1 / 16

กระทรวงสาธารณสุข & ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน โดย นพ. ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล

กระทรวงสาธารณสุข & ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน โดย นพ. ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน. อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตบาดเจ็บ และพิการ. ทั่วโลก ( Global RTI, 2010) เสียชีวิต 1.27 ล้านคน 3,479 คน/วัน

eithne
Télécharger la présentation

กระทรวงสาธารณสุข & ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน โดย นพ. ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระทรวงสาธารณสุข & ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน โดย นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  2. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตบาดเจ็บ และพิการ • ทั่วโลก (Global RTI, 2010) • เสียชีวิต 1.27 ล้านคน 3,479 คน/วัน • บาดเจ็บ 20 – 50 ล้านคน • พิการ อย่างน้อย 5 ล้านคน  ประเทศไทย ปี 2552(รายงานการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ) เสียชีวิต 11,751 คน บาดเจ็บ 857,206 คน (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2552)

  3. 29 กย.ครม.มีมติ • กำหนดวาระแห่งชาติ • รับรอง แผนแม่บท ศปถ. • มอบ สธ.ประสานข้อมูล • 20 เมย. • ครม. รับหลักการ • การสืบสวนอุบัติเหตุ 19-20 พย. 1st conference Global Minister on RS : Moscow • 29 มิย. ครม. รับรอง • ทศวรรษความปลอดภัย 19-20 สค. จัดสัมมนาระดับชาติอุบัติเหตุจราจร 2 มีค UNGA Decade of action for RS 7 กย รับรอง/ปรับแก้ ระเบียบสำนักนายกฯ 21-22 กพ. สัมมนา สตช. มค. 52 มค 53 365 วันอันตราย สตช. 2553 ปีคมนาคมปลอดภัย 16-18 ธค. สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 23 เมย. มติ สช. คสช. * คกก.กระจายอำนาจให้แก่ อปท. เห็นชอบมติและ มอบหมายให้แจ้งหน่วยงาน (๑๖ มิย. ๕๓) * อนุกรรมการขับเคลื่อนฯ ภายใต้คกก.ขับเคลื่อน กำหนดให้เป็นประเด็นหนึ่งในการทำงานกับ อปท.

  4. ปฎิญญามอสโก Moscow Declaration  เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2553 สมัชชาสหประชาชาติจัด การประชุมครั้งที่ 64 ได้ให้การรับรองคำประกาศเจตนารมณ์ปฏิญญามอสโก และประกาศให้ปี พ.ศ.2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety) • กำหนดเป้าหมายการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในระดับที่ท้าทายให้เหมาะสมกับบริบทของ แต่ละประเทศ • กำหนดกรอบการทำงาน เป็นเสาหลักไว้ 5 ข้อ

  5. A Framework for the Decade

  6. กรอบการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรอบการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน  เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ กำหนดให้ “ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety)”  กำหนดเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่ำกว่า 10 คน ต่อประชากรแสนคนในปี 2563  กำหนดกรอบการดำเนินงาน ไว้ 8 ข้อ

  7. 8 ประเด็นสำคัญ .. ที่นำมาขับเคลื่อน “ทศวรรษความปลอดภัยทางถนน” การสวมหมวกนิรภัย 100 % การจัดการความเร็ว เมาแล้วขับ สมรรถนะผู้ใช้รถ ใช้ถนน (เช่น การออกใบอนุญาต ขับรถที่มีคุณภาพ) ยานพาหนะที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย การจัดการจุดเสี่ยง การดูแลรักษา พัฒนาระบบบริหารจัดการ (กลไกนโยบาย ตัวชี้วัดข้อมูล ติดตาม-ประเมินผล วิจัย , พัฒนาบุคลากร)

  8. แนวทางการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข ภารกิจหลัก :  การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การรักษาและฟื้นฟูผู้บาดเจ็บ เพื่อให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว การพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนให้มีความถูกต้องและเป็นเอกภาพ (ตามมติคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552) ภารกิจรอง : กระทรวงสาธารณสุขร่วมดำเนินการกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีการบูรณาการแผนการดำเนินงานภายใต้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ซึ่งมีประธาน เป็นรองนายกรัฐมนตรี (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ)

  9. แนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ 6 กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาล(หลัก) โดยเป็นองค์กรหลักในการให้บริการทางการแพทย์ครบวงจร ตั้งแต่การให้บริการก่อนถึงโรงพยาบาล (EMS) การให้บริการในโรงพยาบาล (In-hospital care) พัฒนาระบบบริการศูนย์อุบัติเหตุ (Trauma Center) การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล (Referral system) และการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย (Rehabilitation)

  10. แนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ 6 กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 2 การเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินผล(หลัก) โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนของประเทศ ให้มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้จากหน่วยงานต่างๆ ได้ทันการณ์ ทันเวลา ทั้งในภาวะปกติและในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการวิเคราะห์และปฏิบัติการเชิงรุกด้วยการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์หรือเหตุการณ์และทางออกต่อสังคมในทุกระดับ (Advocacy)

  11. แนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ 6 กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาเครือข่าย/กลไกการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุ (รอง) โดยการประสานงานและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายหลักในยุทธศาสตร์ 5E (Enforcement, Education, Engineering, EMS และEvaluation) และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายใหม่ที่สำคัญ รวมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในทุกระดับ

  12. แนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ 6 กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 4 การให้ความรู้ และรณรงค์ (รอง)ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยให้กับประชาชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านทางบุคลากรทางด้านสาธารณสุข และ อสม. เช่น 1) จัดการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุให้กับประชาชนในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลจัดระบบการรณรงค์ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย จากอุบัติเหตุ 3) บุคลากรสาธารณสุขทุกคน ทุกหน่วย รวมถึงเครือญาติ และ อสม. จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการมีพฤติกรรมที่ปลอดภัย

  13. แนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ 6 กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาบุคลากร(รอง) โดยการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทุกระดับให้มีความรู้ สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประสานกับโรงเรียนแพทย์ในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนน

  14. แนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ 6 กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 6 การศึกษา วิจัย ทบทวนวรรณกรรม และพัฒนาองค์ความรู้(รอง) ค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุทางถนน และมีการศึกษาในเรื่องความเสี่ยงต่างๆ สาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งความสูญเสียที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย รวมทั้งเพื่อให้ได้รูปแบบการดำเนินงานควบคุมป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่สามารถนำไปขยายผลได้

  15. สิ่งที่กระทรวงอยากเห็นสิ่งที่กระทรวงอยากเห็น 1. มีระบบข้อมูลเฝ้าระวัง และ มีการเตือนภัย ในทุกระดับ 2. มีการนำข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนจากหลายแหล่งที่มีในจังหวัด ไปใช้ประโยชน์ เพื่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่ ในระดับต่างๆ 3. การพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน การใช้นิยามการตาย 30 วันหลังเกิดเหตุ 4. มีระบบการดูแลช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ที่มีประสิทธิภาพ 5. บทบาทการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน

  16. Time of Action

More Related