่รอดทางการเงิน

  18. สถาบันการเงินช่วงวิกฤติปี 2540- 44 • ธปท. สั่งปิดบริษัทเงินทุนชั่วคราวก่อน แต่ต่อมาก็ต้องปิดถาวรเป็นจำนวนกว่า 50 แห่ง (ส่วนใหญ่) ปัจจุบันเหลือเพียง 5 ราย (แยกธุรกิจหลักทรัพย์ออกไปแล้ว) และบางรายปรับเป็นธนาคาร • การล้มของบริษัทเงินทุน การลดค่าเงินบาท และภาวะหนี้เสีย (NPL) ที่รุนแรง กระทบไปถึงธนาคารทุกแห่ง

  19. สถาบันการเงินช่วงวิกฤติปี 2540- 44 • กระทรวงการคลังและ ธปท. เข้าแทรกแซงด้วยวิธีการต่างๆ • กองทุนฟื้นฟูฯ ให้กู้และเข้าควบคุมกิจการ (ยังมีหุ้นใหญ่ในหลายแห่ง) • ตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อแก้ปัญหาหนี้เสีย เช่น องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) • อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นธนาคารเกิน 49% เป็นเวลา 10 ปี • ประกันเงินฝากเต็มจำนวนเงิน • ช่วยเพิ่มทุน

  20. สถาบันการเงินช่วงวิกฤติปี 2540- 44 • รัฐบาลต้องกู้เงิน (ขายพันธบัตร) ให้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นภาระของผู้เสียภาษีในที่สุด • ปิดธนาคาร 1 แห่ง อีก 3-4 แห่งต้องถูกควบ/โอนกิจการ • ปัจจุบันมีธนาคาร 18 แห่ง:Big four + ขนาดกลาง + ขนาดเล็ก (retail bank)

  21. การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • บทเรียนในอดีต: ความสำคัญของการมีระบบที่เข้มแข็ง และบริการที่ทั่วถึง • แผนพัฒนาระบบฯ เพื่อให้บริการทางการเงินได้ทั่วถึง (ชนบท และ SME) และปรับตามสภาพที่เปลี่ยนไป (เช่น universal banking และเปิดเสรีสาขาการเงิน) ใน 5-10 ปี

  22. การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • บริการมากขึ้นสำหรับผู้มีรายได้น้อย และปรับให้ ธกส. เป็นธนาคารเพื่อพัฒนาชนบท • ลดความหลากหลายของประเภทสถาบันการเงิน อยากเห็นธนาคารให้บริการการเงินได้ทุกประเภท • ธนาคาร 2 ประเภท: ธนาคารพาณิชย์ (ทุกประเภทบริการ) และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ประชาชนรายย่อย + SME)

  23. การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • One presence: กลุ่มธุรกิจเดียวไม่จำเป็นต้องมีสถาบันหลายประเภท มีธนาคารอย่างเดียวก็พอเพื่อ economies of scale และคุมกำเนิดบริษัทเงินทุน • กำหนดให้ธนาคารมีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและมีเงินทุนเพียงพอ เพิ่มความเข้มงวดในด้านเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Basel 2) และเงินสำรองหนี้สูญ

  24. การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • ธปท. ปรับปรุงวิธีการกำกับดูแล (แก้ไขกฎหมายสถาบันการเงินอยู่) • ปรับปรุงข้อมูล credit bureau เพื่อการปล่อยสินเชื่อที่เสี่ยงน้อย

  25. การฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน 2545- ปัจจุบัน • จะใช้ระบบประกันเงินฝาก (ที่ไม่ก่อปัญหา moral hazard) โดยออกกฎหมายใหม่ทดแทนการประกันเงินฝากเต็มจำนวนเงิน • เปิดให้มีการแข่งขันจากธนาคารของต่างชาติอย่างค่อยเป็นค่อยไป (ธนาคารไทยแข่งกับธนาคารต่างชาติได้ไหม?)

More Related