1 / 22

ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชในเกษตรกร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชในเกษตรกร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก. นสพ.แดน ศรีณรงค์ นสพ.ลัดดา สามล นสพ.ละออ ชมพักตร์. ทบทวนวรรณกรรม. 1. นพ.กาญจนศักดิ์ ผลบูรณ์ ศึกษาเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในระบบสุขภาพ ปี 2543

Télécharger la présentation

ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชในเกษตรกร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชในเกษตรกร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก นสพ.แดน ศรีณรงค์ นสพ.ลัดดา สามล นสพ.ละออ ชมพักตร์

  2. ทบทวนวรรณกรรม 1. นพ.กาญจนศักดิ์ ผลบูรณ์ ศึกษาเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในระบบสุขภาพ ปี 2543  จำนวนผู้ป่วยจากพิษของสารเคมีเพิ่มขึ้นจาก 3,297 ราย ในปี 2540 เป็น 4,398 ราย ในปี 2541  จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในภาคเหนือและภาคกลาง ในภาคเหนือเพิ่มขึ้นในจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร อุทัยธานี และนครสวรรค์

  3. 2. บุรินทร์ พิมลลิขิต และคณะ ศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรต.บางพลับ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรีในปี 2539  มีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงมากที่สุด คิดเป็น 71%  ส่วนใหญ่มีความรู้และการปฏิบัติในการใช้สารเคมีในระดับปานกลาง  ปัญหาของเกษตรกรในการใช้สารเคมี คือ การขาดความรู้เรื่องการผสมสารเคมี การฉีดพ่นสารเคมีและการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องเมื่อสัมผัสสารเคมี และการใช้เครื่องป้องกันอันตราย

  4. คำถามหลัก: ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ต.ท่าโพธิ์ เป็นอย่างไร คำถามรอง: 1. ชนิด ปริมาณ และความถี่ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรเป็นอย่างไร 2. ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นอย่างไ ร 3. ความเสี่ยงของการได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรเป็นอย่างไร

  5. วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาความรู้และพฤติกรรมของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 2. ศึกษาเกี่ยวกับ ชนิด ปริมาณ และความถี่ของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 3. ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4. ศึกษาความเสี่ยงของการได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร

  6. วิธีการศึกษา  เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวางระหว่างวันที่ 16 - 20 ตุลาคม 2543  สุ่มตัวอย่างจากประชากรใน ต.ท่าโพธิ์ 10 หมู่บ้านโดยวิธี simple random sampling จำนวน 300 ราย  เครื่องมือสำหรับการวิจัย 1. แบบสอบถาม 2 . ผลการตรวจระดับ enzyme cholinesterase ในเลือดของเกษตรกรในปี 2542 การวิเคราะห์เชิงสถิติ ; ใช้สถิติเชิงพรรณนา

  7. แหล่งข้อมูล แบบสอบถาม 300 ชุด ผล ChE ทั้งหมด 300 ราย ได้คืน 249 ชุด เกษตรกร 244 ราย ไม่ใช่เกษตรกร 5 ราย มีผล ChE 103 ราย ไม่มีผล ChE 141 ราย

  8. ผลการศึกษา ข้อมูลด้านประชากร  เพศชาย 137 ราย ( 56.1% ) เพศหญิง 107 ราย( 43.9% ) ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 41-60 ปี ( 51.5%) การศึกษาระดับประถมศึกษา (88.7%)  อาชีพ ทำนา (80.4%) และทำปีละ 2 ครั้ง (91.8%)  พื้นที่ทำการเกษตรอยู่ในช่วง 1-30ไร่ (83.2%)  รายได้เฉลี่ย 10,000-20,000 บาท/ปี (31.5%)

  9. กราฟแสดงระดับความรู้เกี่ยวกับการใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

  10. ข้อมูลพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชข้อมูลพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช  เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 98.4 % , สารสกัดจากธรรมชาติ 1.6 % ระยะเวลาที่ใช้สารเคมี อยู่ในช่วง 1-10 ปี (65.4%)  ส่วนใหญ่ใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด คือ ยาฆ่าแมลง , ยาฆ่าหญ้า และยากำจัดเชื้อ รา (85.4%)  ยาฆ่าแมลงส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นกลุ่ม organophosphate ( 73.7% ) , Carbamate ( 26.3% ) ยากำจัดวัชพืชส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นกลุ่มไกลโฟเสท 48.9% , paraquat 33.7%

  11. ตารางแสดงวัตถุประสงค์ ปริมาณ และความถี่ของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

  12. กราฟแสดงอัตราส่วนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้กราฟแสดงอัตราส่วนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้

  13. กราฟวงกลมแสดงวิธีการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องกราฟวงกลมแสดงวิธีการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง 41.6% 22.6% 30.3% วิธีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช - ใช้ถูกต้อง 13.8% , ไม่ถูกต้อง 86.2%

  14. การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 1. เกษตรกรส่วนใหญ่มีการป้องกันตนเองไม่ครบถ้วนขณะมีการใช้สารเคมี ( 66.5% ) , ครบถ้วน 33.5% 2. หลังใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 97.9% ของเกษตรกรมีการอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที , 2.1% ทำความสะอาดแต่ไม่ครบถ้วน

  15. การเลือกซื้อ ค่าใช้จ่าย และแหล่งข้อมูล เกี่ยวกับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 1. มีการเลือกซื้อตามความเหมาะสมในการใช้ 85.6% 2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีแต่ละครั้งของการทำเกษตรกรรมน้อยกว่า 2,000 บาท ( 48.3% ) 3. ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารเคมีส่วนใหญ่ได้มาจากฉลากสารเคมี ( 46.2% ) จากเกษตรตำบล 20.6%

  16. กราฟแสดงอาการที่เกิดขณะหรือหลังใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกราฟแสดงอาการที่เกิดขณะหรือหลังใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรที่มีอาการ 71.5% ,ไม่มีอาการ 28.5%

  17. ผลการตรวจ cholinesterase ในเลือดของเกษตรกร

  18. สรุปและวิจารณ์ผล 1. เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในเกณฑ์ดี แต่วิธีการใช้ยังไม่ถูกต้อง คือ ผสมสารเคมีหลายชนิด 2.ผลกระทบของสารเคมีต่อสุขภาพ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เคยมีอาการจากการได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดแมลงและจากผล cholinesterase พบว่าอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงถึง 21.3% และระดับไม่ปลอดภัย 6.7% เนื่องมาจาก

  19. การป้องกันขณะฉีดสารเคมีไม่ครบถ้วน  เกษตรกรบางส่วนใช้สารเคมีที่เข้มข้นกว่า , ปริมาณมากกว่าที่ฉลากระบุ และใช้บ่อยครั้งเกินจำเป็น  ยังมีเกษตรกรอีก 2.1% ที่ปฏิบัติตนไม่ถูกต้องหลังจากสัมผัสกับสารเคมี 3. ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับ ChE ใน serum กับ ความรู้ ,การป้องกันขณะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และอาการที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี ( p > 0.05 )

  20. 4. พบว่าเกษตรกรที่ใช้สารเคมีเข้มข้นกว่าฉลากระบุจะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอาการมากกว่าเกษตรกรที่ใช้สารเคมีเข้มข้นปกติ 1.34 เท่า ( p < 0.05, 95%CI = 1.17 - 1.55 )

  21. ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการให้ความรู้และสอนวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้องให้กับเกษตรกร 2. ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหมุนเวียน หรือลดจำนวนครั้งของการทำการเกษตรลงในแต่ละปี 3. ควรมีการตรวจหาระดับ cholinesterase เป็นระยะ ๆ โดยให้ อสม. เป็นผู้ดำเนินการ 4. ส่งเสริมให้มีการดำเนินการตามโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ

  22. The End

More Related