1 / 18

ระบบขับถ่าย

ระบบขับถ่าย.

eleanor-gay
Télécharger la présentation

ระบบขับถ่าย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบขับถ่าย

  2. สิ่งมีชีวิตต้องสามารถรักษาดุลยภาพของร่างกายไว้ให้ได้  การขับถ่ายเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยรักษาดุลยภาพของร่างกายเพราะภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆ  เกิดขึ้นมากมาย   ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายชนิดทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์  และบางชนิดไม่ต้องการ จำเป็นต้องกำจัดออก  หรือมิฉะนั้นก็เปลี่ยนเป็นสารที่เป็นอันตรายน้อยลงแล้วกำจัดออกจากร่างกายภายหลัง  สารที่ร่างกายจำเป็นต้องกำจัดออกเหล่านี้เรียกว่า  ของเสียสิ่งมีชีวิตต้องสามารถรักษาดุลยภาพของร่างกายไว้ให้ได้  การขับถ่ายเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยรักษาดุลยภาพของร่างกายเพราะภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆ  เกิดขึ้นมากมาย   ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายชนิดทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์  และบางชนิดไม่ต้องการ จำเป็นต้องกำจัดออก  หรือมิฉะนั้นก็เปลี่ยนเป็นสารที่เป็นอันตรายน้อยลงแล้วกำจัดออกจากร่างกายภายหลัง  สารที่ร่างกายจำเป็นต้องกำจัดออกเหล่านี้เรียกว่า  ของเสีย

  3. การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำหรือมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก   ของเสียที่เกิดจากเมแทบอลิซึมจะสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ออกสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งน้ำจืดจะสภาพเป็นไฮไพทนิก เมื่อเปรียบเทียบกับความเข้มของสารภายในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว   น้ำจากสิ่งแวดล้อมจะแพร่เข้าสู่เซลล์มากกว่าแพร่ออกจากเซลล์  สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น พารามีเซียม และอะมีบา จะมีออร์แกเนลล์ เรียกว่า คอนแทร็กไทล์แวคิวโอลช่วยรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในเซลล์โดยการขับน้ำที่มากเกินไปของเสียบางส่วนก็จะถูกออกปนมากับน้ำ

  4. การขับถ่ายของสัตว์  ฟองน้ำและไฮดรา   ถึงแม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ก็ตามแต่เซลล์ทุกเซลล์สามารถสัมผัสกับน้ำได้โดยตรง   ของเสียพวกแอมโมเนียจึงถูกขับออกโดยการแพร่เข้าสู่สิ่งแวดล้อม

  5.  หนอนตัวแบน  ที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น พลานาเรียมี เฟลมเซลล์(flame cell) ทำหน้าที่กำจัดของเสีย   ซึ่งกระจายอยู่ทั้งสองข้างตลอดความยาวของสำตัวและการเชื่อมต่อกับช่องขับถ่ายที่ผนังลำตัวทางผิงหนังได้อีกด้วย

  6.   ไส้เดือนดิน  เป็นสัตว์ที่มีลำตัวเป็นปล้อง มีอวัยวะขับถ่ายของเสียเรียกว่า เนฟริเดียม (nephridiun) ปล้องละ 1 คู่ เป็นท่อขดไปมา   มีปลายเปิดสองข้างปลายข้างหนึ่ง อยู่ในช่องของลำตัวมีลักษณะเหมือนปากแตร เรียกว่า เนโฟรสโตน (nephrostome)  ทำหน้าที่รับของเหลวจากช่องของลำตัว ส่วยปลายอีกด้านหนึ่งเป็นช่องเปิดออกสู่ภายนอก ทางผิวหนัง   เนฟริเดียมจะทำหน้าที่ขัยถ่ายของเสียพวกแอมโมเนีย และยูเรีย ส่วนน้ำและแร่ธาตุบางชนิดมีประโยชน์จะถูกดูดกลับโดยผนังท่อของเนฟริเดียมเข้าสู่ กระแสเลือด เนฟรีเดียมจึงทำหน้าที่ทั้งกรองและดูดสารกลับ    ซึ่งลักษณะการทำงานของเนฟริเดียมคล้ายคลึงกับหน่วยไตของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง บางประเภท

  7.  แมลง  มีอวัยวะขับถ่ายเรียกว่า ท่อมัลพิเกียน (Malpinghian tubule) ประกอบด้วยท่อเล็กๆ จำนวนมาก   ท่อเหล่านี้มีลักษณะคล้ายถุงยื่นออกมาจากทางเดินอาหารตรงบริเวณรอยต่อของทางเดินอาหารส่วนกลางกับส่วนท้าย   ปลายของท่อมัลพิเกียนจะลอยเป็นอิสระอยู่ในของเหลวภายในช่องของลำตัว    ในของเหลวจะมีของเสียน้ำและสารต่างๆ   ซึ่งจะถูกลำเลียงเข้าสู่ท่อมัลพิเกียนไปยังทางเดินอาหารโดยจะมีการดูดสารที่มีประโยชน์กลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด   ส่วนของเสียพวกสารประกอบไนโตรเจนจะเปลี่ยนเป็นผลึกกรดยูกริกขับออกมาพร้อมกากอาหาร

  8. สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมี ไต (kidney)เป็นอวัยวะขับถ่ายทำหน้าที่ทั้งจำกัดของเสียและรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ   โดยทำงานรวมกับระบบหมุนเวียนเลือดสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมี ไต (kidney)เป็นอวัยวะขับถ่ายทำหน้าที่ทั้งจำกัดของเสียและรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ   โดยทำงานรวมกับระบบหมุนเวียนเลือด

  9.  นกและสัตว์เลื้อยคลาน มีการขับถ่ายของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ในรูปกรดยูริก   ซึ่งใช้น้ำในการกำจัดน้อยมากสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีการจำกัดของเสียในรูปของยูเรีย   การขับถ่ายของเสีย ประเภทสารประกอบไนโตรเจนของสัตว์ที่กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปได้ดังนี้ 

  10. ระบบขับถ่ายของคน ระบบขับถ่ายเป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไปของเสียในรูปแก๊ส คือ ลมหายใจ  ของเหลว คือเหงื่อและปัสสาวะ  ของเสียในรูปของแข็ง คือ อุจจาระ

  11. การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่ การย่อยอาหารจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลว หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรก คือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่ จะขับเมือกออกมาหล่อลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไปเนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็งเกิดอาการท้องผูก

  12. การขับถ่ายของเสียทางปอดการขับถ่ายของเสียทางปอด ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจากร่างกายทางจมูก

  13. การขับถ่ายของเสียทางผิวหนังการขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง ผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ เหงื่อประกอบด้วย น้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่นๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์พวกยูเรีย และมีน้ำตาล  แอมโมเนีย กรดแล็กติก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย

  14. การขับถ่ายของเสียทางไตการขับถ่ายของเสียทางไต ไต (Kidney) ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของน้ำปัสสาวะ มี 1 คู่ รูปร่างคล้ายเม็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว ถ้าผ่าตามยาวจะพบว่าไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เปลือกไตชั้นนอกกับเปลือกไตชั้นใน มีขนาดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร บริเวณตรงกลางของไตมีส่วนเว้าเป็นกรวยไต มีท่อไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไตนับล้านหน่วย เป็นท่อที่ขดไปมาโดยมีปลายท่อข้างหนึ่งตัน เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า “โบว์แมนส์แคปซูล(Bowman’s Capsule)”  ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วย ภายในแอ่งจะมีกลุ่มหลอดเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุก เรียกว่า “โกลเมอรูลัส (Glomerulus)” ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดที่ไหลผ่านไต

  15. การรักษาดุลยภาพ ที่บริเวณของหน่วยไตมีการดูดซึมสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แร่ธาตุ น้ำตาลกลูโคส กรดแอมิโน รวมทั้งน้ำกลับคืนสู่หลอดเลือดฝอยและเข้าสู่หลอดเลือดดำ ส่วนของเสียอื่นๆ ที่เหลือก็คือ ปัสสาวะ จะถูกส่งมาตามท่อไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่กระเพาะปัสสาวะสามารถที่จะหดตัวขับปัสสาวะออกมาได้ เมื่อมีปัสสาวะมาขังอยู่ประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตรในแต่ละวันร่างกายจะขับปัสสาวะ ออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร เมื่อไตผิดปกติจะทำให้สารบางชนิดออกมาปนกับปัสสาวะ เช่น เม็ดเลือดแดง กรดแอมิโน น้ำตาลกลูโคส ปัจจุบันแพทย์มีการใช้ไตเทียมหรืออาจจะใช้การปลูกถ่ายไต ให้กับผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานปกติได้

More Related